Blog.NTU

บันทึก หรือเรื่องราวจาก blog ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาที่น่าสนใจ

ความเห็นชาวพุทธ

ความเห็นชาวพุทธ
ในเดือนมกราคม มีข่าวในทางพระพุทธศาสนาหลายประเด็น
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
ของพุทธศาสนิกชน จำนวน 1016 คน ที่เข้าร่วมงานพิธีมงคลวัฒนยุ
พระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ณ วัดธรรมมงคล
ในระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2559 ปรากฎผลสำรวจดังนี้
1. บทบาทของวัดต่อสังคม
อันดับ 1 เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ไม่ประพฤติตนเสื่อมเสีย 35%
อันดับ 2 เผยแพร่และสั่งสอนให้ประชาชนปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม 31.3%
อันดับ 3 ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและสังคม 16.4%
อันดับ 4 ไม่บิดเบือนหลักคำสอน 8.1%
อันดับ 5 เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้/การศึกษา 5.7%
2. การสนับสนุนพระพุทธศาสนาจากภาครัฐ
อันดับ 1 สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  28.6%
อันดับ 2 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 21.7%
อันดับ 3 สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาวัดในชนบท  16.5%
อันดับ 4 สนับสนุนกิจกรรมให้เยาวชนปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 9.3%
อันดับ 5 จัดระบบคัดกรองและควบคุมพฤติกรรมของพระสงฆ์ 8.4%
3. บุญหรือการปฏิบัติธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด
อันดับ 1 การเจริญภาวนา (ปฏิบัติสมาธิ) 53.3%
อันดับ 2 การรักษาศีลหรือประพฤติดี 21.7%
อันดับ 3 การให้ปันสิ่งของ (การบริจาค) 14.0%
อันดับ 4 การประพฤติอ่อนน้อม 6.3%
อันดับ 5 การบอกบุญและอนุโมทนาบุญ 2.3%
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208172992743509&set=a.10206803178058998.1073741830.1262180885

เด็กไทยอายุ 10 – 11 ปี เรียนหนักที่สุดในโลก อันดับ 1 แต่ผลรั้งท้าย

พิธีกร Divas Cafe บอกว่าน่าจะคุยเรื่องเนี้ยเยอะ
ทั้งช่อง Voice TV เกือบเป็นวันเว้นวันกันเลยทีเดียว
สำหรับปัญหาการศึกษา ที่มีประเด็นมากมาย ที่คุยกันบ่อย
เพราะยังเป็นปัญหาที่เราตอบปัญหาไม่ได้ชัดเจน
เพราะมีปัญหามากจนไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่
! http://news.voicetv.co.th/thailand/292293.html

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช

รายการรวบรวมมาเล่าให้ฟัง ดังนี้
– เด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก อันดับ 1
สำหรับอายุ 10 และ 11 ปี คือ 1200 ชั่วโมงต่อปี
– ข้อมูลจาก TCIJ Thai.com งบการศึกษา 77% เป็นเงินเดือน ค่าจ้างครู และเงินอุดหนุนรายหัว
ถ้าบวกค่าบริหารจัดการอีก 8% ก็จะเป็น 85%
แต่งบพัฒนาครูมีเพียง 1%
– ข้อมูลจาก TDRI ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช
พบว่าครูไทยใช้เวลานอกชั้นเรียนไปกว่า 84 วันจากเปิดเรียน 200 วันต่อปี
เวลาที่หายไปคือการเตรียมรับการประเมินจากภายนอก ประเมินครูเพื่อเลื่อนตำแหน่ง
ประเมินนักเรียน และพานักเรียนไปแข่งทางวิชาการ
จึงมีโครงการคืนครูสู่ห้องเรียน
– มีคำถามว่าพานักเรียนไปแข่ง แล้วได้เหรียญทองมา 1 – 2 คน
กับเด็กที่เหลือที่ไม่ได้ไปแข่งที่ไหน แลกกันแล้วคุ้มไหม
ผลก็นำมาประเมินโรงเรียน แล้วเราควรทำอย่างไรกันดี
ต้องกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ลงไปดูแลเด็กหลังห้องได้
– พักการเรียนเด็กเกเร เป็นทางออกไหม
– ประเมินโรงเรียน ต้องเปลี่ยนความคิด กระจายอำนาจ
ให้ท้องถิ่น ให้เทศบาลจัดการตนเองเสีย ให้ประเมินตามสภาพ
จัดการศึกษาที่เหมาะสมกับชุมชนนั้น

เป็นครูก็ต้องคาดหวังว่านักเรียนจะได้อะไรอะไร .. สูงสุด

เตือนสติตนเองว่า “อย่าเอามาตรฐานของครู ไปยัดเยียดให้ใครเขา
อันที่จริงก็มาจากหนังเรื่อง “คิดถึงวิทยา”
เป็นเรื่องของครูสอง ครูแอน และครูหนุ่ย
ครูแอน สอนเด็กที่เรือนแพ เด็กเกือบทุกคน อยากเป็นคนหาปลา
แต่ครูแอนจะสอนให้เรียนสูง เป็นหมอ เป็นวิศวะ เป็นเหมือนที่ครูแอนฝัน
[เด็กคิด] … อ้าว เป็นหมอ นั่นมันฝันของครู
[เด็กคิด] .. ผมอยากเป็นคนหาปลา .. “เลิกเรียนดีกว่า
สุดท้ายลูกศิษย์คนโตก็เลิกเรียน ไม่จบ ป.6 แล้วไปช่วยพ่อหาปลาในเขื่อน
..
ปีต่อมา ครูสอง มาสอนแทนครูแอน
ครูสองไม่เก่งเท่าครูแอน แต่อยากให้เด็กได้ความรู้
คิดวิธีต่าง ๆ นานามาสอนให้เด็ก ๆ มีความสุข
พาเด็ก ๆ นั่งรถไฟ เพราะเด็ก ๆ ไม่เคยนั่ง
ไปตามเด็กที่เลิกเรียน ป.6 มาเรียนต่อ เรียนให้จบจะได้ไม่ถูกใครเขาโกง
แล้วครูไปช่วยพ่อเด็กหาปลาในวันหยุด
สอนแล้วเด็กมีความสุข แต่ตกเกือบทั้งชั้น
..
สุดท้ายครูแอนก็ต้องเลือกว่า
จะไปแต่งงานกับครูหนุ่ย คนที่เคยรักกันมานาน
แล้วสอนนักเรียนในเมืองห้องละ 50 คน ที่อยากเรียนไปเป็นหมอ
หรือจะศึกษาดูใจกับครูสอง อย่างมีความสุข
แล้วสอนที่เรือนแพ มีเด็กไม่ถึง 10 คน ให้เด็กจบ
แล้วก็เป็นชาวประมงอยู่ในเขื่อน พอใจกับชีวิตพอเพียงแบบบรรพบุรุษ

ปล. น้องปุ๋ยแนะนำให้ดู แกมบังคับ เพราะเปิดในรถตู้ไปบางกอก
..
เคยอ่านบทความ การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ซึ่งสหกิจ กับฝึกงานนั้นต่างหลายประเด็น
1. ฝึกงานใช้เวลา 3 เดือน แต่สหกิจใช้เวลา 4 เดือน
2. เป้าของฝึกงานไม่มี แต่สหกิจต้องมีโครงงานที่นักศึกษาทำเป็นชิ้นเป็นอันให้องค์กร
3. สหกิจต้องมีอาจารย์นิเทศร่วมที่เป็นคนขององค์กร และเข้าใจเรื่องสหกิจชัดเจน
4. สหกิจคาดว่าสิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ มากกว่า การฝึกงาน
http://www.thaiall.com/e-book/coop/
..
เรื่อง คิดถึงวิทยา เป็นการต่อสู่กันระหว่าง
– พุทธิพิสัย
– ทักษะพิสัย
– จิตพิสัย
การเรียนการสอนโดยทั่วไปก็ต้องมี  3 ด้านนี้ แต่ถ้าหนักทางใดมากไป ก็จะเป็นปัญหา
..

การประเมินของ สกอ. เกณฑ์ใหม่มี 2557
ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอพัฒนาเกณฑ์คุณภาพของตนเอง
แทนการใช้เกณฑ์ระดับหลักสูตรที่ สกอ. กำหนด เพราะ สกอ. เน้นกระบวนการ
ไม่เน้นการดูที่ผลลัพธ์ นั่นก็จะหนักไปทางพุทธิพิสัยมากกว่าด้านอื่นชัดเจน

มธ. ขอเวลาพัฒนาเกณฑ์ 1 ปี แบบจุฬาฯ
มธ. ขอเวลาพัฒนาเกณฑ์ 1 ปี แบบจุฬาฯ

http://board.siamtechu.net/home.php?mod=space&uid=5988&do=blog&id=568


สรุปว่า
เป็นครูก็อย่าคิดว่านักเรียน จะนำความรู้ไปใช้อย่างที่ครูหวัง
ต้องเผื่อใจไว้ว่าเป้าหมายการเรียนของเด็กแต่ละคน .. อาจไม่เหมือนครู
อย่าคิดว่าใคร จะคิดเหมือนเรา
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000048106

คลอด 6 นโยบายใช้เปิดเทอมใหม่ ยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

นางอ่องจิต เมธยะประภาส รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามในประกาศ ศธ. เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยได้กำหนด 6 นโยบาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือเข้าถึงองค์ความรู้และก้าวทันโลก รวมถึงพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ดังต่อไปนี้

1. ให้ใช้กรอบมาตรการความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ทั้งในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล การพัฒนาครู รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้

2. ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ โดยเน้นการสื่อสารที่เริ่มจากการฟัง ตามด้วยการพูด การอ่าน และการเขียนตามลำดับ

3. ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก ด้วยหลักสูตรแบบเรียน สื่อการเรียนการสอนแต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันได้ ทั้งตามความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา และแสดงถึงความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

4. ส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ อาทิ ขยายโครงการพิเศษด้านการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program หรือ EP, Mini EP, International Program แก่ผู้ที่มีความสามารถทางวิชาการสูง, English Bilingual Education โดยจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และศิลปการศึกษาแบบสองภาษา พัฒนาห้องเรียนสนทนาภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะการฟังและการพูดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง และให้มีการเรียนการสอนวิชา
สนทนาภาษาอังกฤษเป็นการทั่วไป และมีการเรียนการสอนแบบเข้มข้น รวมถึงจัดให้เป็นสาระเพิ่มเติมในลักษณะวิชาเลือกได้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ความถนัด และศักยภาพ เป็นต้น

5. ยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนที่เน้นการสื่อสารและ 6. ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้หน่วยงานที่ต้องจัดการเรียนการสอนนำนโยบายไปปฏิบัติโดยคำนึงถึงศักยภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาแต่ละแห่ง รวมทั้งบริบทและความต้องการของพื้นที่ที่แตกต่างกัน

นางอ่องจิต กล่าวว่า หลังจากออกประกาศ ศธ. แล้ว สพฐ. จะจัดทำแนวปฏิบัติแจ้งไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศเพื่อใช้ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งโรงเรียนสามารถเริ่มจัดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป ตามศักยภาพและความพร้อม

–ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ประจำวันที่ 10 – 16 ก.พ. 2557–

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง :: ชนาพร เคลือบคล้าย

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35696&Key=hotnews

ทัวร์อาคารเรียน ห้องประชุม และห้องเรียน

15 ม.ค.57 พาชมห้องเรียน และห้องประชุม
บริเวณชั้น 2 ในอาคารบริหารธุรกิจ
รวม 9 ห้อง มีที่นั่งทั้งหมด 643 ที่นั่ง

ประกอบด้วย
1. ห้อง Auditorium = 309 ที่นั่ง
2. ห้อง 1203 = 54 ที่นั่ง
3. ห้อง 1204 = 24 ที่นั่ง
4. ห้อง 1205 = 30 ที่นั่ง
5. ห้อง 1206 = 40 ที่นั่ง
6. ห้อง 1207 = 40 ที่นั่ง
7. ห้อง 1208 = 66 ที่นั่ง
8. ห้อง Lab3 = 50 ที่นั่ง
9. ห้อง 1209 = 30 ที่นั่ง

เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการ หรือผู้สนใจที่ต้องการ
มาใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยในการจัดประชุม

ศธ.ประสานกรมสรรพากร ยกเว้นภาษีให้กับสถานศึกษาเอกชน

25 พฤศจิกายน 2556

นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมภาคเอกชนร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษา ว่า ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์การจัดการศึกษาของเอกชน ที่ขณะนี้ประสบปัญหาในหลายด้านโดยเฉพาะการสนับสนุนจากภาครัฐ ปัญหาการคิดอัตราภาษีโรงเรือน ซึ่งปัจจุบันการคิดอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับการประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำให้ผลการประเมินมีความหลากหลาย อีกทั้ง อัตราภาษีก็คิดในรูปแบบธุรกิจบริการซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถานศึกษาเนื่องจากการจัดธุรกิจการศึกษาไม่ใช่ธุรกิจที่มีรายได้เหมือนธุรกิจบริการต่างๆ ที่มีรายได้มาก ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) อยู่ระหว่างประสานกรมสรรพากร เพื่อขอให้ออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีอากรการโอนภาษีที่ดินให้กับสถานศึกษาเอกชน ซึ่งที่ผ่านมาเคยเสนอขอให้คิดในอัตราต่ำสุดที่ 1-2% ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาในเรื่องของการเสียภาษีนำเข้าสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยจากต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามีการคิดในอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่เสนอว่าอยากให้มีการลดหย่อนภาษีหรือคิดในอัตราภาษีการศึกษาแทน ซึ่งขณะนี้มีเสียงสะท้อนจากสถานประกอบการด้วยว่าการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีนั้นยังไม่มีผู้เรียนเข้าร่วมตามเป้าหมายอย่างพอเพียง จึงเสนอว่าอยากให้อาชีวศึกษาเอกชนเข้าร่วมกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี 100% นอกจากนี้มีข้อเสนอด้วยว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่สถานประกอบการในตำบลหรือในจังหวัดที่อยากได้คนเข้าทำงานจัดสรรทุนให้เด็กอาชีวะ โดยทำเป็นโครงการ 1 สถานประกอบการ 1 ทุน หรือ 1 ตำบล 1 ทุน ซึ่งจะมีรูปแบบคล้าย1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งจะเป็นการจูงใจและส่งเสริมคนมาเรียนอาชีวะเพราะได้เรียนฟรี หรืออาจจะจูงใจว่าเมื่อมาเรียนจบแล้วมีงานทำในสถานประกอบการด้วย

นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาความล่าช้าในเรื่องการขออนุมัติหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าควรจะไปทบทวนและแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องหากจำเป็นที่ต้องแก้ไขเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จากปัญหาต่างๆ ที่ประชุมจึงได้ตั้งคณะทำงาน 3 ชุดเพื่อดูแล ได้แก่คณะทำงานที่มีหน้าที่ดูแลปัญหาภาษีโรงเรือนการลดหย่อนภาษี คณะทำงานดูแลกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษาเอกชน คณะทำงานที่ส่งเสริมการเพิ่มผู้เรียนอาชีวศึกษาเอกชน ซึ่งจะรวมถึงการดูแลการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐานและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาเอกชนให้สอดคล้องกับความต้องการกับภาคเอกชนด้วย

ที่มา: http://www.naewna.com

เล็งปี 57 เริ่มใช้ข้อสอบกลาง 30 %

13 พฤศจิกายน 2556

แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือเรื่อง การประเมินและระบบทดสอบกลาง ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศธ. เป็นประธาน ที่โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือทิศทางการทดสอบวัดผลกลาง ว่า จะดำเนินการไปในทิศทางใด โดยเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า การทดสอบจะดำเนินการเป็นอัตราส่วนระหว่างข้อสอบกลาง และข้อสอบปลายภาค ซึ่งช่วงแรกจะเริ่มใช้ข้อสอบกลางในทุกระดับชั้น ประมาณ 30% และข้อสอบปลายภาค 70% โดยเริ่มในปีการศึกษา 2557 จากนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มอัตราส่วนของข้อสอบกลางให้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะไม่เกิน 50% ทั้งนี้ ข้อสอบกลางจะเป็นข้อสอบมาตรฐานที่ผ่านกระบวนการพิจารณาจากชุมนุมนักวัดผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 1,000 คน ที่จะมาร่วมกันดูแลเรื่องข้อสอบ

“มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า จะต้องมีการเก็บคะแนนการสอบระหว่างภาค และปลายภาคตามสภาพจริงไว้ด้วย ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงต้องคงข้อสอบปลายภาคไว้เหมือนเดิม จะใช้ข้อสอบกลางทั้ง 100% ไม่ได้” แหล่งข่าวจาก ศธ. กล่าวและว่า การใช้ข้อสอบกลางนอกจากจะทำให้ทราบภาพรวมผลการจัดศึกษาทั้งประเทศแล้ว ยังจะช่วยทำให้ครูรู้แนวทางวิธีการออกข้อสอบที่ถูกต้อง โดยเฉพาะด้านการคิดวิเคราะห์ว่าควรจะออกข้อสอบอย่างไร ซึ่งต้องค่อย ๆ สร้างความตระหนักให้แก่ครู เพื่อให้ครูได้นำไปใช้ในการออกข้อสอบปลายภาคต่อไป ทั้งนี้ ในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ จะมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเรื่องการประเมินและระบบทดสอบกลางอีกครั้ง เพื่อนำข้อสรุปทั้งหมดเสนอ รมว.ศธ. พิจารณาก่อนที่จะประกาศใช้ต่อไป.

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34765&Key=hotnews

สกศ.รื้อแผนการศึกษาชาติล้าสมัย นำร่องถกระดับภาค-หนุนวิจัยพัฒนา 4 หัวข้อหลัก

12 พฤศจิกายน 2556

น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมระดับภูมิภาค เรื่อง “การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (2556-2559) สู่การปฏิบัติ ภาคเหนือ” โดยหารือถึงการขับเคลื่อนกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษา ซึ่งแผนการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำมาตั้งแต่ปี 2542 และปรับปรุงมาเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันมีหลายเรื่องที่ไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เช่น เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว การศึกษาไม่มีการพูดถึงเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเรื่องยาเสพติด และเรื่องอาเซียน จึงควรเพิ่มเติมเรื่องเหล่านี้ในแผนการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับการประชุมนี้จะจัดขึ้นใน 4 ภูมิภาค โดยจัดที่ จ.เชียงราย เป็นครั้งแรก และอีก 3 ภูมิภาค คือ ภาคกลางที่ กรุงเทพฯ ภาคใต้ที่ จ.สงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.ขอนแก่น ตามลำดับ

เลขาธิการ สกศ. กล่าวต่อว่า การประชุมครั้งนี้จัดตามนโยบายรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ มุ่งเน้นเรื่องการสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ทางการศึกษา เป็นครั้งแรกที่เริ่มจัดในภาคเหนือ โดยเชิญหน่วยงานทางการศึกษา สถาบันการศึกษา นักวิจัยที่ดำเนินการวิจัยทางการศึกษาตามกรอบการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ ประเด็นและหัวข้อวิจัยทางการศึกษาที่เน้นด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษา ที่นำไปสู่การเสนอนโยบาย การแก้ปัญหา งานวิจัยที่ตรงความต้องการของพื้นที่ เป็นต้น มานำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

โดยแบ่งกลุ่มงานวิจัยตามหัวข้อได้ 4 หัวข้อหลัก คือ 1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การสร้างและกระจายโอกาสการศึกษา 2. การปฏิรูปครู 3.การจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้สอดคล้องตลาดแรงงาน และเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับการเปิดอาเซียน และ 4.การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญา ของชาติ

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 13 พ.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

 

กิ่งไม้ 7 กิ่ง กับภารกิจเรื่องจริยธรรม

กิ่งไม้ 7 กิ่ง กับภารกิจเรื่องจริยธรรม
โดย : จักร์กฤษ เพิ่มพูล

7 องค์กรอิสระ .. ผนึกกำลังสร้างปรากฎการณ์ใหม่ในสังคมไทย ประกอบด้วย 1. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 2. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 3. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ4. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง 5. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 6. สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ 7. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

องค์กร 7 องค์กร
องค์กร 7 องค์กร

เพราะมีภารกิจมากมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ “คนดี” และ “ความดี” ที่สังคมไทยในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา เริ่มมีทัศนคติที่เปลี่ยนไป

http://bit.ly/HcB7eL
โดยเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องไม่สำคัญมากไปกว่า “คนเก่ง” และ “คนรวย” ที่ทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ทำให้มีฐานะร่ำรวย แม้สิ่งเหล่านี้จะได้มาด้วยการสูบเลือด สูบเนื้อ เพื่อนร่วมชาติ หรือฉกฉวยโอกาสในอำนาจ ไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพวกพ้อง ฉะนั้น ในท่ามกลางสังคมที่บูชาคนเก่ง คนมีฐานะ คนดี และความดี จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม จนเกือบไม่มีที่ยืนให้กับคนเหล่านี้อีก และเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ ที่จะทำอะไรสักสิ่ง

เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน รายการวิทยุสถานีจราจรเพื่อสังคม เอฟเอ็ม 99.5 ช่วงประเทศไทย ไอ เลิฟ ยู และรายการ “รู้ทันสื่อ” เอฟเอ็ม 100.5 อสมท ชวนคุยเรื่อง การผนึกกำลังครั้งสำคัญของ 7 องค์กรอิสระ เพื่อภารกิจปกป้องคุ้มครองคนดี และความดี ที่ผมมีส่วนเล็กๆ ในการผลักดันให้เกิดขึ้น ผมอธิบายว่าจุดบันดาลใจสำคัญของผม นอกจากภาพใหญ่ของสังคม ที่ลดทอนคุณค่าของคนดี และความดีแล้ว เราพบว่า มีคนดีจำนวนไม่น้อยที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริต ตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์ของชาติและส่วนรวม จนแม้กระทั่งนักวิชาการ และสื่อมวลชน ที่ทำงานตามหลักการ ตามหน้าที่ทางวิชาชีพ ก็ยังถูกคุกคาม ใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม ข่มขู่ให้หวาดกลัวโดยไม่สามารถไปสู้รบปรบมือ หรือมีพลังใดจะไปต้านทานได้

เรามีข้าราชการ ผู้ที่ทำหน้าที่ด้วยความสุจริตจำนวนมาก ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา และถูกกลั่นแกล้ง ถูกฟ้อง ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม เช่น กรณีของคุณถวิล เปลี่ยนศรี เลขาฯ สมช. คุณสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ประธานอนุกรรมการปิดบัญชีสินค้าเกษตรโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร หรือโครงการจำนำข้าว ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย ทีดีอาร์ไอ คุณณัฎฐา โกมลวาทิน พิธีกรรายการ ไทยพีบีเอส ที่ถูก กสทช.ฟ้อง คนเหล่านี้จะต้องไม่โดดเดี่ยว และคนอื่นๆ ก็ต้องมีความมั่นใจในการทำหน้าที่ ในการทำหน้าที่เพื่อสร้างสังคมที่มีธรรมาภิบาล โดยไม่ต้องหวั่นเกรงภัยคุกคามใด ๆ

ผมอธิบายความคิดในการชักชวน 7 องค์กรอิสระ มาร่วมกันปกป้องคุ้มครอง คนดี และความดี และว่าภารกิจสำคัญนี้ ไม่ได้มุ่งเฉพาะคนที่มีชื่อเสียง มีบทบาทสำคัญ ที่สังคมรู้จักเท่านั้น หากแต่คนเล็กคนน้อยในสังคมนี้ เช่น แท็กซี่เก็บเงินผู้โดยสารได้และไปส่งคืน หรือพลเมืองดีที่มีจิตอาสา ช่วยเหลือคนอื่น ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจดูแลด้วย

แน่นอนว่า สังคมไทยไม่ได้สูญเสียคุณงามความดี และความดีไปจนหมดสิ้น แต่จิตสำนึกเรื่องจริยธรรมเริ่มสั่นคลอน และอาจหวังไม่ได้จากผู้ใหญ่ที่มีบทบาทเป็นแบบฉบับในสังคมมากนัก โดยเฉพาะกลุ่มนักการเมือง โครงการดีๆ เช่น “โตไปไม่โกง” ซึ่งเริ่มจากหน่ออ่อนของสังคม รวมทั้งความพยายามของผมและกลุ่มคนที่มีความเห็นตรงกัน ในการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะจิตสำนึกในเรื่องจริยธรรม ตั้งแต่เด็กๆ จนกระทั่งในระดับมหาวิทยาลัย ที่จะจบไปเป็นกำลังหลักของสังคมไทยในอนาคต จึงเป็นแสงสว่างวาบหนึ่งที่ถูกจุดขึ้นในท่ามกลางความมืดมิด แม้จะหวังผลไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การที่ได้เริ่มต้น และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง ก็พอจะเป็นหลักประกันความมั่นใจได้ว่า สักวันหนึ่งเราจะได้สังคมที่เห็นคุณค่าของความดี และคนดีกลับคืนมา

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาจริยธรรม ส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย และเพิ่มศักยภาพกลไกการทำงานสื่อ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีอาจารย์จาก 11 สถาบัน เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 12 ฉบับในภาคเหนือเข้าร่วม เป้าหมายหลักคือสานต่อภารกิจในการปฏิรูปการเรียนการสอนวิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชน ที่ผมได้เริ่มต้นไว้เมื่อสองปีก่อน โดยออกดอกออกผล เป็นคู่มือการเรียนการสอนวิชานี้ ซึ่งเขียนโดยกลุ่มคณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย จำนวน 2 เล่มแล้ว ครั้งนี้เป็นการต่อยอด จัดทำ Course Sylabus เพื่อความชัดเจนในแนวทางการเรียนการสอน โดยมี ร.ศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และอดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นแม่ทัพใหญ่

จากจุดเล็ก ๆ หลายจุดจุดนี้ ในวันนี้ 7 องค์กรอิสระ ประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะรวมตัวกันประกาศเปิดตัว “ภาคีเครือข่ายเสริมสร้างพลังคุณธรรมจริยธรรมของแผ่นดิน” ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพ เพื่อกอบกู้ภาวะวิกฤติคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นเมฆหมอกปกคลุมสังคมไทยมานาน

กิ่งไม้เล็กๆ อาจไร้พลัง แต่เมื่อมามัดรวมกันก็สามารถงัดขุนเขาสูงใหญ่ได้
http://bit.ly/HcB7eL
Tags : จักร์กฤษ เพิ่มพูล

http://www.thairath.co.th/content/pol/378132

สามัคคีคือพลัง
สามัคคีคือพลัง

หลากหลาย ไว(วัย)และจริยธรรม เท่ากับคนสื่อยุคใหม่

หลากหลาย ไว(วัย)และจริยธรรม เท่ากับคนสื่อยุคใหม่

โดย : ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

http://bit.ly/H14kJD

“น้ำอดน้ำทนน้อยลง หนักไม่เอาเบาไม่สู้” “สมาธิสั้น” “ทำงานไม่เป็น ไม่ค่อยฟัง เถียง” วลีสั้นๆ ที่ได้ยินบ่อยครั้ง

เมื่อกล่าวถึงคนสื่อรุ่นใหม่จากปากคนสื่อรุ่นเก่า เหมือนคำตอบที่โยนกลับสู่นักวิชาการสื่อ คนสอนสื่อ ผู้สร้างคนสื่อรุ่นใหม่ถึงผลผลิตที่ป้อนสู่อุตสาหกรรมสื่อ ใส่เครื่องหมายคำถามตัวโตๆ “เป็นความผิดคนรุ่นใหม่หรือที่เป็นอย่างนั้น” ก็คงจะไม่ใช่เพราะเป็นเพียงมุมมองคนรุ่นหนึ่งมองคนอีกรุ่นหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงของตัวสื่อ ไม่ใช่กระทบต่อรูปแบบการทำงานสังคมงานสื่อเพียงประการเดียว แต่มีผลพวงวงกว้าง รวมถึงการเรียนการสอนด้านสื่อก็ด้วย ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าผู้สอนต้องงัดสารพัดเทคนิคมาใช้มากขึ้น เพื่อแข่งขันกับอาจารย์กู (กูเกิล) ที่สามารถรังสรรค์คำตอบให้แก่ผู้เรียนเพียงปลายนิ้วสัมผัสที่ป้อนสิ่งที่ต้องการจะรู้เข้าไป ผ่านแป้นคีย์บอร์ด ความรู้บนโลกไซเบอร์ที่กว้างขวาง ตอบได้ทุกด้านที่ผู้เรียนต้องการ จริงไม่จริง ถูกไม่ถูกต้อง ครบถ้วนหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง แน่นอนว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีคิดของคน ทำให้อดทนน้อยลงที่จะนั่งค้นหาคำตอบสิ่งต่างๆ บทบาทของผู้สอนจึงเป็นเสมือน “โค้ช” มากกว่าการเป็นครู เป็นผู้ชี้แนะแนวทางแสวงหาความรู้ สร้างบรรยากาศ กระตุ้นการเรียนรู้ แล้วคนสื่อแบบไหนที่สังคมสื่อในยุคปัจจุบันต้องการ

ประการแรก “หลากหลาย” มีทักษะอันหลากหลาย นักสื่อสารมวลชนคนรุ่นใหม่ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ไม่จำเพาะความรู้เฉพาะด้านเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง จะเป็นคนสื่อที่รู้เพียงด้านวิทยุโทรทัศน์ สื่อใหม่ โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เพียงด้านใดด้านหนึ่งคงไม่เพียงพอ ควรมีความรู้รอบด้านอันเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ร่วมด้วย การคอนเวอร์เจนซ์ของสื่อ ต้องการคนสื่อที่เข้าใจธรรมชาติของสื่อที่เปลี่ยน สามารถบูรณาการความรู้ในการทำงานเป็นนักวิชาชีพที่มีองค์ความรู้ทางวิชาการ และที่สำคัญควรเป็นคนสื่อที่รู้เท่าทันสื่อ ส่วนทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กลายเป็นทักษะพื้นฐานที่คนสื่อยุคใหม่ต้องมี การใช้งานคอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐานในการพิมพ์งาน การนำเสนอ และการใช้โซเชียลมีเดียเป็น ไม่ว่าจะใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทักษะด้านภาษาที่นักสื่อสารมวลชนคนรุ่นใหม่ควรจะสื่อสารได้ 2 ภาษาเป็นอย่างน้อย คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ไม่ต้องมองไปไหนไกล เริ่มจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมาถึงในปี 58 หรือใกล้ตัวกว่านั้น คือ การใช้ภาษาในการติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยนข่าวสารกับสื่อมวลชนจากทั่วทุกมุมโลก

ประการที่สอง “ไว (วัย)” ไวอันแรกคือ ปรับตัวไว วัยทำงานของคนสังคมสื่อมีความหลากหลายคนสื่อรุ่นใหม่ต้องสามารถทำงานเป็นทีม เมื่อคนหลายเจนเนอเรชั่นมาทำงานรวมกัน ความแตกต่างเรื่องวัยสัมพันธ์กับเข็มไมล์ประสบการณ์ ปัญหาและทัศนคติการทำงานที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้เสมอ ก็เหมือนองค์กรธุรกิจอื่น ที่ประกอบไปด้วยคนตั้งแต่ยุคเบบี้บูมเมอร์ ที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน (Work for Life) คนเจนเนอเรชั่น X โตมากับพัฒนาการของสื่อ ทำงานในลักษณะสมดุลงานกับครอบครัว (Work-Life Balance) มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเองสูง และคนเจนเนอเรชั่น Y โตมากับสื่อใหม่ มีทักษะการทำงานที่หลากหลาย มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบ การเปิดใจยอมรับ ปรับทัศนคติเข้าหากันและกัน สำคัญที่สุดคือใช้ “การสื่อสาร” เพื่อการป้องกันปัญหา ลดช่องว่างระหว่างวัยที่จะเกิดขึ้น

ไว อันที่สอง ไวต่อการเรียนรู้ ด้วยสื่อสมัยปัจจุบันที่มีการคอนเวอร์เจนซ์ เทคโนโลยีสื่อที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา การเรียนรู้ ปรับตัวให้เข้ากับสื่อ สามารถหยิบเอาประโยชน์ เทคโนโลยีจากสื่อ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง คนที่พร้อม คนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่รอดในวิชาชีพนี้

ประการสุดท้าย “จริยธรรม” การเป็นคนสื่อที่มีจริยธรรม การประพฤติและปฏิบัติที่ดี มองเรื่องจริยธรรมสื่อแล้วก็น่าใจหายที่เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยก มองเห็นความสำคัญกันน้อย ทั้งที่ในความเป็นจริงควรให้ความสำคัญระดับต้นๆ เริ่มที่ครอบครัวและสถาบันการศึกษา การไปแก้ไขเมื่อเข้าสู่สังคมสื่อกระทำได้ยาก ปัญหาจริยธรรมนับวันเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในสังคมทุกสังคม ตัวอย่างง่ายๆ ที่ประสบพบเจอในฐานะนักวิชาการ ผู้สอนทางด้านสื่อคือ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในรูปแบบใดก็ตาม การลอกเลียนแบบผลงานคนอื่น การหยิบ หรือนำผลงานคนอื่นมาใช้ในผลงานตนเองโดยไม่ได้ให้การอ้างอิง ถึงแหล่งที่มาของข้อมูล จนผู้เรียน บุคคลที่จะก้าวขึ้นมาเป็นคนสื่อรุ่นใหม่มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่ได้ผิดอะไร เป็นความคุ้นชินที่ทำมาตลอด หรือการใช้เทคโนโลยีในการแก้ไข ลอกเลียน บิดเบือนข้อเท็จจริง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ควรที่จะได้รับการแก้ไข ให้ความตระหนักจากทุกภาคส่วน ลำพังจะรอองค์กรวิชาชีพสื่อ ขับเคลื่อนกลไกเรื่องนี้คงจะไม่ได้

ไม่ว่าสังคมสื่อ ภูมิทัศน์สื่อจะเปลี่ยนไปมากเท่าใด หากเรียนรู้ที่จะปรับตัว เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ และคงไว้ซึ่งกรอบความคิดและจุดยืนในวิชาชีพที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมคุณธรรม ก็สามารถเป็นคนสื่อคุณภาพได้ไม่ยาก
http://bit.ly/H14kJD
Tags : ชินกฤต อุดมลาภไพศาล