education

เรื่องซึ้ง เกี่ยวกับการเลือกเดินรถของภาครัฐ สำหรับนักเรียนคนหนึ่ง

นักเรียนคนหนึ่ง
นักเรียนคนหนึ่ง

อ่านเรื่อง รถไฟบนเกาะฮอกไกโดแล้วซึ้ง
อ่านเรื่อง รถ BRT ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ แล้วน่าคิดตาม
อ่านเรื่อง ควบรวมโรงเรียนใน 4 รูปแบบ แล้วน่าคิดตาม

ความตรงต่อเวลา
เป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรักษา
เป็นอย่างดี


19 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “กทม.​ เตรียมปิดฉาก BRT สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์”
รายละเอียดส่วนหนึ่ง คือ “จากข้อมูลของกทม. BRT มีผู้โดยสารเฉลี่ย 23,000 คน/วัน
พลาดจากเป้าที่วางไว้ 30,000 คน/วัน ทำให้ขาดทุนถึง 1,000 ลบ.
เนื่องจาก กทม. ต้องควักเนื้อ งบประมาณอุดหนุนโครงการ ปีล่ะ 200 กว่าลบ.
เพื่อจ่ายค่าติดตั้งระบบ-เดินรถให้ BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นระยะเวลา 7 ปี
ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุด เม.ย.2560″ แต่เตรียมหาระบบอื่นทดแทน อยู่ระหว่างศึกษา
บทความโดย : Yuii ที่มาข่าว: ประชาชาติ
http://goo.gl/wvjuax

7 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “สพฐ. ยันไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก”
รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ สพฐ.
ไปดำเนินการว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้ดำเนินการใน 4 รูปแบบ
1. ควบรวมทั้งโรงเรียน
2. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียน
3. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียนบางช่วงชั้น
4. ควบรวมแบบคละชั้น
โดยเป้าหมายหลัก คือ ต้องให้โรงเรียนมีครูครบชั้น และมีนักเรียนที่เหมาะสมกับห้องเรียน
ซึ่งก็หมายความว่าทั้ง 2 โรงเรียน ต้องมาบริหารโรงเรียนร่วมกัน
โดยวิธีการควบรวม แต่ไม่ใช่การยุบเลิกโรงเรียน เว้นแต่โรงเรียนที่มีที่ตั้งสภาพทางภูมิศาสตร์
ที่เป็นข้อจำกัด คือ อยู่ห่างไกล พื้นที่สูง อยู่บนเกาะ เป็นต้น
http://www.kruwandee.com/news-id31815.html

อ่านเรื่องควบรวมโรงเรียนแล้ว คิดถึงภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Teacher’s Diary
https://www.youtube.com/watch?v=269Mit_Ip80

15 ม.ค.59
ซึ้ง! รถไฟญี่ปุ่นยอมเดินรถรับ-ส่งนักเรียนหญิงคนเดียวจนจบการศึกษา เป็นเวลา 3 ปี
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004840

14 ม.ค.59
การรถไฟญี่ปุ่นบนเกาะฮอกไกโดจะทำการยกเลิกรถไฟเที่ยวสถานี “คายุ ชิราตากิ”
https://www.facebook.com/prince.alessandro.92/posts/10153879626451057

31 มี.ค.59
ปิดตัวแล้ว สถานีรถไฟญี่ปุ่นรับ-ส่งนร.หญิงคนเดียวจนจบการศึกษา (ชมคลิป)
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000032991

12 ม.ค.59
Japan is keeping an entire train station open for just one passenger.
Kana Harada lives in Shirataki, a neighborhood with just 36 people.
She takes the train every day to the closest high school, 35 minutes away.
And She’s the only one who gets on.
“I got on and off this train for the last three years.”
“.. and this station’s presence has become something..”
“.. I have taken for granted.”
“I do feel sad to think it will disappear.”
Local residents build the station in 1955 to get kids to school.
When Harada graduates in March, the station will shut down.
“I remember getting on the train..”
“.. at an important time in my development.”
“I get very emotional about it.”
“I am glad we had this station here.”
Harada is proud to be the train’s last passenger.
[INSIDER]
https://www.youtube.com/watch?v=4BhiGKFtUA4

ธรรมาภิบาล เรื่องที่ต่างมุมก็ต่างมอง

ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน
ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน

ก็ สกอ.เห็นว่า หลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล
แต่ทุกมหาวิทยาลัยประเมินตนเองได้คะแนนธรรมาภิบาลผ่านเกือบทุกสถาบัน
(ที่ไม่ผ่านก็ยังไม่เห็น แต่อาจมี)

อ่านที่ ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ และ น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ แสดงทัศนะไว้ในสื่อ
เห็นว่าน่าสนใจจึงนำไปทำเว็บเพจแกะประเด็นทั้ง 10 ของธรรมาภิบาล
เตรียมเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง
ที่ http://www.thaiall.com/ethics/governance.htm

หลังเกิดเหตุ ดอกเตอร์ทำร้ายกันในสถาบันการศึกษา เมื่อเช้า 18 พ.ค.59 และยิงตัวตายเย็น 19 พ.ค.59 จนเป็นเหตุให้ดอกเตอร์เสียชีวิตรวม 3 คน ก็มีการหยิบประเด็นธรรมาภิบาลขึ้นมาพูดคุยในแวดวงการศึกษา เรื่อง หลักธรรมาภิบาล ซึ่งประเด็นนี้เป็นเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของคณะวิชา และสถาบันสำหรับทุกสถาบันการศึกษา มาตั้งแต่ปี 2553 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 7.1 เกณฑ์ที่ 6 หน้า 83 “ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ส่วนปี 2557 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4 หน้า 120 และ 142 ของคณะและสถาบันเหมือนกันว่า “บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน” ซึ่งคะแนนส่วนนี้ ทุกสถาบันการศึกษาได้คะแนนเต็มเกือบทุกสถาบัน

ต่อมา 24 พ.ค.59
พบใน posttoday.com ว่า รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) วิเคราะห์ว่า การเสียชีวิตของด็อกเตอร์ทั้ง 3 คน ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นความขัดแย้งส่วนตัว แต่ในฐานะผู้ทำงานช่วยเหลือบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมานานกว่า 10 ปี เขาเชื่อว่า ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596

ต่อมา 25 พ.ค.59
พบใน dailynews.co.th ว่า น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยถึงปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยว่า ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ดูได้จากข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหาร, ผู้บริหารกับบุคลากร หรือเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนไม่มีคุณภาพ แต่หากทุกคนในมหาวิทยาลัยยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน ปัญหาก็จะไม่เกิด ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ก็พยายามส่งเสริมให้ทุกมหาวิทยาลัยมีธรรมาภิบาล โดยมีทั้งหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย และบุคลากร แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องธรรมาภิบาลเป็นเรื่องบุคคล และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
http://www.dailynews.co.th/education/399997

อาจารย์ ดอกเตอร์ ม.ราชภัฎพระนคร ยิงกันเสียชีวิต 2 ราย และผู้ลงมือเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร

เหตุเกิดประมาณ 9 โมง วันที่ 18 พ.ค.59 ตามข่าวทราบว่า
ที่ ห้องพุทธวิชชาลัย ชั้น 5 อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
เหตุเกิดในระหว่างสอบภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท ในห้องมีรวมกัน 5 คน
คือ อาจารย์ 3 ท่าน และนักศึกษา 1 คน กับเพื่อนนักศึกษาอีก 1 ท่าน
ชื่อเดิมคณะคุรุศาสตร์ เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยการฝึกหัดครู
อาจารย์ผู้ก่อเหตุมีปัญหากับประธานสอบมาก่อน
เข้ามาแล้วก็ยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่านจนเสียชีวิต
คือ ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม อายุ 56 ปี
กศ.บ.(การบริหารการศึกษา), กศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่), Ph.D.(Development Education)
ประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มรภ.พระนคร
และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี อายุ 54 ปี
ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์), พณ.ม. (พัฒนาสังคม), กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.พระนคร

ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี http://www.matichon.co.th/news/139724
ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี
http://www.matichon.co.th/news/139724

ตามข่าวทราบว่า ดร.วันชัย ดนัยตโมนุท อายุ 60 ปี
กศ.บ. (ฟิสิกส์), วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), ศษ.ด.(บริหารการศึกษา)
อาจารย์ประจำวิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาบริหารการศึกษา หลักสูตรปริญญาโท มรภ.พระนคร
เป็นผู้ก่อเหตุยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน
แล้วยิงตนเองจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ที่โรงแรมสุภาพ กทม.
+ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1463544579
http://www.dailynews.co.th/crime/398329
+ https://www.facebook.com/matichonweekly/photos/a.494435107250507.121360.127655640595124/1300938559933487/
+ http://news.mthai.com/hot-news/general-news/495802.html
http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378502109/

ระบบการเสนอข่าวดอกเตอร์เสียชีวิต (itinlife553)

เหตุการณ์ที่อาจารย์ดอกเตอร์ทั้ง 3 เสียชีวิตเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2559 นั้น เหตุเกิดครั้งแรกที่ห้องสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษา การนำเสนอข่าวครั้งแรกทำให้มีข้อสงสัยว่าปัญหานั้นเกิดจากการถกเถียงกันระหว่างกรรมการสอบที่ร่วมกันพิจารณาผลงานนักศึกษาในประเด็นที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ วรรณกรรมอ้างอิง กรอบแนวคิด วิธีวิทยา เครื่องมือวิจัย การเก็บข้อมูล ผลการศึกษา หรือการเขียนรายงานสรุปผลหรือไม่ หากเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ก็จะเกิดจากความมีอัตตาในบุคลากรทางการศึกษา

หลังตำรวจพบว่าผู้ก่อเหตุและพยายามเจรจาให้จบลงด้วยดี ระหว่างนั้นก็มีการเสนอข่าวด้วยการถ่ายทอดสด ที่มีลักษณะที่เป็นการนำเสนอเนื้อหารายการที่อาจเข้าข่ายมีพฤติกรรมแสดงออกถึงความรุนแรง เป็นการถ่ายทอดสด การฆ่าตัวตาย จนมีหนังสือตักเตือนทั้งด้วยวาจา และหนังสือไปยังสื่อที่ถ่ายทอดสดว่าให้ระมัดระวัง เพราะมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ในมาตรา 37 หมวด 2 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 แต่ระบบและกลไกในระดับสถานีโทรทัศน์ก็ยังเป็นประเด็นคำถามว่าต้องทำอย่างไร จึงจะเหมาะสม

เนื่องจากระบบและกลไกจะถูกใช้ในเหตุการณ์ปกติ แล้วระบบและกลไกของเหตุการณ์นี้ควรเป็นแบบใด ในเมื่อเป็นเรื่องที่สังคมกำลังจับจ้อง สะท้อนความจริงของสังคม วินาทีใดระหว่างรายงานที่ควรตัดจากการถ่ายทอดสดเข้าไปในสตูดิโอ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน จุดใดที่ควรหยุดด้วยเหตุและผลเชิงวิชาชีพสื่อสารมวลชนสำหรับแต่ละสถานี มีการวิพากษ์กันมากทั้งการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ และจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย แล้วยังมีกรณีตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง เหยี่ยวข่าวคลั่งล่าข่าวโหด หรือ คู่อำมหิตฆ่าออกทีวี หรือกรณีของปอ ทฤษฎี เองก็มีการพูดถึงปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ ที่ขัดต่อจรรยาบรรณ ล่าสุด กสทช. ออกหนังสือขอความร่วมมือให้สถานีโทรทัศน์ปฏิบัติตาม เพราะอาจผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษตามมา
+ http://news.mthai.com/hot-news/social-news/496117.html

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000050882

http://www.komchadluek.net/detail/20160123/221096.html

http://www.dailynews.co.th/crime/398757

http://www.dailynews.co.th/crime/398673

บทความในไทยรัฐเค้าว่า งบการศึกษาระดับอุดมศึกษา 88% อุ้มคนรวยปานกลาง ถึง สูง

16 เมษายน 2559 อ.ธวัชชัย แชร์เรื่องที่อ่านพบจากไทยรัฐมาในกลุ่ม
1. เมื่ออ่านบทความในไทยรัฐ พบข้อมูลเชิงสถิติว่า เด็กที่จนไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย
คำว่าจน หมายถึง ครอบครัวรายได้ต่ำสุด 20%
ตอนแรก พบว่า 50% ในกลุ่มเด็กจน ไม่เรียนต่อ ม.ปลาย แม้เรียนฟรีก็ตาม
ตอนที่สอง พบว่า มีแค่ 7% เท่านั้นที่เด็กจนจะศึกษาต่อจนถึงอุดมศึกษา
2. แล้วงบอุดมศึกษากว่า 78 ล้าน
งบส่วนนี้จะสนับสนุนเด็กจนถึง 12%
แต่เห็นได้ชัดว่ามีถึง 88% ที่ไปสนับสนุนคนที่รายได้ปานกลาง กับรายได้สูง
3. เท่าที่อ่านดู คนที่เรียบเรียงเรื่องนี้ใช้คำว่า “อุ้ม”
ถ้าจะไม่ให้อุ้ม ก็ต้องให้เสมอภาค (Equality) ต้องจัดงบประมาณใหม่
– เด็กจน 34%
– เด็กปานกลาง 33%
– เด็กรวย 33%
4. ข้อมูลโดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
http://www.thairath.co.th/content/606365

ปล. ข่าวนี้สนใจคำว่า “อุ้ม” คำเดียว เพราะผมเห็นคล้อยตามนักข่าวเลยครับ
เรื่องอื่นไม่ได้นำมาคิดเลย คิดแล้วเดี๋ยวหาทางออกไม่ได้
เพราะคำว่าเสมอภาค (Equality) กับความยุติธรรม (Justice) มักไม่อยู่ด้วยกัน

งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา
งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง คิดถึงวิทยา
http://pantip.com/topic/31811064

ข่าวปรับรูปแบบการประเมินให้ดีขึ้น เด็กจะมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

ความสุข ในมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
– นักพัฒนาการศึกษา ก็คิดอย่าง
– ครู ก็คิดอย่าง
– เด็ก ก็คิดอย่าง
– ผู้ปกครอง ก็คิดอย่าง
– ชาวบ้านชาวช่อง ก็คิดไปอีกอย่าง

ข่าวในเดลินิวส์เมื่อ 15 เมษายน 2559 ว่า
กระทรวงศึกษาธิการ โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า
การกำหนด หรือสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่กำลังพัฒนาใหม่ให้ดีกว่าเดิม และสมบูรณ์
และจะส่งต่อให้ สมศ. พัฒนาให้สอดคล้องกัน
และจะปรับปรุงการเรียนการสอนเริ่มภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2559
เน้นวิชาหลัก เช่น คณิต วิทย์ ไทย อังกฤษ เรียนอย่างน้อยวิชาละ 1 ชั่วโมงต่อวัน
เพื่อให้เข้มแข็งทางวิชาการ และเพื่อให้เด็ก ๆ มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

[ความสุข]
ผมว่าใคร ๆ ก็ตั้งใจพัฒนาการศึกษาให้เด็กมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น
ต่อไปวิชาหลักก็จะเรียนกันทุกวันตั้งแต่เด็ก เป็นประเด็นที่น่าสนใจ
เพราะโตขึ้นพอเข้ามหาวิทยาลัย อาจไปกวดวิชากันน้อยลง
เพราะเรียนมาเยอะล่ะ จึงไม่จำเป็นต้องเรียนข้างนอกอีก
– พ่อแม่ก็มีความสุข ไม่ต้องเสียตังให้ลูกไปกวดวิชา
– เด็กก็มีความสุข เรียนในห้องเยอะล่ะ ไม่ต้องไปกวดวิชา
ถ้าในโรงเรียนสอนกระหยองกระแหยง เด็กก็ต้องไปเรียนพิเศษข้างนอก
เพราะเวลาเรียนในห้องไม่พอเรียนรู้เนื้อหาที่มีอยู่ จึงต้องไปขวนขวายหาเอง
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/391701

mama tutor
mama tutor

http://www.dek-d.com/admission/25831/

ความเห็น เรื่องเห็นต่าง

teacher & student
teacher & student

ปัจจุบันครูไทย .. เลือกปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว
กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแล้ว
นักเรียนก็เลือกเรียนกับครูแตกต่างกันแล้ว เช่นกัน

หมายความ ..
ว่าครูไม่ได้สาดวิชา โดยไม่ดูนักเรียน ดูใกล้ชิดเลย
และนักเรียนก็ไม่ได้รอรับการสาดวิชากับอยู่อย่างเดียว
เพราะถ้าครูไม่สาด หรือสาดน้อยไป เจอเปลี่ยนที่เรียนครับ

มีข้อมูลแลกเปลี่ยน .. ดังนี้
1. นักเรียนมีหลายกลุ่ม
กลุ่มที่เปิดรับวิชาจะเลือกที่เรียนที่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด ที่สมัครเป็นพัน แต่รับไม่กี่ร้อย
กลุ่มที่ไม่อยากรับอะไร ก็เลือกที่เรียนที่ไม่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนในชุมชน โรงเรียนที่ไม่ต้องสอบแข่ง
2. คุณครูมักไม่เทจนหมดหน้าตักในห้องเรียน
เพราะเงื่อนไขเยอะมาก เวลาสอนน้อยลงเยอะ
ต้องเกลี่ยไปตามกลุ่มสาระ ต้องบูรณาการ ติดงานหลวง
3. ถ้าเด็กอยากเรียนมาก ครูก็เปิดติว
พากลับไปเรียนต่อที่บ้าน จัดคอร์สพิเศษ สำหรับผู้สนใจ
4. ในแต่ละโรงเรียน มีหลายห้องตามถนัด ตามชอบ
แบ่งห้อง king queen math engl
5. โรงเรียนประจำจังหวัด
สอบเข้า ม.1 แล้ว ถ้าไม่พร้อมรับการสาดวิชา
ต้องกรองอีกตอนสอบเข้า ม.4
ถ้าไม่อยากเรียน ก็ไม่ต้องทำข้อสอบ
ไปหาโรงเรียนเบา ๆ เรียนได้ เด็กเลือกได้เสมอ

กลอนโดย กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
http://teacherkobwit2010.wordpress.com/

เปรียบคนถือสายยางนี้นี่คือครูเปรียบสายน้ำคือความรู้ครูสอนให้
เปรียบศิษย์กับภาชนะต่างกันไป
เปรียบให้เห็นตระหนักไว้ให้คิดกัน
หากเรามุ่งแต่สาดน้ำไปมั่วซั่ว
แม้จะทั่วแต่จะรับได้ไหมนั่น
ภาชนะแต่ละใบแตกต่างกัน
แต่ละอันมีเด่นด้อยต่างกันไป
บ้างเป็นขวดบ้างเป็นแก้วบ้างเป็นอ่าง
บ้างมีรูอยู่ข้างล่างบ้างเล็กใหญ่
บ้างคว่ำอยู่ไม่เปิดรับสิ่งอื่นใด
รับน้ำได้เท่ากันไหมลองคิดดู
เช่นเดียวกับการสอนศิษย์ของครูนั้น
เด็กต่างกันคือสิ่งที่ครูต้องรู้
ปรับการสอนให้เหมาะสมช่วยอุ้มชู
ตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตน
ครูที่ดีต้องไม่ใช่สาดความรู้
ตริตรองดูสอนอย่างไรให้เห็นผล
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาจนศิษย์เก่งดีมีสุขเอย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=808741769153811&set=a.118832161478112.15682.100000539852258
ที่มา: วรภัทร์ ภู่เจริญ. 2543.
การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ สสท. หน้า 11

ในภาพยนตร์จำลองเหตุการณ์ในชั้นเรียน
เล่าถึงกระบวนการพิจารณาไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน
เห็นว่าปีที่แล้วเชิญนักเรียนที่ไม่พร้อมออกไป 12 คน

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ
คนที่เขียนเรื่องนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะเชิงอรรถแน่น และร้อยเรียงได้ดี
ผมคัดลอกส่วนของปัญหาความโปร่งใส .. รายละเอียดอื่นอีกเพียบ
ที่ http://prachatai.com/journal/2013/12/50325

ในด้านหนึ่งตำแหน่งอธิการบดีนั้นถือว่าเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง การที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พงศ์เทพ เทพกาญจนาออกมาเตือนให้ สภามหาวิทยาลัยควรมีความโปร่งใสในการสรรหาอธิการบดี ก็ยิ่งเป็นตัวชี้วัดได้ดี [10] ไม่เพียงเท่านั้นข่าวฉาวของอธิการบดีก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำสมาชิก ทปอ. และมหาวิทยาลัยนอก ทปอ. ยังไม่ต้องนับว่า ตำแหน่งอธิการบดีหลายแห่งในประเทศไทย ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และตัดขาดความมีส่วนร่วมของประชาคมในมหาวิทยาลัยนั้นๆ

ความเหลื่อมล้ำของสถาบันต่างๆ โดยโครงสร้างนั้นมีอยู่จริง ไม่นับต้องพูดถึงความเหลื่อมล้ำภายในองค์กรที่จัดฐานันดรศักดิ์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ที่เป็นปัญหาอย่างมากในฐานะขององค์กรแนวดิ่ง ไม่มีสหภาพแรงงานเฉกเช่นประเทศในโลกสมัยใหม่ทั้งหลาย  ในที่นี้ขอปิดท้ายด้วยงบประมาณที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการจัดสรร ตั้งแต่งบประมาณปี 2549-2556 ทำให้เห็นความแตกต่างของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับครีมสมาชิกทั้ง 27 แห่ง มีความแตกต่างอย่างไรกับมหาวิทยาลัยที่ไม่ถูกนับ ช่องว่างดังกล่าวแสดงถึงความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง มหาวิทยาลัยใหญ่จึงได้รับทั้งอภิสิทธิ์ทางเกียรติยศ เงินทอง และบทบาททางการเมือง ซึ่งที่ถือว่ามีปัญหามากในสายตาของผู้เขียนคือ ทำตัวเป็นผู้ไม่รู้ร้อนเกี่ยวกับหลักการอยู่ร่วมกันโลกสมัยใหม่ และระบอบประชาธิปไตย.

ชักดาบเงินกู้ กยศ. ทนุศักดิ์ งัดไม้ตายจับขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์

ชักดาบเงินกู้ กยศ. ทนุศักดิ์ งัดไม้ตายจับขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ไล่จับเด็กกู้เงิน กยศ.แล้วเบี้ยวหนี้ หลังพบพฤติกรรมของผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้ว มีงานทำแต่นำไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จึงจำเป็นต้องลงโทษสถานหนักถึงขั้นแบล็กลิสต์ พร้อมสร้างหลักเกณฑ์ใหม่ ในปีการศึกษา 57 ผู้กู้ทุกคนต้องยินยอมให้ถูกขึ้นแบล็กลิสต์ หลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 3 ปี ยังเบี้ยวหนี้

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ในฐานะที่กำกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า นักเรียนและนักศึกษาที่กู้เงินจาก กยศ.ในปีการศึกษาหน้า หรือปีการศึกษา 2557 ต้องทำสัญญายอมรับการถูกขึ้นบัญชีดำ หรือแบล็กลิสต์กับศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เพื่อป้องกันการไม่ชำระหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ หลังจากพบว่า อัตราการเบี้ยวหนี้ของนักเรียนและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและครบกำหนดชำระหนี้ เบี้ยวหนี้ถึง 50%

คลิ๊ปนักศึกษา กยศ. เข้าหัวข้อแรงบันดาลใจ
คลิ๊ปนักศึกษา กยศ. เข้าหัวข้อแรงบันดาลใจ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงตอนนี้คือ การเบี้ยวหนี้ของนักเรียนและนักศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วครบ 2 ปี และในปีที่ 3 ที่ต้องทยอยชำระหนี้คืน กยศ.พร้อมจ่ายดอกเบี้ย 1% ต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก แต่ปรากฏว่า อัตราการเบี้ยวเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อหลายปีก่อน เคยลดลงเหลือ 28% ปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 40% และ 50% ในที่สุด

นายทนุศักดิ์ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 57 จะเริ่มใช้ในเดือน ต.ค.นี้ สำนักงบประมาณได้ตัดงบสนับสนุน กยศ. 5,500 ล้านบาท เหลือ 23,000 ล้านบาท ทำให้มีเงินเหลือเพียงพอที่จะปล่อยกู้ให้แก่นักเรียนและนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 57 ได้เพียง 35,000 คนเท่านั้น เพราะ กยศ.จะไม่ตัดสิทธิ์การเล่าเรียนของผู้กู้เดิมเป็นอันขาด เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนและนักศึกษาที่ต้องเลิกเรียนกลางคันได้

ทั้งนี้ในปัจจุบัน กยศ.มีนักเรียนและนักศึกษาที่กู้เงินประมาณ 800,000-900,000 คน โดยมีอัตราการเข้าใหม่และสำเร็จการศึกษาประมาณปีละ 200,000 คน โดยมีรายได้หลักจากการสนับสนุนเงินงบประมาณของรัฐบาล และรายได้จากการชำระหนี้ของรุ่นพี่เพื่อนำเงินที่ชำระนั้น ไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้แก่น้องๆ รุ่นต่อๆ ไป โดยเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ (กรณีชำระเป็นรายปี) พบว่ามีมาชำระหนี้เพียง 25,000 ล้านบาท จากจำนวนเงินที่ครบชำระทั้งหมด 50,000 ล้านบาท หรือเบี้ยวหนี้ถึง 50% จึงมีผลกระทบต่อสภาพคล่องของ กยศ.อย่างหนัก

ลูกหนี้ของ กยศ.ที่ไม่มาชำระหนี้ จะถูกเบี้ยปรับในอัตรา 15% แต่เด็กๆคิดว่าเป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ จึงนำเงินไปใช้อย่างอื่นหมด เช่น ซื้อโทรศัพท์มือถือ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น โดยไม่ยอมจ่ายหนี้คืน กยศ.จึงจำเป็นต้องลงโทษอย่างหนัก โดยจะเสนอ รมว.คลัง ขึ้นบัญชีดำ 2 กรณีคือ 1.ผู้กู้ก่อนปีการศึกษา 2557 หากสำเร็จการศึกษาครบแล้ว 5 ปีไม่มาชำระจะขึ้นแบล็กลิสต์ทันที และ 2.ผู้กู้ตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไปหากครบ 3 ปีไม่ชำระหนี้ก็จะขึ้นแบล็กลิสต์เช่นเดียวกัน ซึ่งการขึ้นแบล็กลิสต์จะมีผลกระทบต่อการเข้าถึงแหล่งการเงินและโอกาสในการหางานทำในอนาคตด้วย

นายทนุศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่กู้เงินจาก กยศ.มีผู้ที่มีงานทำประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% ไม่มีงานทำ ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงการคลังจะร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สมาคมผู้ประกอบการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือให้มีงานทำและจะร่วมกับกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ยังไม่มีงานมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการของตนเองได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน กยศ.ปล่อยกู้ค่าครองชีพแก่นักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการเรียนฟรีไปจนถึง ม.6 โดยจะปล่อยกู้เป็นค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพในระดับอาชีวะจนถึงปริญญาตรี.

http://www.thairath.co.th/content/eco/357172

กยศ. ให้โอกาส

มี 32 สถานศึกษาทุจริต กยศ.

กยศ. ให้ชีวิต

ป.ตรี อาชีวศึกษาต้องให้ สกอ.รับทราบ

ป.ตรี อาชีวศึกษาต้องให้ สกอ.รับทราบ ป้องกันบัณฑิตรับราชการไม่ได้
เพราะก.ค.ศ.-ก.พ. ไม่รับรองและตีค่าเงินเดือน

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

โดย ทีมข่าวการศึกษา ไทยรัฐออนไลน์
20 มิถุนายน 2556, 05:00 น.

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ได้อนุมัติหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี/สายปฏิบัติการ ของสถาบันการอาชีวศึกษา ทำให้มีข้อสงสัยว่าจะต้องส่งหลักสูตรให้ สกอ.รับทราบก่อนหรือไม่นั้น โดยหลักการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะตีค่าเงินเดือนของใบปริญญาบัตร ก็ต่อเมื่อหลักสูตรนั้นได้รับการรับทราบจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สกอ.) หาก สกอ.ไม่รับทราบ ก.ค.ศ.และ ก.พ. ก็จะไม่รับรองและตีค่าเงินเดือนให้ ซึ่งบัณฑิตที่จบหลักสูตรนั้นๆ ก็จะเข้ารับราชการไม่ได้ และยิ่งถ้าเป็นวิชาชีพเฉพาะหลักสูตรนั้นก็จะต้องผ่านสภาวิชาชีพด้วย เช่น หลักสูตรแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยใดก็ตามเมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรแล้วจะต้องส่งให้แพทยสภาก่อน เมื่อผ่านแพทยสภาแล้วจึงจะส่งมาให้ สกอ.รับทราบ จากนั้นจึงจะส่งให้ ก.พ.และ ก.ค.ศ.ตีค่าเงินเดือน เป็นต้น

เลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า หากไม่มีขั้นตอนให้ สกอ.รับทราบ บัณฑิตก็จะรับราชการไม่ได้ แต่หากคิดว่าผู้ที่จบหลักสูตรใดก็ตามจะไม่เข้ารับราชการแน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องให้ สกอ.รับทราบก็ได้ อย่างไร ก็ตาม ที่ผ่านมามีปัญหาว่า บางมหาวิทยาลัยส่งหลักสูตรให้ สกอ.รับทราบ ขณะที่หลักสูตรเดียวกันบางมหาวิทยาลัยก็ไม่ส่ง จึงเกิดกรณีสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการครูไม่ได้ เนื่องจาก ก.ค.ศ.ไม่รับรอง ทั้งที่เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของผู้เรียนเลย แต่เป็นความบกพร่องของสถาบันหรือมหาวิทยาลัย ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ก็น่าจะส่งมาให้ สกอ.รับทราบ.

http://www.thairath.co.th/content/edu/352317

นิสิตนิติจุฬาฯ ร้องไม่เป็นธรรม ถูกรีไทร์ย้อนหลัง 5 คน อ้างเกรดออกช้า 2 ปี

nisit chula
nisit chula

http://nisitchula.weebly.com/

19 มิ.ย.56 รายงานข่าวแจ้งว่ามีกลุ่มนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  5 คน ถูกแจ้งย้อนหลังให้พ้นสถานภาพการเป็นนิสิต ในวิชาที่เรียนในระดับชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 วิชาหนึ่ง ซึ่งเป็นวิชาบังคับที่นิสิตทุกคนต้องเรียน  เพราะเหตุจากการที่อาจารย์ผู้สอน ส่งผลคะแนนการศึกษาในวิชาดังกล่าวล่าช้ามากกว่า 2 ปี หรือกว่า 5 ภาคการศึกษา  โดยในขณะนั้นนิสิตกลุ่มดังกล่าวกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่หนึ่ง  ในรายวิชา “กฏหมายกับสังคม” ซึ่งเป็นวิชาที่เรียนในระดับชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 โดยผลคะแนนของวิชาดังกล่าวเพิ่งออกมาเมื่อไม่นานมานี้ รวมระยะเวลามากกว่า 2 ปี

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1371628676&grpid=01&catid=01

ปัจจุบันนิสิตกลุ่มดังกล่าวกำลังศึกษาในชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การขยับขึ้นชั้นเรียนในชั้นปีที่2-3 แม้ว่าผลคะแนนวิชาดังกล่าวจะยังไม่ประกาศผล ระบบการลงทะเบียนเรียน ก็อนุญาตให้นิสิตกลุ่มดังกล่าว สามารถที่จะลงทะเบียนเรียนในชั้นปีที่ 2- 3 ได้โดยปกติ เมื่อขึ้นชั้นปี 4 นิสิตกลุ่มดังกล่าว ได้ทำการลงทะเบียนเรียนปกติ แต่ภายหลังกลับถูกแจ้งว่า ให้พ้นสถานภาพการเป็นนิสิต เนื่องจากผลคะแนนวิชา “กฎหมายกับสังคม” ที่เคยเรียนเมื่อชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 เมื่อหลายปีก่อนได้ประกาศผล โดยเป็นการประกาศผลคะแนนถึงสามชั้นปีในครั้งเดียว (เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2556)  ทำให้เมื่อนำผลคะแนนวิชาดังกล่าว มาคำนวณผลคะแนนเฉลี่ยรวมสมัยชั้นปีที่ 1 ทั้งสองภาคการศึกษาแล้ว ปรากฏว่า ผลการเรียน ไม่ผ่านเกณฑ์ที่จะได้ศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ อีกต่อไป

เมื่อตรวจสอบเว็บไซต์ของ สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายหลักเกณฑ์ การจำแนกสภาพนิสิต ว่าต้องกระทำครั้งแรกเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่สอง ซึ่งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ผลคะแนนของ วิชา “กฎหมายกับสังคม” กลับไม่สามารถประกาศได้ทัน จนเวลาล่วงเลยมามากกว่า 2 ปี ซึ่งไม่สามารถจำแนกสภาพนิสิตครั้งแรกได้ กลับมาจำแนกสภาพนิสิตในการประกาศผลคะแนนวิชาดังกล่าวเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 4

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นิสิตกลุ่มดังกล่าว ได้พยายามที่จะติดต่ออาจารย์ผู้สอนรายวิชาดังกล่าว เพื่อติดตามผลคะแนน แต่ก็ได้รับคำตอบว่า กำลังเร่งในการตรวจอยู่ เมื่อสอบถามไปยังหน่วยงาน และ บุคคลที่เกี่ยวข้องก็ได้รับคำตอบว่า จะประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนให้ ซึ่งนิสิตเองก็มีความกังวลกับผลคะแนนที่ประกาศช้าเป็นอย่างมาก เพราะมีผลต่อการวางแผนการศึกษาในชั้นปีต่อไป และเมื่อล่าสุดผลคะแนนได้ประกาศออกมา ก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 4 ทำให้ผลการเรียนเฉลี่ยรวมในสองภาคการศึกษาของชั้นปีที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์และต้องถูกถอนสถานภาพนิสิต ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตของนิสิตกลุ่มดังกล่าวอย่างมาก รวมทั้งครอบครัว ของนิสิตด้วย

หลังเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ทางคณะกรรมการบริหารคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน  รวมทั้งเชิญนิสิตที่ได้รับผลกระทบทั้ง 5 คน เข้าพบหารือ เพื่อหาทางออก พร้อมทั้งได้เปิดเวทีชี้แจงให้นิสิตทุกชั้นปีรับฟัง และในคราวการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 12/2556 ได้มีมติออกมา  โดยมีใจความสำคัญ คือ การยอมรับผิดที่คณะได้ส่งคะแนนการศึกษาล่าช้า  และมีมาตราการในการเยียวยาออกมา 4 ข้อ  คือ

1.มาตรการเยียวยาทางการเงิน เห็นควรให้นิสิตได้รับการเยียวยา ดังต่อไปนี้
1.1 คืนค่าธรรมเนียมทางการศึกษานับตั้งแต่เวลาที่พ้นสภาพ  พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
1.2 ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการศึกษาตามความเป็นจริง เป็นรายกรณีไป
1.3 ชดเชยค่าเสียโอกาส
2. เห็นควรเสนอให้มหาวิทยาลัยให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ในกรณีดังกล่าว
3.ทั้งนี้ในส่วนของรายวิชาดังกล่าว คณะกรรมการเห็นพ้องให้มีการเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้เป็นต้นไป
4.ในส่วนของการส่งคะแนนช้าในรายวิชาต่างๆนั้น  ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรเพิ่มมาตราการ ดังต่อไปนี้
4.1ให้มีการออกหนังสือทวงถาม ครั้งที่1 และ 2 ถึงอ.ผู้สอนในรายวิชา เมื่อครบ 1 ถึง 2 เดือน นับแต่วันสอบวันสุดท้ายของภาคนั้น
4.2 หากครบสามเดือนแล้ว พึงมีการตั้งกรรมการสอบวินัยอาจารย์ผู้สอนต่อไป เว้นแต่มีเหตุจำเป็นบางประการที่ทำให้ส่งคะแนนภายในกำหนดไม่ได้

ทั้งนี้จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกตั้งคำถามจาก ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าจำนวนมากถึงเรื่องความรับผิดชอบของคณะที่ควรจะมีมากกว่านี้ตั้งแต่คณะผู้บริหารจนกระทั่งถึงอาจารย์ผู้สอน  เพราะเมื่อนิสิตกลุ่มดังกล่าวได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ต้องถูกรีไทร์ (Retire) ตั้งแต่การเรียนในชั้นปีที่ 1 นิสิตก็ควรจะต้องรู้ตั้งแต่เวลานั้น การปล่อยให้เวลาล่วงเลยจนถึงปีสี่ แล้วเกรดปีหนึ่งจึงได้ประกาศ และมารู้ตัวตอนปี 4 ว่าต้องถูกรีไทร์  ซึ่งคณะจะเยียวยาโดยจ่ายเงินตั้งแต่ปี 2 ถึง ปี 4 นั้นเป็นวิธีที่ถูกต้องแล้วหรือ เมื่อเป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ชัดเจน ทำไมจึงไม่มีเวลาในการตรวจข้อสอบนิสิต

นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามจากศิษย์เก่ากันอีกว่ามาตรการดังกล่าวที่ออกมานอกจากเป็นการไม่ช่วยเหลือนิสิตทั้งห้าคนแล้วยังเป็นการลอยตัวของผู้บริหารคณะ ที่ให้อาจารย์เพียงท่านเดียวแบกความรับผิดชอบ โดยมิได้ตระหนักว่า ในคณะมีอาจารย์เพียงไม่ถึงสิบท่านที่ออกเกรดตรงเวลา โดยจำนวนมากตั้งคำถามและวิพากษ์กับความเป็นมาตรฐานและตัวระบบโครงสร้างการคิดคะแนนและการจัดการเรียนการสอนของคณะที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงดังกล่าว

เรื่องดังกล่าวนี้น่าจะเป็นที่จับตามองของประชาคมจุฬาทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันอย่างกว้างขวาง   โดยปัญหาดังกล่าว สะท้อนระบบการบริหารงาน และการจัดหลักสูตรการศึกษา ของ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ส่งผลกระทบต่อ “นิสิต” เพราะจะไม่ใช่เพียง 5 คน ที่ได้รับผลกระทบกับเรื่องที่เกิดขึ้น หากแต่อาจส่งผลกระทบกับ “นิสิต” รุ่นต่อไป  และเรื่องนี้อาจต้องไปต่อสู้ในศาลปกครองกลางต่อไป