Blog.NTU

บันทึก หรือเรื่องราวจาก blog ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาที่น่าสนใจ

แบ่งปันประสบการณ์จากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้าน QA

รศ.อุษณีย์ คำประกอบ
รศ.อุษณีย์ คำประกอบ

2 วันของการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ QA ตามโครงการ 1 ช่วย 9 ของ โดยสุดยอดวิทยากร รศ.อุษณีย์ คำประกอบ จึงขอแบ่งปันประสบการณ์อันเกี่ยวเนื่องใน 2 เรื่อง

เรื่องแรก เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการบรรยายของวิทยากร ที่ผมซาบซึ้งในความมีน้ำใจของท่านที่มีให้กับเรามาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ ผ่านมา ยิ่งได้เห็นในครั้งนี้กับ “ความทุ่มเท” หรือ “การทำการบ้านอย่างหนัก” ของท่าน ผมพูดได้อย่างเต็มปากว่า ท่านคือกูรูด้าน QA แบบที่พูดได้สนิทใจว่า รู้จริง รู้ลึก รู้ถึงความเชื่อมโยงของเกณฑ์ต่างๆ ทั้งของ สกอ. และ สมศ. และที่สำคัญไปกว่า รู้ถึงเจตนารมณ์ของเกณฑ์ในแต่ละตัวบ่งชี้ ไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจจากการตีความตามตัวอักษรที่ผู้ประเมินหลายคนรวมถึงตัว ผมเองเข้าใจอยู่ สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก 2 วัน ที่เสียเวลาไป มันจึงคุ้มค่ามาก เพราะ 1.เรานำไปเขียน/ปรับปรุง SAR ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อคะแนนที่จะได้เพิ่มขึ้น 2.การเรียนรู้ในบทบาทของความเป็นครู ที่ต้องเป็นผู้ให้ และมีความพร้อมที่จะให้ ทุกครั้งที่ต้องยืนหน้าชั้นเรียน คงจะต้องถามตัวเองเสมอว่า “วันนี้เราพร้อมแล้วหรือยัง” พร้อมทั้งการเป็นผู้ให้ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู และพร้อมในเนื้อหาบทเรียนที่จะให้ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง เหมือนที่ท่านวิทยากรบอกว่า อาจารย์ส่วนใหญ่มีทักษะวิชาชีพที่ได้ร่ำเรียนมาและเข้ามาเป็นอาจารย์ในทันที แต่สิ่งที่ขาดไป คือ บทบาทและหน้าที่ความเป็นครู ไม่ได้ร่ำเรียนมาด้วย สำหรับผมแล้ว อาชีพการเป็นครู/อาจารย์ มันจึงไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด…..

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องของ “คนชอบกาแฟ” เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการประชุม/สัมมนา ที่ต้องมีบริการ ชา/กาแฟ ในเวลา 10.30 น. และ 14.30 น. ส่งผลให้ในช่วง 2 วัน ที่ผ่านมา ผมดื่มกาแฟวันละ 3 แก้ว (รอบเช้ามาจากที่บ้านแล้ว 1 แก้ว) แต่ก็มีอาจารย์บางท่านไม่ดื่ม ทราบมาว่า Caffeine ทำให้ใจสั่น รวมถึงคนที่เป็นความดัน ก็ไม่ดื่ม บางคนดื่มแล้วมีผลข้างเคียง ทำให้ปวดหัว กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว แต่ผลจากงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้สรุปว่า การดื่มกาแฟในปริมาณปานกลาง ไม่ส่งผลใดๆ ต่อคนเป็นโรคหัวใจ ในทางตรงข้าม กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ในปริมาณที่มากกว่าผักและผลไม้หลายชนิดด้วยซ้ำ และผลจากงานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟเป็นประจำช่วยลดอัตราเสียงมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอัตราเสี่ยงโรคพาร์กินสัน ลดอัตราการเสียชีวิตจากหัวใจวายเฉียบพลัน ข้อมูลจากการวิจัยตลอด 26 ปี กับผู้หญิงมากกว่า 67,000 คน ในประเทศสหรัฐอเมริกา การดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน ลดอัตราเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุมดลูก กาแฟยังช่วยลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ลดปริมาณสารอินซูลินที่มีผลต่อโรคเบาหวาน
สรุปแล้ว การประชุม 2 วันที่ผ่านมานั้น ผมได้ทั้งสุขภาพสมองและสุขภาพกาย คุ้มค่าจริงๆ ครับ

แหล่งข้อมูลเรื่องที่ 2 : The Nation ฉบับวันที่ March 1, 2012

! http://blog.nation.ac.th/?p=2022

คิดอย่างสตี๊ฟ จ๊อบ

ม.เนชั่น ลำปาง จัดสัมมนา 2 หัวข้อใหญ่ “เพื่อการศึกษาก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ในงาน Open House   สัมมนา เรื่อง “เรียนและทำงานอย่างไรให้เป็นมืออาชีพ” และสัมมนาเรื่อง “คิดอย่างสตี๊ฟ จ๊อบ” โดยคุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองได้รับทราบถึงแนวทางการศึกษาต่อ ระดับอุดมศึกษา ที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ณ โถงเสานัก อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555

! http://blog.nation.ac.th/?p=2043

การปรับระดับในผลจัดอันดับมหาวิทยาลัย

อ.อุดม ไพรเกษตร ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยมีศักยภาพในการแข่งขัน เป็นผลให้อันดับของมหาวิทยาลัยปรับขึ้น ได้ให้นโยบาย ในการประชุมกบม. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2555 ว่า การเข้าไปมีกิจกรรมของอาจารย์ และนักศึกษา หรือระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งใน blog, webboard, e-learning ล้วนมีอิทธิพลต่อผลการจัดอันดับทั้งสิ้น เพราะบริการข้างต้นเป็นระบบเปิด ที่ผู้จัดอันดับสามารถมาติดตามความเคลื่อนไหว และใช้เป็นข้อมูลได้
http://blog.nation.ac.th
http://it.nation.ac.th/webboard
http://class.nation.ac.th
http://www.nation.ac.th

! http://blog.nation.ac.th/?p=2046

กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทำเว็บไซต์ให้ทั่วโลกรู้จัก

อาจารย์ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม) จากเว็บไซต์ tarad.com บรรยายหัวข้อ “e-marketing กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทำเว็บไซต์ให้ทั่วโลกรู้จัก” ณ ห้องประชุม อาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 มีประเด็นในสไลด์ที่สำคัญคือ
การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์
1. กำหนดวัตถุประสงค์ (sell or image)
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (5W 1H)
3. วางแผนงบประมาณ (มีเงินเท่าไร จะใช้อย่างไร)
4. กำหนดแนวความคิดและรูปแบบ (หาจุดขาย ลูกเล่น ไอเดีย)
5. วางแผนกลยุทธ์ และสื่อ ช่วงเวลา (กลยุทธ์อะไร สื่ออะไร เมื่อใด)
6. ดำเนินแผนการ
7. วัดผล และประเมินผลลัพธ์

http://www.ustream.tv/channel/nation-university

! http://blog.nation.ac.th/?p=2053

รู้เขา รู้เรา ปรับแผนการตลาด สร้างโอกาสในอาเซียน

บรรยายพิเศษ “รู้เขา รู้เรา ปรับแผนการตลาด สร้างโอกาสในอาเซียน” โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 /ฟรี โทร.054-265170-6 (สำนักการสื่อสารองค์กรและการตลาด)

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย (ชื่อเดิมคือ สุจิต) เป็นนักพูด, นักบรรยายชื่อดัง,พิธีกร,นักจัดรายการวิทยุ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และเป็นอาจารย์สอนวิชา Brand Management ที่ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก

การทำงาน
* จัดรายการ Business Connection ทางคลื่น 96.50 คลื่นความคิด (http://radio.mcot.net/fm965/)
* จัดรายการ “คิดอะไรไม่ออกบอกธันยวัชร์” ทางคลื่น 97.75
(http://www.managerradio.com)
* จัดรายการ เวลาเศรษฐกิจ/ECONOMIC TIME ทาง TrueVisions 7 (TNN 24)
* เคยจัดรายการ (ดูแล้ว) รวยไม่เลิก ออกอากาศทางช่อง 11
* เขียนคอลัมน์ marketing thought ลงในนิตยสาร BrandAge
* เป็นกรรมการตัดสิน รายการ SME ตีแตก ออกอากาศทางช่อง 5 ทุกวันศุกร์ เวลา 22:30 น.
* เป็นกรรมการตัดสิน รายการ นักประดิษฐ์พันล้าน ออกอากาศทางช่อง เวิร์คพอยท์ ทีวี ทุกวันจันทร์ เวลา 20:00 น.

! http://blog.nation.ac.th/?p=2066

มิติใหม่ของอุดมศึกษาไทย ในหนังสือเล่มเล็ก

อาจารย์ ดร.วันชาติ นภาศรี ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง, อาจารย์ธวัชชัย แสนชมภู ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง และคุณสิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย นักวิชาการอิสระ ได้รับรางวัลดีเด่น “การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย” จากเครือข่าย บริหารการวิจัยภาคเหนือต้อนบน การประชุมวิจัยระดับชาติเครือข่าววิจัยอุดมศึกษา ประจำปี 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 แล้วมีนักวิชาการนำหนังสือเล่มเล็กจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ไปเผยแพร่ทาง อินเทอร์เน็ต ผ่าน e-book
http://www.thaiall.com/e-book/wil/

! http://blog.nation.ac.th/?p=2078

ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Posted on July 8, 2012

asean

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับเนชั่น กรุ๊ป และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดสัมมนา “ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้เพื่อการบริหารจัดการธุรกิจสู่ประชาคม อาเซียน จากผู้บริหารมืออาชีพในระดับประเทศ เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง กล่าวต้อนรับ และ คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงานและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการบรรยายพิเศษ จากนั้น ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้เพื่อการบริหารจัดการธุรกิจสู่ประชาคม อาเซียน จากผู้บริหารมืออาชีพในระดับประเทศ ในวันดังกล่าวได้มีการเสวนาหัวข้อสำคัญ เรื่อง “จากลำปาง สู่ AEC” โดยคุณอธิภูมิ กำธรวรินทร์ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง คุณอนุศิษฏ์ ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้า จังหวัดลำปาง และนายนิรันดร์ ปาเต็ล บริษัท ITC NTRECUT จำกัด นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ( M.B.A.) ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ร่วมเสวนาในครั้งนี้

ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบถึง การที่ประเทศไทยจะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และความสัมพันธ์กับภายนอกภูมิภาคอาเซียน ได้ตระหนักถึงการสร้างความรู้ และความเข้าใจเรื่องอาเซียน ต่อสาธารณชน และเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นการเตรียมความพร้อม อีกทั้งถือเป็นการพัฒนาบุคลากร เกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ทั้ง 3 ด้าน คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ด้วยทิศทางประเทศไทยในประชาคมอาเซียนร่วมกันภายในปีพุทธศักราช 2558 อย่างสง่างามและสมภาคภูมิ

ข่าวโดย นิเวศน์ อินติ๊ป

! http://www.ustream.tv/recorded/23815560

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.339255416151550.76624.228245437252549

! http://blog.nation.ac.th/?p=2094

นิเทศอาจารย์/เจ้าหน้าที่ 55 : มคอ. ประกัน ภาระงาน

21 ก.ค.55
21 ก.ค.55

21 – 22 ก.ค.55 มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมนิเทศอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้ และปรับความเข้าใจ สำหรับการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการตามกรอบ มคอ. ในปีการศึกษา 2555 โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ท่านอธิการบดีเป็นผู้นำบรรยาย ในหัวข้อเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดทำข้อตกลงภาระงาน การทำหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติ การตัดเกรดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีผู้ช่วยบรรยายได้แก่ ดร.วันชาติ นภาศรี และอ.ศศิวิมล แรงสิงห์ มีการทำ workshop เรื่องของการกำหนดกระบวนการการประกันคุณภาพ และการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มข้อตกลงภาระงาน

การรวมประชุมครั้งนี้ ฝึกบันทึกประเด็นที่ใช้ mindjet บน samsung galaxy tab 10.1 แล้วส่งภาพไปเก็บใน dropbox แล้ว export กลับมาเข้า samsung แล้วใช้ fb apps อัพโหลดเข้า group ของเพื่อนบุคลากร เพื่อชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพที่ได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร หลายคำอ่านยาก แต่พอเดาได้

“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ 1

โดย อาจารย์จตุพร รอดแย้ม
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์

ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์ : คุณสุทธิชัย หยุ่น

ปัจจุบันบทบาท ความเป็น GateKeeper /Watch Dog เปลี่ยนไป เพราะทุกคนสามารถหาข้อมูล รายงานข่าวได้จาก Social Media ทำให้ต่อไปห้องเรียนจะหายไป บทบาทของครูจะเปลี่ยนเป็น Co-Learners เรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งครูควรรอบรู้มากกว่าเพื่อมาถกเถียงหาข้อสรุป จะเกิดคำถามที่ต้องตอบให้ได้ว่า สอนใคร /สอนอะไร / สอนทำไม และสังคมส่วนรวมคาดหวังอะไรจากเทคโนโลยี

  • เราสามารถเป็น Tableters = ผู้เสนอผ่าน Tablet สามารถสร้างช่องทางจาก Youtube สร้าง Channel ลง Clip วิเคราะห์ข่าว เล่าข่าว
  • การเสนอข่าวผ่าน iPhone ทำให้ไม่ต้องใช้รถ OB ทีมช่างเทคนิคมากมาย ซึ่งการรายงานข่าวภาคสนามก้าวไปหลายก้าวแล้ว แต่ในห้องเรียนยังไม่มีการพัฒนา
  • Public Interest เป็นนักข่าวที่คิดนอกกรอบ หาข้อมูลล้วงความลับมาเปิดเผยโดยใช้ Social Media
  • Gentrapreneur Journalist สอนให้เป็นนายตัวเอง ทำกิจการเอง จะได้มีเสรีภาพสู้กับกลุ่มนายทุน ซึ่ง Social Media ช่วยได้ เช่น การมี Channel ของตัวเอง Mass Media อาจเจ๊งหาก Youtube ลงทุนให้คนมี Content

สิ่งที่ควรสอนให้นักศึกษาด้านวารสารศาสตร์รุ่นใหม่

  1. ความมุ่งมั่น (Passion) เพื่อความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
  2. คิดให้เป็น (Critical Thinking)อะไรคือเหตุผล, อารมณ์, โฆษณาชวนเชื่อ
  3. เขียนหนังสือให้เป็น (Clear Focused Writing) Social Media อาจทำให้เขียนหนังสือกันไม่ค่อยเป็น
  4. จริยธรรม (Ethics) ให้มีคุณภาพของความคิด
  5. ทักษะการใช้ New Media
  6. Short-Form, Long-Form Journalism เช่น ใน Social Media : Blog (=Long Form), Facebook (=Short-Form)
  7. Social Media for Investigative Reporting การใช้Social Media รายงานผลสืบเสาะหาข้อมูลในการเขียนวิเคราะห์ข่าว
  8. การสร้างหนังโดยใช้ Smartphone ตอนนี้มีคนเริ่มสร้างหนังสั้นโดยใช้ iPhone ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เพียงคนเดียวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้กำกับ

วารสารศาสตร์ การเผชิญความจริงกับสิ่งที่เปลี่ยนไป: คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี, คุณบัณฑิต จันทศรีคำ, ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล

  • ตอนนี้คนทำสื่อเองได้ง่ายขึ้น เช่น ทีวีดาวเทียมที่ป้าเช็งและลีน่า จัง ผลิตรายการ(=ผลิต Content),เป็นเจ้าของช่องเอง แต่กรณีป้าเช็งสะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของสังคมไทยในเรื่องการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร
  • นักข่าวภาคสนามกำลังพยายามปรับตัว แต่ยังไม่เท่าทันสื่อออนไลน์ Social Media เช่น ยังวิ่งตามนักการเมืองว่าจะพูดอะไร แต่ไม่ได้คิดสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญที่ควรถาม ซึ่งถ้ายังวิ่งตามข่าวอยู่เช่นนี้ หรือเอาข่าวจากที่อื่นมา ก็จะไม่มีความแปลกใหม่
  • เด็กรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันไม่ค่อยอ่านนสพ.หรือข่าวออนไลน์ แต่มักรับข่าวสารจาก Facebook / Twitter ที่ส่งต่อกัน
  • การที่นักข่าวจะใช้iPhone หรือ social media ในการรายงานข่าวหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายองค์กร เช่น ที่Nation ที่ให้นักข่าวใช้ Social Media ในการรายงานข่าว แต่มีนักข่าวบางคนไม่ชอบใช้
  • การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข่าว จะมีต้นทุนในการสอนสูง และควรต้องหา Partner Ship และต้องคำนึงถึงจริยธรรมด้วย
  • ตอนนี้มีการสื่อสารแบบโฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก ทั้งในสื่อเก่าและสื่อใหม่ โดยเฉพาะเชิงธุรกิจ เพราะฉะนั้นคนทำงานสื่อต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในเชิงองค์ความรู้ เช่นหัดใช้ Twitter ทั้งเป็นผู้ดูและผู้สื่อสาร

สรุปประเด็นจากการสัมมนากลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1: นโยบายสื่อ นโยบายวิชาชีพ แนวคิดวารสารศาสตร์และการศึกษา

  • การใช้กลไกเดิมเป็นองค์กรกลาง
  • ประสาน ส่งเสริม สร้างกลไก อบรมพัฒนาโดยรับประกันด้วยใบรับรอง
  • เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อและผู้สนใจ
  • ผลิต ส่งเสริมตำราวิชาการ การสอนที่เน้นองค์ความรู้ใหม่
  • หลักสูตรยึดถือหลักจริยธรรม
  • การลงโทษจะไม่ถอน ไม่ยึดใบอนุญาตแต่เน้นการประณามทางสังคม
  • Gatekeeper เปลี่ยนไปเมื่อสื่อกับผู้รับสาร ต่างคนก็ต่างสร้างสารซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ 2: องค์กรข่าว นโยบายองค์กรและกระบวนการทำงานข่าว

กลุ่มที่ 3: ผู้สื่อข่าว เทคนิค และเทคโนโลยีในงานข่าว

1. นักข่าวรุ่นใหม่ – ใช้เครื่องมือเป็น แต่Content ไม่ได้ เขียนบรรยายเชิงลึกไม่ค่อยเป็น
2. นักข่าวรุ่นเก่า ระดับหัวหน้างาน – ใช้เครื่องมือไม่ค่อยเป็น แต่ Contentได้ สามารถเขียนข่าวยาวๆ เชิงบรรยาย ได้ดีกว่าเขียนข่าวสั้นๆ

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • Style การเขียนข่าวบนFacebook ของนักข่าวเนชั่นจะให้เกิดประเด็นความคิดเห็นเพื่อเอา มานำเสนอข่าว โดยต้องเขียนให้น่าสนใจเพื่อให้คนมาตอบ Multimedia ต่างๆไม่ต้องใช้การเขียนแต่ ขึ้นอยู่กับ การนำ เสนอเพราะถ้า massage ไม่โดนใจ เขียนลักษณะข่าวมากเกินไป จะไม่เกิดการบอกต่อ
  • Infographic จำเป็นมากต่องานวารสารศาสตร์ ควรผลิตให้เข้ากับคนไทย โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ
  • กองบรรณาธิการข่าว ควรเปลี่ยนเป็น News Room
  • ธุรกิจต้องเดินหน้า การผลิตคนต้องให้ทันกัน นักข่าวควรเป็น Convergent Journalist สามารถทำได้ทุกอย่าง เช่น รายงานข่าว, ตัดต่อ,ถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและโทรทัศน์ ส่วน News Room ต้องเปลี่ยนด้วยเพื่อสนับสนุนการทำงานของ Convergent Journalist
  • ในการสอนเทคนิคไม่สำคัญเท่าการสอนให้คิดเป็น (Critical Thinking) ให้สามารถเล่าข่าวได้ทุกสื่อ อาจารย์ควรเน้นด้านเทคนิค และรู้เท่าทันเด็ก

กลุ่มที่ 4 : ผู้บริโภคข่าว เนื้อหา ความอยู่รอดทางธุรกิจ ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค

วิจัยผู้รับสารทั่วประเทศ เกี่ยวกับ

  1. พฤติกรรม >> ตำราของผู้รับสารในปัจจุบัน
  2. รูปแบบเนื้อหาในปัจจุบัน >> ตำรา
  3. ผู้รับสารกับการมีส่วนร่วม
  4. หามาตรวัดผู้รับสารที่มีคุณภาพ (Media Monitor) >> วิจัย = วิจัย >>  ตำรา >>  Workshop

………………………………………………………………………………………………………
อ้างอิงข้อมูล: งานสัมมนาวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 1, วันที่ 30 มีนาคม, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

http://blog.nation.ac.th/?p=2127

google apps training

อาจารย์เก๋ วิทยากรจาก CRM Charity ที่ Support Google
บรรยาย เรื่อง Google Apps for Education
สำหรับอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา
เมื่อปลางเดือนสิงหาคม 2555

! http://blog.nation.ac.th/?p=2181