education

องค์ประกอบดี ผลลัพธ์ย่อมดี แปรผันตามกัน

ทัศนะวิจารณ์  ..  “องค์ประกอบชำรุด ผลลัพธ์ย่อมผิดรูปไป

 

องค์ประกอบ และผลลัพธ์
องค์ประกอบ และผลลัพธ์

สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกฎวัฏสงสาร มีเกิดมีดับเปลี่ยนไปตามภพภูมิ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วก็กลับมาเกิดใหม่ แล้วทุกสถานะก็จะมีองค์ประกอบและค่าประจำองค์ของตน การเลื่อนไหลจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งค่าขององค์ประกอบทั้งหมดจะถูกรวมและประเมินว่าจะไหลไปอยู่ที่ใดเป็นเวลาเท่าใด  เช่นเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยว่าสถาบันจะรุ่ง หรือจะร่วง

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกันขององค์ประกอบ เช่น ข้าวมันไก่จะประกอบด้วย ข้าว ไก่ น้ำจิ้ม น้ำซุป แต่จะมีลูกค้ามากน้อยเพียงใดย่อมมีอีกหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้าวมันไก่ที่มีคุณภาพก็จะมีรสชาติและปริมาณใกล้เคียงกันทุกจาน หากกุ๊กทำมานับสิบปีที่เรียกว่ามืออาชีพก็มักมีมาตรฐาน คือ ปริมาณและรสชาติใกล้เคียงกันทุกจาน ส่วนร้านใดเปลี่ยนกุ๊กบ่อยก็คาดได้ว่าไม่มีมาตรฐาน คือ รสชาติเปลี่ยนตามแม่ครัว ลูกค้าก็มักทยอยหนีหายไปร้านอื่น

การศึกษายุคโบราณที่มีวัดเป็นโรงเรียนจะมีองค์ประกอบที่ต่างกับปัจจุบัน คือ มีพระสงฆ์ มีกระดานชนวน มีปั๊บสา มีศาลาวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งยังไม่มีใครพูดถึงคุณภาพหรือมาตรฐาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ หลักสูตร คุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น แล้วองค์ประกอบที่ทำให้โรงเรียนแตกต่างกันก็มีอยู่มากมาย เพื่อแยกความแตกต่างจึงมีการจัดลำดับโรงเรียน ก็มีทั้งจัดอันดับในจังหวัด ในประเทศ และในโลก เมื่อมีโรงเรียนที่เป็นเลิศก็ย่อมมีโรงเรียนที่อยู่ท้ายสุด ผู้จัดอันดับแต่ละรายก็จะสนใจองค์ประกอบที่เป็นที่มาของคะแนนแตกต่างกัน อาจพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าในสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวนนักเรียนที่เป็นตัวแทนระดับชาติ หรือคะแนนเฉลี่ยจากการสอบวัดผลด้วยข้อสอบส่วนกลาง

ในระดับอุดมศึกษามีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดว่าสถาบันที่มีคุณภาพต้องประเมินองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.) กำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพต้องมี 18 มาตรฐาน หากลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่ามีตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพอีกร้อยกว่าตัวที่ทุกหลักสูตรต้องปฏิบัติ ไม่มีหลักฐานมาแสดงก็จะไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น ถ้าไม่ดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับหนึ่งก็จะถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ อาจมีผลพิจารณาจากต้นสังกัดว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนในปีต่อไป หากดื้อดึงยังรับนักศึกษาต่อไปก็จะไม่ส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผลให้หลักสูตรที่มีบัณฑิตจบออกมานั้นไม่สามารถรับราชการได้

องค์ประกอบของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพต้องมี 9 องค์ประกอบ คือ แผนการดำเนินการ การผลิตบัณฑิต การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหาร การเงิน และการประกันคุณภาพ จากการกำกับให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกสถาบันเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบ CHEQA เมื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลผลประเมินสถาบันการศึกษาในไทย พบว่า มีสถาบันการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีผลประเมินต่ำกว่าระดับดี โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำคือ การผลิตบัณฑิต และการวิจัย

เมื่อเข้าไปดูผลการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลประเมินในระดับต่ำในระบบ CHEQA ที่ สกอ. เผยแพร่ พบว่า ตัวบ่งชี้ของการผลิตบัณฑิตที่ได้คะแนนต่ำ คือ จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ซึ่งสะท้อนได้ว่าจำนวนอาจารย์ที่พร้อมสอนในระดับนี้ยังขาดแคลน ส่วนตัวบ่งชี้ของการวิจัยที่ได้คะแนนต่ำ คือ วงเงินสนับสนุนงานวิจัย ถ้าหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอาจารย์ 5 ท่านจะต้องได้ทุนวิจัย 300,000 บาทต่อปี จึงจะได้คะแนนในระดับดีมาก

องค์ประกอบทั้งสองส่งผลถึงการผลิตบัณฑิตว่า ถ้าอาจารย์มีความพร้อมที่จะสอน ย่อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าอาจารย์ทำวิจัยที่มีคุณภาพก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่ และนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ แล้วจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคม แต่จากการติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพการศึกษาจนเป็นเหตุให้ต้องถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย หรือบางแห่งต่างเรื่องคุณภาพอาจารย์จน สกอ. มีคำสั่งให้หยุดรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกน้อย และตำแหน่งทางวิชาการน้อย

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม คนที่กำหนดเกณฑ์เป็นคนกลุ่มหนึ่ง คนที่รักษากฎเป็นอีกกลุ่ม คนที่พิพากษาเป็นอีกกลุ่ม แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อให้ครบถ้วน ปัจจุบันพบว่ามีนักวิชาการไทยก็ยังเห็นต่างเรื่องคุณภาพการศึกษา อาทิ เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาจนทำให้คุณภาพเสียไป เน้นเรียนกับมืออาชีพโดยใช้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจมาเป็นอาจารย์พิเศษเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปก็จะไม่เป็นตามเกณฑ์คุณภาพ
ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งองค์ประกอบคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์คุณภาพมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในช่วงเวลา 10 ปีนี้ และจะยังปรับเปลี่ยนต่อไป การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดอย่างไรย่อมทำให้ผลลัพธ์แปรผันตามกันไป ในอนาคตการศึกษาไทยอาจให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึงก็เชื่อได้ว่าบัณฑิตใหม่จะสวดมนต์ และฟ้อนรำเป็นทุกคน

แหล่งข้อมูล
http://www.cheqa.mua.go.th
http://www.mua.go.th
http://www.onesqa.or.th
http://www.moe.go.th

สาวเปิดเต้า เล่นสงกรานต์ แล้วอะไรคือความเป็นไทย

นางทั้ง 7 ในที่ที่เป็นส่วนตัว
นางทั้ง 7 ในที่ที่เป็นส่วนตัว

“.. เต้าแห่งความเป็นไทยไม่ปกปิด แล้วจิ๋มคู่ชีวิตจะอยู่ไหม ..

culture1

ผมเห็นเรื่องนี้  .. ก็ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร
เคยอ่านบทความเรื่อง “การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน
http://thainame.net/edu/?p=817
นำเสนอไว้ว่า ข้อเสนอแนะของเพียร์สัน
ข้อ 3 คือ มีวัฒนธรรมที่สนับสนุนการศึกษา
แล้ววัฒนธรรมไทยก็ไม่สนับสนุนการศึกษาจนเราเกือบบ๊วย
แล้วเหตุการณ์นี้ตอกย้ำว่า เกือบบ๊วยเลื่อนไปสู่บ๊วยนั้น อยู่แค่เอื้อม
เพราะกระทรวงที่จะทำให้สังคมไทยมีวัฒนธรรมการศึกษา
กลับพาเราเข้ารกเข้าพงกันไปใหญ่
.. ก็เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ในวงการการศึกษา
.. เรื่องการศึกษาก็ปล่อยให้กระทรวงศึกษาทำ กระทรวงนี้ไม่เกี่ยว

culture2

กระทรวงวัฒนธรรม ไม่เข็ด สาวเปิดเต้า เล่นสงกรานต์ โพสต์ลงเว็บอีกแล้ว

อีกไม่กี่วันก็จะถึง “วันสงกรานต์” อย่างเป็นทางการแล้ว “กระทรวงวัฒนธรรม” ที่ดูจะเป็นแม่งานหลักในเทศกาลนี้ก็ประเดิมรับสงกรานต์ ด้วยการใช้รูปภาพหน้าหัวเว็บของกระทรวง เป็นรูปหญิงสาวประมาณ 3-4 คน สาดน้ำไปมาดูน่าชื่นชมสวยงามด้วยขนมแบบไทย

http://www.m-culture.go.th/

แต่ที่น่าสนใจคือ พวกเธอสวมใส่โจงกระเบน แต่เฉพาะแค่ช่วงล่าง ช่วงบนของพวกเธอกลับไม่สวมใส่อะไรเลย จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คว่า ถึงความย้อนแย้งของกระทรวงวัฒนธรรมในการรณรงค์เรื่องการแต่งกายให้เหมาะสมกับความเป็นไทยหรือไม่ และวกกลับมาสู่คำถามสำคัญที่ดูจะยังหาคำตอบไม่ได้ว่า “อะไรคือความเป็นไทย

โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์จากสำนักท่าพระจันทร์ ก็ได้แสดงความเห็นว่า “อุเหม่ ไหงเป็นยังงั้นไปได้ ไปปิดเต้าทั้ง ๖ บัดเดี๋ยวนี้เลย เสื่อมเสียฟามเป็นไทยเมิด

เต้าแห่งความเป็นไทยไม่ปกปิด แล้วจิ๋มคู่ชีวิตจะอยู่ไหม กระทรวงวัฒนธรรมมาอำไทย สิ้นอำนาจอธิปไตยแล้วบัดนี้ ชะเอิงเงิงเงย

ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นเพราะกระแสวิจารณ์หรือปรากฎการณ์เซ็นเซอร์ตัวเอง ท้ายที่สุดเว็บกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้เปลี่ยนจากรูปหญิงสาวเปิดเต้าเล่นสงกรานต์ เป็นรูปสถาปัตยกรรมไทยที่เป็นที่รู้จัก และมีภาพหญิงสาว 2 คนเล่นรดน้ำสงกรานต์อย่างสุภาพ เพราะพวกเธอใส่เสื้อผ้ามิดชิดมาก – ใส่เสื้อแขนยาว และห่มทับด้วยสไบเฉียง

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่กระทรวงวัฒนธรรมนำรูปดังกล่าวลงเว็บไซต์ เพราะเมื่อสองปีที่แล้ว เว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้ลงรูปเดียวกันนี้ในแบนเนอร์ของเวป เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กระหึ่มโลกออนไลน์ มากจนถึงกับเว็บไซต์ของกระทรวงล่มกันเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวเป็นภาพวาดสีน้ำของนายสมภพ บุตรราช ศิลปินมีชื่ออีกคนของไทย ที่ได้วาดภาพบอกเล่าถึงวันสงกรานต์ ซึ่งมีหญิงสาวจำนวน 7 คนเปลือยหน้าอก ร่ายรำ เล่นดนตรี เล่นน้ำกันอย่างอย่างสนุก โดยภาพดังกล่าวเคยจัดแสดงไปครั้งหนึ่งแล้วที่หอศิลป์ฯ ก่อนที่ทางกระทรวงจะตัดทอน และนำไปไว้ในหน้าเว็บดังกล่าว

และเช่นเดียวกับปีนี้ ที่สุดท้าย กระทรวงวัฒนธรรมก็นำภาพดังกล่าวออกไปจากหน้าเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

http://news.sanook.com/1179825/

การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน

ตอนนี้หากถามว่าภูมิใจกับอันดับด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลกหรือไม่
ก็คงไม่มีใครไปตอบว่า “ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว” ! http://bit.ly/17oaJI9

วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)
วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)

เพราะระบบการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 40 ประเทศในปี 2555 จากผลการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษา คือ เพียร์สัน (Pearson) และ อีไอยู (EIU = The Economist Intelligence Unit) ในทางกลับกันพบว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีสถิติการเข้าถึงเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งในโลก เท่ากับ 12.7 ล้านคนจากทั้งหมด 7.8 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เข้าถึงเกือบ 2 เท่าของจำนวนประชากร ก่อนถามคนไทยว่าภูมิใจหรือไม่กับการเป็นอันดับหนึ่ง ก็ต้องกลับไปทบทวนวรรณกรรมว่าสถิติแต่ละค่าเป็นตัวบ่งชี้ต่อการแผนพัฒนาประเทศในด้านใด แล้วการเข้าเฟซบุ๊คมากผิดปกติเช่นนี้จะทำให้การศึกษาของไทยพัฒนาไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นปฏิกิริยาต่อกันจะเป็นแนวแปรผันหรือแนวผกผัน

เมื่อเข้าอยู่ในสนามประลองย่อมต้องเหลียวซ้ายแลขวา และย้อนดูตนเองไปพร้อมกับการชำเรืองดูคู่แข่งขัน เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่ในอันดับเกือบบ๊วย แล้ว 5 อันดับแรกคือใคร พบว่าเบอร์หนึ่งคือ ฟินแลนด์ ตามด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ หลังผลการจัดอันดับออกมาแล้วพบว่ากระทรวงศึกษาธิการขยับในหลายเรื่อง อาทิเช่น ส่งหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมบ๊อบ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งลดการบ้าน และหวังลดภาระนักเรียน เพื่อจะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าถูกที่ ถูกทางแล้วใช่ไหม

รายงานของเพียร์สันในส่วนสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ได้เขียนคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นวลีสำคัญดังนี้ ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง สอนเด็กให้เลิศต้องสอนโดยครูที่เป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ดีที่สนับสนุนการศึกษา พ่อแม่ต้องส่งเสริม สอนเรื่องที่นำไปใช้ในอนาคตได้ ซึ่ง 5 วลีนี้เป็นข้อเสนอในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา หลังจากอ่านแล้วอ่านอีกหลายรอบ ก็รู้สึกอื้ออึงในสมองซีกซ้ายเป็นคำถามว่ามีเรื่องใดแก้ไขได้เร็วที่สุดบ้าง เพราะทุกเรื่องล้วนเป็นปัญหาที่พบเห็นเป็นประจักษ์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าประเทศของเราไม่มีปัญหาดัง 5 ข้อนี้ เราก็คงไม่ได้ตำแหน่งเกือบบ๊วยเป็นแน่

สำหรับข้อที่ 3 ในคำแนะนำของเพียร์สันเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ และทุกวัยอย่างแท้จริง เกี่ยวตรงคำว่าวัฒนธรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของกิจกรรม ความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อโลก และแนวการปฏิบัติของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษามีมากมาย อาทิเช่น อยากเรียนต้องได้เรียน สอบได้เป็นเรื่องตลกสอบตกเดี๋ยวก็สอบซ่อม จ่ายครบจบแน่ เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นแต่สิ่งที่อยากเชื่อ ชิงสุกก่อนห่าม ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ตั้งใจเรียนโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน รีบเรียนให้จบนะลูกจะได้มาช่วยพ่อแม่ไถนา เรียนไปก็ตกงานจะตั้งใจเรียนไปทำไม เงินซื้อได้ทุกอย่างแม้แต่ปริญญา สาธุขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างให้สอบผ่านทีเถอะ หมอดูในทีวีทักมาว่าราศีไม่ดีสอบปลายภาคตกแน่ ปล่อยให้หนูจบเถอะไม่งั้นอาจารย์เจอดีแน่

การเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษาของคนไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำว่า กรุงโรมไม่อาจสร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ก็ไม่อาจพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จได้ในปีเดียวฉันนั้น เพราะการเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาต้องเริ่มต้นจากการมีต้นแบบวัฒนธรรมที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ ถ้ายังไม่รู้ยังไม่มีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับทั้งสังคม ประเทศก็คงค่อยเดินค่อยคลานไปในความมืดโดยมีเป้าประสงค์ที่เลือนรางรออยู่ เพราะในสังคมไทยมีผู้คนที่เดินสวนทางกับวัฒนธรรมการศึกษาคุณภาพอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบทันที ถ้าคนในสังคมเริ่มคิดเป็น ทำเป็น แล้วรู้จักเลือกอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้ไปอิงกับค่านิยม ความเชื่อ ตามอิทธิพลของสื่อ ตามคนหมู่มาก หรือแฟชั่นที่ฟุ้งเฟ้อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2563

news paper
news paper

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=477721182295748&set=a.160162067384996.39239.100001736120394

แหล่งข้อมูล
http://thelearningcurve.pearson.com/
http://www.thairath.co.th/content/edu/325982
! http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzJPRFl5T0E9PQ==
http://www.voathai.com/content/best-education-systems-ss/1557918.html
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

บทความตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม

http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg
http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Key Success Factors Participative Co-op Education Development Model) โดย วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เสนอว่า ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

แล้วมีข้อเสนอแนะการนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันอุดมศึกษา ว่าควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันของตนเอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมตามองค์ประกอบ เงื่อนไข คุณลักษณะของตัวชี้วัดความสำเร็จสหกิจศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษา
2. ดำเนินการจัดการความรู้สหกิจศึกษา ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน ระบบและกลไกการประสานงาน จัดทำเป็น “คู่มือการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา” และการจัดการความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Internet) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
3. จัดอบรม สัมมนาความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้บุคลากร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ นักศึกษา องค์กรผู้ใช้บัณฑิต และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
4. ขยายเครือข่ายองค์กรผู้ใช้บัณฑิต การรับรู้เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของคณาจารย์ในทุกหลักสูตร การขยายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เพื่อรองรับนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างต่อเนื่อง
5. การบริหารจัดการตาม “ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม”

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564684180212384.139685.506818005999002
http://www.scribd.com/doc/118643661/

! http://blog.nation.ac.th/?p=2427