learning

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ mba 2565

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ

ดร.ฑัตษภร ศรีสุข ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ได้แบ่งปันเรื่องราวผ่านสื่อสังคมเกี่ยวกับการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ ของนิสิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration) มหาวิทยาลัยเนชั่น ที่จัดขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคม 2565 เวลา 9.00 – 16.00น. ณ ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา โดยกิจกรรมประกอบด้วย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวให้โอวาสและต้อนรับนิสิต ในการเข้าสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ (Defense Examination) ประจำปี 2565 แล้วเริ่มกิจกรรมการสอบป้องกัน โดยมี ผศ.ดร.กัญญ์พ้สวี กล่อมธงเจริญ เป็นประธานการสอบ ผศ.ดร.วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์ และ ดร.อัศนีย์ ณ น่าน เป็นกรรมการสอบ แล้วยังมี ดร.อนันตพร วงศ์คำ และ ดร.นภสินธุ์ พรมวิเศษ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตมาให้กำลังใจ เพื่อสร้างความพร้อมให้กับนิสิต

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซึ่งนิสิตต้องเตรียมความพร้อมในหัวข้อที่ต้องนำเสนอ ทบทวนประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษามาเป็นอย่างดี จัดทำเอกสารรายงาน และเอกสารนำเสนอ เพื่อให้การสอบป้องกันผ่านไปได้ด้วยดี แล้วนำข้อแก้ไข หรือข้อเสนอแนะกลับไปดำเนินการให้ถูกต้องสมบูรณ์

ยินดีกับนิสิตที่ผ่านการสอบทุกท่าน

หลักสูตรนี้มีตัวอย่างรายวิชา ที่น่าสนใจดังนี้

  1. ACCT 510 การบัญชีเพื่อการจัดการ
  2. BUSI 510 การวิจัยเพื่อการวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจ
  3. ECON 510 เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ
  4. FINA 510 การจัดการการเงิน
  5. MKTG 511 การจัดการการตลาด
  6. MGMT 510 การจัดการเชิงกลยุทธ์
  7. MGMT 511 การจัดการการปฏิบัติการ
  8. MGMT 512 การจัดการทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมองค์การ
อาหารว่าง เสิร์ฟระหว่างสอบป้องกัน .

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21

essential learning
essential learning

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 โดย
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

หลังฟังแล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟัง
ว่า นอกจากความรู้ในสาระวิชาหลัก มีสิ่งที่ต้องรู้ยังมีอีกมากมาย
แต่ที่ชอบในแนวคิดนี้อย่างมาก คือ การมีทักษะสำคัญ 3 ด้าน
1. ทักษะชีวิตและการทำงาน คือ การปรับตัว รับผิดชอบ และเป็นผู้นำ
2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารได้
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือ ประเมินสารสนเทศได้ ใช้ไอทีเป็น
ทักษะที่ 3 ต้องชวนดูซีรี่เรื่อง CSI : Cyber ตอบได้ครบ (พึ่งดูมาครับ ยังไม่จบเลย)


ในอดีต
รับความรู้เยอะ ๆ แล้วก็ท่องเยอะ ๆ เคยใช้ได้

แต่ยุคสมัยนี้
มอบความรู้ตรง ๆ ใช้ไม่ได้ผล
เค้าเน้นให้สอนเรื่องสำคัญ (Essential)
แล้วนำความรู้ไปต่อยอดเอง ความรู้จะงอกขึ้นมา (Teach less, Learn more)
เดี๋ยวนี้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้ (Knowledge)” ไปสู่ “ทักษะ (Skill)
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก มาเอานักเรียนเป็นหลัก (Child Center)
เรียนด้วยการปฏิบัติจริง เรียก Project Base Learning
เป็นการฝึกให้เด็กทำโครงงาน แล้วครูเป็นโค้ช ช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ
แล้วได้ฝึกนำเสนอ ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง
ครูต้องเป็นครูฝึก (Coach) ที่ฝึกให้นักเรียนทำงาน และบรรลุ
แล้วนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration)
ครูต้องมีทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ มีพลัง มีไฟ มีชีวิตชีวา ไม่มีกรอบ
การเรียนยุคใหม่ไม่สนใจคำตอบ (Answer) แต่สนใจกระบวนการหาคำตอบ (Process)
โจทย์ข้อหนึ่งมี คำตอบมากมาย การให้เด็กร่วมกันหาคำตอบ (A question has many answers.)
เราจึงสนใจกระบวนการที่เด็กทำงานร่วมกัน (Team work)
นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ (Development)
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้ (Increase experience by homework)
การบ้านสมัยใหม่ คือ การบ้านทั้งปี เรียนเป็นทีม ปลายปีแสดงละคร (Drama)
สมัยนี้ความรู้มหาศาล จนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงต้องมี PLC (Professional Learning Community)
เพื่อครูรวมตัวกันเรียนรู้การออกแบบการสอนที่เหมาะสมของแต่ละที่ เป็น “ชุดการเรียนรู้ครู
เป็นชุมชนการเรียนรู้ ให้ครูมีทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรณที่ 21
PLC ไม่ใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะได้ผลกว่า

เรื่องของ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
อยู่ใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
หน้า 69
โดย สกอ. หวังว่าหลักสูตรจะจัดให้มีการสร้างโอกาสการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ให้ได้มาตรฐานสากล

“ห้องเรียนกลับด้าน” สพฐ.ให้ “เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่ ร.ร.”

3 พฤษภาคม 2556 เรียบเรียงโดย สุพินดา ณ มหาไชย

 

homework at school
homework at school

“ห้องเรียนกลับด้าน” หรือ “Flipped Classroom” เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ Jonathan และ Aaron ครูวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High School สหรัฐอเมริกา ค้นคิดขึ้น นักเรียนบางส่วนของพวกเขาจำเป็นต้องขาดเรียนบ่อยครั้งเพราะถูกกิจกรรมต่างๆ ดึงตัวออกไป ทั้ง 2 คนจึงระดมสมองคิดหาทางแก้ไข จนนำไปสู่ Flipped Classroom ในปี 2007 จนถึงปัจจุบัน กระแส Flipped Classroom แพร่ขยายเป็นวงกว้างในอเมริกา และในปีการศึกษา 2556 นี้ ชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะปรับตัวให้เป็นห้องเรียนกลับด้าน เช่นกัน

“เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน”
นิยามสั้น ๆ ของ Flipped Classroom นั้น “รุ่งนภา นุตราวงศ์” ผู้เชี่ยวชาญของ สพฐ. ซึ่งจับเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า นำสิ่งที่เดิมเคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน ชั้นเรียนที่เราคุ้นเคยกันมานั้น ครูจะเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่างๆ ในชั้นเรียนแล้วมอบงานให้นักเรียนกลับไปทำเป็นการบ้าน แต่ Jonathan และ Aaron สังเกตว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาติดขัดและต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อบอกเนื้อหา เพราะเขาสามารถค้นหาเนื้อหานั้นด้วยตนเองได้

เพราะฉะนั้น ถ้าครูบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูเป็นการบ้าน แล้วครูใช้ชั้นเรียนสำหรับชี้แนะนักเรียนให้เข้าใจแก่นความรู้ หรือชี้แนะในการที่เด็กได้รับมอบหมายจะดีกว่า ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก เว็บไซต์ต่างๆ อย่างยูทูบอัดแน่นไปด้วยความรู้ต่างๆ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง หมดยุคที่ต้องคอยมารอรับความรู้ในชั้นเรียนเพียงช่องทางเดียวแล้ว

เพราะฉะนั้นในห้องเรียนกลับด้าน ครูจะแจกสื่อให้เด็กไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน หรืออาจให้เด็กไปดูสื่ออย่างยูทูบ เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น นักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นก็ลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย

เพื่อตรวจสอบว่า เด็กได้ดูสื่อที่ครูให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าหรือไม่นั้น จะมีเด็กบันทึกโน้ตมาส่งครู อาจบันทึกมาในสมุด เข้าไปเขียนไว้ใน Blog ของครู หรือเขียนส่งมาทางอีเมล และจะให้เด็กตั้งคำถามมาด้วยอย่างน้อย 1 ข้อ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการฝึกทักษะในการจดบันทึกให้แก่นักเรียนก่อนช่วงต้นปีการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ห้องเรียนกลับด้านให้เด็ก

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวเสริมว่า การให้เด็กเรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้าที่บ้านแล้วมาพูดคุยในชั้นเรียนนั้น จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น เหลือเวลาสำหรับเติมสิ่งอื่นๆ ให้เด็กโดยเฉพาะทักษะคิดวิเคราะห์ รูปแบบเดิมนั้น เวลาในชั้นเรียนจะหมดไปกับการ warm-up (เตรียมพร้อม) จำนวน 5 นาที ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการบ้านของนักเรียน 20 นาที บรรยายเนื้อหาใหม่ 30-45 นาที เหลือแค่ 20-35 นาทีให้นักเรียนทำงานและกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ แต่ห้องเรียนกลับด้าน ใช้เวลา warm-up จำนวน 5 นาที ถามตอบเกี่ยวกับวิดีโอที่ดู 10 นาที ที่เหลืออีก 75 นาที เต็มๆ นักเรียนจะได้ทำงาน กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ มี่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้ลุ่มลึกกว้างขวางขึ้น

ที่ผ่านมา เด็กไทยอยู่ในกลุ่มเรียนเยอะ เปรียบเทียบจำนวนชั่วโมงเรียนกับนานาชาติแล้ว ไทยอยู่ในกลุ่มบน ต่อปีเด็กไทยเรียนถึง 1,200 คาบ แต่ผลประเมินระดับนานาชาติ เช่น Pisa กลับอยู่ในกลุ่มล่าง เข้าทำนอง เรียนมากแต่รู้น้อย
ดร.ชินภัทร บอกว่า 70% ของชั้นเรียนเป็นการบรรยายของครู แต่ถ้ากลับด้านห้องเรียนแล้ว แทนที่เด็กจะมาตัวเปล่า นั่งรอรับความรู้จากครู เด็กก็จะมาเรียนด้วยความเข้าใจเพราะเรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้ามาแล้ว ในชั้นเรียนจะเป็นการซักถามเพิ่มเติม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เราจะได้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 30-40 นาที สำหรับพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้เด็ก

“ห้องเรียนกลับด้าน” ยังเป็นการเข้าใกล้การจัดการเรียนการสอนแบบ Child Center มากขึ้น แทนที่การสอนแบบ Teacher Center ซึ่งกำลังจะตกยุคเข้าไปทุกที ที่สำคัญช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบ้านได้ด้วย

ดร.ชินภัทร บอกว่า เด็กไม่ต้องไปทุกข์ทนกับการทำการบ้านที่บ้านอีกต่อไป การบ้านบางประเภทโดยเฉพาะ Problem solving นั้น เด็กไม่สามารถทำคนเดียวโดยปราศจากการแนะนำของครูได้ การฝึกให้การบ้านกับเด็กไป รั้งแต่สร้างความเครียดกับเด็ก สุดท้ายเด็กอาจเกลียดกลัวการมาโรงเรียน แต่ถ้ากลับด้านให้เด็กเรียนเนื้อหาล่วงหน้ามาเป็นการบ้านแล้วมาทำงานร่วมกันในชั้นเรียน จะช่วยให้เด็กเรียนด้วยความเข้าใจและมีความสุขขึ้น

สพฐ.จะเดินหน้าปรับโฉมชั้นเรียนเป็น Flipped Classroom ทันทีในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ดร.ชินภัทร ย้ำว่า และนี่จะเป็นสิ่ง สพฐ.ทำเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ต้องรอการปฏิรูปหลักสูตรซึ่งอาจใช้เวลานาน และสำหรับ ดร.ชินภัทร แล้ว ห้องเรียนกลับด้าน เป็นการคิด “นอกกรอบ” ที่สพฐ.หามานาน สำหรับตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษา

–คมชัดลึก ฉบับวันที่ 3 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32600&Key=hotnews