need

อาชีวะพร้อมเปิดสอน ป.ตรี 24 สาขา

อาชีวะพร้อมเปิดสอน ป.ตรี จัดทำหลักสูตรสายปฏิบัติการ 24 สาขา

          นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดทำหลักสูตรปริญญาตรี 24 สาขาวิชา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ได้แก่ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม 5 สาขาวิชา (เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีเครื่องกล เทคโนโลยีแม่พิมพ์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์) ด้านบริหารธุรกิจ 5 สาขาวิชา (การบัญชี การจัดการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการโลจิสติกส์ การตลาด) ด้านศิลปกรรม 4 สาขาวิชา (ออกแบบผลิตภัณฑ์ ช่างทองหลวง คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ออกแบบอัญมณี) ด้านคหกรรม 3 สาขาวิชา (เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีออกแบบแฟชั่น การจัดการงานคหกรรม) ด้านเกษตรกรรม 2 สาขาวิชา (เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) ด้านประมง 2 สาขาวิชา (เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ) ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2 สาขาวิชา (การท่องเที่ยว การโรงแรม) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สาขาวิชา (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
จุดเด่นของหลักสูตร นั้นเป็นหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถทำงานในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระเป็นผู้ประกอบการ โดยการพัฒนาหลักสูตรจะนำความต้องการของสถานประกอบการ และความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ มากำหนดเป็นหลักสูตรรายวิชา และที่สำคัญคือมีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ และการบ่มเพาะให้เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนนั้นจะส่งเสริมพัฒนาโดยให้ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก รวมทั้งจะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สามารถจัดการสอนในระดับปริญญาตรีควบคู่ กันไปด้วย เลขาธิการ กอศ. กล่าว

หลักสูตรสายปฏิบัติการ 24 สาขา

หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม 5 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีไฟฟ้า

– เทคโนโลยีเครื่องกล

– เทคโนโลยีแม่พิมพ์

– เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

– เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์

หลักสูตรด้านบริหารธุรกิจ 5 สาขาวิชา

– การบัญชี

– การจัดการ

– คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

– การจัดการโลจิสติกส์

– การตลาด

หลักสูตรด้านศิลปกรรม 4 สาขาวิชา

– ออกแบบผลิตภัณฑ์

– ช่างทองหลวง

– คอมพิวเตอร์กราฟฟิก

– ออกแบบอัญมณี

หลักสูตรด้านคหกรรม 3 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ

– เทคโนโลยีออกแบบแฟชั่น

– การจัดการงานคหกรรม

หลักสูตรด้านเกษตรกรรม 2 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีการผลิตพืช

– เทคโนโลยีการผลิตสัตว์

หลักสูตรด้านประมง 2 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

– เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ

หลักสูตรด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2 สาขาวิชา

– การท่องเที่ยว

– การโรงแรม

หลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีสารสนเทศ

          ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

! http://www.phontong.ac.th/newseducation/18216.html

อาชีวะศึกษา
อาชีวะศึกษา

สอศ.เปิดหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการเป็น “ปฐมฤกษ์”
10 มิ.ย.2556 ที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร        

10 มิ.ย.56 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เป็นปฐมฤกษ์ใน 9 สถาบัน 43 วิทยาลัย จำนวน 16 สาขาวิชา พร้อมจัดนิทรรศการโชว์ศักยภาพในงาน “อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ” และเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ“ทิศทางการผลิตและพัฒนากำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศ ณ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของหลักสูตรอาชีวศึกษาที่สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการจะจัดการศึกษาร่วมกันอย่างเข้มแข็งและเป็นรูปธรรม ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริงในฐานะที่เป็นพนักงานฝึกหัด ซึ่งผู้ปกครองจะมีความเชื่อมั่นว่าลูกหลานจะมีอนาคตที่ดี ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นก็จะได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง และในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 นี้ จะเป็นการเปิดการเรียนการสอนปฐมฤกษ์ทั่วประเทศ  ทั้งนี้ตนเชื่อว่าการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการจะช่วยพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศได้เป็นอย่างดี

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันการอาชีวศึกษาได้ทำการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานหลักสูตร และกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีครู ผู้เชี่ยวชาญ สถานประกอบการ ตลอดจนผู้มีประสบการณ์สายวิชาชีพต่าง ๆ เข้ามาร่วมในการดำเนินการ โดยหลักสูตรดังกล่าวมุ่งเน้นการจัดอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคี ซึ่งนักศึกษาจะต้องเป็นพนักงานฝึกหัดในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อให้ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริงในสถานประกอบการ ถือเป็นรูปแบบการจัดอาชีวศึกษาที่เน้นคุณภาพด้านสมรรถนะผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นเชื่อมั่นว่านักศึกษาที่จบมาจะมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างแน่นอน

ส่วน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีการศึกษา 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ใน 9 สถาบัน จำนวน 43 วิทยาลัย โดยเปิดสอน 16 สาขาวิชา มีแผนรับนักศึกษา 46 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 920 คน สำหรับสาขาที่เปิดสอนมีดังนี้ สาขาวิชาช่างทองหลวง สาขาวิชาเทคโนโลยียาง สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาการบัญชี

ในโอกาสเดียวกันนี้ได้มีการจัดเสวนาเรื่องทิศทางการผลิตกำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศโดย นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง แต่กลับประสบกับภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยยังต้องการแรงงานฝีมือในทุก ๆ ด้านเพื่อรองรับการเตรียมความพร้อมเป็นฐานการลงทุนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานฝีมือจึงมีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้ สามารถทำงานได้เต็มที่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเข้าสู่ภาวะการแข่งขัน ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งทางภาคอุตสาหกรรมจะมีการส่งเสริมอย่างเต็มที่โดยการให้ความร่วมมือให้นักศึกษาเข้ามาศึกษากับสถานประกอบการ และหากทำงานได้ดีก็จะรับเข้าทำงานทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

ด้าน นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 กล่าวอีกว่า การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือปฏิบัติการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือทางด้านอุตสาหกรรม และสร้างความสมดุลระหว่างแรงงานสายปฏิบัติการและสายบริหาร ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานตรงตามความต้องการของตลาดครบทั้งสองด้านแล้ว ยังเป็นเส้นทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนสายอาชีวะมีความเจริญก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมให้แก่สถาบันอาชีวศึกษาอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการ ‘อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ’  ซึ่งแสดงให้เห็นสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการใน 11 สาขาวิชาซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและสถาบันการอาชีวศึกษา ได้แก่

1. สาขาวิชาช่างทองหลวง
2. เทคโนโลยียาง
3. วิชาการโรงแรม
4. การท่องเที่ยว
5. เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
6. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
7. เทคโนโลยียานยนต์
8. เทคโนโลยีไฟฟ้า
9. เทคโนโลยีการผลิตพืช
10.การตลาด
11.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

รวมไปถึงสาขาวิชาใหม่ที่จะมีโครงการเปิดสอนซึ่งแตกต่างจากสถาบันอื่นๆ ได้แก่ สาขาวิชามาตรวิทยา สาขาวิชาเครื่องกลเรือ และสาขาวิชาหุ่นยนต์อีกด้วย

ปีการศึกษา 2556 เปิดสอน 16 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาช่างทองหลวง
2. สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
3. สาขาวิชาการโรงแรม
4. สาขาวิชาการท่องเที่ยว
5. สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
6. สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง
7. สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
8. สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
9. สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
10.สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
11.สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
12.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
13.สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
14.สาขาวิชาการตลาด
15.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
16.สาขาวิชาการบัญชี

http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/1390/1390.aspx

อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ

10 มิ.ย.2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดงานอาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ เพื่อเปิดปฐมฤกษ์การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฎิบัติการรุ่นที่ 1 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ณ หอประชุมใหญ่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยได้รับเกียรติจากท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์. ชินวัตร. เป็นประธานพิธีเปิดและปาฐกฐาพิเศษ เวลา 13.00 น. ในงานมีสถาบันการอาชีวศึกษามาร่วมจัดนิทรรศการ จำนวน  9 สถาบัน 11 สาขาวิชา ได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียาง  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 สาาวิชาการตลาด สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาช่างทองหลวง นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเรื่อง ทิศทางการผลิตและพัฒนากำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศ โดยท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา,  ท่านพงษ์เดช ศรีวัชรประดิษฐ์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และท่าน. ดร อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. ประธานกรรมการอาชีวศึกษา.
! http://www.vei19.com/index.php?option=com_content&view=article&id=105:2013-06-09-07-51-42&catid=1:latest-news&Itemid=50

“พงศ์เทพ” กดปุ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 9 สถาบันอาชีวะ

16 สาขาวิชาที่เปิดสอนป.ตรี ในอาชีวะ
16 สาขาวิชาที่เปิดสอนป.ตรี ในอาชีวะ

10 มิ.ย.2556 ที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2556 พร้อมกันครั้งแรก 9 สถาบันการอาชีวศึกษา ใน 43 วิทยาลัย โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.ได้ทำพิธีเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ เป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2556 โดยเปิดสอนทั้งหมด 16 สาขาวิชา ใน 9 สถาบัน 43 วิทยาลัย รับนักศึกษาไว้ทั้งหมด 667 คน

เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนภายในประเทศ ปัจจุบันกำลังคนภายในประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก  ได้แก่ กลุ่มแรก เป็นแรงงานระดับฝีมือ คือผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มที่ 2 เป็นแรงงานระดับเทคนิค คือ ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประเภทที่ 3 คือ ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งในตลาดแรงงานปัจจุบันมีแต่ปริญญาตรีสายวิชาการ แต่ภาคอุตสาหกรรม ต้องการแรงงานปริญญาตรีสายปฏิบัติการ เพราะฉะนั้น จึงเป็นภารกิจที่อาชีวศึกษาต้องผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการตอบสนองกับตลาดแรงงานภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเปิดปริญญาตรีของอาชีวศึกษานั้น สอศ.ได้ให้วิทยาลัยรวมกลุ่มเข้ามาเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อให้มีการแชร์ทรัพยากรทางวิชาการ ความร่วมมือร่วมกันและให้สถาบันเป็นผู้เปิดรับปริญญาตรี ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีความพร้อม 160 วิทยาลัยได้รวมกันเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งหมด 19 สถาบัน โดยใช้การรวมกลุ่มตามกลุ่มจังหวัด และมีการรวมกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เป็นสถาบันการอาชีวเกษตรอีก 4 สถาบัน

ทั้งนี้ สอศ.ไม่ประกันโอกาสการเรียนปริญญาตรีให้กับทุกคน เพราะยังมีข้อจำกัดในการรับอยู่ แต่ประกันว่าทุกหลักสูตรที่เปิดนั้น เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพโดยหลักสูตรปริญญาตรีส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตรเจาะลึกเฉพาะทางและเป็นหลักสูตรอิงสมรรถนะ ซึ่งประกันได้เลยว่าผู้ที่เรียนจบจะมีสมรรถนะเช่นใด เช่น สาขายานยนต์ วิทยาลัยในอยุธยา จะเน้นในเชิงการประกอบรถยนต์

ที่มา : มติชนออนไลน์

! http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370859129
http://www.dek-d.com/content/education/32151/

ไล่ล่า มืออาชีพ

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
จักร์กฤษ เพิ่มพูล

โฆษณาทั้งชวนเชื่อ และชวนด้วยความเชื่อจริงๆ ในเรื่องการ “เรียนกับมืออาชีพ” นับเป็นปรากฏการณ์ร่วม ที่เกิดขึ้นมายาวนานแล้ว ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เพราะความคิดเรียนเพียงเพื่อกระดาษหนึ่งแผ่น จบแล้วไม่มีงานทำ โดยเฉพาะในสาขาทางด้านสังคมศาสตร์ที่ว่ากันว่าเรียนง่าย จบง่ายนั้น บั่นทอนขวัญและกำลังใจของผู้เรียนไม่น้อย

! http://bit.ly/165e7cO

ภาพประกอบจาก http://mediainsideout.net/local/2013/04/121

เนื่องเพราะเมื่อจบแล้ว ไม่สามารถเข้าสู่ระบบงานได้ทันที เพราะเรียนมาอย่างหนึ่ง แต่ในงานเป็นอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในสาขานิเทศศาสตร์ ที่หมุนไปไม่ทันโลกแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร

ฉะนั้น การเรียนรู้กับมืออาชีพ จึงเป็น “ข้อเสนอ” และทางเลือกของผู้บริหารสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจว่า นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง หรือในสภาพบรรยากาศสถานที่ทำงานจริง และเมื่อจบแล้ว มีหลักประกันว่าจะได้ทำงานแน่นอน แต่ประเด็น ก็คือ สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงหรือไม่ สถาบันการศึกษาใด จะมีมืออาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตได้มากน้อย จริงจังเพียงใด

คำว่า “มืออาชีพProfessional หรือ Professionalism คืออะไรแน่ มีคนนิยามคำนี้ไว้หลากหลาย ถ้านิยามอย่างรวบรัด ก็อาจจะพูดได้ว่า เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น และที่อาจไม่ค่อยได้พูดถึงนัก ก็คือต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ด้วย แต่เพียงเท่านี้คงยังไม่เพียงพอที่จะบอก คุณลักษณะของมืออาชีพ เพราะดูเหมือนว่า ความเป็นมืออาชีพยังปะปนกับคำว่า อาชีพ หรือกระทั่งคำว่า “วิชาชีพ” เมื่อกล่าวถึงในบริบทของสื่อสารมวลชน

นอกจากคำว่า “อาชีพ” “วิชาชีพ” แล้ว เมื่อพูดถึงงานด้านสื่อสารมวลชน ยังมีคำว่า “อาชีวปฏิญาณ” อีกคำหนึ่ง คำสามคำนี้ ต่างกันอย่างไร

คำว่า อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงานที่ไม่เป็นโทษกับสังคมและมีรายได้ตอบแทนโดยอาศัย แรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการแตกต่างกันไป ส่วนวิชาชีพนั้น หมายถึง งานที่อุทิศจิตวิญญาณให้กับงาน ต้องอาศัยการอบรมสั่งสอนมานาน เป็นงานที่มีแบบแผนและจรรยาของหมู่คณะ จุดเน้นวิชาชีพคืออาชีพที่ต้องมีจรรยาบรรณ หากประกอบวิชาชีพขัดต่อจรรยาบรรณแล้ว จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม เช่น ครู หมอ นักกฎหมาย ตำรวจ ทหาร รวมทั้งสื่อมวลชน

สำหรับอาชีวปฏิญาณ เป็นศัพท์บัญญัติ ซึ่งยังอ้างอิงไม่ได้ชัดว่าใครคือต้นกระแสธาร แต่ครูหนังสือพิมพ์รุ่นใหญ่พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร กล่าวถึงบ่อยครั้ง คือ “…การปฏิญาณตนต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า จะประกอบอาชีพตามธรรมเนียมที่วางไว้เป็นบรรทัดฐาน หาใช่เป็นการทำมาหากิน หรือทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่เพียงอย่างเดียว

กล่าวอย่างรวบรัด การเรียนกับมืออาชีพ หมายถึงการเรียนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในอาชีพนั้น ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงในเรื่องอาชีพสื่อสารมวลชน ในคณะที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่านิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือยังคงมีฐานะเป็นโปรแกรมในคณะวิทยาการจัดการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งก็ตาม แต่ในโลกความเป็นจริง สถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อย ยังขาดแคลนมืออาชีพที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์จริงไปพร้อมๆ กับการสอนทฤษฎีหรือหลักการในห้องเรียน

แต่ในทางตรงกันข้าม นักวิชาชีพส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีทักษะในการสอน หรือสามารถอธิบายถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างเห็นภาพ เหมือนอาจารย์อาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการเรียนการสอน นับเป็นเหรียญสองด้านที่ยังถกเถียงกันอยู่

คำว่า “เรียนกับมืออาชีพ” จึงยังเป็นคำที่ต้องค้นหาความหมายที่แท้จริงกันต่อไป แต่ในทางทฤษฎีการเรียนจากของจริง ฝึกปฏิบัติจริงและทำจริง นั่นคือสุดยอดของการเรียนแน่นอน

โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2631