เป็นครูก็ต้องคาดหวังว่านักเรียนจะได้อะไรอะไร .. สูงสุด

เตือนสติตนเองว่า “อย่าเอามาตรฐานของครู ไปยัดเยียดให้ใครเขา
อันที่จริงก็มาจากหนังเรื่อง “คิดถึงวิทยา”
เป็นเรื่องของครูสอง ครูแอน และครูหนุ่ย
ครูแอน สอนเด็กที่เรือนแพ เด็กเกือบทุกคน อยากเป็นคนหาปลา
แต่ครูแอนจะสอนให้เรียนสูง เป็นหมอ เป็นวิศวะ เป็นเหมือนที่ครูแอนฝัน
[เด็กคิด] … อ้าว เป็นหมอ นั่นมันฝันของครู
[เด็กคิด] .. ผมอยากเป็นคนหาปลา .. “เลิกเรียนดีกว่า
สุดท้ายลูกศิษย์คนโตก็เลิกเรียน ไม่จบ ป.6 แล้วไปช่วยพ่อหาปลาในเขื่อน
..
ปีต่อมา ครูสอง มาสอนแทนครูแอน
ครูสองไม่เก่งเท่าครูแอน แต่อยากให้เด็กได้ความรู้
คิดวิธีต่าง ๆ นานามาสอนให้เด็ก ๆ มีความสุข
พาเด็ก ๆ นั่งรถไฟ เพราะเด็ก ๆ ไม่เคยนั่ง
ไปตามเด็กที่เลิกเรียน ป.6 มาเรียนต่อ เรียนให้จบจะได้ไม่ถูกใครเขาโกง
แล้วครูไปช่วยพ่อเด็กหาปลาในวันหยุด
สอนแล้วเด็กมีความสุข แต่ตกเกือบทั้งชั้น
..
สุดท้ายครูแอนก็ต้องเลือกว่า
จะไปแต่งงานกับครูหนุ่ย คนที่เคยรักกันมานาน
แล้วสอนนักเรียนในเมืองห้องละ 50 คน ที่อยากเรียนไปเป็นหมอ
หรือจะศึกษาดูใจกับครูสอง อย่างมีความสุข
แล้วสอนที่เรือนแพ มีเด็กไม่ถึง 10 คน ให้เด็กจบ
แล้วก็เป็นชาวประมงอยู่ในเขื่อน พอใจกับชีวิตพอเพียงแบบบรรพบุรุษ

ปล. น้องปุ๋ยแนะนำให้ดู แกมบังคับ เพราะเปิดในรถตู้ไปบางกอก
..
เคยอ่านบทความ การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ซึ่งสหกิจ กับฝึกงานนั้นต่างหลายประเด็น
1. ฝึกงานใช้เวลา 3 เดือน แต่สหกิจใช้เวลา 4 เดือน
2. เป้าของฝึกงานไม่มี แต่สหกิจต้องมีโครงงานที่นักศึกษาทำเป็นชิ้นเป็นอันให้องค์กร
3. สหกิจต้องมีอาจารย์นิเทศร่วมที่เป็นคนขององค์กร และเข้าใจเรื่องสหกิจชัดเจน
4. สหกิจคาดว่าสิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ มากกว่า การฝึกงาน
http://www.thaiall.com/e-book/coop/
..
เรื่อง คิดถึงวิทยา เป็นการต่อสู่กันระหว่าง
– พุทธิพิสัย
– ทักษะพิสัย
– จิตพิสัย
การเรียนการสอนโดยทั่วไปก็ต้องมี  3 ด้านนี้ แต่ถ้าหนักทางใดมากไป ก็จะเป็นปัญหา
..

การประเมินของ สกอ. เกณฑ์ใหม่มี 2557
ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอพัฒนาเกณฑ์คุณภาพของตนเอง
แทนการใช้เกณฑ์ระดับหลักสูตรที่ สกอ. กำหนด เพราะ สกอ. เน้นกระบวนการ
ไม่เน้นการดูที่ผลลัพธ์ นั่นก็จะหนักไปทางพุทธิพิสัยมากกว่าด้านอื่นชัดเจน

มธ. ขอเวลาพัฒนาเกณฑ์ 1 ปี แบบจุฬาฯ
มธ. ขอเวลาพัฒนาเกณฑ์ 1 ปี แบบจุฬาฯ

http://board.siamtechu.net/home.php?mod=space&uid=5988&do=blog&id=568


สรุปว่า
เป็นครูก็อย่าคิดว่านักเรียน จะนำความรู้ไปใช้อย่างที่ครูหวัง
ต้องเผื่อใจไว้ว่าเป้าหมายการเรียนของเด็กแต่ละคน .. อาจไม่เหมือนครู
อย่าคิดว่าใคร จะคิดเหมือนเรา
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000048106