Every coin has two sides

เล่าเรื่องสุดโต่ง กับบทบาทที่ต้องพูดเรื่องสุดโต่ง .. ผมว่าธรรมดานะ

อ่านความเห็นของท่านหนึ่งบอกว่า
หลายปีที่ผ่านมา ผมสังเกตเห็นความผิดพลาดอย่างหนึ่ง
ในระบบความคิดและการนำเสนอของสื่อไทย โดยเฉพาะ
แนวสร้างแรงบันดาลใจ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือบทสัมภาษณ์
ตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จก็คือ มักชอบสร้างสตอรี่ดราม่า
ให้ค่ากับความ ‘สุดโต่ง’ มากเกินไป
อ่านมาจาก http://storylog.co/story/55990ab560a1c1e968c6ab94

แต่ผมมองเห็นอีกมุมนะ และคิดว่าเป็นปกติของบทบาท
ของผู้พูด ผู้เขียน ที่ต้องสร้างแรงบันดาลใจแบบสุดโต่ง
.. เขาได้รับบทบาทมาอย่างนั้น

1. พวกเขาก็เป็นเพียง ผู้นำเสนอ ที่มีบทบาท มีเป้าหมายสร้างแรงบันดาลใจ
ไม่ได้รับมอบหมายมาให้รับผิดชอบต่อการพูด ไม่เหมือนพ่อแม่
สั่งสอนลูกอย่างไร ก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ได้มีอาชีพรับจ้างพูดหรือรับเขียน
ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องสร้างความประทับใจให้ฮือฮา
2. ตัวอย่าง ที่ยกมาอาจเป็นหนึ่งในสิบ ร้อน พัน หมื่น แสน ล้าน
ก็เป็นปกติที่ต้องหาเรื่องผิดปกติมาเล่า แต่ทำได้ง่ายดุจพลิกฝ่ามือ
ย้อนกับไปข้อ 1 เขาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อชะตากรรมผู้ฟัง
เหมือนพ่อแม่ที่สั่งสอนลูก จะให้คาดหวังอะไรจากผู้พูด
ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ได้มีบทบาท หรือหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อคำพูดของตน
3.  ตัวอย่างของบทสัมภาษณ์ในบทความ
“.. ชีวิตมันสั้น อย่าไปกลัวอดตาย ทำตามความฝันเลย
อย่าไปคิดเรื่องหากิน หรือเงินทองมากนัก ..”
ส่วนใหญ่เขาก็แค่พูดหรือเขียนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
ให้รู้สึกว่าเขาพูดน่ะ ผิดปกติ เพราะพูดปกติก็คงไม่มีใครฟัง
แล้วผลจากการพูด การเขียน ก็คงได้รับสิ่งตอบแทนที่ดี ไม่ทางตรง หรือทางอ้อม
4. จะให้พูดปกติหรือครับ
– ตั้งใจเรียนนะลูก หนทางอีกยาวไกล พยายามให้มาก และมากกว่าที่ทำอยู่
– ชีวิตไม่มีอะไรง่าย อ่านหนังสือ แล้วจะสอบได้ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
– ชีวิตแบบ steve jobs น่ะ หนึ่งในล้าน อย่าคิดเอาอย่างเชียว เราคงไม่โชคดี
– ชีวิตแบบ นักกีฬา นักร้อง นักแสดง ที่สำเร็จน่ะ หนึ่งในล้าน อย่าหลงเชื่อเชียว เราคงไม่โชคดี
พูดแบบนี้ พ่อแม่พูดกรอกหูทุกฟัง เด็กที่ไหนจะไปฟัง

ทฤษฎีสมองสามส่วน ถูกใช้อธิบายพฤติกรรม และความคาดหวังที่แตกต่างกันได้

เห็นพฤติกรรมของมนุษย์ และการวิพากษ์วิจารณ์แล้ว
ทำให้นึกถึงว่า มนุษย์ใช้สมองแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน
บางคนก็ใช้ก้านสมองคิด แต่บางคนแสดงความคาดหวังด้วยสมองส่วนหน้า
ย่อมคิดเห็นแตกต่างกัน .. อย่างแน่นอน

สมองสามส่วน (Triune brain) คือ โมเดลวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และพฤติกรรม นำเสนอโดย พอล แมคลีน (Dr.Paul MacLean) นายแพทย์และนักวิชาการด้านจิตเวช ใช้อธิบายวิวัฒนาการด้านการเจริญเติบโตของมนุษย์ และพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย ว่าเด็กก็จะใช้สมองส่วนในตามสัญชาตญาณ โตขึ้นหน่อยก็ใช้สองส่วนกลางมากขึ้น เป็นผู้ใหญ่ก็จะใช้สมองส่วนหน้าที่คิด วิเคราะห์ แยกแยะมากขึ้น

http://en.wikipedia.org/wiki/Triune_brain

เครือข่ายสมอง (Brain Networks) แบ่งหน้าที่ได้ 3 ส่วน
1.  เรปทิเลียนเบรน (Reptilian Brain) : Instinctive Mind
เป็นส่วนสมองของสัตว์เลื้อยคลาน
Non-concious, geared for survival and regulating major body processes
พฤติกรรมที่ไม่ใช้สติ ไม่มีความรู้ตัว ทำโดยสัญชาตญาณ มุ่งเอาตัวรอด ควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ดื่มน้ำเพราะกระหาย
2. ลิมบิกเบรน (Limbic Brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) : Emotional Mind
เป็นส่วนสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคเก่า
Emotional command centre, running all basic social interactions, part conscious
ศูนย์ความคุมอารมณ์ มีส่วนร่วมกับสังคม เป็นส่วนที่ใช้สติ มีความรู้ตัว
3. คอร์เทกซ์ใหม่ (Neocortex Brain) : Analytical Mind
เป็นส่วนสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Higher functions, analytical thinking, decision making (especially at the front)
ทำหน้าที่สูงขึ้น คิดวิเคราะห์ มีกระบวนการตัดสินใจ เป็นสมองส่วนหน้า
โดย  เจมส์ พาร์สันส์ (James Parsons)

! http://www.iedp.com/Blog/Brain_Networks_Effective_Leadership

ทฤษฎีสมองสามส่วน (Triune brain theory)
It is for example meaningful for many people to distinguish between “head, heart and hands” or “thinking, feeling and gut instinct”
1. The Brain Stem (Reptilian Brain)
The oldest and most critical part of the brain for survival is the basal ganglia – sometimes called the reptilian brain as birds and other non mammals also primarily driven by this structure.
2. The Limbic System( Midbrain)
We share this part of the brain with cats and dogs which is why they make such good pets.
3. The New Brain
The neocortex, found only in certain “higher” mammals is associated with functions such as language, abstraction, planning and logical thought.
โดย มาร์ค เวลช์ (Mark Walsh, lead trainer at Integration Training)

! http://integrationtraining.co.uk/blog/2010/10/brains-of-training-triune-brain-theory.html

ครูยุคต่อไปในใจเด็ก

social teacher
social teacher

อันที่จริงยังมี
– ครูสอนเกษตร
– ครูสอนเลี้ยงสัตว์
– ครูสอนออกแบบ
– ครูสอนวิชาการต่อสู้
– ครูสอนสร้างเมือง
– ครูสอนขับรถ
– ครูสอนแต่งหน้า
– ครูสอนแต่งตัว
– ครูสอนยิงปืน
– ครูสอนเตะบอล
และอีกมากมาย

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=555679144463315&set=a.184872464877320.42492.180717885292778

blogger : blog teacher
blogger

1. ครูสอนเขียนเรื่อง

starcraft
starcraft

2. ครูสอนการต่อสู้

farm ville 2
farm ville 2

3. ครูสอนเกษตร

poker

4. ครูสอนคณิตศาสตร์

pes 2014
pes 2014

5. ครูสอนพลศึกษา

camera 360
camera 360

6. ครูสอนศิลปะ

market land
market land

7. ครูสอนการงานอาชีพ

three feel dot com
three feel dot com

8. ครูสอนเพศศึกษา
ครูบางคนเด็กก็นิยมล้นหลาม แต่ผิดกฎหมายถูกไล่ออกก็มี
3 พ.ค.2551 มีหมายศาลบล็อกเว็บไซต์สามรู้สึกดอทคอมของเกาหลี
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/75#detail

กยศ.อึ้งจำนวนผู้ขอกู้เรียนเกินเป้า 1 แสนราย

8 กรกฎาคม 2551
หลังจากที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ขยายเวลาในการชำระเงินกู้คืน กยศ. จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการชำระเงินกู้ กยศ. ปรากฏว่าที่ธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ได้มีผู้กู้จำนวนมากที่ครบกำหนดต้องชำระเงินคืนได้ไปติดต่อขอชำระเงินกู้ แต่กลับไม่สามารถชำระได้ เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตของธนาคารเกิดขัดข้อง

ซึ่ง นายบุญชัย ศศิวงศ์   ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ. ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าระบบของธนาคารกรุงไทยมีปัญหาขัดข้องจริง แต่หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถรับชำระได้ตามปกติ และหลังจากนี้ผู้ที่มาชำระล่าช้ากว่าที่กำหนดจะต้องจ่ายเบี้ยปรับด้วย โดยกรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือนจะมีเบี้ยปรับ 12% ถ้าค้างเกิน 12 เดือน เบี้ยปรับ 18% ของยอดที่ค้างชำระ ทั้งนี้คงไม่สามารถยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปได้อีกแล้ว  เนื่องจากเป็นระเบียบของ กยศ. ที่กำหนดให้ชำระได้ถึงแค่วันที่ 7 กรกฎาคม 2551

รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน
รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน

ด้าน รศ.นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยถึงจำนวนผู้ที่ยื่นขอกู้ยืมประจำปีการศึกษา 2551 ซึ่งหมดเขตยื่นขอกู้ไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้มายื่นขอกู้กยศ.ผ่านระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต รวมประมาณ 9 แสนราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่าเป้าหมายที่ กยศ. คาดการณ์ไว้มาก เพราะ กยศ. ตั้งเป้าไว้แค่ 8 แสนรายเท่านั้น ซึ่งการที่มีผู้ยื่นขอกู้เพิ่มขึ้นจำนวนมากนั้น เนื่องจากรัฐบาลมีการขยายเพดานรายได้ครอบครัวของผู้ที่มีสิทธิกู้ กยศ. จากเดิมรายได้ครอบครัวต้องไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี ได้ขยายเป็นไม่เกิน 2 แสนบาทต่อปี จึงทำให้ผู้มีสิทธิขอกู้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

ขณะนี้ กยศ.กำลังเร่งตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอกู้ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบข้อเท็จจริง ความจำเป็นของผู้กู้ และงบประมาณที่จะต้องใช้ เนื่องจากเกินกว่าวงเงินที่ กยศ. ได้รับจากสำนักงบประมาณ ดังนั้นขณะนี้จึงยังสรุปไม่ได้ว่าจะให้กู้ได้ตามวงเงินที่กำหนดหรือไม่ หรือจะต้องเสนอของบประมาณเพิ่มเติม แต่ กยศ.จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด” ผจก.กยศ.กล่าว.

 

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2438&Key=hotnews