Book and Learning

หลักการเลือกปากกา
4 ข้อ สำหรับเป็นของที่ระลึก

การมอบอะไร ให้ใคร เพื่อเป็นของที่ระลึก
ในเทศกาล หรือวาระต่าง ๆ
ก็ต้องมีหลักในการพิจารณา
.
จากการอ่านบทความในบล็อก
เรื่อง การเลือกปากกา
สำหรับนำมาจัดทำเป็นของที่ระลึก
จากเว็บไซต์ ปากกา พรีเมี่ยม
.
พบว่า การมอบปากกา
ให้กับลูกค้าคนสำคัญของบริษัท
ในช่วงเทศกาล วาระพิเศษ หรือ วันสำคัญต่าง ๆ
ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย
เช่น ใช้ในการเซ็นเอกสารสำคัญ
หรือ พกติดตัวอยู่เสมอ
เพื่อนำออกมาใช้ได้ในทุกสถานที่
.
มีหลักการเลือกปากกา ดังนี้
.
1. คำนึงถึงผู้รับ
สิ่งแรกที่ต้องนึกถึง
เมื่อจะมอบของให้ใคร
จะนึงถึงความต้องการของผู้รับ
เช่น การมอบของที่ระลึก
ให้พนักงานในบริษัทก็แบบหนึ่ง
ให้ลูกค้าก็แบบหนึ่ง
ให้ผู้เข้ามาร่วมกิจกรรม
ตอบคำถามก็อีกแบบหนึ่ง
.
2. คำนึงถึงงบประมาณในการทำ
เพราะค่าจัดทำของที่ระลึกนั้น
เกี่ยวข้องกับการตั้งงบประมาณประจำปี
และ การตัดสินใจเลือกปากกา
ที่จะสั่งผลิตเป็นของพรีเมี่ยม
ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณ และ คุณภาพ โดยตรง
.
3. คำนึงเรื่องการออกแบบและรูปทรง
เพราะมีรายละเอียดให้เลือกมากมาย
ให้มีความสวยงามสะดุดตา
เป็นเอกลักษณ์ และ ไม่เหมือนใคร
.
4. คำนึงถึงคนที่รับทำ
หรือ โรงงานผลิต
นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ
ว่าคนที่รับทำ มีประสบการณ์
มีผลงานเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจน
เพื่อให้มั่นใจได้ว่า
ปากกาของเรา จะออกมาดี
และ ตรงใจเรามากที่สุด

https://vt.tiktok.com/ZSFGpbqM9/

หลักการเลือกปากกา
4 ข้อ สำหรับเป็นของที่ระลึก
#howto
#premiumperfect
#selection
#ปากกา
#ของที่ระลึก
#farmhugcoffee
#coffee

โครงสร้างข้อมูลในภาษาอาร์

ในเอกสารการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
ในระบบสาธารณสุขไทย
โดยใช้โปรแกรมอาร์
พบว่า หน้า 32
อธิบายโครงสร้างข้อมูล ไว้ 4 แบบ
คือ เวกเตอร์ เมทริกซ์
อาร์เรย์ และ กรอบข้อมูล
.
เอกสารนี้จัดพิมพ์โดย
สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
.
เพื่อทดสอบภาษาอาร์
ตามรายละเอียดในเอกสาร
จึงทดสอบบนเว็บไซต์
ของผู้ให้บริการตัวแปลภาษา
แบบออนไลน์ ซึ่งมีหลายแหล่ง
เช่น โปรแกรมอีซี่ เป็นต้น
.
โครงสร้างข้อมูล 4 แบบ ประกอบด้วย
ข้อมูลแบบ เวกเตอร์
คือ โครงสร้างข้อมูลพื้นฐานในภาษาอาร์
เพื่อใช้ประกาศเซตข้อมูล ใช้ในโปรแกรม
.
ข้อมูลแบบ เมทริกซ์
คือ การนำข้อมูลแบบเวกเตอร์หลายเซต
มาประกอบกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์
ระหว่างข้อมูลหลายเซตขึ้นมา
.
ข้อมูลแบบ อาร์เรย์
คือ ข้อมูลที่จัดเก็บแบบแถวลำดับ
เป็นข้อมูลที่เรียงต่อกัน และมีเลขกำกับไว้
.
ข้อมูลแบบ กรอบข้อมูล
คือ ข้อมูลที่จัดเป็นแถวและคอลัมภ์
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการจัดการข้อมูล
.
ซึ่งหัวข้อโครงสร้างข้อมูลนี้
น้องที่ TTP Cargo
และ USB. Perfect
เค้าสนใจเรื่องสื่อเก็บข้อมูล
วันนี้ จึงได้นำเรื่องโครงสร้างข้อมูล
ที่ใช้ในภาษาอาร์  มาเล่าสู่กันฟัง

https://www.thaiall.com/r/

https://vt.tiktok.com/ZSFUFF7ps/

โครงสร้างข้อมูลในภาษาอาร์
#datastructure
#computing
#statistics
#data
#psu
#language
#research

เล่าเรื่องแจ็คเอาวัวแลกถั่ว

ฟังเรื่องแจ็คเอาวัวแลกถั่ววิเศษ
เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก
ช่วงนี้ ได้มีโอกาสย้อนวัยกับเรื่องเล่า
ฝึกฟัง หลับตา มโนภาพขึ้นมา
กลับไปฟังหนังสือเสียงแบบเด็ก
เพราะผู้ใหญ่คงเคยฟังกันหมดแล้ว
ฟังแล้ว รู้สึกว่าแจ็คกล้าเกินไปหน่อย
.
ในเรื่องเล่าถึง
สิ่งที่แจ็คทำกับครอบครัวยักษ์ไว้
ทั้งเรื่องถุง พิณ และแม่ไก่
ไปแอบเดินในบ้านเค้า
และทำแบบนั้นได้ไง
.
ทำให้นึกถึงยักษ์ด้านเทคโนโลยี
เรื่องที่สตีฟ กับบิล นั่งคุยกัน
ถึงสิ่งที่เค้าได้ในตู้เย็นจากบ้านซีร็อก
.
ในตอนเริ่มเรื่อง
แจ็คเอาวัว แลกถั่ววิเศษ
แบบนี้ ก็ได้เหรอ
เพราะแม่กำหนดมาแล้ว
ให้เอาไปแลกอะไรที่ตลาด
แต่ระหว่างทางถูกแก็งรึเปล่าก็ไม่รู้
ชวนแลกวัวกับถั่ววิเศษ
แจ็คเค้าเชื่อแก็งนี้ด้วย
ยอมแลกไปเฉยเลย
.
ในชีวิตจริง
ใครชวนแลกอะไร
ก็อย่าไปเชื่อง่ายนัก
ขอดูรีวิวของคนอื่นก่อนเลยครับ
.
แจ็คเองก็หวังที่จะ
ประสบความสำเร็จทางลัด
แล้วทางที่ว่านี่ ก็ทำกับยักษ์ไว้เยอะ
ทีมแจ็ค
คงชื่นชมในความกล้าได้กล้าเสีย
และก็จบแบบมีความสุข
แต่ทีมยักษ์
คงบอกว่าน่าตามจับให้ได้นะ
เข้าข่ายบุกรุกบ้านเค้านะนี่
.
แต่เรื่องนี้เค้าให้เชียร์แจ็ค
ที่มีความกล้าหาญเป็นสำคัญ
ก็อยู่ที่มุมมองหลังฟังจบล่ะกัน

เล่าเรื่องโฉมงามกับเจ้าชาย

ฟังเรื่องโฉมงามกับเจ้าชาย
เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก
ช่วงนี้ ผมมีโอกาสย้อนวัยไปกับสาวงาม
ฝึกฟัง หลับตา มโนภาพขึ้นมา
กลับไปฟังหนังสือเสียงแบบเด็ก
เพราะผู้ใหญ่คงฟังหมดแล้ว
ฟังแล้ว ชื่นชมสาวที่เสียสละเพื่อครอบครัว
.
ครอบครัวสาวน้อยมีพี่น้องหลายคน
ผู้คนในอดีตมีลูกเต็มบ้าน
มีหลานเต็มเมือง
สมัยนี้ไม่ค่อยพบครอบครัวใหญ่ล่ะ
สาวน้อยตัวเอกชอบอ่านหนังสือ
ทำอาหาร ดูแลบ้านให้น่าอยู่ และน่ารัก
.
วันหนึ่งมีปัญหาใหญ่
ที่พ่อเค้าไปทำเรื่องไว้
ลูกสาวก็ต้องเสียสละ
เป็นตัวแทนพ่อไปแก้ปัญหา
ย้ายออกบ้านไปอยู่กับหนุ่ม
แล้วพลิกฟื้นครอบครัว
ให้กลับมาอยู่กินได้อย่างมีความสุข
แต่สาวต้องเสียสละความสุขส่วนตน
.
เพราะเป็นคนชอบอ่านหนังสือ
สาวน้อยจึงอ่านหนังสือให้หนุ่มฟัง
อ่านบ่อย พูดคุย ทานข้าวด้วยกัน
ปลูกต้นไม้ ดูแลสวนทุกวัน
จากไม่ชอบก็กลายเป็นชอบ
กลายเป็นความรัก
.
ฟังแล้วก็สนุก
ลุ้นทั้งเรื่อง มีผู้ดี มีผู้ร้าย
เปลี่ยนจากผู้ร้ายเป็นเจ้าชาย
เปลี่ยนจากโชคร้ายเป็นได้โชค
ใครทำดีก็ได้ดี
ใครทำไม่ดีก็ได้ไม่ดี
จบอย่างมีความสุข โลกสวย
เป็นจินตนาการที่งดงามของสาวน้อย

ประวัติสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง - ช่วงเริ่มต้นปี 2506

ประวัติสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง – ช่วงเริ่มต้นปี 2506

การก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง เริ่มขึ้นในช่วงปี 2506 – 2507 โดยภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ ให้ข้อคิดเตือนใจแก่นักเรียนในขณะนั้น ให้พยายามรวบรวมศิษย์เก่ามาพบปะพูดคุยกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ปี พ.ศ. 2510 ภราดามิเกล ซีซีเรีย อิลเดฟองซ์โซ กลับมารับตำแหน่งอธิการอีกครั้ง ถึงปี พ.ศ. 2512 และในวันคริสต์มาสของทุกปีได้มีการจัดงานวันครอบครัว ดังนั้นคณะครูโรงเรียนที่เป็นศิษย์เก่าได้ปรึกษากับคณะครูอาวุโส มีมติร่วมกันให้จัดงานพบปะสังสรรค์ประจำปี ซึ่งครั้งแรกจัดใต้อาคารเซนต์หลุยส์ โดยเชิญภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ มาเป็นประธาน มีผู้มาร่วมงานประมาณ 30 คน ปี พ.ศ. 2511 – 2515 การพบปะระหว่างศิษย์เก่ากับโรงเรียนได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ แต่ยังไม่มีประธานฯ มารับผิดชอบโดยตรง ปี พ.ศ. 2516 คณะครูโรงเรียนได้มอบหมายให้ ม.เรืองยุทธ นวลบุญเรือง รุ่น 02 และ ม.สุรเดช ประสาทพร รุ่น 04 ร่วมกันยกร่างข้อบังคับ ชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง และสรรหาศิษย์เก่ามาเป็นประธานจัดงาน เพื่อปรึกษากันก่อตั้งสมาคมฯ ได้นายชนะ บูรมินเหนทร์ รุ่น 04 มาเป็นประธานจัดงานฯ วาระ 1 ปี ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานชมรม มาโดยตลอด

อ้างอิงจาก เอกสารในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2553 เสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2553
ในสมัยที่ พี่มนัสพี เดชะ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 18

http://www.thaiabc.com/acla/team.asp

http://www.thaiabc.com/acla/team_bkk.asp

เอกสารในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2553
คลิกเพื่อเปิด e-book
หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

สารบัญใน หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

อีบุ๊ก (e-book)
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 1 : scribd.com
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 2 : pubhtml5.com

thai dance

สารบัญ (ใช้เลขหน้าตาม e-book ตั้งแต่ 1 – 93)

  1. หน้าปก 1
  2. ปกใน 2
  3. สำนักพระราชวัง 3 – 4
  4. สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ 5
  5. กำหนดการ 6
  6. รัตนชยาลัยกถา (คำไว้อาลัย) : เจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง 7
  7. คำไว้อาลัย : เจ้าอาวาสวัดพระแก้วดอนเต้าสุดชาดาราม พระอารามหลวง 8
  8. ระลึกถึง อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย : ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์ 9
  9. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม : วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 10
  10. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ รัตนชัย : ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง 11 – 12
  11. อัจฉริยบุรุษ สุดประเสริฐยิ่งนัก “อาจารย์ ศักดิ์ รัตนชัย” : ประดิษฐ สรรพช่าง 13
  12. ข่าวสาร กลุ่มพิธีการฯ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 14
  13. ค่าใช้จ่าย 15
  14. มูลนิธิส่งเสริมงานวัฒนธรรมลำปาง สนับสนุนน้ำดื่ม และน่ำแข็ง 15
  15. ท่าฟ้อนเผียไหม 16 – 17
  16. เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง 18 – 19
  17. สารบัญ (ตามเล่มเอกสาร) 20
  18. ประวัติและผลงาน อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 21 – 40
  19. ความหลัง ความทรงจำ ชุดภาพงานแสดงแห่งชีวิต ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 41 – 59
  20. ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้บุกบั่น ฟันฝ่า ตามหาอาจารย์ สุดขอบฟ้า ร่ำเปิงถึงความหลัง : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 60 – 63
  21. แด่ปูชนียะ อาจาริยะ ศักดิ์ ส.รัตนชัย : อาจารย์ประดิษฐ สรรพช่าง 64 – 67
  22. ซอสะหรีสักเสิน เชิดชูเกียรติ อาจารย์ศักดิ์ สักเสริฐ รัตนชัย ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ถ่ายทอดและสืบทอดตำนานแผ่นดิน : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 68 -70
  23. การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่ เอกสารชุดที่ 12 71 – 88
  24. เอกสารเพิ่มเติม เรื่อง แก้วตาแม่ : อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด 89 – 92
  25. ปกหลัง 93
สารบัญ ตาม e-book

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ… by บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

อ่านบทความเรื่องที่ 47 ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

ชวนอ่านบทความของเพื่อนในสื่อสังคม

คร ๆ ก็บอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อสังคม .. เรามักมีเพื่อนในสื่อสังคม พบว่า มีการแชร์แบ่งปันเรื่องราวที่เพื่อนสนใจ ทั้งแบบเฉพาะตนเอง เฉพาะเพื่อน หรือเป็นสาธารณะ ผมมีเพื่อนสมัยประถมและมัธยม ที่มีเรื่องมาเล่าให้ได้ติดตามเสมอ มีของมาขาย มีของที่ได้ซื้อมา มีที่เที่ยว แล้วหยิบมาเล่าสู่กันฟัง ผมมีเพื่อนสมัยอุดมศึกษา มักเล่ากิจกรรมการกิน การอยู่ การใช้ชีวิต พร้อมภาพประกอบมาให้อ่านกันอย่างเพลินใจ ผมมีหัวหน้าที่แบ่งปัน เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหาร การจัดการ การตลาด บุคคลและองค์กร และเรื่องน่าสนใจ ที่เป็น public อยู่มากมายหลายสิบบทความ รวบรวมเป็นฐานข้อมูล และอีบุ๊คให้เข้าถึงได้ง่าย มักชวนนิสิตเข้าไปติดตาม (follow) อยู่เสมอ ถ้าเรามีชีวิตในโลกออนไลน์ ได้ใช้สื่อสังคม อาจมองเห็นช่องทางทำธุรกิจ ช่องทางบันเทิง หรือโอกาสในการสื่อสารใหม่ การรับข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่เราชอบ มักเริ่มต้นจากการกด like / share / follow เพราะอาจมีสักวันที่ได้นำหลักการที่ได้จากการอ่าน การฟังเหล่านั้นไปปรับใช้ในชีวิตก็เป็นได้ สรุปว่า ทักษะทางสังคม ก็มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตในสังคม

บทความมากมายน่าสนใจ
เช่น ซีรี่บทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ เรื่องที่ 41 – 47 มีดังนี้

  1. สมองคิด ปากพูด กายทำ ของคน 8 ลักษณะ ในงาน หรือชีวิตประจำวัน
  2. ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และการรับรู้ของคนอื่นในองค์กร
  3. ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร
  4. แนวคิด Makoto Marketing
  5. ความพอใจคนทำงาน กับ ความพอใจขององค์กร
  6. การปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด
  7. ผู้นำ : คนที่มีภาวะผู้นำกับผู้นำที่ยกระดับองค์กร

http://www.thaiall.com/facebook/

If you can't explain it simple, you don't understand it well enough.

ชวนผู้เรียนฝึกซ้อมการอธิบายบ่อย ๆ

ชวนผู้เรียนฝึกซ้อมการอธิบายบ่อย ๆ .. ดังคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายสิ่งใด ให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าตัวคุณเอง ยังไม่เข้าใจมันดีพอ (If you can’t explain it simple, you don’t understand it well enough.)” โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้นึกถึงความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในสื่อสังคม มักเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ชาวโซเชียล พบว่า #ชาวโซเชียล จุดประกาย ปลุกกระแส ตาม “ข่าวในแต่ละช่วงเวลา” ให้ชาวโซเชียลช่วยกันอธิบาย สืบค้น อย่างมีความสุขตามสายอาชีพ หมอก็อธิบายแบบหนึ่ง ทนายก็อธิบายแบบหนึ่ง นักข่าวก็อธิบายแบบหนึ่ง อินฟูเอ็นเซอร์ก็อธิบายอีกแบบ ผู้อ่านก็เข้ามาช่วยอธิบายในแบบของตน เป็นกรณีศึกษาในห้องเรียน ให้เข้าไปดูพฤติกรรมชาวโซเชียล ที่ช่วยอธิบายเหตุการณ์ตามประสบการณ์ หรือฐานสมรรถนะเฉพาะตน ที่ได้อ่าน ได้ดู ได้ฟังมา แล้วก็อธิบายตามความเชื่อ ซึ่งเป้าหมายของการสื่อสาร เลือกนำเสนอผ่านการเขียน/พูดแสดงออก คือ เพื่อให้ข้อมูล ทั้งเชิงบวก เชิงลบ หรือสร้างสรรค์ มีที่มาของการแสดงความเห็นได้หลายสาเหตุ

http://www.thaiall.com/futureclassroom/

Albert Einstein Quotes. (n.d.). Quotes.net. Retrieved March 14, 2022, from https://www.quotes.net/quote/9276.

หนังสือ เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง vol.18

เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง

ใน #สังคมคนรักอ่าน พบเพื่อน ๆ เล่าเรื่องการอ่านหนังสือ แบ่งปันประสบการณ์ เรื่องราวชวนคิด และชวนอ่านหนังสืออยู่เสมอ ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มหนึ่ง เป็น limited edition แต่ผมมีโชคได้รับมา 3 เล่ม ด้วยความเมตตา จาก พระครูสิริธรรมบัณฑิต และ พระครูสุตชยาภรณ์ แล้วได้สนทนาธรรมเรื่องงานกฐิน และหนังสือชื่อ “ปักหมุดเมืองไทย บันทึกเรื่องราววัดในจังหวัดลำปาง” หรือ “เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง vol.18” จากการพูดคุยกับพระครูทำให้ผมเข้าใจ และคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นมาของหนังสือเล่มนี้ได้ชัดเจนขึ้น สำหรับรายละเอียดเนื้อหาในหนังสือจะมีข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละวัด แต่ภาพในหนังสือสวยสดงดงามกดไลค์ได้ทุกภาพ แต่ใน e-book จะถูกลดความละเอียดลง เพื่อลดเวลาดาวน์โหลดสำหรับการอ่านออนไลน์ ตัวอย่างข้อมูลที่ปรากฎในหนังสือของ วัดมิ่งเมืองมูล ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ที่เผยแพร่ข้อมูลรวมพบ 4 หน้า คือ หน้า 74 – 77 มีข้อมูลที่น่าสนใจของวัดในหัวข้อ ความเป็นมา อาคารเสนาสนะ ปูชนียวัตถุ อาณาเขต การบริหารและการปกครอง

หนังสือเล่มนี้พิมพ์จำนวนจำกัด ผมได้มา 3 เล่ม ท่านใดที่อ่าน e-book จาก เว็บไซต์ปักหมุดประเทศไทย หรือตาม qr code ของวัดมิ่งเมืองมูล หรือวัดศรีชุม ไปอ่านความเป็นมา และดูภาพสวยภายในวัด แล้วยังมีความต้องการหนังสือเล่มนี้ฉบับตีพิมพ์ ไว้ในครอบครอง โดยมีเหตุผลอันควรที่ชัดเจน ติดต่อไปที่พระครูที่ดูแลวัดภายในเล่มได้ครับ หรือถามมาที่ผมก็ได้
เพราะผมมีเครือข่ายของพระครูที่ครอบครองหนังสือเล่มนี้อยู่ หากมีเพื่อนมาขอส่วนของผมไปจนหมดแล้ว ก็ยังสามารถประสานจากพระครูส่งหนังสือไปให้ผู้ที่สนใจได้ ถ้าขอหนังสือมาและนำไปใช้ด้วยเหตุผลอันควร ก็เชื่อว่าพระครูท่านจะพิจารณามอบให้เป็นกรณีไป แล้วส่งไปให้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่อไป

https://pukmudmuangthai.com/detail/20071

http://www.thaiall.com/e-book/

หนังสือ วิทยาการคำนวณ ม.3

มีโอกาสอ่านหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้เรียบเรียงคือ อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุทธยา ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) มี 191 หน้า มีเนื้อหาน่าสนใจ ซึ่งแบ่งหน่วยการเรียนรู้เป็น 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชัน” หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 “การรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล” หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 “การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลอ้างอิง และผลกระทบ” หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามสิทธิในการนำมาใช้”

พบเนื้อหา ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน หน้า 14 พบเครื่องมือที่ใช้ คือ MIT App inventor และ Thunkable ซึ่งอธิบายขั้นตอนการพัฒนามี 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลข” ตัวอย่างที่ 2 “การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบคำถาม” แล้วต่อยอดการใช้ blockly ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ iot เช่น บอร์ด KidBright ร่วมกับหลอดไฟ USB หน้า 51 โดยใช้โปรแกรม KidBright IDE บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเขียน python ควบคุมบอร์ด Raspberry Pi 3 สั่งควบคุมการเปิดปิดไฟ หน้า 63 ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งแบบ no code และ code ที่เป็นชุดคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ iot ในปัจจุบัน

http://www.thaiall.com/programming/thunkable.htm