Education News

ข่าวการศึกษา เน้นเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

เมื่อวันนี้ 18 พฤษภาคม 2559 9.00 – 16.00 นักศึกษาทุกชั้นปี ทุกคณะ ไปรวมตัวกันที่ห้อง Auditorium แต่งตัวเรียบร้อย เตรียมการนำเสนอเต็มรูปแบบ พร้อมสำหรับวิชากิจกรรม ของ อ.ธวัชชัย แสนชมภู วิชาบริหารของ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากข้างนอกมาเป็น Commentator อาทิ อ.สันติ เขียวอุไร ร่วมกับ Commentator ที่เป็นตัวแทนคณะวิชาต่าง ๆ รุ่นพี่แบ่งเป็นสองทีม นำเสนอได้เข้มข้น เหมือน Thailand Got Talent ซีซั่นเนชั่น ผู้นำแต่ละทีม คือ นายนิกร ชมชื่น และน.ส.รมิดา เลิศธนกร สาขาวิชาการบัญชี ช่วงบ่าย ๆ จะเป็นการนำเสนอของนักศึกษาปี 1 ในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (LEAC 200) ที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดภาคการศึกษา อาทิ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย เรารักม่อนพระยาแช่

http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/478782

ม.เนชั่นฯ สืบสานประเพณี ดำหัวอธิการ อาจารย์อาวุโส

การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้ แบบที่ 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) เช่น สำรวจ เสาะหา ค้นคว้า สร้างสรรค์ เกมการแข่งขัน แลกเปลี่ยน แสดงออก นำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ และทักษะเดิม มาทำให้กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ แบบที่ 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) เช่น ลงมือปฎิบัติ ทดลอง ทดสอบ การพูด การอ่าน การเขียน บทบาทสมมติ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอภิปรายผล โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติ ให้ได้ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ หรือการเรียนรู้เรื่องใหม่ แบบที่ 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เช่น การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุ เชื่อมโยงเรื่องราว หาแนวทางการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา และหาคำตอบ โดย เน้นให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาขึ้น หาวิธีแก้ไข ดำเนินการ และสรุปผลได้ แบบที่ 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) เช่น กำหนดประเด็นงานตามความสนใจแล้วนำเสนอ ฝึกทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการและวางแผน รู้จักใช้แหล่งข้อมูลแล้วจึงปฏิบัติ สร้างผลผลิตแล้วประเมินผล และนำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องกำหนดประเด็น แผนงาน และดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ แบบที่ 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL = Research-Based Learning) เช่น (1) การเรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน (2) การเรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานวิจัย (3) การเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย (ก) การเรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย (ข) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย (ค) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย (ง) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก และ (จ) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์

ขั้นตอนการสอนเชิงรุก (Active Learning) มีดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4) ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ 5) ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งคำว่า ชุมชน (Community) นั้นจำแนกได้หลายระดับ ได้แก่ ในห้องเรียน ในระดับชั้น ในโรงเรียน ในจังหวัด ในภาค ในประเทศ ในต่างประเทศ ในการประชุมวิชาการ ในวารสาร หรือในสื่อสังคม ที่เปิดให้มีการนำเสนอผลผลิต รับข้อซักถาม การโต้แย้ง ชี้ประเด็นที่น่าสนใจ หรือมีข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อยอดจากชุมชน

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

อาจารย์ ดอกเตอร์ ม.ราชภัฎพระนคร ยิงกันเสียชีวิต 2 ราย และผู้ลงมือเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร

เหตุเกิดประมาณ 9 โมง วันที่ 18 พ.ค.59 ตามข่าวทราบว่า
ที่ ห้องพุทธวิชชาลัย ชั้น 5 อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
เหตุเกิดในระหว่างสอบภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท ในห้องมีรวมกัน 5 คน
คือ อาจารย์ 3 ท่าน และนักศึกษา 1 คน กับเพื่อนนักศึกษาอีก 1 ท่าน
ชื่อเดิมคณะคุรุศาสตร์ เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยการฝึกหัดครู
อาจารย์ผู้ก่อเหตุมีปัญหากับประธานสอบมาก่อน
เข้ามาแล้วก็ยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่านจนเสียชีวิต
คือ ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม อายุ 56 ปี
กศ.บ.(การบริหารการศึกษา), กศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่), Ph.D.(Development Education)
ประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มรภ.พระนคร
และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี อายุ 54 ปี
ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์), พณ.ม. (พัฒนาสังคม), กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.พระนคร

ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี http://www.matichon.co.th/news/139724
ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี
http://www.matichon.co.th/news/139724

ตามข่าวทราบว่า ดร.วันชัย ดนัยตโมนุท อายุ 60 ปี
กศ.บ. (ฟิสิกส์), วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), ศษ.ด.(บริหารการศึกษา)
อาจารย์ประจำวิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาบริหารการศึกษา หลักสูตรปริญญาโท มรภ.พระนคร
เป็นผู้ก่อเหตุยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน
แล้วยิงตนเองจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ที่โรงแรมสุภาพ กทม.
+ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1463544579
http://www.dailynews.co.th/crime/398329
+ https://www.facebook.com/matichonweekly/photos/a.494435107250507.121360.127655640595124/1300938559933487/
+ http://news.mthai.com/hot-news/general-news/495802.html
http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378502109/

ระบบการเสนอข่าวดอกเตอร์เสียชีวิต (itinlife553)

เหตุการณ์ที่อาจารย์ดอกเตอร์ทั้ง 3 เสียชีวิตเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2559 นั้น เหตุเกิดครั้งแรกที่ห้องสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษา การนำเสนอข่าวครั้งแรกทำให้มีข้อสงสัยว่าปัญหานั้นเกิดจากการถกเถียงกันระหว่างกรรมการสอบที่ร่วมกันพิจารณาผลงานนักศึกษาในประเด็นที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ วรรณกรรมอ้างอิง กรอบแนวคิด วิธีวิทยา เครื่องมือวิจัย การเก็บข้อมูล ผลการศึกษา หรือการเขียนรายงานสรุปผลหรือไม่ หากเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ก็จะเกิดจากความมีอัตตาในบุคลากรทางการศึกษา

หลังตำรวจพบว่าผู้ก่อเหตุและพยายามเจรจาให้จบลงด้วยดี ระหว่างนั้นก็มีการเสนอข่าวด้วยการถ่ายทอดสด ที่มีลักษณะที่เป็นการนำเสนอเนื้อหารายการที่อาจเข้าข่ายมีพฤติกรรมแสดงออกถึงความรุนแรง เป็นการถ่ายทอดสด การฆ่าตัวตาย จนมีหนังสือตักเตือนทั้งด้วยวาจา และหนังสือไปยังสื่อที่ถ่ายทอดสดว่าให้ระมัดระวัง เพราะมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ในมาตรา 37 หมวด 2 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 แต่ระบบและกลไกในระดับสถานีโทรทัศน์ก็ยังเป็นประเด็นคำถามว่าต้องทำอย่างไร จึงจะเหมาะสม

เนื่องจากระบบและกลไกจะถูกใช้ในเหตุการณ์ปกติ แล้วระบบและกลไกของเหตุการณ์นี้ควรเป็นแบบใด ในเมื่อเป็นเรื่องที่สังคมกำลังจับจ้อง สะท้อนความจริงของสังคม วินาทีใดระหว่างรายงานที่ควรตัดจากการถ่ายทอดสดเข้าไปในสตูดิโอ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน จุดใดที่ควรหยุดด้วยเหตุและผลเชิงวิชาชีพสื่อสารมวลชนสำหรับแต่ละสถานี มีการวิพากษ์กันมากทั้งการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ และจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย แล้วยังมีกรณีตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง เหยี่ยวข่าวคลั่งล่าข่าวโหด หรือ คู่อำมหิตฆ่าออกทีวี หรือกรณีของปอ ทฤษฎี เองก็มีการพูดถึงปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ ที่ขัดต่อจรรยาบรรณ ล่าสุด กสทช. ออกหนังสือขอความร่วมมือให้สถานีโทรทัศน์ปฏิบัติตาม เพราะอาจผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษตามมา
+ http://news.mthai.com/hot-news/social-news/496117.html

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000050882

http://www.komchadluek.net/detail/20160123/221096.html

http://www.dailynews.co.th/crime/398757

http://www.dailynews.co.th/crime/398673

IT Examination : Computer for working

it certification
it certification น.ส.ศัลณ์ษิกา ไชยกุล ในพิธีไหว้ครู

ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 จากคะแนนเต็ม 50
มีนักศึกษาสอบ IT Examination ได้คะแนน 48 และ 49 หลายคน ดังนี้
– ดวงพร เบ้าสมศรี 49 คะแนน
– นรากร อินทรวิจิตร 49 คะแนน
– ทรงพล พรรัตนพิทักษ์ 49 คะแนน
– จิรนันท์ แก้วใส 48 คะแนน
– นิตยา จอมคำ 48 คะแนน
– พิมพกานต์ ปะละวงค์ 48 คะแนน
– ชนิกานต์ สิงหะ 48 คะแนน
สำหรับผู้ผ่านตามเกณฑ์ คือไม่น้อยกว่า 40 คะแนนในการสอบครั้งแรก
จะได้รับเกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัย และได้รับผลการเรียน S ในวิชา COMP 300
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10150990934333895.443727.814248894

tutor it 59 1
tutor it 59

ทุกภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นจะมีกลไกจัดติว และจัดสอบ
IT Examination : Computer for Working
โดยจะจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทุกคณะวิชา และผู้ที่ยังไม่ผ่านการสอบ
การติวนั้นก็เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการเข้าสอบ
เงื่อนไขการผ่านเกณฑ์คือ
คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ตามประกาศ
ถ้าสอบผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ต้องลงทะเบียนวิชา COMP 300
แต่ได้รับผลการเรียนเป็น S พร้อมรับเกียรติบัตรในฐานะที่สอบผ่านเกณฑ์ในครั้งแรก
ถ้าสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ต้องลงทะเบียนวิชา COMP 300
และเข้าเรียนรู้ด้วยตนเองในระบบ แล้วเข้าติวก่อนสอบรอบต่อไป
หากยังสอบอีกครั้งแล้วไม่ผ่านก็จะได้รับผลการเรียนเป็น U
และต้องลงทะเบียนในภาคเรียนต่อไปอีก

tutor
tutor

โดยปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2
จัดติวในวันที่ 27 เมษายน 2559 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 มีนักศึกษาสนใจเข้าติวจำนวนมาก
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10152198257413895.1073741841.814248894

หลักเกณฑ์การสอบ IT Examination :Computer for working
ประกาศ 20 พฤศจิกายน 2556
http://it.nation.ac.th/std/news/file_load/STD0029.docx
http://it.nation.ac.th/std/?pages=3

ประกาศ
ประกาศ

IT Examination

สังคมไม่ยอมรับการทุจริตสอบ (itinlife552)

จดโน้ต กันลืม
จดโน้ต กันลืม

ไม่มีสังคมใดในโลกยอมรับการทุจริต เพราะการทุจริตสอบของนักเรียนคนหนึ่ง หมายถึงการเอารัดเอาเปรียบนักเรียนคนอื่นที่ร่วมกันสอบทั้งหมด คุณครูเองหรือกรรมการคุมสอบก็จะยอมให้มีการทุจริตสอบเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นความไม่ยุติธรรมต่อผู้เข้าร่วมสอบแข่งขันทั้งหมด ทุกครั้งที่มีข่าวการทุจริตก็จะเป็นที่สนใจของสังคมทั้งทุจริตสอบครู สอบตำรวจ หรือสอบแพทย์ ยิ่งสื่อสังคมได้รับความนิยมเท่าใด การทุจริตก็ยิ่งเป็นที่สนใจ แพร่ได้เร็ว และได้รับการติดตามใกล้ชิด ทำให้การพิจารณาโทษของการทุจริตเป็นเรื่องผ่อนปรนไม่ได้ เพราะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่ดำเนินการตามระเบียบที่บัญญัติไว้

การทุจริตสอบเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ที่เกิดขึ้นได้ง่ายและเห็นในภาพยนตร์ ก็มีทั้งแบบที่รู้คำตอบล่วงหน้าก่อนเข้าสอบจากการที่ข้อสอบรั่ว และแบบที่ไปหาคำตอบกันในห้องสอบ หากทุจริตคนเดียวก็จะใช้วิธีแอบจดสูตร สมการ ขั้นตอน หรือแนวคำตอบเข้าห้องสอบ อาจเป็นกระดาษซ่อนไว้ในชายเสื้อ กระเป๋าลับ หรือจดไว้ตามแขนขาฝ่ามือ หากทำกันหลายคนก็อาจเป็นการส่งคำตอบให้กัน ผ่านกระดาษโน้ต ยางลบ แลกกระดาษคำตอบ แลกข้อสอบที่จดคำตอบลงไปแล้ว การยกกระดาษคำตอบให้เพื่อนรอบโต๊ะได้เห็นและลอกตาม นั่งตัวเอียงให้เพื่อนด้านหลังได้เห็นคำตอบ การส่งสัญญาณมือ หรือใช้ภาษากายอื่น การผลัดกันออกไปเข้าห้องน้ำ แล้วใช้ห้องน้ำเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีโบราณที่สุด คือ พูดคุยกันในห้องสอบ เหมาะกับห้องสอบที่มีขนาดใหญ่ และชิดกัน

การใช้เทคโนโลยีในยุคนี้ปรากฏเป็นข่าวดังหลายครั้ง ถ้าใช้อุปกรณ์ในระดับบุคคล หรือระหว่างสองคนก็เป็นเพียงการแอบพกอุปกรณ์เข้าห้องสอบ เพื่อแอบเปิดอุปกรณ์ค้นหาคำตอบ หรือหาข้อมูลที่เกี่ยวกับคำถาม อาจใช้สื่อสารกันผ่านบรูทูช แชท อีเมล หรือเอสเอ็มเอส แต่ที่ยอมรับไม่ได้และมีโทษร้ายแรง คือ การใช้อุปกรณ์ที่ทำกันเป็นกระบวนการมีความผิดตามกฎหมายทั้งลักทรัพย์และฉ้อโกง ด้วยการมีผู้รับจ้างจัดเตรียมอุปกรณ์ มีทีมเข้าไปนำข้อสอบออกมา ทีมทำหน้าที่เฉลยคำตอบ ทีมส่งคำตอบกลับไปให้ผู้สอบ และกลุ่มผู้สอบที่ทำการทุจริต อุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ก็ต่างกันไปในแต่ละครั้ง มีทั้งแบบแนบเนียนที่ใส่ไว้ในทวารหนัก หรือสวมให้เห็นกันเลยก็มี ต่อไปจะทุจริต หรือจะคุมสอบก็ต้องคิดกันเยอะขึ้น เพราะมีบทเรียนมาให้เรียนรู้กันหลายบทแล้ว

กระบวนการทุจริต แบบใช้อุปกรณ์ร่วมกับการรับจ้างสอบ

http://www.dailynews.co.th/education/397229

http://www.unigang.com/Article/9009

เกณฑ์ที่สกอ.เขียนให้ทุกมหาวิทยาลัยไม่เหมาะกับบริบทของมหาวิทยาลัย ถ้าเขียนเกณฑ์เองจะเหมาะกว่า

13 universities
13 universities

อ่านข่าวจากเดลินิวส์ว่า
10 พ.ค.59 ผศ.ดร.ประเสริญ คันธมานนท์ เปิดเผยว่าสมาชิก ทปอ. จำนวน 13 จาก 27 แห่ง
ได้ทำหนังสือถึง สกอ. เพื่อแจ้งให้ทราบว่า จะดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
ที่เหมาะสมบริบทของมหาวิทยาลัยแทน
การใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาของ สกอ.
http://www.dailynews.co.th/education/396662
http://www.cheqa.mua.go.th/

ข้อคิดดี ๆ เกี่ยวกับ smartphone
ข้อคิดดี ๆ เกี่ยวกับ smartphone

แล้วก็ไปอ่านข้อคิดดี ๆ จาก FB Wiriyah Eduzones
ว่าเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย
“สามารถใช้โทรศัพท์เครื่องเดียว ตอบได้ทั้งหมด”
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/pb.109357035752956.-2207520000.1463187905./1111516935536956/

hair style
hair style

การเรียนหนังสือ
เค้าก็บอกว่าไม่ได้ใช้ทรงผม แต่ใช้สมองในการเรียนหนังสือ
โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่ามีคน 2 คนคุยกัน
ครูไทย กับ นักเรียนญี่ปุ่น โดยครูไทยถามว่า
ที่ญี่ปุ่นเค้าไม่มีกฎเรื่องทรงผมหรอ
นักเรียนที่ญี่ปุ่นคนหนึ่งตอบว่า”พวกเราใช้สมองเรียนค่ะ ไม่ได้ใช้ทรงผม
นี่ถ้าถามได้อีกข้อ คงถามว่า
ที่ญี่ปุ่น/เกาหลี เค้ามีแบบฟอร์มนักเรียนสวย ๆ ด้วยหรอ
คำตอบคงไม่สำคัญครับ .. เพราะผมว่าชุดนักเรียนญี่ปุ่นสวยดี
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/pb.109357035752956.-2207520000.1463188423./1108208335867816/

กระบวนการทุจริต แบบใช้อุปกรณ์ร่วมกับการรับจ้างสอบ

วิธีที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และดำเนินการกันอย่างเป็นระบบ
วิธีที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และดำเนินการกันอย่างเป็นระบบ

การทุจริตเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น แต่พบว่าทำได้หลายวิธี
หากเป็นวิธีที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และดำเนินการกันอย่างเป็นระบบ
มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ input device + process + output device
โดยปกติมักมี 1 input device และ 1 process
แต่จะมีหลาย output device ที่รับผลจากการประมวลผล

ข่าวเนชั่น 8 พ.ค.59 พบว่ามีการทุจริตสอบเข้า 3 คณะ
ทั้ง 3 คณะ มีเด็กสอบทั้งหมดกว่า 3 พันคน คณะแพทย์รับ 30 คน ทันตแพทย์รับ 50 คนและเภสัชรับ 50 คน
กระบวนการทุจริตมีขั้นตอนดังนี้
1. มีนักศึกษารับจ้างสอบ
2. ส่งข้อสอบให้คนข้างนอกที่เป็นแหล่งเฉลย
3. ส่งคำตอบกลับไปให้นักเรียนที่โกงสอบ
จ่ายก่อน 5 หมื่นบาท แต่หากสอบติดต้องจ่าย 8 แสนบาท
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378500874/
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1462696231

1 มีนาคม 2551 เคยมีนักเรียนสอบ O-net
แล้วใช้ PhoneOne P001 เป็นเครื่องมือทุจริตในการสอบ

10 มีนาคม 2555 ก็ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยสื่อสาร
เพื่อทุจริตในการสอบตำรวจชั้นประทวนมาแล้ว
http://hilight.kapook.com/view/72505

Sanko Mita Mamma Video Camera Glasses
แว่นตาบันทึกคลิ๊ปวีดีโอ บันทึกได้ประมาณ 3 ชั่วโมง
ความละเอียดระดับ Full HD 1920 * 1080
ราคาไม่ถึง $100 หรือไม่ถึง 3000 บาท
http://www.thanko.jp/product/3094.html
http://mikeshouts.com/sanko-mita-mamma-video-camera-glasses/

Smartwatch phone – imac wear m7 ใช้ Android 4.2.2
ราคา $229 ประมาณ 7000 บาท
http://www.imacwear.com/imacwear-m7/
http://th.aliexpress.com/item/2015-NEW-IMacwear-M7-Orange-Fashion-3G-Smartwatch-Phone-Android4-2-2-GPS-Sports-Pedometer-Heart/32309657650.html

บทความในไทยรัฐเค้าว่า งบการศึกษาระดับอุดมศึกษา 88% อุ้มคนรวยปานกลาง ถึง สูง

16 เมษายน 2559 อ.ธวัชชัย แชร์เรื่องที่อ่านพบจากไทยรัฐมาในกลุ่ม
1. เมื่ออ่านบทความในไทยรัฐ พบข้อมูลเชิงสถิติว่า เด็กที่จนไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย
คำว่าจน หมายถึง ครอบครัวรายได้ต่ำสุด 20%
ตอนแรก พบว่า 50% ในกลุ่มเด็กจน ไม่เรียนต่อ ม.ปลาย แม้เรียนฟรีก็ตาม
ตอนที่สอง พบว่า มีแค่ 7% เท่านั้นที่เด็กจนจะศึกษาต่อจนถึงอุดมศึกษา
2. แล้วงบอุดมศึกษากว่า 78 ล้าน
งบส่วนนี้จะสนับสนุนเด็กจนถึง 12%
แต่เห็นได้ชัดว่ามีถึง 88% ที่ไปสนับสนุนคนที่รายได้ปานกลาง กับรายได้สูง
3. เท่าที่อ่านดู คนที่เรียบเรียงเรื่องนี้ใช้คำว่า “อุ้ม”
ถ้าจะไม่ให้อุ้ม ก็ต้องให้เสมอภาค (Equality) ต้องจัดงบประมาณใหม่
– เด็กจน 34%
– เด็กปานกลาง 33%
– เด็กรวย 33%
4. ข้อมูลโดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
http://www.thairath.co.th/content/606365

ปล. ข่าวนี้สนใจคำว่า “อุ้ม” คำเดียว เพราะผมเห็นคล้อยตามนักข่าวเลยครับ
เรื่องอื่นไม่ได้นำมาคิดเลย คิดแล้วเดี๋ยวหาทางออกไม่ได้
เพราะคำว่าเสมอภาค (Equality) กับความยุติธรรม (Justice) มักไม่อยู่ด้วยกัน

งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา
งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง คิดถึงวิทยา
http://pantip.com/topic/31811064

ความเห็นชาวพุทธ

ความเห็นชาวพุทธ
ในเดือนมกราคม มีข่าวในทางพระพุทธศาสนาหลายประเด็น
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
ของพุทธศาสนิกชน จำนวน 1016 คน ที่เข้าร่วมงานพิธีมงคลวัฒนยุ
พระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ณ วัดธรรมมงคล
ในระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2559 ปรากฎผลสำรวจดังนี้
1. บทบาทของวัดต่อสังคม
อันดับ 1 เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ไม่ประพฤติตนเสื่อมเสีย 35%
อันดับ 2 เผยแพร่และสั่งสอนให้ประชาชนปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม 31.3%
อันดับ 3 ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและสังคม 16.4%
อันดับ 4 ไม่บิดเบือนหลักคำสอน 8.1%
อันดับ 5 เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้/การศึกษา 5.7%
2. การสนับสนุนพระพุทธศาสนาจากภาครัฐ
อันดับ 1 สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  28.6%
อันดับ 2 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 21.7%
อันดับ 3 สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาวัดในชนบท  16.5%
อันดับ 4 สนับสนุนกิจกรรมให้เยาวชนปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 9.3%
อันดับ 5 จัดระบบคัดกรองและควบคุมพฤติกรรมของพระสงฆ์ 8.4%
3. บุญหรือการปฏิบัติธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด
อันดับ 1 การเจริญภาวนา (ปฏิบัติสมาธิ) 53.3%
อันดับ 2 การรักษาศีลหรือประพฤติดี 21.7%
อันดับ 3 การให้ปันสิ่งของ (การบริจาค) 14.0%
อันดับ 4 การประพฤติอ่อนน้อม 6.3%
อันดับ 5 การบอกบุญและอนุโมทนาบุญ 2.3%
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208172992743509&set=a.10206803178058998.1073741830.1262180885

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์ Thailand Franchise Standard 2016
อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์
Thailand Franchise Standard 2016

Thailand Franchise Standard 2016
อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์
มาร่วมอัพพลังความรู้ และก้าวหน้าไปด้วยกัน
ในโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์
(Thailand Franchise Standard)
พร้อมร่วมสัมมนา Thailand Franchise Standard
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00น.-16.00น.
ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
งานนี้มีแต่กำไร

กำไรต่อที่ 1 – รับโอกาสตรวจเช็คศักยภาพธุรกิจโดยกูรุด้านการพัฒนาธุรกิจ
จากจุฬาลวกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเนชั่น
กำไรต่อที่ 2 – รับคำปรึกษา แนะนำการพัฒนาธุรกิจ ถึงสถานประกอบการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กำไรต่อที่ 3 – เพิ่มโอกาสการสร้างเครือข่าย ได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ธุรกิจ
กำไรต่อที่ 4 – เสริมทัพความเชื่อถือ ด้วยการประเมินรับรองมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กำไรต่อที่ 5 – คุณอาจได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ธุรกิจผ่านสื่อในเครือเนชั่นที่มีผู้อ่าน มากกว่า 100,000 ราย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ปรกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ ที่ปรึกษาโครงการ Thailand Franchise Standard มหาวิทยาลัยเนชั่น
ศูนย์เนชั่นบางนา ชั้น 9 เลขที่ 1854 ถนนบางนา-ตราด (กม.45) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 023383861, 0813584756 โทรสาร 023383871 หรือ franchise@nation.ac.th
กองส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ กองส่วเสริมและพัฒนาธุรกิจ
คุณทิพย์ณัฐนันต์ โทรศัพท์ 025475953 โทรสาร 025745952

ผลสำรวจพบว่าร้อยละการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทยดีขึ้นมาก

สำหรับผมคิดว่าการสำรวจ 2 ครั้งเปรียบเทียบกัน
พบว่าร้อยละของการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ลดลงอย่างชัดเจนมาก
คาดว่าวิธีการมีประสิทธิภาพ น่าจะเป็น Good Practice ได้เลย
แต่เห็นว่าครั้งที่ 1 สำรวจ มิ.ย.58 และครั้งที่ 2 สำรวจ ก.ค.58
ซึ่งทำให้รู้สึกว่าการระยะห่างน้อยไปนะครับ

http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000000019

เมื่อ 1 ม.ค.59 พบบทความเชิงข่าว
เรื่อง “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย “อ่านน้อย” จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้
โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศให้ปี 2558
เป็น ปีแห่งการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
อาจเรียกได้ว่าการแก้ปัญหานี้อาจยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
เพราะเมื่อดูจากผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
เมื่อช่วง ส.ค. 2558 แม้จำนวนเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้จะลดลง แต่ก็ยังทำไม่ได้ 100%

โดยกิจกรรมที่ดำเนินการคือ
– การจัดการเรียนการสอนที่ สพฐ.ได้พัฒนาให้แก่โรงเรียน
– การจัดสอนเสริมให้แก่นักเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเป็นรายบุคคล
– การเรียนการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ
– อาศัยโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
แม้จะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ถือว่ายังไม่ทั้งหมด

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.1
ครั้งที่ 1 เดือน มิ.ย. 2558
พบว่า มีนักเรียนอ่านไม่ออกร้อยละ 11.5 เขียนไม่ได้ร้อยละ 8.7
ครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 2558
พบว่า นักเรียนอ่านไม่ออกลดลงเหลือร้อยละ 5.6 และ เขียนไม่ได้เหลือร้อยละ 5.0

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.2
ครั้งที่ 1 อ่านไม่ออก ร้อยละ 8.2 เขียนไม่ได้ร้อยละ 11.2
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.0

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.3
ครั้งที่ 1 อ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.6
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 2.8 เขียนไม่ได้ร้อยละ 5.3

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.4
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 4.4 เขียนไม่คล่องร้อยละ 11.3
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 2.5 เขียนไม่คล่องร้อยละ 8.1

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.5
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 3.5 เขียนไม่คล่องร้อยละ 9.7
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 1.9 เขียนไม่คล่องร้อยละ 6.6

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.6
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 2.6 เขียนไม่คล่องร้อยละ 7.0
ครั้งที่ 2 อ่านไม่คล่องร้อยละ 1.4 และเขียนไม่คล่องร้อยละ 4.7

เด็กที่ยังมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยังคงมีอยู่
โดยเฉพาะเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กชายขอบที่อยู่ตามโรงเรียนห่างไกล
และไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
ขณะที่ครูตามพื้นที่ห่างไกลก็ยังคงขาดแคลนด้วยเช่นกัน
ครู 1 คนอาจต้องสอนหลายวิชา และไม่ได้มีความชำนาญในวิชาที่สอน


การสำรวจมีหลายแบบ ส่วนใหญ่ที่เห็นจะสำรวจครั้งเดียว
เช่น สำรวจที่สุดแห่งปี เมื่อสิ้นสุดในแต่ละปี
แต่เรื่องการอ่านจากข้อมูลของ สพฐ. จะสำรวจ 2 ครั้งเทียบผลกัน
เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจครับ

http://www.thaiall.com/blogacla/burin/5007/