school

คืนครูให้นักเรียน: ยกเลิกให้ครูเข้าเวร ทันที

Thai teacher is the guard of the school.

ครูทุกท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การเข้าเวรเป็นเรื่องที่กินชีวิตมาก ตามระเบียบราชการแล้ว สถานที่ราชการต้องมีเวรยามเฝ้าตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน

เรื่องนี้เป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะกับโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล ที่มีจำนวนครูน้อย ทำให้ครูต้องเข้าเวรตอนกลางคืนตลอดเกือบทุกวัน โดยที่ไม่มีค่าล่วงเวลาและไม่มีเวลาชีวิตไปทำอย่างอื่นได้เลย

ถ้าพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล สิ่งที่เราจะทำคือ การออกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยกเลิกการบังคับให้ครูต้องอยู่เวร ให้ใช้วิธีอื่นในการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนตามความเหมาะสม เช่น ร่วมมือกับชุมชนและสถานีตำรวจ หรือสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องให้เป็นภาระครูในการอยู่เวรซ้ำซ้อน

https://thaiall.com/checklist.php

นโยบายพรรคก้าวไกล
รถม้าลำปาง 2023

รีวิวคลิป Trailer รถม้าลําปาง 2023

รถม้าลำปาง 2023
รถม้าลำปาง 2023

ศิลปินตัวน้อยทั้ง 3 สาว
จากรั้วโรงเรียนลำปางกัลยาณี
เป็นกำลังใจให้ สู้ ๆ ครับ

พบคลิปน้อง ๆ จาก โรงเรียนลำปางกัลยาณี ทำคลิปวิดีโอเรื่อง “รถม้าลำปาง 2023” ในยูทูปชื่อบัญชี “How to know รถม้าลําปาง” ส่งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีนักร้องนำ 3 คน ได้แก่ หยกกี้ (พุทธรักษา ทองสุขา), อายจัง (ปานทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา) และ มะนาว (อโณมา สารโพคา) ปล่อย Trailer ออกมาเมื่อ 8 ก.พ.2566

เมื่อได้รับชมคลิปจนจบแล้ว ต้องขอชมว่ามีทีมเวิร์คดีมาก เห็นได้จากส่วนของการมีส่วนร่วมในคลิป และเครดิตที่เขียนมาได้ชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร การแนะนำนักร้องนำทั้ง 3 คน วางบทให้แต่ละคนดูโดดเด่นไปคนละสีสันนึกถึง ขบวนการเซ็นไต ขึ้นมาเลย มี 2 คนเรียนอยู่ในโรงเรียน คนสุดท้ายเป็นพี่ใหญ่เรียนปี 3 อยู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในเวลาของ Trailer เพียง 4:04 นาที ผมไม่สามารถละสายตาได้เลย ดูสนุกทั้งฉากในฟาร์ม รถม้า และบ้านทรงคลาสสิก ฟังทำนองเพลง และเสียงร้องก็เพลิน ทีมแดนซ์ก็ดูมีความสุข มีชีวิตชีวา ดูดีจนเกือบแย่งซีนนักร้องนำไปเลย เบื้องหลังการถ่ายทำก็ดูเป็นกันเอง บรรยากาศสบาย ๆ ตามประสาพี่น้อง ชอบท่อนฮุกนะ “รถม้าลำปาง รถม้า รถม้า รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง ” ฟังแล้วยังรู้สึกติดหูอยู่เลย คงต้องรอฟังเพลงตัวเต็ม และคาดว่าจะไม่ผิดหวังครับ

รถม้าลำปาง 2023

ศิลปินน้องใหม่ชื่อ YOK KY หรือ พุทธรักษา ทองสุขา เธอร้องเพลง “รถม้าลำปาง 2023” เนื้อร้องโดย ปณต สุสุวรรณ เรียบเรียงโดย ปิยะพันธ์ จิตประภาวัลย์ บริษัท Temuzixki (TTzound Music Company) บันทึกโดย ธีรดา มิวสิค น้องเรียนอยู่ที่โรงเรียนลำปางกัลยาณี

http://www.thainame.net/รถม้า

งานเทศกาลรถม้าคาร์นิวัลนครลำปาง

กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2566 โดยมีการปล่อยขบวนพาเหรดรถม้าคาร์นิวัล กว่า 13 ขบวน โดยขบวนเริ่มจากหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง ไปตามเส้นทางถนนฉัตรไชย ห้าแยกหอนาฬิกา และไปตามเส้นทางถนนบุญวาทย์ สิ้นสุดขบวน ณ มิวเซียมลำปาง

ตื่นเต้นวันเปิดเรียน 2565

มีหลายช่วงเวลาที่ #ตื่นเต้น
เช่น สอบติด มอบตัว เข้าหอ เปิดเรียน เข้าสอบ
สอบเสร็จ ฝึกงาน ฝึกสอน
เรียนจบ รับปริญญา หางาน เริ่มงาน จบงาน

แล้ว 9 พ.ค.65
พบว่า มีหลายโรงเรียนในประเทศ
เปิดเรียน on site
ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น ก็เช่นกัน
ที่เปิดให้นิสิต #หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล
เข้าหอพัก แล้วจะเริ่มเรียนกันแล้ว
ก่อนเริ่มเรียน จะมีฝ่ายต่าง ๆ
ออกมาพบปะพูดคุยกับนิสิต
ชี้แจงทำความเข้าใจ ตอบข้อซักถาม
ให้นิสิต และผู้ปกครองในวันมอบตัว

ปล. ภาพจากแฟนเพจของ ม.เนชั่น

อ.ธวัชชัย แสนชมภู
คุณลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์

และพบว่า
วันนี้มีหลายโรงเรียนเปิดสอนแล้ว
เช่น โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
หรือ โรงเรียนตากพิทยาคม

โรงเรียนส่วนใหญ่เปิดเรียน on site ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565

https://www.thaiall.com/education/competency_based_curriculum.htm

Triam Udom School Admission

เตรียมอุดมฯ สอบเข้า ม.4 โรงเรียนเปิด พ.ค.65 นี้

ข่าว 5 มี.ค.65 ผู้ปกครองพาบุตรหลานเดินทางไปเข้ารับการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยมีนักเรียนเข้าร่วมสอบจำนวนมาก ที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จากการรายงานของโรงเรียน ทำให้ทราบว่าการสอบคัดเลือกครั้งนี้มีผู้สมัครสอบทั้งสิ้น 11,853 คน ทางโรงเรียนสามารถรับนักเรียนได้ 1,520 คนใน 8 กลุ่มแผนการเรียน คิดเป็นสัดส่วนรับได้ 1 คนต่อผู้เข้าสอบ 8 คน (7.79)

โดย 8 กลุ่มแผนการเรียน ประกอบด้วย 1) วิทย์-คณิต สมัคร 8471 คน 2) ภาษา-คณิต สมัคร 837 คน 3) ภาษา-ฝรั่งเศส สมัคร 468 คน 4) ภาษา-เยอรมัน สมัคร 395 คน 5) ภาษา-ญี่ปุ่น สมัคร 524 คน 6) ภาษา-จีน สมัคร 582 คน 7) ภาษา-สเปน สมัคร 203 คน 8) ภาษา-เกาหลี สมัคร 337 คน

https://www.tnnthailand.com/news/social/106911/

เห็นข่าวแล้ว ทำให้นึกถึงห้องในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่า เราจะได้เห็น ห้องสอบจักวาลนฤมิต ที่ช่วยให้นักเรียนไม่ต้องเดินทางไปสอบยังศูนย์สอบ แต่ศูนย์สอบเข้าไปอยู่ในจักรวาลนฤมิต ที่นักเรียนทุกคนจะเข้าไปสอบ ทำข้อสอบอย่างสร้างสรรค์ ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ ที่ดำเนินการสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถึงเวลาเรียนก็จะเรียนในห้องเรียนจักวาลนฤมิต ที่เปิดให้มีการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ยิ่งกว่าเดิม

Triam Udom School Admission

สถิติการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

7 โรงเรียนกวดวิชา ที่เด็กไทยให้การยอมรับ

ปัญหาครู ปัญหาเด็ก ปัญหาโรงเรียน ปัญหาระบบ หรือปัญหางบประมาณ
ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ในมุมมองของโรงเรียนกวดวิชา อาจมองวิกฤตเป็นโอกาส
ส่วนนักเรียนที่เข้าโรงเรียนกวดวิชาที่มีสาขากว่า 194 สาขานั้นของ 7 โรงเรียน
ก็อาจมองข้ามปัญหา แล้วตั้งใจเรียนพิเศษนอกเวลาเรียนปกติกับโรงเรียนกวดวิชา
เพื่อให้ได้สิทธิเข้าไปนั่งเรียนในคณะที่ชอบ มหาวิทยาลัยที่ใช่

ข้อมูลจาก manager.co.th โดย Life on Campus
บทความเมื่อ 17 ตุลาคม 2557

1. โรงเรียนกวดวิชา Enconcept E-Acadamy โดย ครูพี่แนน
เปิดสอนมา 19 ปี มี 33 สาขาทั่วประเทศไทย
จากสถิติการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียน ที่โรงเรียนเผยแพร่ พบว่า
– คณะทันตะฯ ศิริราช 65 %
– คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 52 %
– คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ 58.16 %
– คณะวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 51.33 %
– คณะเภสัชฯ ม.เชียงใหม่ 62.64 %
– คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 49.47 %
– คณะทันตะฯ ม.ขอนแก่น 65 %
2. โรงเรียนกวดวิชาครูสมศรี
มี 20 สาขาทั่วประเทศไทย
3. โรงเรียนกวดวิชา Davance โดย อาจารย์ ปิง เจริญศิริวัฒน์
มี 34 สาขาทั่วประเทศไทย
4. สถาบันพีนาเคิล หรือโรงเรียนกวดวิชาครูลิลลี่
มี 21 สาขาทั่วประเทศ
5. โรงเรียนกวดวิชาเดอะเบรน โดย อ.มนตรี นิรมิตศิริพงศ์ หรือพี่ช้าง
มี 31 สาขา
6. โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ หรือ เคมี อาจารย์อุ๊ โดย อ.อุไรวรรณ ศิวะกุล
มี 28 สาขา
7. โรงเรียนกวดวิชา Applied Physics โดย อ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์
มี 27 สาขา

หากรวมสาขาของโรงเรียนกวดวิชาทั้ง 7 แห่งก็จะมีถึง 194 สาขา
หรือจังหวัดละเกือบ 3 สาขาทีเดียว
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000119901

ห้ัามเปิดสอนเกิน 4 ทุ่ม
ห้ัามเปิดสอนเกิน 4 ทุ่ม

เกาหลีใต้: ความปราชัยของการศึกษา
ชัยชนะของรร.กวดวิชา พันธนาการที่สะบัดไม่หลุดของเยาวชน

http://campus.sanook.com/1127538/

สอบเข้าไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชา
สอบเข้าไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชา

แล้วก็ต้องสอนตัดต่อคลิ๊ปเด็ก ม.3 จนได้

เด็กที่บ้านต้องอาศัย อาจารย์กู (google.com) มาตั้งแต่ ป.5
พออยู่ ป.6 ครูก็ให้ตัดต่อคลิ๊ป ส่งซีดี .. ตอนนั้นผมก็ไม่ได้สนใจ
เพราะเด็กที่บ้านไม่ได้ขอให้ช่วย เห็นบอกแต่ว่าไปถ่ายที่สวนสาธารณะ
พวกเขาถ่ายคลิ๊ปเสร็จ แล้วก็ให้เขียนลงซีดีส่งครูไปเลย
บางปีก็เป็นงานกลุ่ม แล้วมีเพื่อนอาสารับไปทำ
ซึ่งผมก็ไม่เคยคิดจะสอน เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่วัย หรือสิ่งจำเป็นในสายอาชีพ
เพราะคนในสายอาชีพที่ควรตัดต่อบางคนก็ยังไม่ใส่ใจที่จะตัดต่อคลิ๊ป
แล้วจะให้เด็กมัธยมมาสนใจก็ดูเป็นเรื่องน่าแปลกอยู่นะ

และแล้วใน ม.3 มีงานกลุ่มทำคลิ๊ปเรื่องการกู้ภัย
เพื่อนรับนำคลิ๊ปที่ถ่ายแล้วไปตัดต่อให้ แต่หลังตัดต่อเสร็จก็เครื่องคอมฯ เสีย
สุดท้ายต้องกลับมาตัดต่อที่บ้าน แล้วผมก็ต้องสอนตัดต่อคลิ๊ปให้เด็ก ๆ จนได้
เมื่อวันที่ 17 ก.ย.57 ก็ต้องสอนใช้ proshow gold
เขาก็หา background จาก google.com แสนสวยมาเอง
เลือก effect ในโปรแกรม
และเลือกเสียงจากห้อง program files แล้วบันทึกเป็น .avi
ซึ่งนำไปเปิดทางทีวีผ่าน dvd player ไม่ได้
ถ้าจะให้ได้ก็ต้องเป็น mp4

สรุปได้ว่า วันนี้ก็สอนเด็ก ๆ ตัดต่อคลิ๊ปครั้งแรกที่บ้าน
เพราะจำเป็นต้องส่งงานในอีก 1 – 2 วันนี้แล้ว

น่าสะเทือนใจกับการปิดกิจการของโรงเรียน

น่าสะเทือนใจกับการปิดกิจการของโรงเรียน
1. โรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์เชียงใหม่
แจ้งการยกเลิกกิจการโรงเรียน 2 ธ.ค.2556
– โรงเรียนมีปัญหาด้านการค้างชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนของนักเรียน เป็นเงินกว่า 5.3 ล้าน
– กิจการของโรงเรียนขาดทุน เนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้มีการปรับอัตราเงินเดือนครูระดับปริญญาตรีเป็น 150,000 บาท
– การเปิดรับนักเรียนของโรงเรียนสังกัดอปท. ทำให้จำนวนนักเรียนลดลง
– ผศ.ดร.บุญณ์รัตน์ ไม่สามารถรับกับบริบทในการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน
– เจ้าของกิจการไม่ประสงค์จะสืบทอดกิจการ

2. 23 พ.ย.2553 โรงเรียนปัฐวิกรณ์วิทยา จะปิดกิจการแล้ว
น้องเขียนความรู้สึกต่อโรงเรียนได้สะเทือนใจครับ “ฉันอยู่โรงเรียนนี้มา 7 ปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 8 ฉันไม่เคยคิดว่าโรงเรียนแห่งนี้จะปิดกิจการลง เพื่อนและคุณครูทุกคนของฉันที่เคยอยู่ด้วยกันมาโดยตลอด ก็ต้องแยกจากกัน ความรู้สึกเก่าๆ มันก็ค่อยๆ จางหายไปเรื่อยๆ และในอนาคตโรงเรียนปัฐวิกรณ์แห่งนี้ก็คงกลายเป็นอดีตซึ่งทุกคนคิดถึงมัน และอยากให้มันกลับคืนมา ไม่มีใครรู้ว่าวันข้างหน้าโรงเรียนปัฐวิการณ์จะมีสภาพเป็นอย่างไร สุดท้ายฉันจะยังคงคิดถึงสถานที่แห่งนี้มาก และฉันจะจดจำไว้ว่าฉันเคยได้เรียนที่โรงเรียนปัฐวิกรณ์แห่งนี้…ลาก่อนปัฐวิกรณ์วิทยา…”
http://www.oknation.net/blog/Thailandneverdie2/2010/11/23/entry-1

3. 21 พ.ย.2551 ครูเอกชน เรียกร้องสภาช่วยดัน พ.ร.บ.ร.ร.เอกชน
เข้าสู่การพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน ระบุ หากช้าจะกระทบครู บุคลากร 40,000 คน
ได้รับความเดือดร้อน เผย มีโรงเรียนปิดกิจการไปแล้ว 13 แห่ง คาดปีหน้าปิดอีก 100 แห่ง
http://blog.eduzones.com/jipatar/13160

4. โรงเรียนเรวดี ปิดกิจการกลางปีพ.ศ.2553
http://www.komchadluek.net/detail/20090910/27888.html

5. โรงเรียนศึกษาสมบูรณ์อนุสรณ์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี๒๔๐๔
ขอเลิกกิจการโรงเรียน ปีพ.ศ.2554
http://www.dek-d.com/board/view/2057937/

* โรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์เชียงใหม่ ใน facebook
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=416236941813378&set=o.109357035752956

* โรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์เชียงใหม่ ในมติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1388838647&grpid=03&catid=&subcatid=

ชี้ยุบโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มภาระให้เด็กผู้ปกครอง-ทำลายชุมชน

10 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ข่าวขอนแก่น-บุคคลากรทางการศึกษาในภาคอีสาน ไม่เห็นด้วยยุบโรงเรียนเด็กเล็ก คาดกระทบพ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็กแน่ เพราะต้องไปเรียนไกลขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ตลอดจนทำลายวิถีชุมชน ชี้นโยบายนี้เป็นเรื่องทางการเมือง เชื่อการศึกษาจะมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ขนาดหรือจำนวนนักเรียน แต่อยู่ที่ผู้บริหาร และผู้คุมนโยบาย

small classroom
small classroom

http://www.psychtronics.com/2012/08/smaller-school-classes-increases.html

นายปัญญา แพงเหล่า ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จ.อุบลราชธานี แสดงความไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนขนาดเล็กเข้าด้วยกัน เพราะทำให้เสียเสาหลักของบ้านเมืองคือ บ.ว.ร. (บ้าน วัด โรงเรียน) ที่สืบทอดกันมานานเป็นร้อยปี และเป็นการทำร้ายจิตใจผู้ปกครองของนักเรียนอย่างรุนแรง เพราะโรงเรียนตามหมู่บ้าน ถือเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชุมชนนั้น การไม่มีโรงเรียนเหลืออยู่ในหมู่บ้าน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองรับไม่ได้แน่นอน

การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ยังสร้างผลกระทบในการเดินทางไปเรียนของนักเรียนที่เป็นเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กตามชนบทที่การคมนาคมยังเป็นถนนฝุ่น ถนนลูกรังเป็นส่วนมาก ฤดูฝนทำให้การเดินทางไปโรงเรียนลำบาก และยังเป็นการเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครองที่ต้องส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนที่ห่างไกลจากหมู่บ้าน

นายปัญญา ยังตอบคำถามกรณีครูผู้สอนอาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่อย่างไรก็ยังมีโรงเรียนให้สอนอยู่ดี แต่ผลกระทบตกอยู่กับเด็กนักเรียนและชาวบ้าน หากคิดว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็กมารวมกันเป็นเรื่องดี ทำให้คุณภาพการสอนดีขึ้น อยากให้ทดลองทำจังหวัดละ 1 โรงเรียน เป็นเวลาหนึ่งปีการศึกษา แล้วให้วัดผลก็จะรู้ว่าการยุบรวมกันไม่ได้ทำให้เรียนการสอนดีขึ้นแต่อย่างใด

สำหรับจุดประสงค์ที่ต้องการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก นายปัญญามองว่า เป็นเรื่องของนักการเมืองที่มองมุมเดียว ต้องการให้มีแต่โรงเรียนขนาดใหญ่ เพื่อบริหารจัดการเงินงบประมาณได้ง่าย ทั้งที่ความจริงโรงเรียนขนาดเล็กชุมชนเป็นผู้ดูแลเรื่องค่าน้ำค่าไฟมานานแล้ว ไม่ต้องใช้จ่ายงบประมาณที่รัฐจัดให้ด้วยซ้ำไป
ดังนั้น การอ้างค่ารายหัวของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่รัฐจัดให้ จึงไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นเกมของนักการเมือง เหมือนการยุบเขตการศึกษาทั่วประเทศมารวมกันกว่า2 ปี แต่คุณภาพการศึกษาไม่ได้ดีขึ้นเหมือนที่พูดไว้ ตรงข้ามกลับแย่ลงเรื่อยๆ นักการศึกษารายนี้ให้ความเห็นไว้

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี มีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 100 คน และอยู่ในข่ายที่ต้องถูกยุบประมาณ 150 แห่ง จากจำนวนโรงเรียนทั้งหมดกว่า 1,300 แห่ง

ดร.อุทัย ปลีกล่ำ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเลยตาดโนนพัฒนา อ.ภูหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 2 จ.เลย กล่าวว่า โรงเรียนนั้นอยู่ร่วมกับชุมชนมานาน มีการช่วยเหลือ ดูแลและมีการประสานงานในด้านต่างๆ ด้วยกัน เดิมนั้นเรามี บ้าน วัด โรงเรียน ที่อยู่ด้วยกันมาตลอด โรงเรียนนั้นเป็นศูนย์รวมการประสานความร่วมมือและการพัฒนาชองหมู่บ้าน ในหมู่บ้านซึ่งจะขาดไม่ได้ตรงนี้ ไปก็คงลำบาก

ส่วนข้อดี หากมีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจริง ๆ นั้น โรงเรียนไหนที่มีครูน้อย การจัดการไม่ครอบคลุม การเรียนการสอนก็อาจจะไม่คุ้มค่า หากจะมีการยุบโรงเรียนก็น่าจะมาบอกกันล่วงหน้าหลายๆ ปี ไม่เร่งรีบจนเกินไป หากจะยุบโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน ก็จะต้อง ศึกษาดีๆ หากจะยุบก็ให้ยุบโรงเรียนที่มีน้อยไปมาก ไม่ควรตั้งมาจาก 60 คน หากจะยุบจริงก็ให้ยุบโรงเรียนที่มีครู แค่ 1 หรือ 2 คน และให้เวลาโรงเรียนหรือชุมชนเหล่านั้นปรับตัว

ด้าน นายมงคล ชูทิพย์ ผู้อำนวยโรงเรียนมโนบุเรศรบำรุงการ เลขที่ 268 หมู่ที่ 1 ถนนเลย -ด่านซ้าย บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมืองเลย จ.เลย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 1 กล่าวว่า โรงเรียนนั้นผูกพันกับชุมชนมาช้านาน ยิ่งโรงเรียนนี้แล้ว ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจในชื่อโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนนี้ก็มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่ชื่อพระราชทาน จากสมเด็จย่า ชาวบ้านหวงแหนและถือเป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดเลย มีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ชาวบ้านในหมู่บ้านสามารถร่วมแก้ปัญหาในชุมชนและโรงเรียนได้ เป็นจุดบริการชุมชนในด้านวิชาการต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โรงเรียนเป็นเหมือนสถาบันในหมู่บ้าน
ขณะที่แหล่งข่าวระดับรองผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง แถบชานเมืองขอนแก่น กล่าวถึงนโยบายดังกล่าวของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการว่า หากมองในประเด็นยุบแล้วนำเด็กนักเรียนและครูไปรวมกับโรงเรียนขนาดที่ใหญ่กว่าที่ตั้งอยู่ไม่ไกลชุมชนเดิมของเด็กมากนัก ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้ปกครองมากนัก

แต่ทั้งนี้กระทรวงศึกษาฯ ต้องชัดเจนในแนวทางปฏิบัติว่า หลังยุบรวมโรงเรียนแล้วจะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ดีกว่าเดิมได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่ยุบรวมกันแล้วการเรียนการสอนยังเหมือนเดิม งบพัฒนาครู งบจัดซื้ออุปกรณ์เสริมทักษะเด็กไม่ได้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ เพราะยิ่งโรงเรียนใดมีเด็กนักเรียนน้อยและมีครูผู้สอนในอัตราส่วนที่พอเหมาะกับจำนวนนักเรียน ครูที่มีอยู่สามารถที่จะทุ่มเทความรู้ความสามารถทุ่มเทเวลาสอนเด็กได้เต็มที่ เมื่อเด็กมีน้อยการดูแลการสอนก็ทำได้อย่างทั่วถึง ดีกว่าโรงเรียนชื่อดังในตัวเมืองเสียอีก เพราะโรงเรียนยิ่งดังเด็กนักเรียนยิ่งเยอะการเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่เท่ากับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดเล็กควรได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลเป็นพิเศษ
การจัดการบริหารการศึกษาจะมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ขนาดของโรงเรียนหรือจำนวนนักเรียนว่าจะมีน้อยหรือมาก อยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารมากกว่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีและผู้ใหญ่ในกระทรวงผู้กำหนดแนวนโยบายว่าใส่ใจจริงจังที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชนมากน้อยแค่ไหนมากกว่า

–ASTVผู้จัดการออนไลน์–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32668&Key=hotnews

แจกฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) นักเรียนเอกชน

elearning harddisk
elearning harddisk

17 เมษายน 2556 นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กำหนดให้ปีนี้เป็น ปีแห่งการเพิ่มคุณภาพการศึกษาเอกชน มีเป้าหมายให้ร.ร.ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักเรียน ให้มีกระบวนการคิดอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ โดยนำนวัตกรรมการสอนที่เหมาะสมมาปรับใช้ ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต ให้คิดวิเคราะห์เป็น พัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น ต่อไปนักเรียนป.3 ต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง ป.4 ต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้ เป็นต้น โดย ร.ร.ต้องลดเวลาเรียนลง เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมมากขึ้น ส่วน ร.ร.นานาชาติ ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ร.ร.นอกระบบ ต้องผ่านการประกันคุณภาพภายในอย่างน้อย 1,500 โรง

“สช.มีมาตรการส่งเสริมการเรียนรู้ เพิ่มคุณภาพการศึกษาโดยรูปแบบหนึ่งคือ การแจกฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ที่มีข้อมูลการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) 5 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ระดับป.3-ป.6 และม.1-ม.3 ให้นำกลับไปฝึกทำที่บ้าน ใช้เป็นสื่อการสอนของครู ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองเชื่อมั่นในคุณภาพการเรียนการสอนของร.ร.เอกชน ว่าบุตรหลานจะได้รับการศึกษามีคุณภาพ จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2556 นี้” เลขาธิการ สช. กล่าว

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 17 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32433&Key=hotnews

เกณฑ์คำนวณครูต่อนักเรียนในระดับประถมและมัธยม

teacher criteria
teacher criteria

การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครู
โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

แบบ 1
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 120 คน ลงมา
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

– นักเรียน 1 -20 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 1 คน
– นักเรียน 21 -40 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 2 คน
– นักเรียน 41 -60 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 3 คน
– นักเรียน 61 -80 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 4 คน
– นักเรียน 81 -100 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 5 คน
– นักเรียน 101 -120 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 6 คน

แบบ 2
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 3
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ม.3 หรือ ป.1-ม.3

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1
อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา

อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 5 การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
อัตราส่วน ครู : นักเรียน = 1 : 12
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 35 : 1

จำนวนครูรวม = (35 x จำนวนห้องเรียน) / 12

จำนวนครูปฏิบัติการสอน = จำนวนครูรวม – จำนวนบุคลากรสายบริหาร

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
1 – 2 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน
3 – 6 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 1 คน
7 – 14 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 2 คน
15 – 23 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 3 คน
24 ห้องเรียนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 4 คน

หมายเหตุ ในการคำนวณตามสูตรหากมีเศษตั้งแต่ 0.1 ขึ้นไปให้ปัดเป็น 1
! http://www.saraeor.org/Job%20school3/km.kumlungkroo.htm
http://www.kroobannok.com/14836