สอบครูผู้ช่วยส่อทุจริตชัด ก.ค.ศ.ให้สอบใหม่ 509 คน

26 เมษายน 2556

ก.ค.ศ. มั่นใจสอบครูผู้ช่วยมีทุจริตแน่ ตัดสินใจให้ 509 คนที่ทำคะแนนสูงเว่อร์เข้าสอบใหม่ ก่อนส่งข้อมูลให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯสอยออกจากราชการ

วานนี้(25เม.ย.)นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย โดยเชิญคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการศธ. เป็นประธาน , ตัวแทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และ ดร.ชอบ ลีซอ อดีตนักวิชาการเชี่ยวชาญด้านการสอบวัดผลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) มาร่วมพิจารณาคะแนนสอบของผู้ที่ทำคะแนนสอบได้เกิน 90 % หรือ 180 คะแนน จำนวน 509 คน ซึ่งพบข้อมูลบ่งชี้ชัดว่าเฉลยข้อสอบรั่วออกไปจริง

“ ข้อสอบวิชาหลักข้อหนึ่ง มีคำตอบถูก 3 ข้อ แต่กรรมการจัดพิมพ์ข้อสอบเห็นความผิดพลาดนี้ก่อน จึงจัดการเปลี่ยนโจทย์ข้อสอบข้อดังกล่าวเพื่อให้มีคำตอบข้อเดียว จึงส่งผลให้คำตอบที่ถูกต้องเปลี่ยนไปจากข้อเดิม แต่ปรากฎว่าในจำนวนกลุ่ม 509 คนนั้น ทำข้อสอบข้อนี้ผิดถึง 344 คน ทั้งๆที่ข้อสอบข้อนี้ไม่ได้ยาก ตรงนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่า มีการนำเฉลยข้อสอบออกไปเปิดเผยก่อนหน้านี้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังพบพิรุธอื่นๆที่บ่งชี้ในทิศทางเดียวกัน เช่น ผู้เข้าสอบบางรายใช้เวลาทำข้อสอบเพียง 10 นาทีและหลับในห้องสอบแต่กลับได้คะแนนเต็มในวิชานั้น รวมถึงมีการยึดยางลบเฉลยข้อสอบได้ด้วย “นายพงศ์เทพ กล่าว

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า จากผลการสอบสวนดังกล่าว ที่ประชุม ก.ค.ศ. จึงมีมติให้ส่งข้อมูลไปให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษา ใช้ประกอบการสอบสวน โดยให้ อ.ก.ค.ศ.ไปดึงข้อมูลผลการเรียน และผลการสอบประเภทอื่นๆของบุคคลเหล่านั้นมาเปรียบเทียบด้วย และที่สำคัญจะมีการนำผู้ที่ได้คะแนนสูงเป็นพิเศษทั้ง 509 คนมาเข้ารับการทดสอบอีกครั้ง เพื่อดูว่ายังทำข้อสอบได้ดีอย่างเหลือเชื่อเหมือนเดิมอีกหรือไม่ ซึ่งผลการทดสอบใหม่จะเป็นหลักฐานบ่งชี้ที่มีน้ำหนักมากขึ้นว่าใครทำข้อสอบได้ด้วยความสามารถของตนเอง และใครไม่ได้ทำเอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างวางระบบทดสอบให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครมีโอกาสรู้ข้อสอบได้ก่อนอีก

นายพงศ์เทพ กล่าวอีกว่า เมื่อผลการทดสอบดังกล่าว พร้อมผลการสอบสวนอื่น ๆ ออกมาแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ต้องหาทางดำเนินการเอาผู้ที่โกงการสอบและได้บรรจุเป็นครูไปแล้วออกจากราชการ ส่วนการจัดการกับผู้นำข้อสอบออกมานั้น เป็นหน้าที่ของดีเอสไอซึ่งรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษแล้ว

ด้านนายพิษณุ กล่าวว่า ข้อสอบที่มีปัญหาคือข้อที่ 34 ซึ่งเฉลยข้อสอบเดิมเป็นข้อ ก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโจทย์แล้วข้อที่ถูกต้องเปลี่ยนเป็นข้อ ข ขณะเดียวกันดร.ชอบ ได้วิเคราะห์แล้วว่ามีความยากง่ายอยู่ที่ 71 % เท่ากับว่าผู้เข้าสอบ 100 คนมีโอกาสตอบถูก 71 คน แต่ในกลุม 509 คนกลับตอบผิดถึง 344 คน ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่ามีการลักเฉลยข้อสอบออกไปก่อนการจัดพิมพ์ข้อสอบ

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32527&Key=hotnews

มหา’ลัยไม่รับออกข้อสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย

26 เมษายน 2556

ก.ค.ศ.เป็นห่วงเขตพื้นที่การศึกษาเจอปัญหาไม่มีสถาบันอุดมศึกษารับออกข้อสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยรอบใหม่ให้ กำชับเขตที่มีปัญหาปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดสอบไม่ได้ ต้องแจ้งก.ค.ศ.ภายใน 3 พ.ค.นี้

วานนี้ (25 เม.ย.)  นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวถึงการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ที่กำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษารวมกันจัดสอบตามกลุ่มเขตตรวจราชการ 12 เขต และให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ออกข้อสอบแข่งขันให้แทนการใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศว่า ขณะนี้เท่าที่ทราบจะมีเพียงเรื่องของการออกข้อสอบที่บางพื้นที่ได้ไปติดต่อสถาบันอุดมศึกษาแล้วแต่ไม่รับทำให้ เพราะอาจจะไม่สะดวกในการดำเนินการ ดังนั้นอาจจะพิจารณาให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการออกข้อสอบเองได้ แต่ทั้งหมดนี้ต้องมีเหตุและผลขึ้นอยู่กับการอนุมัติของที่ประชุม ก.ค.ศ.

“หากคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาใดที่เปิดสอบครูผู้ช่วยรอบใหม่ไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้จะต้องแจ้งเหตุผลและความจำเป็นมาที่สำนักงานก.ค.ศ.ภายในวันที่ 3 พฤษภาคม เพื่อจะได้รวบรวมเข้าพิจารณาในที่ประชุม ก.ค.ศ. ครั้งต่อไป” เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าว

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32526&Key=hotnews

‘พงศ์เทพ’ ลั่นกู้ชื่อเสียงศธ.ทุกฝ่ายร่วมมือ

26 เมษายน 2556

“พงศ์เทพ”ฝากทุกฝ่ายกรณีการสอบครูผู้ช่วย ดูแลให้เกิดความโปร่งใส กู้ชื่อเสียงศธ.กลับคืนขึ้นกับความร่วมมือทุกฝ่าย

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมสัมมนาเรื่องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยมีผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลจากทั่วประเทศ กว่า 500 คน เข้าร่วมประชุมว่า การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย การสอบบรรจุครูผู้ช่วยซึ่งกำลังจะมีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ นั้น มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นกระบวนการคัดคนมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ ที่สำคัญ การสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้ เป็นการจัดสอบครั้งล่าสุดนับจากเกิดกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยซึ่งกำลังดำเนินการสอบสวนอยู่ เพราะฉะนั้น จะต้องช่วยกันทำให้การสอบบรรจุข้าราชการครูกลับมาได้รับการยอมรับเชื่อมั่นจากสังคมอีกครั้ง

“ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) หรือเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องช่วยกับดูแลการสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความโปร่งมใส เป็นธรรม ไม่เกิดการทุจริจสอบขึ้น ให้สังคมเกิดการยอมรับกระทรวงศึกษาธิการ จริง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่ในการสร้างคน ถ้าคนที่สร้างออกไปมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ทุจริต สังคมก็จะดีตาม กระบวนการในการคัดเลือกบุคคลมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ทำหน้าที่สร้างคนจึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้น การสอบบรรจุครูจะต้องทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า ไม่มีการทุจริต ไม่มีกรโกงข้อสอบ ไม่มีใครรู้ข้อสอบก่อน มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะได้แม่พิมพ์พ่อพิมพ์ที่บิดเบี้ยว ไม่สามารถสร้างคนอย่างที่เราหวังได้”

นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันสอดส่องดูแลด้วย ถ้าระแคะระคายรู้อะไรมาให้รีบแจ้งมาที่ สพฐ. สำนักรัฐมนตรี หรือแม่ทั่งตน และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษิการ ทั้งนี้ เพราะกรณีทุจริตการสอบครูผู้ช่วยที่เกิดขึ้นนั้น จริงแล้ว น่าจะรู้ตัวล่วงหน้าก่อนเพราะเรื่องเกิดในหลายพื้นที่ มีการเรียนคนไปติว น่าจะได้ระแคะระคายก่อนพอสมควร เพราะฉะนั้น การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จึงอยากให้ช่วยกันสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด

“ขณะเดียวกัน การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ให้เขตพื้นที่การศึกษารวมกลั่มกันจัดสอบเอง โดยให้ประสานสถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยออกข้อสอบให้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการสอบ ให้ผู้เข้าสอบเกิดความมั่นใจ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญสุด คือ การเลือกสถานบันการศึกษาที่จะมาทำหน้าที่ออกข้อสอบ เพราะสถาบันการศึกษาก็มีหลากหลาย จึงต้องออกสถาบันการศึกษาที่เชื่อถือได้ สามารถออกข้อสอบได้ดี ตรงไปตรงมา ไม่ทำให้การสอบมีปัญหา ไม่ทำให้ผู้เข้าสอบบางคนอยู่ในฐานะได้เปรียบ”นายพงศ์เทพ กล่าวและย้ำว่า การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จะแก้ตัวได้สำเร็จ ให้สังคมกลับมาเกิดความเชื่อถือได้หรือไม่ จะกู้ชื่อเสียงกระทรวงศึกษาธิการกลับมาได้หรือไม่ อยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่าย

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32525&Key=hotnews

‘พงศ์เทพ’ ลั่นกู้ชื่อเสียงศธ.ทุกฝ่ายร่วมมือ

26 เมษายน 2556

“พงศ์เทพ”ฝากทุกฝ่ายกรณีการสอบครูผู้ช่วย ดูแลให้เกิดความโปร่งใส กู้ชื่อเสียงศธ.กลับคืนขึ้นกับความร่วมมือทุกฝ่าย

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมสัมมนาเรื่องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยมีผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลจากทั่วประเทศ กว่า 500 คน เข้าร่วมประชุมว่า การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย การสอบบรรจุครูผู้ช่วยซึ่งกำลังจะมีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ นั้น มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นกระบวนการคัดคนมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ ที่สำคัญ การสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้ เป็นการจัดสอบครั้งล่าสุดนับจากเกิดกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยซึ่งกำลังดำเนินการสอบสวนอยู่ เพราะฉะนั้น จะต้องช่วยกันทำให้การสอบบรรจุข้าราชการครูกลับมาได้รับการยอมรับเชื่อมั่นจากสังคมอีกครั้ง

“ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) หรือเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องช่วยกับดูแลการสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความโปร่งมใส เป็นธรรม ไม่เกิดการทุจริจสอบขึ้น ให้สังคมเกิดการยอมรับกระทรวงศึกษาธิการ จริง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่ในการสร้างคน ถ้าคนที่สร้างออกไปมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ทุจริต สังคมก็จะดีตาม กระบวนการในการคัดเลือกบุคคลมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ทำหน้าที่สร้างคนจึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้น การสอบบรรจุครูจะต้องทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า ไม่มีการทุจริต ไม่มีกรโกงข้อสอบ ไม่มีใครรู้ข้อสอบก่อน มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะได้แม่พิมพ์พ่อพิมพ์ที่บิดเบี้ยว ไม่สามารถสร้างคนอย่างที่เราหวังได้”

นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันสอดส่องดูแลด้วย ถ้าระแคะระคายรู้อะไรมาให้รีบแจ้งมาที่ สพฐ. สำนักรัฐมนตรี หรือแม่ทั่งตน และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษิการ ทั้งนี้ เพราะกรณีทุจริตการสอบครูผู้ช่วยที่เกิดขึ้นนั้น จริงแล้ว น่าจะรู้ตัวล่วงหน้าก่อนเพราะเรื่องเกิดในหลายพื้นที่ มีการเรียนคนไปติว น่าจะได้ระแคะระคายก่อนพอสมควร เพราะฉะนั้น การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จึงอยากให้ช่วยกันสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด

“ขณะเดียวกัน การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ให้เขตพื้นที่การศึกษารวมกลั่มกันจัดสอบเอง โดยให้ประสานสถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยออกข้อสอบให้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการสอบ ให้ผู้เข้าสอบเกิดความมั่นใจ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญสุด คือ การเลือกสถานบันการศึกษาที่จะมาทำหน้าที่ออกข้อสอบ เพราะสถาบันการศึกษาก็มีหลากหลาย จึงต้องออกสถาบันการศึกษาที่เชื่อถือได้ สามารถออกข้อสอบได้ดี ตรงไปตรงมา ไม่ทำให้การสอบมีปัญหา ไม่ทำให้ผู้เข้าสอบบางคนอยู่ในฐานะได้เปรียบ”นายพงศ์เทพ กล่าวและย้ำว่า การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จะแก้ตัวได้สำเร็จ ให้สังคมกลับมาเกิดความเชื่อถือได้หรือไม่ จะกู้ชื่อเสียงกระทรวงศึกษาธิการกลับมาได้หรือไม่ อยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่าย

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32525&Key=hotnews

สสวท.ดันระบบ”สเต็มศึกษา” เพิ่มศักยภาพแข่งขันประเทศ

26 เมษายน 2556

สสวท.ดันระบบ “สเต็มศึกษา” พัฒนาศักยภาพแข่งขันไทย ตั้งเป้าพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นร.ทุกระดับชั้นปีละ 4% โดยวัดผลจากคะแนนโอเน็ต ชี้หากไม่รีบพัฒนาจะตกกับดักประเทศรายได้ปานกลาง สูญเสียอำนาจแข่งขัน ขณะที่ผลวิจัยการศึกษาไทยชี้ 20 ปีการศึกษาไทยยังไม่กระเตื้อง ขวัญสรวงแนะตีกรอบแก้ปัญหารายพื้นที่ อย่าหวังแก้ทั้งระบบ เพราะเป็นเรื่องยาก

ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า สสวท.ได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พ.ศ.2555-2559 ตั้งเป้าพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถระดับนานาชาติภายในปี 2570 หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกช่วงชั้นจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งจะวัดผลจากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) โดยจะใช้ระบบ STEM Education หรือ “สเต็มศึกษา” เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนา
ด้านการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ จะมีการตั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1.การตั้ง “สเต็มอคาเดมี” 10 จังหวัด เพื่อนำร่องโครงการ กระจายอยู่ใน 4 ภาคของประเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเลือกจังหวัดที่เหมาะสมในการจัดตั้ง ซึ่ง สสวท.จะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) ในการดำเนินการ ส่วนบทบาทหน้าที่ของสเต็มอคาเดมี จะมีผู้เชี่ยวชาญ และสเต็มแอมบาสเดอร์ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ที่สนใจ อันได้แก่ ครู นักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษหรือประชาชนทั่วไป

หน่วยงานที่ 2 คือ “iStem” เป็นคลังความรู้ ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งใน iStem นี้จะมีคลังความรู้ ตำราหรืออุปกรณ์ที่น่าสนใจ หน่วยงานที่ 3 คือ Hall of fame เป็นหอเกียรติยศที่รวบรวมผู้มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบสเต็มและเป็นแรงจูงใจแก่นักเรียนนักศึกษา
ประธานบอร์ด สสวท.กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ สสวท.ต้องการผลักดันระบบสเต็มศึกษาให้เกิดขึ้น เนื่องจากมองว่าหากเรายังไม่พัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราก็จะสูญเสียศักยภาพการแข่งขันไปเรื่อยๆ เพราะระบบสเต็มจะตอบคำถามให้กับผู้เรียนวิทยาศาสตร์ได้ว่า เรียนไปแล้วสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง และระบบสเต็มยังทำให้เกิดการบูรณาการในความรู้ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

“ตอนนี้เราเป็นประเทศมีรายได้ระดับปานกลาง หรือ Middle income แต่ถ้าเราไม่พัฒนาศักยภาพการแข่งขัน เราจะตกอยู่ในช่วง Middle income trap หรือตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และเอสเอ็มอี เราจะตายหมด เหลือเพียงธุรกิจผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ดังนั้นเราต้องหลุดพ้นจากช่วงนี้ไปให้ได้ด้วยการต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เราต้องเปลี่ยนความคิดพื้นฐานของเรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ พลิกสถานการณ์ หรือที่เรียกว่า Game changer ยกตัวอย่างเช่น การมีระบบ 3G หรือสมาร์ทโฟน ก็เป็น Game changer”

วันเดียวกัน ที่บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบการศึกษาไทยขั้นพื้นฐาน (จากอนุบาลถึงมัธยมปลาย) ความก้าวหน้าและความล้มเหลว” โดย ดร.สุธรรม วาณิชเสนี ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคนิคเชิงระบบ ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย เปิดเผยวิจัยที่ใช้ระยะเวลาศึกษากว่า 2 ปีว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าการศึกษาไทยไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย โดยเฉพาะเรื่องผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เทียบจากผลสอบโอเน็ต

และผลสอบโครงการวิจัยนานาชาติ (พิซา) ทั้งที่ไทยมีการปฏิรูปการศึกษาและและโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากมาย 2 ทศวรรษ จนเกิดคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทย จะก้าวต่อไปอย่างไร

ดร.สุธรรมกล่าวอีกว่า การวิจัยได้ลงลึกทั้งระบบการศึกษาไทยเพื่อดูแต่ละปัญหาว่ามีอะไรบ้าง แล้วเกิดได้อย่างไร และส่งผลกระทบต่ออย่างไร ซึ่งทำให้พบว่า ไม่ว่าจะจับที่จุดไหนของระบบก็พบปัญหาการศึกษาทั้งนั้น เพียงว่าจะมีปัญหามากหรือน้อย อาทิ อย่างเรื่องการผลิตครูล้น ได้ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันสอบเป็นครูผู้ช่วย เกิดการทุจริตสอบบรรจุ ได้ครูไม่เก่งเข้าไปในระบบ ส่งผลต่อคุณภาพการสอน ผลสัมฤทธิ์นักเรียนตกต่ำ เป็นต้น ขณะที่โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตั้งแต่ระดับบนสุดลงมาล่างสุด ก็มีการดำเนินงานที่สลับซับซ้อน อาทิ การบริหารโรงเรียน ต้องขึ้นกับเขตพื้นที่การศึกษา และขึ้นกับ ศธ. ส่วนการบริหารงานบุคคล โรงเรียนต้องขึ้นกับคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ฯ และต้องไปขึ้นกับ ก.ค.ศ. และคุรุสภา โดยจะสังเกตได้ว่ากว่าเด็กคนหนึ่งจะจบการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องผ่านระบบมากมาย เพราะมีการกระจายอำนาจที่ยังดึงๆ กันอยู่

“ผลวิจัยชี้ชัดว่าระบบการศึกษาไทยอ่อนแอทุกส่วน แต่ที่ผ่านเราเลือกจะแก้ปัญหาแค่บางส่วน แต่หวังจะให้ระบบการศึกษาดีขึ้น ฉะนั้นผลวิจัยเสนอว่าหากจะแก้ปัญหาทั้งระบบจริงๆ จะต้องเข้าใจปัญหาทั้งหมดก่อน และแก้ปัญหาทั้งระบบไปด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้”
นายขวัญสรวง อติโพธิ วิทยากรด้านการพัฒนาเมืองและพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาการศึกษาทั้งระบบ เพราะการแก้ปัญหาแบบเดิมไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร ขณะที่การแก้ปัญหาระบบการศึกษาไทย หากมองภาพรวมแล้ว คิดหาทางแก้คงทำได้ยาก เพราะมีมากและหลากหลาย ฉะนั้นอยากให้ตีกรอบแคบ โดยอาจแบ่งเป็นรายพื้นที่จังหวัด แล้วแก้ปัญหาให้ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมจะดีกว่า อาทิ รร.ในจังหวัดเพชรบุรี มีทั้ง รร.ชั้นนำในเมืองและ รร.ขนาดเล็กในชนบท เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำการพัฒนา อันนำไปสู่ปัญหา รร.ขนาดเล็ก และการแข่งขันเพื่อเข้าเรียนต่างๆ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้น.

ที่มา: http://www.thaipost.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32524&Key=hotnews

สอศ.ผุดหลักสูตรดูแลผู้สูงวัย

26 เมษายน 2556

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแรงงานเข้าร่วมประชุม พร้อมกำชับให้ดูแลกลุ่มสตรี ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงวัย โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รับนโยบายให้ดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงวัย ส่วนผู้ด้อยโอกาสนั้นที่ประชุมหยิบยกประเด็นเด็กที่เรียนจบ ม.3 และต้องการทำงาน แต่ติดปัญหากฎหมายแรงงานมาหารือ ซึ่ง สอศ.วางแผนไว้ว่าจะประสานกับสถานประกอบการเพื่อดึงเด็กกลุ่มนี้มาทำงานควบคู่กับการเรียนอาชีวะ ส่วนผู้สูงอายุนั้น สอศ.จะจัดโครงการฝึกอบรมอาชีพ โดยใช้ศูนย์อบรมอาชีพในสถานศึกษาของ สอศ. จำนวน 121 ศูนย์ทั่วประเทศเป็นสถานที่อบรม ทั้งนี้ ศูนย์ดังกล่าวเป็นโครงการของรัฐบาลที่ให้วิทยาลัยที่มีศักยภาพโดดเด่นเฉพาะด้านเปิดอบรมอาชีพแก่ประชาชน เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เด่นเรื่องอาหารนานาชาติ ก็เปิดอบรมไม่น้อยกว่า 75 ชั่วโมง ให้กับผู้สูงอายุเพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพ

เลขาธิการ กอศ.กล่าวว่า นอกจากหลักสูตรอบรมแล้ว สอศ.ยังเปิดสอนหลักสูตรการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์ด้วย แต่ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากมองว่าเมื่อเรียนจบไปอาชีพยังไม่มั่นคง ทั้งๆ ที่อาชีพบริการผู้สูงอายุนั้น ในปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก โดยปีการศึกษา 2555 มีสถานศึกษาเปิดสอนทั้งสิ้น 4 แห่ง คือ วิทยาลัยการอาชีพ (วก.) เชียงราย มีผู้เรียน 17 คน วก.พล 8 คน วิทยาลัยเทคนิค (วท.) เดชอุดม 3 คน และ วท.สุวรรณภูมิ 1 คน ดังนั้น สอศ.เตรียมจับมือกับผู้ประกอบการที่ทำงานด้านนี้ ซึ่งนอกจากจะยกระดับฝีมือของผู้เรียนแล้วยังเพิ่มคุณวุฒิให้กับผู้ประกอบการได้อีกด้วย

–มติชน ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32523&Key=hotnews

เปิดเว็บฝึกอาชีพระยะสั้น

26 เมษายน 2556

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำสื่อพัฒนาอาชีพในรูปแบบคลิปวิดีโอสอนทำอาชีพระยะสั้น 1,365 เรื่อง เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.edltv.vec.go.th เพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้เรียนรู้และนำไปประกอบอาชีพ โดยจัดแบ่งอาชีพออกเป็นหมวดหมู่

ประกอบด้วย คหกรรม พาณิชยกรรม/บริการธุรกิจ ศิลปกรรม อุตสาหกรรม วิชาสามัญ เทคโนโลยีและการสื่อสาร และอาชีพ อื่นๆ เช่น หากเลือกครัวการอาชีพวังฯ หมวดคหกรรม จะพบหัวข้อให้เลือกเรียนรู้หรือฝึกปฏิบัติตาม อาทิ การสอนทำกุ้งเนื้อทอง ข้าวต้มเบญจรงค์ ขนมแป้งจี่เผือก เป็นต้น หากเลือกวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หมวดอุตสาหกรรม จะมีหัวข้อ เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารกึ่งนำและหัวต่อพีเอ็นจังก์ชั่น เป็นต้น

“คลิปวิดีโอแต่ละเรื่องจะมีความยาวแล้วแต่ความยากง่ายของแต่ละอาชีพที่สอน ผู้สนใจเข้าไปเลือกเรียนได้ฟรี แต่หากอยากเรียนกับครูจริง สามารถติดต่อไปยังวิทยาลัยของ สอศ.ที่เปิดศูนย์อบรมหลักสูตร 75 ชั่วโมง ขึ้นไป เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้” เลขาธิการ กอศ. กล่าว

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32522&Key=hotnews

สพฐ.ผุดคู่มือปฏิรูปหลักสูตรคุณภาพ บูรณาการครบวงจรมุ่งพลิกโฉมรูปแบบเรียน-สอน

26 เมษายน 2556

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมพิจารณาผลตรวจราชการที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา (สป.) ส่งมาให้สพฐ.รับเป็นข้อมูลดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 16 ด้าน

โดยสพฐ.นำข้อมูลและข้อเสนอแนะมาพิจารณา ในส่วนแรกที่เป็นนโยบายสำคัญของศธ. คือการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ซึ่งจากข้อเสนอที่ผู้ตรวจเสนอมานั้น สพฐ.มีข้อเสนอเพิ่มเติมคือ การปฏิรูปหลักสูตรเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพนั้น

ขณะนี้สพฐ.ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ
1. การประชุมปฏิบัติการจัดทำคู่มือบูรณาการจัดการเรียนการสอนครบวงจร โดยเคยเสนอไปว่าควรจะบูรณาการการให้งานกับนักเรียน และบูรณาการวิชาที่สอนต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดการวัดและประเมินผล ที่ใช้ผลร่วมกันได้ระหว่างวิชาต่างๆ

2. สพฐ.จัดทำคู่มือและแนวทางการเรียนการสอน ซึ่งสพฐ.จะเสวนาและจัดทำแผนปฏิบัติการในวันที่ 1 พ.ค. โดยจะเชิญนักวิชาการ ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ ร่วมประชุมเพื่อนำแนวคิดนี้ไปสู่การปฏิบัติ รวมถึงการนำไปใช้ในพื้นที่พิเศษด้วย เพราะการปรับการเรียนนั้น ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนแนวใหม่ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาทางไกลอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อลดสัดส่วนเวลาเรียนในห้องเรียนให้น้อยลง

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องปลูกฝังคุณธรรม จิตสำนึกประชาธิปไตย โดยเสนอแนะเชิงนโยบายคือควรจัดสรรโควตา เกณฑ์การพิจารณารับนักเรียน นักศึกษาเข้าศึกษาต่อ โดยสพฐ.มีความเห็นว่า ควรจะส่งเสริมโครงการเด็กดีมีที่เรียนให้ต่อเนื่อง

ในปีการศึกษาที่ผ่านมาสพฐ.ลงนามความร่วมมือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รับโครงการเหล่านี้ไปขยายผลยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งยืนยันว่า นโยบายเรื่องนี้ควรจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32521&Key=hotnews

‘ผชช.’ ศธ.ยันมีทุจริตสอบครูผู้ช่วย หลังวิเคราะห์กลุ่มแต้มสูงผิดปกติ

26 เมษายน 2556

เมื่อวันที่ 24 เมษายน นายชอบ ลีซอ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดประเมินผล และอนุกรรมการศูนย์ให้คำปรึกษาและติดตามผลการทุจริตสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ครั้งที่ผ่านมาของ ศธ. เปิดเผยถึงการวิเคราะห์คะแนนสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยครั้งที่ผ่านมา  ว่าได้วิเคราะห์ตามหลักการวัดประเมินผล ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากเครื่องอ่านกระดาษคำตอบ หรือ OMR ที่จะมีข้อมูลของผู้เข้าสอบทุกคน จะรู้ว่าแต่ละข้อใครตอบอะไรบ้าง โดยผลการวิเคราะห์ที่ออกมาพบว่า กลุ่มที่ส่อว่าทุจริตการสอบจะมีคะแนนเกือบเต็มจาก 200 คะแนน หรือได้คะแนนร้อยละ 90 ขึ้นไป ซึ่งในจำนวนผู้ที่สอบบรรจุครูผู้ช่วยได้มีอยู่กว่า 300 คนที่ส่อว่าอาจทุจริตการสอบอย่างแน่นอน ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้สามารถใช้เป็นหลักฐานนำไปประกอบการพิจารณายกเลิกผลการสอบของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาได้ เพราะสามารถชี้ชัดได้ว่าผู้เข้าสอบคนใดทุจริตหรือไม่ได้ทุจริต

ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ ประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กล่าวว่า ข้อมูลผลการวิเคราะห์ของนายชอบนั้น ตนเห็นด้วยว่าเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการพิจารณายกเลิกผลการสอบ แต่ก็ต้องนำเหตุปัจจัยอื่นมาพิจารณาด้วย เช่น ผลการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งข้อมูลจากผู้รับสารภาพกับ ศธ.ว่ามีการทุจริตการสอบ หากนำข้อมูลเหล่านี้มาดูแล้วมีน้ำหนักพอ และทาง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯต่างๆ กล้าตัดสินใจประกาศยกเลิก ก็สามารถทำได้ เพียงแต่จะยกเลิกทั้งหมด หรือเฉพาะราย เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้สอบได้อย่างสุจริต

ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการของเขตพื้นที่ฯต่างๆ ในการจัดสอบครูผู้ช่วย กรณีทั่วไปประจำปี 2556 ซึ่งเบื้องต้นมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งความประสงค์จะเปิดรับสมัครสอบบรรจุ จำนวน 83 เขต รวม 731 อัตรา ใน 36 กลุ่มวิชาเอก จะเปิดรับสมัครวันที่ 29 เมษายน-5 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ 17 พฤษภาคม สอบภาค ก 22 มิถุนายน ภาค ข 23 มิถุนายน ภาค ค 24 มิถุนายน และประกาศผลสอบ 8 กรกฎาคม

–มติชน ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32520&Key=hotnews

 

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน

เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน
เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน
แต่จาก 3 ข่าวข้างล่างนี้

พอสรุปได้ว่า ปีนี้จะเปิดรับครู 731 อัตรา
แต่ปีนี้ครูจะเกษียณ 10,932 คน
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มหาวิทยาลัยผลิตครู 29,000 คนต่อปี

.. รู้สึกว่าตัวเลขดูน่าจับตามนะครับ
.. รู้สึกอีกว่า ถ้าจับหลาย ๆ คนมาคุยกัน คงได้คำตอบ เสียแต่ว่าไม่คุย
http://cinema.theiapolis.com/movie-2SYC/bad-teacher/gallery/bad-teacher-ver2-xl-poster-1059117.html
http://news.mthai.com/world-news/215185.html

ข่าว .. แรก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผย
สพฐ.เปิดสอบครูผู้ช่วยปี 2556 จำนวน 731 อัตรา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32513&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สอง
จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ว่า วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน ช่วงปี 56-60 “ก.ค.ศ.” แนะผลิตรองรับ
ปี 2556 – 2560 เกณียณรวม 97,254 คน มีรายละเอียดว่า
ปี 2556 จำนวน 10,932 คน
ปี 2557 จำนวน 15,541 คน
ปี 2558 จำนวน 20,661 คน
ปี 2559 จำนวน 24,689 คน
ปี 2560 จำนวน 25,431 คน
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สาม
นายสุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ ม.มหาสารคาม
บอกว่า เด็กเกิดน้อยลง แต่ผลิตครูกันตรึม
คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาตร์ของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 17 แห่ง
ผลิตครูรวมทั้งหมดประมาณ 29,000 คนต่อปี
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32211&Key=hotnews