Seminar and Articles

จากการประชุม สัมมนา หรืออ่านบทความ ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นบทเรียนของชีวิต ดังนั้น slug หรือ url friendly จึงใช้คำว่า lesson ซึ่งสื่อไปว่า “นี่คือเรื่องที่เป็นบทเรียนให้เราได้เรียนรู้และเลือกมาใช้กับชีวิตของเราในภายภาคหน้าต่อไป”

ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือนที่ทำงาน

Lampang 2020
Lampang 2020
ntc 2015 conference
ntc 2015 conference
ntu fut 2016 symposium
ntu fut 2016 symposium

ทุกมหาวิทยาลัยก็จะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลายมหาวิทยาลัยจะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเนชั่น มีความสัมพันธ์กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการร่วมกันทุกปี โดยเฉพาะการประชุมวิชาการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2014 บางปีก็เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น และปีนี้ (2016) ก็มีกิจกรรมร่วมกันมากมาย

กิจกรรมดูงานในลำปางมีแผน ดังนี้
3 ธ.ค.59
– ชมกาดกองต้า
4 ธ.ค.59
– ดูการผลิตข้างแต๋น
– ดูงานกลุ่มตีมีดบ้านขามแดง
– ดูงานการผลิตเซรามิค
5 ธ.ค.59
– เยี่ยมศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
– เยี่ยมวัดพระธาตุลำปางหลวง
6 ธ.ค.59
กิจกรรมทางวิชาการในห้อง Auditorium, NTU, Lampang

3 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559

24 – 26 มกราคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2014/

13 – 14 ธันวาคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2557/

18 ธันวาคม 2558
! http://www.nation.ac.th/ntc2015/

3-6 ธันวาคม 2559
! http://www.nation.ac.th/ntc2016/

6-14 ตุลาคม 2558
โครงการ: Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
! http://www.nation.ac.th/news-detail.php?main=fpdazyrr//243&content=465
! https://www.facebook.com/NationUNews/posts/886858211391265:0

Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology

การประชุมทางวิชาการ ม.เนชั่น ร่วม ม.ฟุคุอิ

มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยเนชั่นเล็งเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดประชุมวิชาการร่วม มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่นขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 เวลา 9.00 – 15.30น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง โดยมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่น่าสนใจ เช่น
ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
การพัฒนากระดาษกันยุง
รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
ข้าวก่ำเพื่อพัฒนาเสริมสร้างสุขภาพ
และการใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

! http://www.nation.ac.th/ntc2016

การประชุมครั้งนี้เชิญผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกท่านเข้าร่วมการประชุมวิชาการ โดยพร้อมเพรียงกัน


ประชุมวิชาการ 2015
ประชุมวิชาการ 2015
6 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559

18 ธันวาคม 2015
! http://www.nation.ac.th/ntc2015

13 – 14 ธันวาคม 2014
! http://www.nation.ac.th/ntc2557

24-26 มกราคม 2014
! http://www.nation.ac.th/ntc2014

ประชุมทางวิชาการ
ประชุมทางวิชาการ

ประชุมวิชาการปี 2559 ร่วม Fukui University of Technology

กิจกรรมเสริมหลักสูตร กับพี่โหน่ง แห่ง a day magazine

a day magazine @ ntu
a day magazine @ ntu

เสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2559
เห็นนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง
จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เชิญพี่โหน่ง (วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์)
แห่งนิตยสารดาวรุ่ง a day magazine
มาพูดคุยแบบเข่าชนกันที่ห้องประชุม Auditorium ม.เนชั่น
กิจกรรมครั้งนี้นักศึกษาจัดทำกันเองในวิชาสัมมนา
แล้วจัดทำคลิ๊ปประชาสัมพันธ์
เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา It’s time to inspire
https://www.youtube.com/watch?v=TKHNJe6RVcU

มันเป็นเวลาที่จะสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration)
นักศึกษาคณะนิเทศฯ จะได้รับการปลุกพลังที่อยู่ในใจ
ปลุกศักยภาพของตนเอง
ผ่านการแชร์ของวิทยากรที่ทำนิตยสารอย่างมืออาชีพ
นักศึกษาจะได้เรียนรู้บุคคลต้นแบบ แล้วติดตามแฟนเพจของ a day
ที่ https://www.facebook.com/adaymagazine/
มีข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจพรั่งพรูมาใน feed
พัฒนาการอ่านของนักศึกษา (Reading Skill)

นอกจากนั้น พี่วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
ยังมีเว็บไซต์ที่ http://www.wongthanong.com
ประวัติใน wiki บอกว่าพี่เกิด 21 มกราคม 2511
ที่ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร
จบคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง นิตยสารอะเดย์ (A Day)
ร่วมกับ นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์
ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการ นิตยสารอะเดย์
นิตยสาร Hamburger นิตยสาร Knock Knock
และบรรณาธิการที่ปรึกษาสำนักพิมพ์ อะบุ๊ค

ภาพโดย book terrier
ภาพโดย book terrier

ผลงาน
เรื่องเล็ก (2543)
เหมือนไขมัน (บทสัมภาษณ์ ประภาส ชลศรานนท์) (2543)
The Story of The Modern Rebel (2546)
The Bear Wish Project (นามปากกา เดปป์ นนทเขตคาม) (2547)
หญิงสาวนักขายขนมปัง (2547)
มากกว่านั้น (2548)
Wake Up ! (ร่วมกับ วชิรา รุธิรกนก และ ทรงกลด บางยี่ขัน) (2550)
Question Mark (บทสัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) (2550)
abc : Change (ผู้เขียน วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์,แทนไท ประเสริฐกุล,ใบพัด,เรียวตะ ซูซูกิ,วชิรา รุธิรกนก,นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล,วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล,หนุ่มเมืองจันท์) (2551)
TRY (2552)
มัชฌิมนิเทศ (2553)
minidot004 COME HOME (2554)
NO M>RE NO L<SS (2555)
In My Life (2555)
Day After Day (2556)
Everyday Story (2557)
กรรมการผู้ตัดสินรายการ SME ตีแตก (2557-2558)
ทำอะไรเล็กๆ ง่ายๆ ก็มีความสุขได้ (2558)
เป็นคนธรรมดามันง่ายไป (2558)
เดอะ ดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป (ภาพยนตร์สารคดี) (2558)
Everyday Story 2 (2559)

ภาพชุดที่ 1 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306139222785278/
ภาพชุดที่ 2 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306160609449806/
ภาพชุดที่ 3 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306189219446945/

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

แกะบันทึกดอกเตอร์มาเป็นบทเรียน ในประเด็นการประชุมกรรมการหลักสูตร

7 ตัวบ่งชี้ระบบ
7 ตัวบ่งชี้ระบบ

ดอกเตอร์ที่เป็นข่าวเขียนบันทึกไว้หลายหน้า อ่านแล้วก็ทำให้ตระหนัก
มีหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การประชุมกรรมการหลักสูตรมีเรื่องต้องพิจารณา
ซึ่งมีประเด็นที่ท่านห่วง พอสรุปได้ดังนี้
– กำหนดแผนการศึกษาที่เข้าใหม่แต่ละเทอม [3+4]
– จัดตารางสอนของนักศึกษาใหม่ในเทอมแรก [3+4]
– การอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ [3.2]
– ทบทวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา [5.3]

สำหรับเลขที่ต่อท้ายประเด็นข้างต้น มีความหมายดังนี้
เลข 3+4 สอดรับกับ องค์ประกอบนักศึกษา และอาจารย์
เลข 3.2 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เลข 5.3 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การประเมินผู้เรียน รวมถึงกำกับการทำ มคอ.7
แล้วก็ไปอ่านเรื่องที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES)
ท่านได้วิเคราะห์ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล”
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596
แล้ว หลักธรรมมาภิบาล มี 10 ข้อ
เป็นตัวบ่งชี้ระดับสถาบัน ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
เป็นตัวบ่งชี้ระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
ซึ่งหลักธรรมาภิบาลอยู่ในคู่มือประกัน หน้า 40 และยากทุกข้อเลย
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/

งานประชุมที่ท่านพูดถึงถ้าไม่ทำก็ไม่ได้คะแนน
การได้คะแนนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
การให้คะแนนตามเกณฑ์ระบบมี 5 ระดับคะแนน

คะแนน 1 มีระบบ มีกลไก
คะแนน 2 มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ มีการประเมินกระบวนการ
คะแนน 3 มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน
คะแนน 4 มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
คะแนน 5 มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน
และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

หากจะทำเป็นระบบกันจริง ๆ ก็มีตัวบ่งชี้ระบบ ซึ่ง สกอ. คิดขึ้นมา
ประเด็นที่ต้องมีระบบ ในทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้จาก 13 ตัวบ่งชี้ของหลักสูตร

3.1 การรับนักศึกษา และการเตรียมก่อนเข้าศึกษา
3.2 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพศตวรรษที่ 21
4.1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
ระบบการบริหารอาจารย์ และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
5.1 ระบบควบคุมการออกแบบ และสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัย
5.2 ระบบผู้สอน กำกับ ติดตาม การบูรณาการพันธกิจ
การควบคุมหัวข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการช่วยเหลือตีพิมพ์
5.3 ระบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
6.1 ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

http://www.thaiall.com/iqa/

บทบาทในการกำกับและดูแลความเสี่ยงของกรรมการรัฐวิสาหกิจและปัจจัยสาเหตุ โดย ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร

abstract by thankawin

23 ก.ย.58 มีโอกาสได้อ่าน วารสารการจัดการ (journal of management)
WMS : Walailak Management School ของ Walailak University
ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2558)
http://wmsjournal.wu.ac.th/index.php/wms/issue/view/17/showToc
และในวารสารมีบทความเรื่อง

บทบาทในการกำกับและดูแลความเสี่ยงของกรรมการรัฐวิสาหกิจและปัจจัยสาเหตุ
Roles in Governing Risks of State Enterprise Directors and Their Antecedents
เขียนโดย ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร (Thankawin Ratthawatankul)

สามารถอ่านแบบออนไลน์ได้ที่
http://wmsjournal.wu.ac.th/index.php/wms/article/view/181/163
และ
https://www.facebook.com/download/1608594836074928/181-568-1-PB.pdf

บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นำเสนอบทบาทในการกำกับและดูแลความเสี่ยงของกรรมการรัฐวิสาหกิจและปัจจัย สาเหตุ ที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแสดงบทบาทนั้น บทพื้นฐานของ Grounded Theory การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยบูรณาการเครื่องมือทางการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ผ่านกรณีศึกษาที่จัดเตรียมขึ้น เพื่อทำการศึกษาในการฝึกอบรมกรรมการรัฐวิสาหกิจ จำนวน 34 คน และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า

ผลการศึกษาพบว่ากรรมการรัฐวิสาหกิจแสดงบทบาทตามเกณฑ์มาตรฐานซึ่งได้แก่ การกำหนดกรอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ การทำความเข้าใจกับความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญอยู่ และกำกับให้มีมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม และการพิจารณาความเสี่ยงทุกครั้งที่มีการตัดสินใจ

WMS : Walailak Management School ของ Walailak University
WMS : Walailak Management School ของ Walailak University

ธุรกรรมที่มีนัยสำคัญ  นอกจากนี้กรรมการยังแสดงบทบาทเพิ่มเติมอีก 3 ประการ ได้แก่ การเป็นตัวกลางเชื่อมโยง และทำความเข้าใจระหว่างฝ่ายบริหารกับผู้ถือหุ้นหรือหน่วยงานต้นสังกัด การระแวดระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแล้วแจ้งเตือนให้ฝ่ายบริหารเตรียมแผนรองรับความเสี่ยงนั้น และการไม่แสดงบทบาททับซ้อนกับฝ่ายบริหาร สำหรับปัจจัยสาเหตุที่สนับสนุนความสามารถ ในการกำกับและดูแลความเสี่ยงประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ ได้แก่ ความรู้ทางการบริหารธุรกิจ ประสบการณ์ตรง เครือข่าย ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อสถานการณ์ และความไวต่อความเสี่ยง
คำสำคัญ การกำกับและดูแลกิจการที่ดี ความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง รัฐวิสาหกิจ

ชอบเนื้อหาหน้า 52 ในบทความ
หัวข้อ 5.2 ปัจจัยสาเหตุที่สนับสนุนความสามารถในการกำกับและดูแลความเสี่ยง
1. ความรู้ทางการบริหารธุรกิจ : ควรรู้การเงิน การตลาด และการดำเนินงาน
2. ประสบการณ์ตรง : ทำไมคนที่จบมาจากสถาบันที่ดีไม่มาเหมือนในอดีต .. ค่าตอบแทนต่ำ
3. เครือข่าย : ใช้เครือข่ายสรรหาผู้บริหารสูงสุดที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม
4. ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อสถานการณ์ : การมีข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อสถานการณ์ .. เป็นสิ่งจำเป็นต่อการตัดสินใจ
5. ความไวต่อความเสี่ยง : ระแวดระวังที่ดีพอย่อมส่งผลต่อความสามารถในการทำความเข้าใจความเสี่ยง
อ่านดูแล้วก็คล้อยตามว่า
ถ้ามีความสามารถทั้ง 5 ข้อข้างต้น ก็จะสนับสนุให้การกำกับและดูแลความเสี่ยงได้ดีกว่า
อ่านงานของ ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร ในวารสารการจัดการ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153569923168895&set=a.10150460359323895.382898.814248894
แล้วนึกถึงงานของ ดร.วันชาติ นภาศรี
เรื่องการพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม
http://www.thaiall.com/e-book/coop/

ยกร่างข้อเสนอโครงการงดเหล้าบุหรี่ บ้านไร่ศิลาทอง

เหล้าบุหรี่ ไร่ศิลาทอง
เหล้าบุหรี่ ไร่ศิลาทอง

จากการไปประชุมใน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการแก้ไขปัญหาเหล้า บุหรี่ ในชุมชน วันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เด้น จ.เชียงใหม่ หลังการประชุมได้ร่วมกันยกร่างข้อเสนอโครงการกับชุมชน เพื่อเตรียมพิจารณาร่วมกันในชุมชนกับกลุ่มอสม. วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2557 แล้วนำกลับมาปรับปรุง เพื่อเสนอรอบสุดท้ายกับชุมชนในวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2557 มีกิจกรรมหลัก ๆ ที่พูดคุยกับหัวหน้าโครงการในเบื้องต้นแล้ว ดังนี้
1. ประชุมทบทวนกับชุมชนถึงที่มาที่ไป แผนงาน กิจกรรม และกลุ่มเป้าหมาย
2. สำรวจชุมชน โดยอาศัย อสม. และเด็กในชุมชน
มีกิจกรรมเตรียมความพร้อม ออกสำรวจ และสรุปผล
3. ประชุมชี้แจงโครงการ และผลสำรวจให้คนในหมู่บ้านได้รับรู้ เข้าใจ และตระหนัก
4. จัดค่ายบรรยายธรรม กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้มีพฤติกรรมดื่มสุรา ที่แจ้ซ้อน 50 คน
กลุ่มผู้มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ที่… 50 คน
5. จัดค่ายบรรยายธรรม กลุ่มเยาวชน และกลุ่มเสี่ยง 50 คน
เด็กโรงเรียนชาวนา และเด็กพุทธศาสนาวันอาทิตย์
6. จัดเวทีประชาคมเรื่องงดเหล้าบุหรี่ หาแนวทางจัดทำประชามติ
7. จัดทำป้ายงดเหล้าบุหรี่งานศพ และงานบุญ
8. กิจกรรมคน 3 วัย 30 ครอบครัว ที่จิตอารีย์
9. สำรวจชุมชน โดยอาศัย อสม. และเด็กในชุมชน
มีกิจกรรมเตรียมความพร้อม ออกสำรวจ และสรุปผล
10. สรุปผลในทีมวิจัย
11. จัดเวทีคืนข้อมูลแก่ชุมชน
12. จัดทำรายงานสรุปผล

การพัฒนาตนเองแล้วนำมาพัฒนาการเรียนการสอน

จากการไปพัฒนาตนเองด้วยการเข้าร่วมประชุมวิชาการ
ที่จัดโดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชื่อ การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 และ 10
คือ 9-10 พ.ค.56 และ 8-9 พ.ค.57
ซึ่งกระผมร่วมประชุมเป็นประจำทุกปี ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ปี 2557 ได้ฟังเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่อง อาทิ

  •  The Development of Automatic Programming execise Verification System

  •  Voice Enabled Weight and Time Apparatuses on Practice for the Northern School for the Blind under the Patronage of the Queen

  •  A Monitoring System for School Flood Victims Using the Android Smart Phone

  •  Portable Guide System for Traveling

  •  Analysis of Data Processing Performance between Relational and Non-Relational Databases of Documents

  •  Development of Dog’s Health Care Application on Mobile Phone

  •  Welfare Information System : Case Study of Electricity Generating Authority of Thailand

แล้วนำมาแบ่งปันใน วิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (TECH 101)
ในปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2
โดยนำเสนอประเด็นว่า ทุกปีจะมีสถาบันการศึกษาจัดประชุมทางวิชาการในหลายเวที
ที่เปิดให้ผู้สนใจได้นำเสนอผลงานทางวิชาการจากการพัฒนา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มีหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
แล้วมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำโครงงานประจำวิชา โดยออกแบบกระบวนการภายในกลุ่ม
แล้วนำเสนอผลงานหน้าเวทีเป็นงานกลุ่ม พร้อมส่งผลงานเข้าประกวดกับโครงการชีวิตติดเดิน
เพื่อให้เข้าใจถึงเงื่อนไข และขั้นตอนการส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาที่แท้จริง
แม้จะไม่ได้เข้ารอบ แต่ก็ต้องทำงานให้สมบูรณ์ด้วยการทำ powerpoint
และนำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกกลุ่มเช่นเดียวกับที่นำเสนอในเวทีการประชุมวิชาการ
http://www.youtube.com/playlist?list=PLYv8A28PGRQwAyjq0bs2HxTpKZI348duy
http://www.scribd.com/doc/223300399/Proceedings-of-NCCIT2014
http://search.4shared.com/postDownload/LpmntYcV/Proceeding_NCCIT2013.html
https://www.facebook.com/IT.Faculty.KMUTNB/media_set?set=a.701365849921845.1073741849.100001453093093
http://www.psichannel.com
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

บทเรียนจากหัวหน้า 7 เรื่อง

เล่าสู่กันฟัง .. เป็นบทเรียนจากหัวหน้า
ผมบันทึกไว้อ่าน เป็นเครื่องช่วยจำครับ
4 ก.พ.57 ท่านให้แนวทางในการทำงานไว้ 7 ข้อ

1. เรื่อง เขียนบันทึกต้องละเอียด
ถ้าต้นเรื่องทำบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
ต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะใช้งบส่วนไหน มี หรือไม่มีงบ
จะได้ใช้ข้อมูลที่ครบถ้วน ประกอบการพิจารณาอย่างเหมาะสม
2. เรื่อง อย่างนิ่งดูดายต่อคำถาม
เมื่อมีคำถามต่อบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
มาทางอีเมลถึงทุกคน แล้วคนที่คิดว่ามีข้อมูลต่อคำถามก็ต้องชี้แจงไป
และก็ต้องช่วยกันสะกิดสะเกาให้ตอบไป เรื่องจะได้เดินต่อ
3. เรื่อง ห้ามเขียนงบอื่น ๆ
หลายองค์กรตั้งงบประมาณว่า อื่น ๆ หรือถัวเฉลี่ย
แต่บริบทของเราทำไม่ได้ ต้องชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
เราผ่านการปฏิรูปมาแล้วนะ ต่อไปอย่าตั้งมาอย่างนั้น
4. เรื่อง ไปดูงาน ไม่ใช่ไปเที่ยว
การดูงานในอดีต มีรายการท่องเที่ยวแฝงอยู่มาก
หลายสถาบันยกเลิกการดูงานว่าเป็นเงื่อนไขของหลักสูตร
ถ้าดูงานก็ต้องดูกันจริง ๆ ดูแล้วน.ศ.ก็ต้องกลับมาทำรายงานผลด้วย
5. เรื่อง ถ้าตั้งใจก็เรียนได้ เรื่องจ่ายผ่อนเอา
ภาครัฐสนับสนุนการศึกษา ออกกฎว่า ขั้นพื้นฐานไม่มีเงินก็เรียนได้
ถ้าจัดการแยกว่า คนที่มีกับคนไม่มี ต้องปฏิบัติต่างกัน จะทำให้จัดการยุ่งยาก
ตอนนี้ระดับอุดมฯ คุมที่ใบรับรอง คือไม่มีเงินก็เรียนได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ดังนั้น ไม่มีเงินก็เข้าสอบได้ ถ้าสอบผ่าน แต่ไม่จ่าย ก็ไม่ออกใบรับรองให้
6. เรื่อง ขู่นักศึกษา เขาอาจเก็บกระเป๋านะ
ปัญหาการสื่อสาร การขู่ให้กลัวก็ดีอย่างหนึ่ง จะได้ “ฮึกเหิม”
แต่อาจเกิดผลกระทบทางลบได้ เช่น “ไม่ตั้งใจเรียน ระวังไม่จบนะ”
คนที่ไม่ตั้งใจเรียนก็พาลใจเสีย ต้องดูแลใกล้ชิด เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ทำความเข้าใจ
7. เรื่อง ระบบของคนเซ็นรับตัง กับระบบของเรา
หลักฐานทางราชการ ต้องทำความเข้าใจเรื่องใครเซ็น
เพราะเข้าท้องพระคลังไปแล้วออกยากครับ
ต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ต้นต้องรู้ว่าการเซ็นรับตัง มีเงื่อนไขอย่างไร
เพราะคนรับเขาก็มีระบบ เราก็มีระบบ ต้นกลางปลายมีระบบหมด
ต้องสรุปให้ได้ว่า หลักฐานแบบใดที่จะให้คนนอกเซ็น
จึงจะ happy ทุกฝ่าย ทั้งหมดขึ้นกับต้นเรื่องที่ต้องเข้าใจ

งบประมาณปี 2556 กระทรวงศึกษาอันดับ 1 ได้ 4.6 แสนล้าน
http://thaipublica.org/2012/08/the-budget-2556/

ปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่ไหนกันแน่ ที่นี่มีคำตอบ
http://www.anantasook.com/thai-education-problem/

ทัวร์อาคารเรียน ห้องประชุม และห้องเรียน

15 ม.ค.57 พาชมห้องเรียน และห้องประชุม
บริเวณชั้น 2 ในอาคารบริหารธุรกิจ
รวม 9 ห้อง มีที่นั่งทั้งหมด 643 ที่นั่ง

ประกอบด้วย
1. ห้อง Auditorium = 309 ที่นั่ง
2. ห้อง 1203 = 54 ที่นั่ง
3. ห้อง 1204 = 24 ที่นั่ง
4. ห้อง 1205 = 30 ที่นั่ง
5. ห้อง 1206 = 40 ที่นั่ง
6. ห้อง 1207 = 40 ที่นั่ง
7. ห้อง 1208 = 66 ที่นั่ง
8. ห้อง Lab3 = 50 ที่นั่ง
9. ห้อง 1209 = 30 ที่นั่ง

เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการ หรือผู้สนใจที่ต้องการ
มาใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยในการจัดประชุม