facebook

วุฒิสภาด้านการศึกษา

กลุ่มวุฒิสภาด้านการศึกษาในเฟสบุ๊ค

https://www.facebook.com/groups/345918844728152/

วุฒิ คือ ภูมิรู้, ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่

สภา คือ องค์กร หรือสถานที่ประชุม

การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้

ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ สมัครเป็น ส.ว. ได้

ทำความรู้จัก
#คณะกรรมาธิการการศึกษา
มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบของชาติแต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ การให้บริการทางการศึกษาสำหรับประชาชน โดยคำนึงถึงความเป็นมาตรฐาน เป็นธรรมและทั่วถึงเน้นความเป็นเลิศทางปัญญา วินัย คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ ความเป็นไทยบนพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทภายในยุทธศาสตร์ชาติ ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

https://www.senate.go.th/

ข้อมูลบุคคล ตัวเรา ผู้สมัครเป็นผู้แทน หรือผู้ที่เราสนใจ

ข้อมูลบุคคล ตัวเรา ผู้สมัครเป็นผู้แทน หรือผู้ที่เราสนใจ

ช่วงนี้ (เม.ย.66) สนใจเรื่อง #ข้อมูลบุคคล
จึงได้ปรับเนื้อหาของผู้ที่ผมนับถือในหลายเว็บเพจ
เป็นผู้ที่ผมชื่นชม ชื่นชอบ ที่เคยบันทึก และแบ่งปัน
เรื่องราว กิจกรรม ภาพถ่าย และผลงาน
ของเพื่อน ผู้ใหญ่ หรือผู้มีอุปการะคุณไปหลายท่าน
ประกอบกับช่วงนี้ มี #เลือกตั้ง66
จึงนำชื่อของผู้สมัครมาเข้าระบบสืบค้น
ให้ประชาชนที่สนใจข้อมูลของผู้สมัคร
ได้อ่านข้อมูล มาประกอบการพิจารณา
ตามเกณฑ์การเลือกกาของแต่ละบุคคล

https://www.thaiall.com/article/senate.htm

ยิ่งอ่าน ยิ่งค้น ยิ่งได้ข้อมูล
ที่มีรายละเอียด profile
ที่ทำให้เราได้เห็นคนดีหลาย ๆ ท่าน (46 ท่าน)
ผู้มีความดี ความสามารถ ความคิดเห็น ความเชื่อ
และการแสดงออกสู่สังคมที่น่าชื่นชม
จะรักใคร ชอบใคร ไปกาในคูหากันนะครับ
เข้าคูหากาเบอร์ที่ชอบ

https://www.thaiall.com/java/candidate_lp66.htm

บทความใน scribd.com

รวมบทความด้านการบริหารจัดการ 64 เรื่อง

ด้วยทักษะการบริหารหลายสิบปีที่ผ่านมา สะท้อนออกมาเป็นมุมมองในด้านการบริหารจัดการ หรือ Management Skill บนเฟซบุ๊ก จำนวน 64 เรื่อง ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วยังเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารจัดการธุรกิจอย่างน้อย 2 ธุรกิจ คือ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ โดยอีบุ๊กเล่มนี้มีจำนวน 94 หน้า เผยแพร่ใน scribd dot com

https://www.scribd.com/document/613092154/

เฟซบุ๊กของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

ขั้นตอนสร้างเอกสาร “จากเฟซบุ๊ก สู่ อีบุ๊ก 64 เรื่อง” มีดังนี้

  1. ติดตามบัญชีนักเขียน คือ Kritsada Pop Tunpow
  2. คัดลอกบทความไปวางใน เอกสารประกอบการสอน ในส่วนภาคผนวก
  3. บันทึกเป็นแฟ้มแบบ Plain text และมีรูปแบบตามที่กำหนด เป็น Data file
  4. เช่า Web Hosting และสร้าง Folder สำหรับรองรับ Script และ Data file
  5. เขียน PHP Script อ่าน Data file เพื่อแสดงบทความบน Website
  6. ติดตั้ง GoFullPage – Full Page Screen Capture บน Chrome
  7. ใช้ GoFullPage บันทึก Homepage เป็น PDF ได้ 200 MB
  8. ใช้บริการ compress_pdf ของ ilovepdf dot com ลดเหลือ 20 MB
  9. อัพโหลด ebook แบบ pdf เพื่อเผยแพร่ใน scribd dot com

นอกจาก 64 บทความข้างต้น ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ ยังได้เผยแพร่คลิป หลักสูตรการบริหารจัดการ ผ่านช่อง StepPlus Training บน youtube ในหลักสูตรนี้มีทั้งหมด 9 ตอน เช่น จุดตายในการบริหารองค์กร ของผู้บริหาร หรือ งานไม่ยุ่ง แต่ยุ่งคน ศึกษาพฤติกรรมคนในองค์กร เป็นต้น

Opera browser
Microsoft Word
Youtube.com
โป้ยเซียน

นิสิตทั้ง 8 เล่าเรื่องขายสินค้าออนไลน์

เมื่อปลายเดือนเมษายน 2565 มีนิสิตเล่าเรื่องการขายสินค้าออนไลน์ ฟังเพลินเลยครับ เพราะแต่ละท่านมีภูมิหลัง ที่มาที่ไป กระบวนการ และความสุขจากการขาย แตกต่างกันไป เรียกว่า หลากหลายรสชาติ ไม่ซ้ำกันเลย เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มีบางท่านที่ผมขอเป็นลูกค้าเค้าด้วยนะ สั่งสินค้ามาส่งที่ทำงานของผม ซึ่งเค้าก็โอเค (ทำให้นึกถึงเพื่อน 603 ที่เล่าเรื่องการเย็บกระเป๋าหนังทำมือ hand-made ที่แชร์ผลงานที่ได้ทำจากการเรียนเย็บกระเป๋าหนัง เสมือนผลงานส่งคุณครูก่อนจบรายวิชาที่เรียนออนไลน์ ผลงานกระเป๋าของเพื่อนดูดีมาก เห็นบอกว่าต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูง เช่น โซ่ทองเหลือง หรือเหรียญที่ใช้แต่งกระเป๋า)

กลับมาเรื่องลูกศิษย์ทั้ง 8 ที่ทำให้นึกถึงความเทพของแต่ละคน ก็ชวนให้นึกถึง 8 เซียนข้ามทะเล (eight immortals) ที่แต่ละผลงาน และความเป็นมาล้วนมีเสน่ห์แตกต่างกันไป น่าบันทึกไว้เพื่อเป็นบทเรียน นำไปบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่นิสิตแต่ละคนได้เลือกสินค้า พบว่า บางคนผลิตสินค้าภายในเครือญาติ บางคนมีอาชีพเสริมขายออนไลน์ บางคนฝันอยากเป็นเกษตรกร บางคนเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากจีน บางคนขายรถยนต์มือสอง บางคนเป็นนักสะสมหนังสือการ์ตูน บางคนชอบต่อเลโก้ บางคนมีสินค้าแบรนเนมที่ขายต่อแล้วได้ราคา

หากลงลึกไปที่ตัวสินค้า เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ที่นิสิตเค้าเลือกมาขายออนไลน์ เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ทันที ไม่จำกัดงบประมาณ เพศ วัย หรือวุฒิการศึกษา ซึ่งมีตัวอย่างที่ถูกหยิบมาเล่าอยู่เสมอ คือ น้องมิลค์ รัญชิดา ยายแอ๋วไลฟ์ขายเสื้อผ้า หรือ ฮาซันอาหารทะเล อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนิสิต ทั้ง 8 นำเสนอสินค้า ดังนี้ 1) แคบหมู แหนมหมู ไส้อั่ว 2) ชุดชั้นใน 3) ปลูกผักไฮโดโปรนิกส์ 4) สินค้าแฟชั่นนำเข้าจากจีน 5) ขายรถยนต์มือสอง 6) ขายหนังสือการ์ตูนบล็อกเซ็ต 7) ตัวต่อเลโก้ 8) กางเกงยีนส์ยี่ห้อมือสอง

https://web.facebook.com/363415133996355/posts/754420488229149/

https://www.thaiall.com/e-commerce/indexo.html

อ่านบทความเรื่องที่ 47 ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

ชวนอ่านบทความของเพื่อนในสื่อสังคม

คร ๆ ก็บอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อสังคม .. เรามักมีเพื่อนในสื่อสังคม พบว่า มีการแชร์แบ่งปันเรื่องราวที่เพื่อนสนใจ ทั้งแบบเฉพาะตนเอง เฉพาะเพื่อน หรือเป็นสาธารณะ ผมมีเพื่อนสมัยประถมและมัธยม ที่มีเรื่องมาเล่าให้ได้ติดตามเสมอ มีของมาขาย มีของที่ได้ซื้อมา มีที่เที่ยว แล้วหยิบมาเล่าสู่กันฟัง ผมมีเพื่อนสมัยอุดมศึกษา มักเล่ากิจกรรมการกิน การอยู่ การใช้ชีวิต พร้อมภาพประกอบมาให้อ่านกันอย่างเพลินใจ ผมมีหัวหน้าที่แบ่งปัน เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหาร การจัดการ การตลาด บุคคลและองค์กร และเรื่องน่าสนใจ ที่เป็น public อยู่มากมายหลายสิบบทความ รวบรวมเป็นฐานข้อมูล และอีบุ๊คให้เข้าถึงได้ง่าย มักชวนนิสิตเข้าไปติดตาม (follow) อยู่เสมอ ถ้าเรามีชีวิตในโลกออนไลน์ ได้ใช้สื่อสังคม อาจมองเห็นช่องทางทำธุรกิจ ช่องทางบันเทิง หรือโอกาสในการสื่อสารใหม่ การรับข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่เราชอบ มักเริ่มต้นจากการกด like / share / follow เพราะอาจมีสักวันที่ได้นำหลักการที่ได้จากการอ่าน การฟังเหล่านั้นไปปรับใช้ในชีวิตก็เป็นได้ สรุปว่า ทักษะทางสังคม ก็มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตในสังคม

บทความมากมายน่าสนใจ
เช่น ซีรี่บทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ เรื่องที่ 41 – 47 มีดังนี้

  1. สมองคิด ปากพูด กายทำ ของคน 8 ลักษณะ ในงาน หรือชีวิตประจำวัน
  2. ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และการรับรู้ของคนอื่นในองค์กร
  3. ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร
  4. แนวคิด Makoto Marketing
  5. ความพอใจคนทำงาน กับ ความพอใจขององค์กร
  6. การปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด
  7. ผู้นำ : คนที่มีภาวะผู้นำกับผู้นำที่ยกระดับองค์กร

http://www.thaiall.com/facebook/

แรงขับการแบ่งปันในเครือข่ายสังคม (itinlife392)

 

note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค

sharing and clickback
sharing and clickback

คำถาม .. อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เราแบ่งปันข้อมูลจากเว็บไซต์

ได้อ่านผลงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาและคลิ๊กกลับในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ของ 33across.com และ tynt.com ที่เขียนใน zdnet.com โดย Eileen Brown พบว่าการแบ่งปันเนื้อหาจำแนกได้หลายกลุ่ม ในกลุ่มที่เพื่อนในเครือข่ายสังคมให้ความสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด คือ ข่าว กีฬา การเมือง การสรรเสริญ การเลี้ยงดู และบันเทิง ส่วนที่สนใจคลิ๊กกลับกันน้อยและแบ่งปันน้อยคือ รถยนต์ ช็อบปิ้ง และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มคลิ๊กน้อยแต่แบ่งปันมากคือ ธุรกิจ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

มี 2 คำที่น่าสนใจคือ แบ่งปัน (Share) และคลิ๊กกลับ (Clickback) พฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายสังคมเมื่อไปพบเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ในเว็บไซต์ก็ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนของตนรู้ หรือมีส่วนร่วมก็จะทำใน 2 ลักษณะคือ คัดลอกแล้ววาง หรือ ใช้ปุ่มแชร์ ดังนั้นการแบ่งปัน คือ เราส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เพื่อให้เพื่อนรับรู้เรื่องของเรา เป็นข้อมูลสั้นและลิงค์ (Link) สำหรับคลิ๊กไปอ่านรายละเอียด ส่วนคลิ๊กกลับ คือ เพื่อนของเราอ่านข้อมูลสั้น แล้วรู้สึกสนใจจึงคลิ๊กลิงค์เปิดดูรายละเอียดจากเว็บไซต์

ประเด็นคำถาม คือ เหตุผลที่เราแบ่งปันเนื้อหาไปนั้นมีอะไรเป็นเหตุปัจจัย แล้วพบว่า เราแบ่งปันเพราะถือมั่นต้องการแสดงตัวตน (ego) นั่นคือเราไม่ได้แบ่งปันเพราะคิดว่าเพื่อนสนใจ หัวข้อที่พบว่ามีการแบ่งปันจากเว็บไซต์มากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (Science) ซึ่งได้อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจ และต้องการแสดงองค์ความรู้ของเรา ในประเด็นคลิ๊กกลับก็พบว่าเพื่อนของเราคลิ๊กดูวิทยาศาสตร์น้อยมาก แสดงว่าเราไม่สนใจว่าเพื่อนจะสนใจเรื่องของเราหรือไม่ ขอเพียงเราชอบ และอยากแบ่งปันก็พอ ส่วนข่าว (News) คือเรื่องที่เพื่อนสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด แต่เราจะแบ่งปันน้อย เพราะข่าวไม่ใช่เรื่องที่แสดงตัวตนของเรา ถึงตรงนี้หลายท่านอาจไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในต่างประเทศ ถ้าศึกษาพฤติกรรมคนไทยอาจมีผลการศึกษาต่างไป เท่าที่สังเกตเราสนใจแบ่งปันเนื้อหาจากเว็บไซต์กันน้อย คนที่จะแบ่งปันก็จะเป็นตามอาชีพนั้น อาทิ นักข่าวก็จะแบ่งปันข่าวของสำนักของตน ส่วนราชการก็แบ่งปันกิจกรรมหรือผลงาน นักธุรกิจก็จะแบ่งปันข้อมูลสินค้าของตน แล้วท่านมีพฤติกรรมอย่างไรในเครือข่ายสังคม

 

 

http://www.thaiall.com/blog/burin/5087/

http://www.zdnet.com/new-research-highlights-that-social-sharing-is-driven-by-ego-7000013932/

นี่คือโลกของกู

ครูยุคต่อไปในใจเด็ก

social teacher
social teacher

อันที่จริงยังมี
– ครูสอนเกษตร
– ครูสอนเลี้ยงสัตว์
– ครูสอนออกแบบ
– ครูสอนวิชาการต่อสู้
– ครูสอนสร้างเมือง
– ครูสอนขับรถ
– ครูสอนแต่งหน้า
– ครูสอนแต่งตัว
– ครูสอนยิงปืน
– ครูสอนเตะบอล
และอีกมากมาย

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=555679144463315&set=a.184872464877320.42492.180717885292778

blogger : blog teacher
blogger

1. ครูสอนเขียนเรื่อง

starcraft
starcraft

2. ครูสอนการต่อสู้

farm ville 2
farm ville 2

3. ครูสอนเกษตร

poker

4. ครูสอนคณิตศาสตร์

pes 2014
pes 2014

5. ครูสอนพลศึกษา

camera 360
camera 360

6. ครูสอนศิลปะ

market land
market land

7. ครูสอนการงานอาชีพ

three feel dot com
three feel dot com

8. ครูสอนเพศศึกษา
ครูบางคนเด็กก็นิยมล้นหลาม แต่ผิดกฎหมายถูกไล่ออกก็มี
3 พ.ค.2551 มีหมายศาลบล็อกเว็บไซต์สามรู้สึกดอทคอมของเกาหลี
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/75#detail