Seminar and Articles

จากการประชุม สัมมนา หรืออ่านบทความ ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นบทเรียนของชีวิต ดังนั้น slug หรือ url friendly จึงใช้คำว่า lesson ซึ่งสื่อไปว่า “นี่คือเรื่องที่เป็นบทเรียนให้เราได้เรียนรู้และเลือกมาใช้กับชีวิตของเราในภายภาคหน้าต่อไป”

กสทช. ต้องตอบโจทย์สังคม

กสทช. ตอบโจทย์สังคม เรื่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ได้ไหม
จาก กรุงเทพธุรกิจ 3 เมษายน 2556

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

มีกี่คนที่รู้และเข้าใจว่า… กสทช. มีประกาศ เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

ซึ่งทั้ง 2 ประกาศนี้ มีผลบังคับใช้แล้ว เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปลายปีที่แล้ว

การที่ประชาชนไม่ติดตามกฎหมายก็คงไม่น่าแปลกใจ แต่สำหรับ 2 ประกาศนี้ และระเบียบอื่นๆ ที่สืบเนื่องกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนปล่อยผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะจะส่งผลต่อสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน และลูกหลานของเราอย่างมากที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะจะเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของคนทั้งประเทศ เป็นทีวีสาธารณะ ในระบบดิจิทัล จำนวน 12 ช่อง ไปให้กับผู้ประกอบการทีวีวิทยุ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ๆ ที่อยากจะเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้ (ความจริงยังมีทีวีช่องธุรกิจอีกที่ยังต้องถกเถียงกันอีกเยอะ)

จากวงเสวนา “ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล : กสทช.ควรทำอย่างไรให้บรรลุเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ” และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มนักวิชาการ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิทัลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น

มีหลายประเด็นที่ กสทช. ต้องออกมา “ตอบ
จะงุบงิบทำไป แบบค้านสายตาคนดู คงจะไม่ได้

เบื้องต้นขอให้ข้อมูลไว้ก่อนว่า กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ที่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตสำหรับกิจการบริการสาธารณะ มี 3 ประเภท

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 1 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 2 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 3 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ประชาชนอย่างเราๆ เกิดคำถาม ข้อสงสัย อะไร หรือไม่ ?

แต่ในวงเสวนา ฟันธง ตรงไปถึง กสทช. ว่าต้องตอบ อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้

กสทช. จะนิยามคำว่า “กิจการบริการสาธารณะ” ว่าอย่างไร และเหมือนหรือต่างจาก “ทีวีสาธารณะ” อย่างไทยพีบีเอส อย่างไร ตลอดจนเรื่องรูปแบบรายการ สัดส่วนรายการ ผังรายการ กลไกการกำกับดูแล เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อเนื้อหาสาระ คุณภาพของรายการ และเป็นเงื่อนไขการหารายได้ของแต่ละช่อง

กิจการฯ ประเภทที่ 2 เขียนไว้ไม่เกิน 2 บรรทัด แต่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตถึง 2 ช่อง ซึ่งขณะนี้ กองทัพบก ช่อง 5 ประกาศตัวชัดเจนมาตั้งแต่ 2-3 เดือนที่แล้วว่า จะยื่นขออนุญาตเพื่อให้ช่อง 5 เป็นช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ เรียกว่า ประกาศไว้ ใครก็ห้ามแย่ง แล้วล่าสุด กสทช.ก็ให้สิทธินั้นไปแล้วโดยอัตโนมัติ

ส่วนอีกช่อง ที่บอกว่าเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ก็คาดเดากันได้อย่างไม่น่าพลาดว่า โทรทัศน์ตำรวจ คงขอจอง

ข้อสังเกตที่คาใจมากที่สุดอีกเรื่อง คือ การที่ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2551 มาตรา 9 และ 11 เปิดช่องให้หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงหารายได้จากการให้เช่าเวลาได้ไม่เกินร้อยละ 40 และการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ ซึ่งสถานีวิทยุจุฬาฯ บอกว่าแค่ร้อยละ 20 เขาก็อยู่ได้สบายๆ แล้ว และถ้าสถานีจะดำเนินการเองเพียงร้อยละ 60 เช่นนี้ควรจะยังเรียกว่า “กิจการบริการสาธารณะ” อีกหรือ ?

นอกจากนี้ เรื่องที่ กสทช. ควรต้องตอบด้วยในเชิงของการปฏิรูปสื่อ คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีสาธารณะครั้งนี้ จะทำให้เกิดการจัดสรรโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างไร ให้ถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปสื่อที่เรียกร้องกันมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540

ม. เนชั่น และเหล่านักวิชาการทางสายนิเทศศาสตร์ ที่เข้าร่วมประชุมจากทั่วประเทศ
จึงทำข้อเสนอถึง กสทช. ขอให้ “ตอบโจทย์” สังคมในเรื่องเหล่านี้
ผลจะเป็นอย่างไร ต้องช่วยกันติดตาม !

http://bit.ly/10rHgYQ

http://blog.nation.ac.th/?p=2552

อีกก้าวของ GIS จังหวัดลำปาง

ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม

 

quantum gis
quantum gis

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.443766532367104.1073741851.22824543725254

 

นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธาน
นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยมีนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธาน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จังหวัดลำปาง โดยมีหัวหน้างานจังหวัดลำปางเป็นประธานคณะทำงาน, สถิติจังหวัดลำปางเป็นรองประธานคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิทัศน์ศาสตร์ (GIS) เป็นคณะทำงาน และหัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดลำปาง เป็นคณะทำงานและเลขานุการ ณ ห้องประชุม POC ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง เมื่อวันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม 2556

 

28 มี.ค.56 ในการประชุมเรื่อง GIS คุณถาวร จันทร์ต๊ะ ได้นำเสนอการใช้โปรแกรม Quantum GIS ของ nectec ที่ map แผนที่ 1 ต่อ 4000 ส่วนทีมของสำนักงานสาธารณสุขนำเสนอโปรแกรม JHCIS ซึ่งใช้ระบุตำแหน่งบ้านที่มีผู้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ทำให้มีฐานข้อมูลสำหรับติดตามผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงข้อมูลก็สามารถดำเนินการได้ไม่ยากนักคล้ายกับการปักหมุดของ google map และ export ออกมาเป็น excel เพื่อส่งไปใช้ในโปรแกรมอื่น ๆ ได้

ในที่ประชุมได้พูดถึงการลงข้อมูลเดิมไว้ ผ่านโปรแกรม ARCView หรือ ARCInfo แต่ก็ไม่มีรายละเอียดในระหว่างการประชุมมากนัก เพราะก้าวต่อไปคือการนำเสนอประเด็นผู้สูงอายุ กับผู้พิการผ่านเว็บเบส ทำให้มีประเด็นที่ค่อนข้างหลากหลายในเวลาที่จำกัด

 

jhcis
jhcis

มีประเด็นที่พอสรุปได้เบื้องต้น
1. จัดทำความร่วมมือระหว่างจังหวัดกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
2. ประสานพื้นที่ ทำความเข้าใจและลงข้อมูลผ่าน JHCIS
3. กำหนดข้อมูลแผนที่สำหรับจัดทำ GIS ให้ชัดเจน
ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านว่าจะใช้แผนที่จากหน่วยใด

 

http://www.nonpordang.com/new/thread-139-1-1.html

GIS for JHCIS on mobile version 1.0.0
http://www.nonpordang.com/ftp/gis/mgis_2013_02_24_1_0_0.zip

ผมสนใจเรื่องทำแผนที่มานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้ลงไปในรายละเอียด วันนี้ได้พบผู้รู้ นักวิชาการ ผู้ลงมือปฏิบัติ และผู้กำหนดนโยบายในหลายระดับ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นมาก
+ http://www.thaiall.com/map

 

เก็บตก
วันศุกร์ที่ 15 ก.พ.56
ราว 11 โมง ไปประชุมถอดบทเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง มีท่านรองผู้ว่าศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ และผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม แล้ววันศุกร์ที่ 28 มี.ค.56 ราว 11 โมงเช่นกัน ไปประชุมเรื่องพัฒนาระบบ GIS กับ 2 ท่านเดิม ปรากฎว่าไฟฟ้าดับทั้ง 2 ครั้งที่ไปประชุม น่าจะเป็นอุบัติเหตุครับ

 

Download
Quantum GIS : http://www.qgis.org
JHCIS : http://www.jhcis.net

 

15ก.พ.56 ประชุมวิจัย
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=599537473393721&set=a.598908416789960.144219.506818005999002
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=599731393374329&set=a.598908416789960.144219.506818005999002

เตรียมตัวอย่างไร ถ้าจะกลายเป็นชาวอาเซียน

ตอนนี้หากคนถามว่าอาเซียนคืออะไร แล้วทำหน้างง ๆ สงสัยจะต้องหลุดกระแส ยิ่งผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาชูประเด็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
! http://bit.ly/Yclnyq

ภควัต สมิธธ์
ภควัต สมิธธ์

ทั้งโลกยิ่งตื่นเต้นกับคำว่า Change (เปลี่ยน) คลื่นความใหม่ของแนวคิดย่อโลกด้วย Cyber Network จึงทำให้คำว่า เปลี่ยน มีความชัดเจนมากขึ้น ประสบการณ์ท่องเที่ยวภาคเหนือของผม บ่งบอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการย่อโลกด้วยการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสังคมออนไลน์ ทำให้ความเชื่อ ความคิด และพฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่พบเห็น และได้สื่อสารกับคนในสังคมที่ต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรม ลองนึกถึงเวลาไปเที่ยวดอยแล้วพบคนพูดสำเนียงชาวเขาที่สวมยีนส์ คู่กับรองเท้าผ้าใบยี่ห้อดังแบบนักบาสเกตบอล ก็เกิดความคิดที่ว่า เราไม่สามารถหยุดโลกได้ แต่เราจะใช้ประโยชน์อย่างไรกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น

การรวมกลุ่มของประเทศอาเซียนมีพื้นฐานแนวคิดมาจากการรวมกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป การใช้ค่าเงินเดียวกัน ข้อตกลงทางการค้าเดียวกัน การแลกเปลี่ยน เคลื่อนย้ายแรงงาน และการศึกษาแบบเสรี ฟังดูดีและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เมื่อได้ยินบางกระแสที่ไม่เห็นด้วยกับการรวมอาเซียน โดยคิดไปว่าการรวมกลุ่มจะทำให้ประเทศไทยหายไป ภาษา วัฒนธรรม เอกลักษณ์จะโดนชาติที่เจริญอย่างสิงคโปร์กลืนความเป็นไทย ในทางกลับกันมองได้ว่า แนวคิดเรื่องอาเซียนไม่ได้ต้องการให้ทุกประเทศกลายเป็นประเทศเดียวกัน หากแต่มองเรื่องศักยภาพของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน จะสามารถเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กันและกันได้ โดยเรียกพวกเราทั้งหมดว่าอาเซียน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ในภูมิภาคว่า เรามีแนวทางการค้า การลงทุน การดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกัน และเราจะช่วยกันดูแลผลประโยชน์ของภูมิภาคบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกัน

คนไทยมีหลายแนวคิด บ้างอนุรักษนิยม บ้างสมัยใหม่นิยม บางคนมีเพื่อนเยอะแต่กลับไม่ถูกคอกับคนข้างบ้าน เราชอบแข่งกับคนข้างบ้านแต่ญาติดีกับคนที่อื่น ถ้าเขาซื้อรถใหม่เราจะอารมณ์เสีย แล้วเวลาโจรจะปล้นบ้าน หรือในยามเจ็บป่วย คนที่ไหนจะช่วยเรา ผมอยากให้เราลองมองย้อนไปในอดีตว่า ความคล้ายคลึงของพวกเราชาวอาเซียนมีมากมาย เรากินข้าว เราเคารพผู้ใหญ่ เราเก่งเกษตรกรรม เราเด่นศิลปะ เราอุดมสมบูรณ์ ส่วนความขัดแย้งที่ผ่านมาไม่ได้เกิดโดยประชาชนของประเทศนั้นๆ เพียงแต่เป็นเรื่องของโอกาสทางการเมือง การปกครอง แนวคิดของผู้นำ การขยายดินแดน ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานของการอยู่รอดแบบสมัยอดีต แต่ปัจจุบันเรารู้จักกัน เราสื่อสารกัน เราค้าขายกัน เราสามารถใช้ประโยชน์จากความคล้ายคลึงให้เป็นจุดแข็งในการต่อสู้ทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคอื่น เช่น การทำให้อาเซียนเป็นฐานการผลิตอาหารและการเกษตรของโลก เพราะเราปลูกข้าว เรามีพืชผักผลไม้ อาหารทะเล สมุนไพรที่มีประโยชน์ เรามีฝีมือ นอกจากนั้นชาวอาเซียนมีอุปนิสัยเป็นมิตร ชอบต้อนรับ เราสามารถเป็นฐานการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบที่ทำรายได้มหาศาลในแต่ละปี

ประชาชนของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องปรับตัวปรับใจ เพื่อยินยอมเป็นสมาชิกที่แท้จริงของอาเซียน ไม่ใช่แค่พูดถึงแล้วผ่านไป ต้องสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมกัน ประมาณว่าร่วมกันเป็นหุ้นส่วน ชาวอาเซียนต้องฝึกฝนตนเองในการรับรู้ข่าวสารประเทศเพื่อนบ้าน ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษอย่างน้อยก็ฝึกอ่านข่าวสั้นๆ จากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ยอมรับในความเป็นตัวตนของกันและกัน รับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา และเลิกเปรียบเทียบให้เกิดปมด้อย แต่จะต้องช่วยกันยกระดับความรู้ ความคิด ค่านิยม ในการสร้างความเจริญและความมั่นคงของภูมิภาค

จากที่เห็นทุกมหาวิทยาลัยเปิดโปรแกรมการเรียนเพื่อป้อนความต้องการของตลาดอาเซียน การส่งนักศึกษาไปฝึกงานกับมืออาชีพ เพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนสำเร็จการศึกษา และการเปิดรับนักศึกษาจากอาเซียนเข้ามาเรียน ทำให้บรรยากาศความร่วมมือดูมีชีวิตชีวาและมีความเป็นสากลมากขึ้น เราลองหันมาเรียนภาษาประเทศเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่สาม ซึ่งยังมีผู้ที่ชำนาญจำนวนไม่มากก็จะดูดีมีเสน่ห์อยู่ไม่น้อย น้องๆ รุ่นใหม่ จะต้องวางแผนในการเลือกสาขาที่จะเรียนให้สอดคล้องกับอนาคตในสาขาที่ขาดแคลน เช่น แพทย์แขนงต่างๆ วิศวกรรมปิโตรเลียมและเคมี บัญชีและการเงิน สาธารณสุข หรือสาขาที่จำเป็นต่อตลาดธุรกิจอินเตอร์ เช่น นิเทศศาสตร์ คอมพิวเตอร์ บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มัลติมีเดีย สถาปนิกและออกแบบ การโรงแรมและท่องเที่ยว แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะเลือกเรียนสาขาใด ก็จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของภูมิภาคอาเซียนว่ายังคงมีกรอบวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ หากเราเรียนรู้ การต้อนรับ การทักทาย การแสดงความเคารพซึ่งหมายถึงการยอมรับและการรับฟังผู้อื่น ก็จะเพิ่มความราบรื่นในการผูกมิตร

asean
asean

เมื่อก่อนเวลาเห็นคนที่ทำตัวเชยๆ เรามักจะเรียกเขาว่ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ในทางกลับกัน ถ้าเราล้าหลังกว่าใครในอาเซียนก็จะตกที่นั่งลำบากแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม รวมกันเป็นกลุ่มก็ยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่ง คิดดูสิขนาดซุปเปอร์ฮีโร่ยังต้องทำงานเป็นทีม

โดย : ภควัต สมิธธ์
! http://www.ประเทศอาเซียน.com

! http://blog.nation.ac.th/?p=2534

ทีวีดิจิตอลกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

เสียงคุณตาคนหนึ่งดังแว่วมาจากร้านรถเข็นริมฟุตบาธ
ว่า “ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงหรือ…
เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายแต่ตอบยาก

 

อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคำว่า “ปริมาณ” กับ “คุณภาพ” อาจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และบ่อยครั้งคำว่าคุณภาพก็มักไม่เคยเกิดขึ้นกับชีวิตของคนด้อยโอกาสในสังคม

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว การเข้ามาของโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดินในประเทศไทยนับว่าเป็นสิ่งแปลก ใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับคนในสังคมไทยไม่น้อย และถ้ากลับไปถามคนรุ่นปู่ย่าตายายในครอบครัวของเราว่าเริ่มดูโทรทัศน์ครั้ง แรกเมื่อใด หลายท่านอาจจะตอบว่า “ไม่รู้” เพราะไม่ได้จดจำหรืออาจหลงลืมไปแล้ว แต่บางท่านที่ความจำยังดีก็อาจจะตอบด้วยแววตาเป็นประกายและบอกเล่าเรื่องราว ได้อย่างละเอียดว่า ประเทศไทยเริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม” แต่ถ้าหากถามท่านต่อไปอีกนิดว่า แล้วโทรทัศน์ในยุคแรกนั้นมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้สูงอายุหลายท่านก็อาจตอบคำถามนี้ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มและตอบอย่างมั่นใจ มากกว่าเดิมว่า “ก็เพื่อความบันเทิงนะซิ
คำถามดังกล่าว หลายคนอาจตอบได้ไม่ยากนักเนื่องจากบทบาทหน้าที่ ดังกล่าวของโทรทัศน์ได้ถูกตอกย้ำและรับรู้กันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ยุคแรก เริ่มของการเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่ในการสร้างความ บันเทิงมาโดยตลอดแต่อาจมีรูปแบบ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอแตกต่างกันไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นการออกอากาศหรือแสดงสดในห้อง ส่ง (สตูดิโอ) ที่มีขนาดเล็กและมีฉากจำกัด แต่เมื่อมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารในระยะต่อมา รายการโทรทัศน์จึงมีทั้งการออกอากาศสด การบันทึกเทป และผลิตรายการได้ทั้งในและนอกสตูดิโอ
อย่างไรก็ดี บทบาทหน้าที่ของโทรทัศน์ในยุคแรกไม่เพียงแต่ให้ ความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทหน้าที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นทางการเมือง เช่น ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รายการโทรทัศน์นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังทำหน้าที่ในการปลูกฝังแนวคิด ชาตินิยมและในยุคสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้สถานีโทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อและสร้างความชอบธรรม จากการยึดอำนาจจากจอมพลป. พิบูลสงครามภายหลังจากการปฏิวัติสำเร็จ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำงบประมาณจากหน่วยงานทหารมาดำเนินการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นแห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทยและใช้ชื่อว่า “สถานีกองทัพบกช่อง 7” ระบบขาวดำในปี พ.ศ. 2500
ท่ามกลางกระแสการพัฒนา ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จอมพล พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสีในปี พ.ศ. 2510 การพัฒนาช่องฟรีทีวีในประเทศไทยทั้ง 6 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง NBT และช่อง Thai PBS รวมทั้งการพัฒนาระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมแต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ในสังคมไทยที่ผ่านมา (ก่อนการปฏิรูปสื่อปี พ.ศ. 2540) รัฐมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และคลื่นโทร คมนาคม รวมทั้งการให้สัมปทานช่องสถานีโทรทัศน์กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนส่งผลให้สถานีโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยกลุ่มองค์กรธุรกิจการ เมืองซึ่งมุ่งเน้นผลประกอบการทางธุรกิจและอำนาจทางการเมืองมากกว่าผล ประโยชน์ของประชาชน
จากการครอบงำสื่อ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และการครอบงำสื่อของกลุ่มธุรกิจทางสถานีโทรทัศน์ช่องไอทีวี ปี พ.ศ. 2538 (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในยุคปัจจุบัน) ได้ปิดกั้นการทำหน้าที่ของสื่อที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปสื่อในระยะต่อมา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 40 รวมทั้งการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายและแผนแม่บทกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการดำเนิน ธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล 48 ช่องปัจจุบันกำลังเป็นที่จับตามองเพราะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ของ กสทช.ว่า จะนำพาสังคมไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำสื่อของรัฐและกลุ่มธุรกิจที่ ยาวนานกว่า 50 ปี หรือไม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นให้กับบริการชุมชนบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจยังอยู่ในช่วงโค้งสำคัญ รวมทั้งประเด็นการเข้าถึงพื้นที่สื่อสาธารณะของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะผู้ด้อย โอกาสก็ยังเป็นด่านสำคัญที่ กสทช.จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

โค้ชสู่ผู้เล่น…. นิเทศฯบนสนามดิจิทัลทีวี

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน
! http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสาร มวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบ การบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2472

ทำไมไทยต้องเปิดเทอมรับอาเซียน

สถาบันศึกษาของไทย ทั้งส่วนพื้นฐานและอุดมศึกษา ได้เริ่มมีความเคลื่อนไหว ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอมเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนแล้วอย่างชัดเจนในขณะนี้

กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศให้โรงเรียนในระดับการศึกษาพื้นฐานทั่วประเทศปรับเปลี่ยนการเปิดเทอมแรกจากเดิมช่วงเดือนพฤษภาคมไปเป็นต้นเดือนมิถุนายน เริ่มปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

ในระดับอุดมศึกษานั้น มหาวิทยาลัยในกลุ่มเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีการปรับการเปิดภาคการศึกษาแรกจากเดือนมิถุนายนไปเป็นช่วงสองสัปดาห์แรก ของเดือนสิงหาคม

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้มีผลให้ช่วงเวลาการรับสมัครนักเรียนและนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยกระจายไปตลอดทั้งปีการศึกษา

! bangkokbiznews.com/home/news/politics/opinion/nation_u/news-list-1.php

ในความเห็นของผม การปรับเปลี่ยนเปิดเทอมของสถาบันการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ นั้นจะมีผลดี ทำ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ในภูมิภาคนี้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังจะมีผลทำให้การพัฒนามาตรฐานสูงขึ้น และการเทียบโอนรายวิชาก็สามารถจะทำได้อย่างสะดวกขึ้นอีกเช่นกัน

บางท่านอาจจะมองว่าการปรับเวลาเปิดเทอมเช่นนี้เป็นการเพิ่มความวุ่นวาย ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ในความเป็นจริงนั้น ความหลากหลายในช่วงเวลาการเปิดเทอมเป็นเรื่องปกติในหลายๆ ประเทศที่มีการพัฒนามาตรฐานการศึกษาเข้าระดับสากล

เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ความคิดที่จะควบคุมหรือกำกับระบบการศึกษาให้ต้องเป็นแบบเดียวกันหมดนั้นเป็น เรื่องฝืนธรรมชาติ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งยุคสมัย

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้ จึงเป็นการตอกย้ำว่าการศึกษาของไทยเรา จะต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวสู่มาตรฐานใหม่แห่งภูมิภาคในโลกยุคใหม่ที่การศึกษาจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

นั่นย่อมหมายถึง ความจำเป็นที่เราจะต้องปรับคุณภาพมาตรฐานของการ จัดสอบในระบบกลางของประเทศให้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานการวัด, การประเมินผล, การเทียบแทนหรือเทียบเท่า เกณฑ์การวัดทั้งในส่วนความรู้ความสามารถหรือทักษะในการคิดวิเคราะห์ให้ได้ มาตรฐานที่ประเทศอาเซียนทั้งหลายยอมรับโดยทั่วกัน เพื่อจะได้ พิจารณารับนักศึกษานานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน

เท่าที่พอจะประเมินได้ ณ ขณะนี้ความพร้อมของสถาบันการศึกษาชั้นสูงของไทยที่พร้อม จะเข้าสู่ระบบอาเซียนเช่นว่านี้มีอยู่ประมาณ 10 แห่งจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน 200 กว่าแห่งที่อยู่ในกลุ่ม ทปอ.หรือประมาณ 5% ซึ่งคงจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ปีแรกที่มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอม และเชื่อว่าน่าจะมีการทยอยปรับตัวได้มากขึ้นในปีต่อๆ ไป

เมื่อทุกภาคส่วนในประเทศมีความตื่นตัวในการปรับตัวให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน” ในอีกสองปีข้างหน้าโดยเฉพาะภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนในทุก ๆ ด้านแล้ว สถาบันการศึกษาซึ่งควรจะเป็นแถวหน้าแห่งการผลักดันให้เกิดการปรับตัวให้ทัน กับการเพิ่มพลวัตของภูมิภาคก็ย่อมจะต้องเร่งรัดการยกระดับของตนเองอย่าง คึกคักเช่นกัน

Tags : พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
! http://bit.ly/XmrvGc

! http://blog.nation.ac.th/?p=2484

Digital Sphere โลกยุคใหม่ของสื่อดิจิทัล

Digital Sphere โลกยุคใหม่ของสื่อดิจิทัล
โดย : อดิศักดิ์ จำปาทอง

เป็นที่เชื่อกันว่า ภายในหนึ่งหรือสองทศวรรษนี้ สื่อดิจิทัลจะครอบคลุมถึง 80% ของสื่อทั้งหมดที่เราบริโภคกันอยู่ ซึ่งในปัจจุบัน เราก็เริ่มที่จะเห็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงกันบ้างแล้ว

! http://bit.ly/11es1mI

การเกิดของสื่อใหม่ๆ ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อในรูปแบบดิจิทัลทั้งสิ้น ไม่ ว่าจะเป็นโทรทัศน์ดิจิทัล วิทยุออนไลน์ สื่อกลางแจ้งที่มีการควบคุมเนื้อหาสาระจากศูนย์บังคับการ อินเทอร์เน็ต เกมอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่สื่อที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดอย่างโทรศัพท์มือถือที่มีใช้กันอยู่ แทบจะทุกคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ในเมืองที่เรียกกันอย่างสุดเก๋ว่า สกรีนเอจ (Screen age) เพราะชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ เกิดมาไม่ทันไร ฟันยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมเสียด้วยซ้ำ ก็ไม่พ้นต่อการสื่อสารผ่านจอกันทั้งสิ้น ลองสำรวจดูสิครับว่า เกมต่างๆ ที่สอนให้เด็กรู้จักสี รู้จักสัตว์ เกมเรียนภาษาอังกฤษ เกมมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ และอะไรต่อมิอะไร ล้วนแล้วแต่สื่อสารผ่านจอกันทั้งสิ้น

ตัวอย่างผู้ใหญ่วัยเกษียณท่านหนึ่ง นึกอยากจะพบปะหน้าตาลูกหลาน จึงอาสาเป็นเจ้ามือเลี้ยงอาหารเย็นในวันคล้ายวันเกิดของหลานชาย พออาหารลงโต๊ะเท่านั้น 8 ใน 10 คนก็ควัก iPad iPhone ขึ้นมา แล้วกดๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยไม่สนใจอาหารบนโต๊ะเลย สถานการณ์อย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะพบเห็นแล้วโดยทั่วไป

นักการสื่อสารเห็นว่า โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริงแล้ว ถึงแม้ว่าอัตราความรู้ความสามารถในทางคอมพิวเตอร์ (Computer literacy) ของบางพื้นที่ยังคงต่ำอยู่ นักการ สื่อสารมองว่า การเข้าสู่ยุคดิจิทัลนี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถของสื่อในการเข้าถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะการเข้าถึงด้วยความรวดเร็ว (เกือบจะทันที) และการเข้าถึงผู้รับได้อย่างเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ซึ่งนั่นหมายความว่า นักการสื่อสารจะต้องจัดกลุ่ม จัดระดับ และจัดประเภทของกลุ่มเป้าหมายอย่างแยบยล เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาและวิธีการของสื่อให้ชัดเจนและเหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ว่ากันว่า สื่อต่างๆ จะมีความพยายามเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบของสื่อให้มีความเฉพาะเจาะจง ส่งตรงถึงผู้บริโภครายบุคคลกันเลยทีเดียว

ยิ่งเราเพลิดเพลินกับความสะดวกสบายมากขึ้นเท่าใด สื่อดิจิทัลก็จะเข้าถึงเราได้มากขึ้นเท่านั้น จนกลืนสื่ออื่นๆ ไปเรื่อยๆ และอาจจะหมดไปในที่สุดก็ได้ โดยดูตัวอย่างได้จากสื่อวีดิโอที่หมดโอกาสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ไปแล้ว

นอกจากนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ก็เป็นเทรนด์ที่กำลังร้อนแรงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา จนกลายเป็นเรื่องที่นักการตลาดอดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงและนำมาพิจารณาว่าจะ ใช้งานอย่างไรให้เหมาะกับสินค้าและบริการของตนเองได้บ้าง รวมทั้งมีการคาดการณ์ต่อไปว่า เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) เติบโตขึ้นตามไปด้วย

ในปัจจุบันนี้ มีจำนวนสมาชิกของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั่วโลกกว่า 500 ล้านราย และคาดกันว่าในประเทศไทยจะมีจำนวนสมาชิกของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ มากถึง 10 ล้านราย

โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) จึงได้รับการตอบรับมากขึ้นไปพร้อมๆ กับการเติบโตของการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งจากรายงาน The Wave 3 Report ของ Universal McCann พบว่า ผู้บริโภค 7 ใน 10 ราย จะเข้าไปหาข้อมูลในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ อาทิเช่น เว็บ บอร์ดกลุ่มชุมชนออนไลน์ หรือบล็อกต่างๆ เพื่อหาข้อมูล นอกจากนี้เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49) ของผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายสังคมออนไลน์เหล่า นี้

ประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคมออนไลน์จะอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี คิด เป็นสัดส่วนถึง 42% การโฆษณาส่วนใหญ่จึงเน้นรูปแบบการสร้างกระแสนิยมในตราสินค้า (Brand) ที่มีกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงานเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มสินค้าที่นิยมโฆษณาในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ กลุ่ม สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มบริการด้านบันเทิงและท่องเที่ยว และกลุ่มบริการบัตรเครดิต โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการซื้อสื่อผ่านเอเยนซีโฆษณามากกว่าซื้อสื่อโดยตรงผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการโฆษณาออนไลน์

เหตุผลสำคัญที่ทำให้โฆษณาออนไลน์เติบโตขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้า หมายได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ่านการบอกเล่าแบบปาก ต่อปาก (Words of mouth) ของสมาชิกในเครือข่าย ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ถูกบังคับให้ต้องรับฟัง อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ ในการทำ CRM (Customer Relationship Management) เช่น การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ ทำให้ผู้ประกอบการรับรู้ Feedback ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

ตราบใดที่ธุรกิจยังดำเนินอยู่ โลกของการโฆษณาก็จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

! http://blog.nation.ac.th/?p=2493

การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น

 การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย

การสัมมนาในหัวข้อ การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น
– ความสำคัญของงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ
– บทความวิชาการและบทความวิจัย
– ประสบการณ์วิทยากร
– กุญแจสู่ความสำเร็จ

โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 21 มีนาคม 2556 เวลา 13.30 – 15.30น.
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ ม.เนชั่น

ส่วนประกอบของชื่อเรื่อง (Subject) ควรประกอบด้วย
คำว่า MIS (Acronym)
1. วิธีการ (Method)
2. จุดประสงค์ (Intention/Purpose)
3. ตัวอย่าง (Sample)

การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) ควรประกอบด้วย
1. เกริ่นนำ (Introduction)
2. สิ่งที่ทำ (Method)
3. สรุปผล (Conclusion)

การเขียนบทนำ (Introduction) ควรประกอบด้วย
1. หลักการและเหตุผล (Rationale) หรือความเป็นมา (Background)
2. วัตถุประสงค์ (Objective)
3. ขอบเขตของเรื่อง (Scope)
4. คำจำกัดความหรือนิยามต่าง ๆ (Definition)

คาถาที่ฝากไว้ : Just do it
http://www.scribd.com/doc/131768793/

reviewer comment
reviewer comment

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=616479848366150&set=a.616476891699779.1073741832.506818005999002