สอบตรง จะถูกแทนที่ด้วย แอดมิชชั่นกลาง

22 มิถุนายน 2557 ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปีการศึกษา 2559 มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง และระบบการรับตรง เพื่อประโยชน์ของเด็ก โดยให้เด็กจะสอบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถนำคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ทุกระบบ ช่วยลดการวิ่งรอกสอบและเด็กก็จะไม่เสียสิทธิ์จากเดิมที่เคยมี
http://education.kapook.com/view91386.html

26 มิถุนายน 2557 ข่าว ปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
hourly-Rerun 26 มิถุนายน 2014 เวลา : 09:01 – 10:00 น.
http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2014-06-26/09/

พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม

เป็นช่วงข่าวนาทีที่ 9:27 – 9:40น.
สอบร่วมกัน แก้ปัญหาการวิ่งรอบสอบ
ครั้งนี้อธิการบดีเห็นชอบร่วมกัน ว่าจะใช้ admission ครั้งเดียว
ส่วนวัดวิชาสามัญ สอบครั้งเดียว
ส่วนวัดความถนัด gat pat สอบสองครั้งเหมือนเดิม
อยากเห็นอยู่ในห้องเรียนจนจบ ม.6

25 มิถุนายน 2557 ตอบโจทย์ เกณฑ์ใหม่เข้ารั้วมหาวิทยาลัย
ผล vote จาก dek-d.com จาก 718 คน
– 67% เห็นด้วย ช่วยลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ และไม่ต้องเสียเงินเยอะ
– 33% ระบบใหม่พลาดแล้ว พลาดเลย ไม่มีโอกาสได้แก้ตัว
http://www.dek-d.com/board/view/3331378/
http://www.youtube.com/watch?v=FlqKIYjyIcM
http://clip.thaipbs.or.th/file-12482

4 ตุลาคม 2556 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประธาน ทปอ.เผยปี 2557 ที่ประชุมมีมติจัดสอบตรงแค่เดือนมกราคม เชื่อช่วยลดปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบได้ ยืนยันยังไม่ยกเลิกระบบรับตรง ชี้ปัญหาเกิดจากระบบแอดมิชชั่นส์กลาง ไม่ใช่ความต้องการของมหาวิทยาลัย
http://www.dek-d.com/board/view/3065525/
ผล vote 30 คน
– 23% เห็นด้วยเลื่อนไปเลย จะได้ทำให้ลดปัญหาวิ่งรอกสอบ ลดปัญหาคนสละสิทธิ์ โอกาสระหว่างคนรวยกับคนจนเริ่มเท่าๆกัน
– 77% ไม่เห็นด้วย เราก็เสียประโยชน์ ไม่ได้ไปสอบหลาย ๆ ที่ เผื่อไม่ติดอะสิ

1 เมษายน 2557 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยกับทีมข่าวการศึกษา เว็บไซต์เด็กดีดอทคอมว่า “ในกรณีรับตรงปีการศึกษา 2558 ยังคงมีอยู่ แต่อาจจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ได้ประสานงานให้ สกอ. ขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ หากมหาวิทยาลัยไหนยังไม่ได้ดำเนินการรับตรงนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2558 ให้ไปจัดสอบหลังจากที่นักเรียนได้เรียนจบการศึกษาแล้ว นั้นคือประมาณ ก.พ.58 เป็นต้นไป แต่หากมหาวิทยาลัยไหนดำเนินการรับนักศึกษาไปแล้ว ก็ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น กลับมาว่ามีเหตุใดที่เลือกที่จะรับตรงโดยการจัดสอบเอง”
http://www.dek-d.com/admission/34370/
ผล vote “พัฒนาการศึกษาไทย สิ่งไหนที่ควรยกเลิก ?” 1594 คน
– 9% ยกเลิกรับตรง ต้นเหตุวิ่งรอกสอบ เสียเงินเยอะ รวยก็ได้เปรียบ
– 91% ยกเลิกแอดมิชชั่น ข้อสอบไร้คุณภาพ สอบถี่ สอบทั้งปี เครียด

31 กรกฎาคม 2553 กระแสการเข้ามาแทนที่สอบตรงของแต่ละสถาบันของสอบแอดมิชชั่นกลาง
หรือคล้ายระบบ entrance ในอดีตนั้น มีมาได้ระยะหนึ่งแล้ว
ที่เว็บไซต์เด็กดี นำเสนอเหตุการณ์ที่ต่างกัน 5 เรื่อง ระหว่างสอบ 2 แบบนี้
เหตุการณ์ที่ 1 : เรื่องของการอ่านหนังสือ
อ่านเฉพาะ หรืออ่านหมดทุกวิชา
เหตุการณ์ที่ 2 : เรื่องของคืนก่อนวันสอบ
พักแต่หัววัน หรือเครียดยันสว่าง
เหตุการณ์ที่ 3 : เรื่องของวันสอบ
รอบหน้ายังมี หรือคิดแล้วคิดอีก
เหตุการณ์ที่ 4 : เรื่องของความเครียด
ไม่เครียด หรือเครียดว่าคะแนนถึงหรือไม่
เหตุการณ์ที่ 5 : เรื่องหลังจากวันประกาศผล
มีที่เรียนก่อน หรือถ้าพลาดแอดก็พลาดเลย
http://www.dek-d.com/admission/21456/
http://www.dek-d.com/admission/28730/
http://www.dek-d.com/admission/34901/

รับตรงหลัง admission มีที่ว่างในมหาวิทยาลัยชื่อดังให้ไปสอบกว่า 2 หมื่นที่นั่ง
น่าจะติดสักที่ http://www.dek-d.com/admission/34908/

รวมรับตรง หลังแอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2557
http://p-dome.eduzones.com/all-post-admissions-57/

การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา และเยาวชนด้านเทคโนโลยี

จากการไปพัฒนาตนเองด้วยการอบรมโครงการสร้างสรรค์เยาวชนคนรุ่นหม่ผู้มีวินัยใช้ไอซีที
ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อขยายองค์ความรู้ด้านไอทีไปสู่สังคมไทยครอบคลุมทุกกลุ่ม และขยายวงกว้างมากขึ้นจากโครงการเดิม และยังเป็นรากฐานระบบการเรียนการสอนทางไกลในอนาคตต่อไป
2) เพื่อยกระดับความรู้ของครู และเยาวชนไทย ให้มีศักยภาพทางด้านไอที พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
3) เพื่อสร้างกระแสความสนใจ และตระหนักถึงผลดีและข้อควรระวังในการใช้งานไอซีที
4) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ กสทช. ที่ต้องการให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง
5) เพื่อสร้างระบบงานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในโครงการฯ นำไปเผยแพร่ในรูปแบบสื่อดิจิตอลออนไลน์ทั่วประเทศ
6) เพื่อปูพื้นฐานคอมพิวเตอร์พื้นฐานสู่กลุ่มครู และนักเรียนที่เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติให้มีศักยภาพสูงสุด
หลักสูตรของโครงการ  The Internet and Computing Core (IC3) Certificate
โดยวิทยากรคือ อ.ณัชดนีย์ ธัญพรหิรัณย์ หรือ อ.ตอง หรือ ค้างคาวลูกเจี๊ยบ หรือ อ.พัชรินทร์ จันทร์นาง pattong9@hotmail.com
เมื่อวันที่ 28-31 ต.ค.56 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ทั้ง 4 วันที่อบรม แบ่งเป็น 4 หลักสูตร ประกอบด้วย ‪#‎Computing‬ Fundamentals, Key Applications, Living Online, and Netizen
อบรมแล้วก็สอบ ‪#‎certificate‬ กับ #certiport.com ในช่วงเย็นของแต่ละวัน
สำหรับหลักสูตร Netizen เป็นของโครงการที่จัดทำตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และไม่มีใน Certiport.com

เมื่อกลับมาถึงมหาวิทยาลัยได้คัดเลือกนักศึกษา 20 คนเข้าสอบรอบที่ 1
โดยจัดอบรมตามที่ได้ไปอบรมมาแล้วนั้น ให้กับนักศึกษา
ในวิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (TECH 101)
และวิชาระบบปฏิบัติการ (CPSC 205) แล้วจัดสอบ และคัดเลือกเหลือเพียง 5 คน
และจะนำไปสอบรอบ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 22 มิ.ย.57
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เชียงใหม่
ผู้ผ่านการสอบและได้คะแนนสูงสุด 5 ท่านแรก ได้แก่
น.ส.กรรณิการ์ วงค์ปัญญา
น.ส.ศัลณ์ษิกา ไชยกุล
น.ส.โชติชนิต สนธิ
น.ส.กวินนา เงินสุวรรณ์
น.ส.ศิริวารินทร์ ตามล
โครงการนี้นักศึกษาทั้ง 20 คนจะได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ในหัวข้อข้างต้น
และ 5 คนจะได้รับประสบการณ์สอบกับข้อสอบสากลผ่านเว็บไซต์ certiport.com

การพัฒนาตนเองแล้วนำมาพัฒนาการเรียนการสอน

จากการไปพัฒนาตนเองด้วยการเข้าร่วมประชุมวิชาการ
ที่จัดโดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชื่อ การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 และ 10
คือ 9-10 พ.ค.56 และ 8-9 พ.ค.57
ซึ่งกระผมร่วมประชุมเป็นประจำทุกปี ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ปี 2557 ได้ฟังเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่อง อาทิ

  •  The Development of Automatic Programming execise Verification System

  •  Voice Enabled Weight and Time Apparatuses on Practice for the Northern School for the Blind under the Patronage of the Queen

  •  A Monitoring System for School Flood Victims Using the Android Smart Phone

  •  Portable Guide System for Traveling

  •  Analysis of Data Processing Performance between Relational and Non-Relational Databases of Documents

  •  Development of Dog’s Health Care Application on Mobile Phone

  •  Welfare Information System : Case Study of Electricity Generating Authority of Thailand

แล้วนำมาแบ่งปันใน วิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (TECH 101)
ในปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2
โดยนำเสนอประเด็นว่า ทุกปีจะมีสถาบันการศึกษาจัดประชุมทางวิชาการในหลายเวที
ที่เปิดให้ผู้สนใจได้นำเสนอผลงานทางวิชาการจากการพัฒนา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มีหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
แล้วมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำโครงงานประจำวิชา โดยออกแบบกระบวนการภายในกลุ่ม
แล้วนำเสนอผลงานหน้าเวทีเป็นงานกลุ่ม พร้อมส่งผลงานเข้าประกวดกับโครงการชีวิตติดเดิน
เพื่อให้เข้าใจถึงเงื่อนไข และขั้นตอนการส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาที่แท้จริง
แม้จะไม่ได้เข้ารอบ แต่ก็ต้องทำงานให้สมบูรณ์ด้วยการทำ powerpoint
และนำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกกลุ่มเช่นเดียวกับที่นำเสนอในเวทีการประชุมวิชาการ
http://www.youtube.com/playlist?list=PLYv8A28PGRQwAyjq0bs2HxTpKZI348duy
http://www.scribd.com/doc/223300399/Proceedings-of-NCCIT2014
http://search.4shared.com/postDownload/LpmntYcV/Proceeding_NCCIT2013.html
https://www.facebook.com/IT.Faculty.KMUTNB/media_set?set=a.701365849921845.1073741849.100001453093093
http://www.psichannel.com
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

แบ่งปันบทเรียนที่ได้ร่วมวิพากษ์ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2557

ประชุมเพื่อวิพากษ์  (ร่าง) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ประชุมเพื่อวิพากษ์
(ร่าง) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประชุมเพื่อวิพากษ์
(ร่าง) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จ.เชียงใหม่

จากการนำเสนอร่างคู่มือให้วิพากษ์ แสดงความคิดเห็น ก่อนนำข้อเสนอแนะจาก 9 เครือข่าย
ไปพิจารณาปรับเป็นเล่มสมบูรณ์นั้น เริ่มวิพากษ์โดย รศ.ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง
ชี้แจงตัวบ่งชี้ว่ามีการแบ่งเป็น 3 ระดับการประกันคุณภาพการศึกษา
คือ หลักสูตร คณะวิชา และมหาวิทยาลัย
แล้วแต่ละระดับยังแบ่งออกเป็นเกณฑ์ของระดับการศึกษา
คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ซึ่งกระผมสนใจส่วนของปริญญาตรีเป็นหลัก
พบว่า
ตัวบ่งชี้ 1.1 – 1.14 เป็นของระดับหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 2.1 – 2.8 เป็นของระดับคณะวิชา
ตัวบ่งชี้ 3.1 – 3.10 เป็นของระดับมหาวิทยาลัย

หลังการชี้แจงมีการแบ่งกลุ่มของหลักสูตร กับ กลุ่มคณะวิชาและสถาบัน
เพื่อรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดทำคู่มือ เป็นลำดับต่อไป
โดยมี รศ.อุษณีย์ คำประกอบ เป็นผู้นำกลุ่มคณะวิชาและสถาบัน
แล้วกลุ่มหลักสูตรมี ศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ และนพ.ณัฐพงษ์ อัครผล (คุณหมอต้น) ร่วมกันดำเนินการ

สำหรับรายละเอียดของตัวบ่งชี้ ปี 2557 นั้น พบว่า

การประเมินในระดับคณะ
ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
1.จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้
2.คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน
3.คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือตำแหน่ง ผศ.อย่างน้อย 2 คน
4.มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด
5.การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยต้องผ่านตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ทุกตัว

ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย
การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

การประเมินในระดับคณะ
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับคณะ จำนวนรวม 8 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี)
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม
+ การบริหารจัดการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์

การประเมินในระดับสถาบัน
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับสถาบัน จำนวนรวม 10 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
3.2 การบริการนักศึกษา
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม
+ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มี 1 ตัวบ่งชี้
3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
+ การบริหารจัดการ มี 2 ตัวบ่งชี้
3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
3.10 ผลการบริหารงานของคณะ
(คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคุณทุกคณะ)
http://thainame.net/edu/?p=3754
http://www.scribd.com/doc/221987061/

สำหรับตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1.อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2.มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3.มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4.การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5.จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา

ซึ่งเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อจากทั้งหมด 12 ข้อนี้ อยู่ในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ของสกอ.
http://www.arc.cmu.ac.th/newmis/qa/manual/intro_manual_2553.pdf หน้า 160

การประชุมครั้งนี้มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 11 คน คือ 
1. คุณภูษณิศา              เนตรรัศมี
2. อ.อัศนีย์                  ณ น่าน
3. อ.ศรีเพชร                สร้อยชื่อ
4. อ.อาภาพร                ยกโต
5. อ.ฉัตรชัย                  หมื่นก้อนแก้ว
6. อ.คนึงนิจ                  ติกะมาตรย์
7. อ.ศศิวิมล                  แรงสิงห์
8. อ.เกศริน                   อินเพลา
9. ผศ.บุรินทร์              รุจจนพันธุ์
10. อ.ปฏิญญา          ธรรมเมือง
11. อ.ดร.วันชาติ      นภาศรี

ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มี 3 ระดับ

เล่าสู่กันฟัง
พบว่า สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชาพิจารณ์ 9 ครั้ง ระหว่าง 6 พ.ค. – 2 มิ.ย.57 เอกสารที่ใช้คือ ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 รอบ พ.ศ. 2558 – 2562

1. ระดับการประเมินจะลึกขึ้น
แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
ซึ่งเดิมมีเพียง 2 ระดับคือ ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
+ ระดับหลักสูตรมี 14 ตัวบ่งชี้ คือ 1.1 – 1.14
+ ระดับคณะมี 8 ตัวบ่งชี้ คือ 2.1 – 2.8
+ ระดับสถาบันมี 10 ตัวบ่งชี้ คือ 3.1 – 3.10
รวม 32 ตัวบ่งชี้
2. การประเมินในระดับหลักสูตร
ประกอบด้วยตัวบ่งชี้มาตรฐาน และตัวบ่งชี้พัฒนา
ตัวบ่งชี้มาตรฐาน 1.1 มี 12 เกณฑ์
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบ่งเป็นตรีใช้ 5 เกณฑ์ โทและเอกใช้ 12 เกณฑ์
ตัวบ่งชี้พัฒนา 1.2 – 1.14 มี 13 ตัวบ่งชี้
แบ่งเป็นตรีใช้ 10 ตัว โทใช้ 8 ตัว และเอกใช้ 9 ตัว
ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย
การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
3. การประเมินในระดับคณะ
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับคณะ จำนวนรวม 8 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี)
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม
+ การบริหารจัดการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์
ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
4. การประเมินในระดับสถาบัน
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับสถาบัน จำนวนรวม 10 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
3.2 การบริการนักศึกษา
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม
+ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มี 1 ตัวบ่งชี้
3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
+ การบริหารจัดการ มี 2 ตัวบ่งชี้
3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
3.10 ผลการบริหารงานของคณะ
(คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคุณทุกคณะ)

แฟ้มจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://www.qad.nu.ac.th/backoffice/php_form/uploads/files/Draft%20criteria%20for%20IQA2557.pdf

หรือ http://www.scribd.com/doc/221987061/

ระเบียบการสอบเพื่อป้องกันการพกโพย และใช้ประโยชน์จากไอที เต็มที่

ประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น
เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบและระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน
เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

 

อ่านระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
ข้อ ๒.๑ การแต่งกายในวันสอบแข่งขัน ผู้เข้าสอบทั้งสุภาพบุรุษ
และสุภาพสตรีต้องใส่เสื้อยืด ไม่มีปก ไม่มีกระดุม ไม่มีกระเป๋า
สวมกางเกงวอร์มขายาว ไม่อนุญาตให้สวมนาฬิกาหรือเครื่องประดับใด ๆ
และห้ามสวมรองเท้าและถุงเท้าเข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด

ระเบียบการสอบเพื่อป้องกันการพกโพย และใช้ประโยชน์จากไอที เต็มที่
ถ้าเรื่องนี้เกิดในสถาบันการศึกษาโดนประท้วงแน่
เพราะเป็นการไม่ให้เกียรตินักศึกษา

มีกลุ่มน้อยที่พกโพย
มีกลุ่มน้อยที่พกโพย

 

เคยได้ยินว่า มนุษย์เราต้องอยู่กันด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ถึงจะมีความสุข
ระเบียบเข้มงวดขนาดนี้ นักศึกษาจะปรับตัวทันกันไหมนะ
สมัยเป็นนักศึกษาก็อาศัยความรู้รอบ ๆ ตัว
พอไปสอบก็ต้องพึง ต้องพกความรู้ที่อยู่ในตัวเอง
ถ้าชุดขนาดนั้น จะพกความรู้เข้าห้องสอบไว้ตรงไหนล่ะนั่น
สงสัยต้องเก็บความรู้ไว้ แต่ในความทรงจำ

สมัยเรียน น.ศ.ก็เน้นทำเป็น เน้นทำได้ ปฏิบัติจริง
แต่ตอนสอบทำงานเน้นจำ

 

สรุปว่าเห็นใจทุกฝ่าย เชียร์ทุกคน

d-day u-net มามิถุนายน 2558

24 มี.ค.57 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยถึงการประชุมหารือถึงการนำผลการทดสอบตามมาตรฐานการอุดมศึกษา หรือ U-NET มาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559-2563) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยที่ สมศ.จะใช้ผลสอบ U-NET ซึ่งประเมินคุณภาพบัณฑิตมาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานกลางใดทำการประเมิน ส่วนใหญ่ดูจากการมีงานทำของบัณฑิต ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ดังนั้น การที่ สมศ.นำผลสอบ U-NET มาใช้จะเป็นเสมือนหน่วยงานกลางในการประเมิน เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน

ทั้งนี้ เท่าที่ได้หารือร่วมกับทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งรับผิดชอบจัดสอบ U-NET เบื้องต้นจะจัดสอบฟรี ให้แก่นิสิตนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของทุกหลักสูตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทั่วประเทศ โดยจะวัดองค์ความรู้ความสามารถของบัณฑิต ใน 4 วิชา ได้แก่ 1) ความสามารถภาษาไทย 2) ความสามารถภาษาอังกฤษ 3) การคิดวิเคราะห์ และ 4) การใช้สื่อเทคโนโลยี ซึ่งทาง สทศ.ยืนยันว่าจะจัดสอบครั้งแรกได้ก่อนเดือนมิถุนายน ปี 2558 อย่างไรก็ตาม ยังห่วงและกังวลในเรื่องการวัดเรื่องวิชาชีพ เพราะมีอาชีพจำนวนมากอีกทั้งบางสาขา/คณะ ไม่มีสภาวิชาชีพควบคุม เพราะฉะนั้น สมศ.และ วทศ.จะหารือกับสภาวิชาชีพว่าจะดำเนินการใดได้บ้าง

ผอ.สมศ.กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ นอกจาก สทศ.ยังมีในส่วนของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็เสนอว่าจะเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนา U-NET เช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน องค์ประกอบการประเมินมหาวิทยาลัยไม่ใช่แค่การวัดความรู้ความสามารถบัณฑิตใน 4 วิชาเท่านั้น สมศ.จะนำกรอบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ที่กำหนด 5 ด้านหลัก คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินด้วย

ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. กล่าวว่า สทศ.ได้มีการกำหนดกรอบงานวิจัยโครงการการวิจัย U-NET มาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อสอบ ทั้ง 4 วิชา ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดสอบมหาวิทยาลัยได้ทัน เพื่อให้สมศ.นำคะแนนไปใช้ในการประเมินมหาวิทยาลัยในปี 2558 อย่างไรก็ตาม สทศ.จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สทศ.ในวันที่ 24 มี.ค.2557 นี้ เพื่อแจ้งความคืบหน้าในการจัดสอบยูเน็ต นำไปสู่กระบวนการออกข้อสอบยูเน็ต
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?newsid=9570000032784

การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้

การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้

สี่วาทะการศึกษา .. วันนี้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ขาวไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เส้นไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ทุจริตไม่ได้” (คนโกงเขาเชื่ออย่างนั้น)
จากเพลงเรียนและงาน
http://www.youtube.com/watch?v=EDw98E7Lh0o

15 มิ.ย.56 นักเรียน ม.4 มีวาทะว่า “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
ในโครงการสมัชชาการศึกษา ครั้งที่ 2 โดยเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร
ที่ได้รับการสนับสนุนจาก
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค)
และกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/quotequotequote/posts/552626601494322
https://www.facebook.com/EducationReview/photos/a.519999038069381.1073741828.519774391425179/563846200351331/

24 มี.ค.57 เป็นที่มาของวาทะ “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ขาวไม่ได้
ขำขำนะครับ เพราะผมเห็นโฆษณาของโฮโม
ที่เจ้านายเลือกไม่ได้เลือกจากความรู้ความสามารถแต่เลือกจากความขาว
มีคลิ๊ปหัวหน้าเลือกนักข่าวจากสีเสื้อ สืบค้นยังไม่พบ
http://www.youtube.com/watch?v=8aVjfSnwRvc

6 มี.ค.56 เป็นที่มาของวาทะ “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ทุจริตไม่ได้
จากที่ คุณสรยุทธ พูดคุยกับ นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์
รองผู้อำนวยการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
เรื่องทุจริตครูผู้ช่วย มีประเด็นหลายข้อ
1. ส่งมือปืน คนนั่งหน้าหลัง
2. ใช้เครื่องมือสื่อสารเข้าห้องสอบ
3. ข้อสอบรั่ว เอาโพยเข้าห้องสอบ
ค่าจ้างสำหรับการทุจริต ประมาณ 300,000 – 500,000 บาท
จากกรณีที่พบทุจริตการสอบบรรจุเป็นข้าราชการ ตำแหน่งครูผู้ช่วย
มีคนได้คะแนนเต็มถึง 480 คน
http://education.kapook.com/view58020.html
http://www.youtube.com/watch?v=0mk3P-zfgRo

ความเห็น เรื่องเห็นต่าง

teacher & student
teacher & student

ปัจจุบันครูไทย .. เลือกปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว
กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแล้ว
นักเรียนก็เลือกเรียนกับครูแตกต่างกันแล้ว เช่นกัน

หมายความ ..
ว่าครูไม่ได้สาดวิชา โดยไม่ดูนักเรียน ดูใกล้ชิดเลย
และนักเรียนก็ไม่ได้รอรับการสาดวิชากับอยู่อย่างเดียว
เพราะถ้าครูไม่สาด หรือสาดน้อยไป เจอเปลี่ยนที่เรียนครับ

มีข้อมูลแลกเปลี่ยน .. ดังนี้
1. นักเรียนมีหลายกลุ่ม
กลุ่มที่เปิดรับวิชาจะเลือกที่เรียนที่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด ที่สมัครเป็นพัน แต่รับไม่กี่ร้อย
กลุ่มที่ไม่อยากรับอะไร ก็เลือกที่เรียนที่ไม่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนในชุมชน โรงเรียนที่ไม่ต้องสอบแข่ง
2. คุณครูมักไม่เทจนหมดหน้าตักในห้องเรียน
เพราะเงื่อนไขเยอะมาก เวลาสอนน้อยลงเยอะ
ต้องเกลี่ยไปตามกลุ่มสาระ ต้องบูรณาการ ติดงานหลวง
3. ถ้าเด็กอยากเรียนมาก ครูก็เปิดติว
พากลับไปเรียนต่อที่บ้าน จัดคอร์สพิเศษ สำหรับผู้สนใจ
4. ในแต่ละโรงเรียน มีหลายห้องตามถนัด ตามชอบ
แบ่งห้อง king queen math engl
5. โรงเรียนประจำจังหวัด
สอบเข้า ม.1 แล้ว ถ้าไม่พร้อมรับการสาดวิชา
ต้องกรองอีกตอนสอบเข้า ม.4
ถ้าไม่อยากเรียน ก็ไม่ต้องทำข้อสอบ
ไปหาโรงเรียนเบา ๆ เรียนได้ เด็กเลือกได้เสมอ

กลอนโดย กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
http://teacherkobwit2010.wordpress.com/

เปรียบคนถือสายยางนี้นี่คือครูเปรียบสายน้ำคือความรู้ครูสอนให้
เปรียบศิษย์กับภาชนะต่างกันไป
เปรียบให้เห็นตระหนักไว้ให้คิดกัน
หากเรามุ่งแต่สาดน้ำไปมั่วซั่ว
แม้จะทั่วแต่จะรับได้ไหมนั่น
ภาชนะแต่ละใบแตกต่างกัน
แต่ละอันมีเด่นด้อยต่างกันไป
บ้างเป็นขวดบ้างเป็นแก้วบ้างเป็นอ่าง
บ้างมีรูอยู่ข้างล่างบ้างเล็กใหญ่
บ้างคว่ำอยู่ไม่เปิดรับสิ่งอื่นใด
รับน้ำได้เท่ากันไหมลองคิดดู
เช่นเดียวกับการสอนศิษย์ของครูนั้น
เด็กต่างกันคือสิ่งที่ครูต้องรู้
ปรับการสอนให้เหมาะสมช่วยอุ้มชู
ตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตน
ครูที่ดีต้องไม่ใช่สาดความรู้
ตริตรองดูสอนอย่างไรให้เห็นผล
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาจนศิษย์เก่งดีมีสุขเอย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=808741769153811&set=a.118832161478112.15682.100000539852258
ที่มา: วรภัทร์ ภู่เจริญ. 2543.
การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ สสท. หน้า 11

ในภาพยนตร์จำลองเหตุการณ์ในชั้นเรียน
เล่าถึงกระบวนการพิจารณาไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน
เห็นว่าปีที่แล้วเชิญนักเรียนที่ไม่พร้อมออกไป 12 คน

การบินไทยแจกทุนนักบินฝึกหัดเริ่มรับสมัคร 1 เม.ย.นี้

28 กุมภาพันธ์ 2557
การบินไทยแจกทุนนักบินฝึกหัดเริ่มรับสมัคร 1 เม.ย.นี้
  
          การบินไทย ประกาศรับสมัครบุคคลทั่วไป สอบคัดเลือกเป็น “นักบินฝึกหัดทุนการบินไทย” เริ่มรับสมัครวันที่ 1 เม.ย.57 เป็นต้นไป ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งมี 7 ขั้นตอนการสอบ ได้แก่
1. สอบข้อเขียน ทดสอบความรู้พื้นฐานของการเป็นนักบิน
2.ทดสอบควมพร้อมของร่างกาย
3.สอบสัมภาษณ์กับกัปตันการบินไทย
4. สอบAptitude Test รอบแรกกับ Professor: Written test
5.สอบ Aptiude Test รอบสองกับ Professor: Teamwork Exercise
6.สอบ Aptiude Test รอบสามกับ Professor: Individual
7.สอบจิตวิทยาการบิน
       
รับสมัครระหว่างวันที่ 1-18 เม.ย.57 ผ่านทางระบบออนไลน์เท่านั้น ที่เว็บไซต์ http:// www.tgpilotrecruitment.com/
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามกีฬา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35958&Key=hotnews