student

vocabulary for student

แบบทดสอบศัพท์ภาษาอังกฤษ(ศัพท์ยาก)

แบบทดสอบศัพท์ภาษาอังกฤษ (ศัพท์ยาก : Vocabulary ) ในชุด 5 ข้อ แบบ : อังกฤษ เป็น ไทย คือ แบบฝึกปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก ทั้งการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นไทยและไทยเป็นอังกฤษ โดยข้อสอบระบบนี้เป็นหนึ่งในศูนย์สอบออนไลน์ของ thaiall.com/quiz ที่มีทั้งหมด 23 ระบบ

https://www.thaiall.com/cgi/qvoch.pl?5&E

ในเดือน กันยายน 2566 พบว่า มีน้องที่มหาวิทยาลัย ติดต่อกับศูนย์สอบ TOEIC ให้ไปจัดสอบให้กับนิสิต (student) ในมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับช่วงนี้มีการรายงานตัวของนักศึกษาใน โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นเข้าโครงการปี 2561 ที่ต้องผ่านเกณฑ์การสอบภาษาอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้คะแนนจากการสอบ TOEIC และพบว่ามีการโพสต์ และแชร์ผลสอบอยู่เสมอ

https://www.thaiall.com/education/krulovehome.htm

สำหรับ แบบทดสอบศัพท์ภาษาอังกฤษ(ศัพท์ยาก) ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลคำศัพท์จำนวน 9878 คำ แล้วสุ่มรอบละ 5 คำ สำหรับข้อสอบจำนวน 5 ข้อ มาสร้างเป็นคำถาม ส่วนตัวเลือกนั้นสุ่มความหมายมาให้เลือกรอบละ 4 ตัวเลือกในแต่ละข้อ ซึ่งคำศัพท์ชุดนี้ได้เลือกศัพท์ที่ใช้สำหรับการสอบในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป

แล้วพบว่ามีเพื่อน ๆ แชร์ลิงก์ข้อสอบเผยแพร่ในกลุ่มของตนจำนวนหนึ่ง เพื่อหวังให้ฝึกฝนการทำข้อสอบคำศัพท์ ดังนั้น ปีนี้จึงได้มีการปรับปรุงโค้ดข้อสอบ ให้มีหน้าตาที่ทันสมัยกว่ารุ่นเดิม และเขียน meta description ผ่านบริการ Yoast SEO แล้ว

แบบทดสอบคำศัพท์

7 อันดับคณะวิชา ที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด

ตามข้อมูลของ #มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน หลังรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามคณะวิชาต่าง ๆ แล้ว ได้มีการจัดทำรายงานสรุปผล เพื่อให้ข้อมูลเป็นสาธารณะ สำหรับนักศึกษา ผู้ปกครอง หรืออาจารย์ที่ดูแลหลักสูตรได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ หรือวางแผนต่อไป สำหรับนักศึกษาแล้วจะทำให้รู้ว่าเรียนคณะวิชาใดที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด ส่วนผู้ดูแลหลักสูตรแล้ว ทำให้ใช้วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค เพื่อพัฒนาต่อไป

โดยข้อมูลเมื่อปีการศึกษา 2566 พบว่า มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละคณะวิชาจำนวนเท่าใดแล้ว จึงได้นำข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนมาจัด #เรียงจากมากไปน้อย ทำให้รู้ว่าคณะวิชาใดมีเพื่อนเรียนเยอะที่สุด โดยผลการจัดเรียงเป็นดังนี้

  1. คณะครุศาสตร์ 547 คน
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 359 คน
  3. คณะวิทยาการจัดการ 239 คน
  4. คณะวิทยาศาสตร์ 167 คน
  5. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 115 คน
  6. คณะพยาบาลศาสตร์ 48 คน
  7. คณะเทคโนโลยีการเกษตร 20 คน

รวมประมาณ 1495 คน

จำนวนนักศึกษาคงอยู่ ณ ปัจจุบัน แยกตามคณะ
ข้อมูลล่าสุด ในปี 2566

7 อันดับสาขาวิชา ในคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีเพื่อนเรียนด้วยเยอะที่สุด

ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน หลังรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามสาขาวิชาในคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2566 แล้ว พบว่า มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชาเป็นจำนวนเท่าใด จึงได้นำข้อมูลจำนวนที่เข้าเรียนมาจัดเรียงจากมากไปน้อย ทำให้รู้ว่าสาขาวิชาใดมีเพื่อนเรียนเยอะที่สุด โดยผลการจัดเรียงเป็นดังนี้

  1. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(คณิตศาสตร์)
  2. สาธารณสุขชุมชน
  3. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
  4. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(ชีววิทยา)
  5. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(ฟิสิกส์)
  6. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(เคมี)
  7. เคมีประยุกต์

รวม 7 สาขาวิชามีเพื่อนรวมประมาณ 180 คน

เรียนล่วงหน้า เรียนทบทวน เรียนพิเศษ

เรียนล่วงหน้า เรียนทบทวน เรียนพิเศษ

เรียนพิเศษ

ะเรียนอนาคต เรียนปัจจุบัน เรียนอดีต หรือเรียนซ้ำแล้วซ้ำอีก มักต้องนึกถึงคำว่า เรียนพิเศษ หรือ เรียนกวดวิชา พบว่า เหตุผลหนึ่งที่ต้องเรียนพิเศษ คือ ครูไม่สอนในเรื่องที่อยากรู้ หรือครูสอนไม่เข้าใจ หรือที่ครูสอนนั้นไม่สามารถใช้แข่งขันได้ ดังนั้นการเรียนพิเศษ ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ช่วยควบคุมตนเอง ได้รู้แนวข้อสอบ เทคนิคเพิ่มเติมหรือมากกว่าเฉพาะในโรงเรียน
ดังนั้น ครูที่มี จรรยาบรรณวิชาชีพ ประจำใจ และมีความเชื่อมั่นในการสอนของตนเอง และมีความมั่นใจในสมรรถนะของผู้เรียนทั้งห้อง ว่ามีความรู้ความสามารถมากพอที่จะไปสอบแข่งขันในสังคมปัจจุบัน ก็จะไม่แนะนำให้นักเรียนขวนขวายหาเรียนเพิเศษ แต่ขอให้ตั้งใจเรียนในห้องเรียน ตามเนื้อหาที่คุณครูจัดเตรียมตามแผนการสอน เพียงเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

เหตุผลที่ต้องเรียนกวดวิชา
อันดับ 1 คือ เรียนเพราะอยากรู้ 83.28%
อันดับ 2 คือ เรียนเพื่อสอบแข่งขัน 80.58%
อันดับ 3 คือ เรียนเพราะครูสอนไม่เข้าใจ 76.62%
อันดับ 4 คือ ผู้ปกครองบังคับหรือเพื่อนชวน 65.80%
 อ่านต่อที่ : dailynews.co.th/education/367435/

เหตุผลที่ต้อง เรียนพิเศษ
1. เพิ่มความมั่นใจ
2. รู้จักบริหารเวลา
3. ได้แนวข้อสอบ
4. มักได้เทคนิคที่นำไปใช้ตอบโจทย์
5. เรียนล่วงหน้าหรือทบทวน
 อ่านต่อที่ : chulatututor.com/article/168

‘โรงเรียนกวดวิชา’ ในยุคนี้ไม่จำเป็นแล้ว หรือยิ่งจำเป็นมากกว่าเดิม

“พลัสเอ็ดดูเซ็นเตอร์” ธุรกิจกวดวิชา-โตสวนกระแสโควิด

I-STEP โรงเรียนกวดวิชา ที่รอดจากวิกฤติโควิด และบริหารโดยผู้หญิงอายุ 27

โป้ยเซียน

นิสิตทั้ง 8 เล่าเรื่องขายสินค้าออนไลน์

เมื่อปลายเดือนเมษายน 2565 มีนิสิตเล่าเรื่องการขายสินค้าออนไลน์ ฟังเพลินเลยครับ เพราะแต่ละท่านมีภูมิหลัง ที่มาที่ไป กระบวนการ และความสุขจากการขาย แตกต่างกันไป เรียกว่า หลากหลายรสชาติ ไม่ซ้ำกันเลย เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มีบางท่านที่ผมขอเป็นลูกค้าเค้าด้วยนะ สั่งสินค้ามาส่งที่ทำงานของผม ซึ่งเค้าก็โอเค (ทำให้นึกถึงเพื่อน 603 ที่เล่าเรื่องการเย็บกระเป๋าหนังทำมือ hand-made ที่แชร์ผลงานที่ได้ทำจากการเรียนเย็บกระเป๋าหนัง เสมือนผลงานส่งคุณครูก่อนจบรายวิชาที่เรียนออนไลน์ ผลงานกระเป๋าของเพื่อนดูดีมาก เห็นบอกว่าต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูง เช่น โซ่ทองเหลือง หรือเหรียญที่ใช้แต่งกระเป๋า)

กลับมาเรื่องลูกศิษย์ทั้ง 8 ที่ทำให้นึกถึงความเทพของแต่ละคน ก็ชวนให้นึกถึง 8 เซียนข้ามทะเล (eight immortals) ที่แต่ละผลงาน และความเป็นมาล้วนมีเสน่ห์แตกต่างกันไป น่าบันทึกไว้เพื่อเป็นบทเรียน นำไปบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่นิสิตแต่ละคนได้เลือกสินค้า พบว่า บางคนผลิตสินค้าภายในเครือญาติ บางคนมีอาชีพเสริมขายออนไลน์ บางคนฝันอยากเป็นเกษตรกร บางคนเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากจีน บางคนขายรถยนต์มือสอง บางคนเป็นนักสะสมหนังสือการ์ตูน บางคนชอบต่อเลโก้ บางคนมีสินค้าแบรนเนมที่ขายต่อแล้วได้ราคา

หากลงลึกไปที่ตัวสินค้า เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ที่นิสิตเค้าเลือกมาขายออนไลน์ เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ทันที ไม่จำกัดงบประมาณ เพศ วัย หรือวุฒิการศึกษา ซึ่งมีตัวอย่างที่ถูกหยิบมาเล่าอยู่เสมอ คือ น้องมิลค์ รัญชิดา ยายแอ๋วไลฟ์ขายเสื้อผ้า หรือ ฮาซันอาหารทะเล อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนิสิต ทั้ง 8 นำเสนอสินค้า ดังนี้ 1) แคบหมู แหนมหมู ไส้อั่ว 2) ชุดชั้นใน 3) ปลูกผักไฮโดโปรนิกส์ 4) สินค้าแฟชั่นนำเข้าจากจีน 5) ขายรถยนต์มือสอง 6) ขายหนังสือการ์ตูนบล็อกเซ็ต 7) ตัวต่อเลโก้ 8) กางเกงยีนส์ยี่ห้อมือสอง

https://web.facebook.com/363415133996355/posts/754420488229149/

https://www.thaiall.com/e-commerce/indexo.html

ลอย ชุนพงษ์ทอง กับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ดี

ลอย ชุนพงษ์ทอง เสนอให้มี 17 ข้อใน พ.ร.บ.ฯ

นั่งดูคลิปวิดีโอของ ลอย ชุนพงษ์ทอง
เรื่อง ชำแหละ #แผนการศึกษา #จุดจบความคิดสร้างสรรค์ #ใส่กรอบแบบเดียวกัน

พบข้อเสนอแนะว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ดี
ควรต้องมี 17 ข้อ ต่อไปนี้

  1. ระบุวิธีดำเนินการที่ให้รัฐจะจัดหา เพื่อให้สิทธิเด็กและประชาชนได้เรียนรู้ ตามความถนัด ตามท้องถิ่น ตามความเชื่อ ตามศักยภาพ ได้อย่างไร
  2. ระบุช่องทางที่รัฐ จะให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างไร
  3. ระบุช่องทางการตรวจสอบ จากภาคประชาชน เช่น งบการเงินของสถานศึกษา คะแนนโหวตของประชาชนในท้องถิ่น นำไปสู่งบของโรงเรียน
  4. ระบุหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต่อเด็ก
  5. ระบุสิทธิ เสรีภาพขอบเขตการแสดงออกของเด็ก และหน้าที่ในสถานศึกษา
  6. ระบุสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของครูในและนอกสถานศึกษา
  7. ระบุขอบเขตการลงโทษเด็กโดยครู
  8. ระบุขอบเขต และการคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการในสถานศึกษา
  9. ระบุกรอบและความเป็นอิสระของสถานศึกษาในการจัดการศึกษา
  10. ระบุภาระหน้าที่ของสถานศึกษาต่อชุมชน หรือภูมิภาค
  11. ระบุสิทธิในการศึกษาภาคพิเศษ เช่น ผู้พิการ ทางการ/สมอง นักบวช นักโทษจองจำ
  12. กำหนดหลักสูตรฯ ต้นแบบการสอน ประเมินผล โดยสถาบันส่งเสริมการสอนฯ
  13. กำหนดสัดส่วนเวลาที่ครูใช้ไปกับการสอน และการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  14. กำหนดหน่วยงานในการกำกับ ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา
  15. กำหนดภาระหน้าที่ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
  16. กำหนดบทลงโทษ หัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย แนวทาง หรือมติที่ออกไป
  17. แก้ไขกฎกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

https://www.thaiall.com/student/law.htm

เด็กอยากสอบโอเน็ต แต่ครูไม่ให้สอบ

เด็กทุกคนควรเข้าสู่ระบบทดสอบ เพื่อให้รู้ผลการเรียนตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา

ในอนาคต เมื่อเด็ก ๆ ได้เรียนหนังสือไปถึงระดับชั้นหนึ่ง ก็จะได้รับการวัดผลจากหน่วยงานที่เข้าใจการสอบมาตรฐาน และน่าเชื่อถือระดับชาติ ว่าประสิทธิผลการเรียนของแต่ละบุคคลอยู่ในระดับใด สะท้อนถึงประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนในระดับห้องเรียน ชั้นเรียน โรงเรียน และเขตพื้นที่ได้ ดังนั้นเด็กทุกคนจะได้รับสิทธิ์การสอบ เพื่อรู้ผลสอบ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะไม่มีคุณครูใช้สิทธิ์ห้ามเด็ก หรือสิ่งใดที่จะทำให้เด็กไม่ได้สอบอีกต่อไป แล้วการสอบประเมินสมรรถนะทางวิชาการของเด็ก ๆ จะต้องถูกจัดให้กับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม มิใช่คนใดคนหนึ่ง ส่วนเด็กที่เรียนแล้วไม่ต้องการรู้ผลสอบ ไม่ต้องการเข้าสอบ ก็เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่พึงมีของแต่ละคน

นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

http://www.thaiall.com/student/onet.htm

ปี 2559 ให้ทุนผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3395 ราย มาลุ่นกันว่า ปี 2560 จะได้กี่ราย

คุณครูที่ปรากฎในสื่อ
คุณครูที่ปรากฎในสื่อ

พบข่าวพัฒนาครูท้องถิ่น เป็นโอกาสสำหรับ
นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจอยากรับราชการครู ในปีการศึกษา 2560

ตามที่แฟนสาวของผมแนะนำมาว่าให้อ่านเรื่องนี้
อ่านที่ “ครูอัพเดตดอทคอม” แล้ว รู้สึกว่าน่าสนใจดังว่าจริง
http://www.krooupdate.com/news/newid-2450.html

มีเนื้อหาประมาณว่า

เมื่อจันทร์ที่ 9 ม.ค.2560 ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
มอบให้ สพฐ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
เพราะ สพฐ. เป็นผู้ใช้ครู จะได้จัดครูได้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่
มีระยะเวลา 2559 – 2572 งบทั้งหมดประมาณ 3800 ล้านบาท สำหรับผลิตครู 9264 คน
– ปี 2559 เป็นรุ่นแรก ที่รับผิดชอบหลักโดย สกอ.
– ปี 2560 เป็นรุ่นที่ 2 เปลี่ยนผู้รับผิดชอบหลักเป็น สพฐ.
โครงการเปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และรับประกันการมีงานทำ
มีรายละเอียดใน เดลินิวส์ เรื่องการต่อโครงการโดย สพฐ.
http://www.dailynews.co.th/education/547720

โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559
โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559

อ้างถึง ข้อมูลโครงการนี้ เมื่อปีพ.ศ.2559
พบ ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2559
มีผู้ผ่านการคัดเลือก 3,395 ราย
พบว่า โครงการนี้ให้โอกาสรวมถึงนิสิตนักศึกษาครูหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี
ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 5
แต่หากผลการเรียนสะสมที่กำหนดในเกณฑ์ ต่ำกว่า 3.00
ก็จะถูกตัดสิทธิ์การได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู
http://www.niets.or.th/protbyohec/file/announceprocbyohec.pdf
หรือ
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/751047131712774/

โครงการในปี พ.ศ.2559 พบรายละเอียดในประกาศข้างต้น
ว่ากำหนดวันรายงานตัว 16 ตุลาคม 2559
มีสาขาวิชาที่เข้าร่วมโครงการเกือบทุกสาขา
ดังนั้นนักเรียน นักศึกษาที่สนใจเป็นครู คงต้องรอติดตามข่าวสาร
และโอกาสที่จะมีมาสำหรับปีการศึกษา 2560 ต่อไป

ในทางการศึกษา มีอะไรก็ต้องบอกกันไว้ก่อน ว่าจะรับกี่คน มิเช่นนั้นจะไม่ผ่าน

นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

แต่ละปี จะมีข่าวการศึกษาที่ใหญ่หลายเรื่อง
อาทิ 31 ค.ค.2555 ก็มีมติยุบมหาวิทยาลัยอีสาน
กลางปี 2559 มีข่าว เปลี่ยนจาก admission เป็น entrance เริ่มปีการศึกษา 2561
แล้วสิ้นปี 2559 ข่าวนี้น่าจะใหญ่มาก คือ ไม่ให้ตั๋วบริหารการศึกษา
บอร์ดคุรุสภาไม่อนุมัติใบอนุญาตผู้บริหาร 4 มหาวิทยาลัย อีก 7 มหาวิทยาลัยให้ผ่านได้

ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

โดยที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้ 7 แห่ง ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
2. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)
3. มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)
4. มรภ.บุรีรัมย์
5. มรภ.สุราษฎร์ธานี
6. มรภ.เชียงราย
7. มรภ.ภูเก็ต

ส่วนอีก 4 แห่ง ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
3. วิทยาลัยทองสุข
4. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

เนื่องจากรับนักศึกษาเกินกว่าที่แจ้งให้ สกอ.
http://www.matichon.co.th/news/342244

ขอทำนาแทนทำข้อสอบ

https://www.facebook.com/tanpisitlive/posts/1196006627133158
https://www.facebook.com/tanpisitlive/posts/1196006627133158

นักเรียน .. “ขอทำนาแทนทำข้อสอบ” ผู้อ่านหลายท่านอาจรู้สึกแปลกใจ
แต่ถ้าผู้อ่านท่านใดได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา”
ก็คงจะรู้ว่าไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่อยากเป็น แพทย์ เภสัช ทันตะ วิศวะ
เด็กบางคนมีปู่ มีพ่อทำประมงในเขื่อนมาทั้งชีวิต ก็มีฝันจะทำประมงกับครอบครัวไปทั้งชีวิตเช่นกัน เด็ก(ที่บอกว่าทำนาแทน)คนนี้ก็ไม่ได้เห็นประโยชน์อะไรของการแก้สมการ ไม่เขียนแม้แต่บรรทัดแรกที่แสดงความพยายามแก้สมการ ก็คงเพราะเขาคิดว่าจะทำนาซึ่งคาดว่าเป็นอาชีพที่เขาคุ้นเคย มีคนไทยไม่น้อยประสบความสำเร็จจากอาชีพทำนา
.. เรียกว่า วัตถุประสงค์ไม่ตรงกัน หรือมีการเลี้ยงดูทางการศึกษาแตกต่างกัน
http://www.thaiall.com/student/

+ ไปอ่านเม้นท์ที่ผู้คนเค้าแลกเปลี่ยนกันเรื่องนี้ได้ครับ
https://www.facebook.com/kapookdotcom/posts/1166799276690246
+ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน และลูกลุงจบปริญญาทุกคน เกียรตินิยมด้วย
http://hilight.kapook.com/view/42576