IT in Daily Life

บทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2548 จนถึงมิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง

ปรับให้ชิดขอบทั้งซ้ายและขวา

เพื่อนทัก ชวนมอง text-align : justify ในบทความ

นึกถึงเพื่อน ๆ และโฆษณาอุปกรณ์ออกกำลัง
กับคำว่า #เอวเล็กเพื่อนทัก
ผมคิดว่าไม่ใช่แค่เอวนะครับ อะไรเล็กเพื่อนก็ทัก
เมื่อวาน มีเพื่อนทัก เรื่องการใช้ css tag
ที่ชื่อ text-align กำหนดค่าเป็น justify
ซึ่งที่ผ่านมา พบ thai-justify บน microsoft word
ที่เพื่อน ๆ ใช้เขียนบทความ พบใช้เขียนกันทุกบทความ ทุกเวที
Paragraph ไหนไม่มี thai-justify เป็นต้องโดนทัก
แต่กับการเขียน webpage แล้ว ผมก็ยังไม่เคยใช้ properties นี้

วันนี้ 26 กุมภาพันธ์ 2565 ได้เริ่มปรับการแสดงผลบทความ
หัวข้อ “รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
มีผลให้เนื้อหาในบทความทั้ง 45 เรื่อง
ชิดขอบซ้าย และขอบขวา ซึ่งค่า default การแสดงผล มักชิดแต่ขอบขวา
นับจากนี้ เมื่อเตรียมเนื้อหา ก็จะมองหาตำแหน่งที่จะใช้ justify
เพราะการปรับ justify ทำให้เนื้อหาดูเป็นระเบียบชิดขอบสวยงาม
เหมือนที่พบใน บทความวิชาการในวารสาร thaijo
เหมือนที่พบใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุม conference
เหมือนที่พบใน รายงานวิทยานิพนธ์ที่สืบค้นได้จาก thailis

การเขียนคำสั่งที่น่าสนใจมี 3 แบบ บน IE
text-align:justify;
text-align:justify;text-justify:inter-word;
text-align:justify;text-justify:inter-cluster;

ทดสอบบน IE แต่ Browser อื่น ไม่รับรองว่าจะได้ผล
burin1 line sticker

วาดสติ๊กเกอร์ แบบ hello world ส่งขาย 35 บาท

line sticker

ช่วงสายของวันที่ 9 ก.พ.65 ได้สมัคร Line Creators Market เพื่อวาดไลน์สติ๊กเกอร์ส่งขาย โดยค้นข้อมูล แล้วศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 1) การสมัครและขาย Line Sticker 2) การสมัคร Line pay 3) การสร้าง Line sticker แบบ PNG 4) การอัพโหลด Line sticker 5) การซื้อ Sticker ของตนเองมาใช้
แล้วเมื่อวันที่ 15 ก.พ.65 ก็ได้รับแจ้งผ่านอีเมลว่า Your stickers are now on sale โดยขั้นตอนดำเนินการดังนี้ 1. ใช้ Powerpoint วาดภาพ (ผมไม่เลือกใช้ภาพถ่ายครับ) 2. กำหนดขนาดกว้างยาวมากกว่า 240px 3. บันทึกเป็น png (อันที่จริงผมสนใจ .svg ซึ่งเป็น code) 4. สร้างภาพขึ้นมา 8 ภาพที่เป็น sticker (มีเพื่อนทักว่าจำนวนน้อยไป) 5. อัพโหลดแล้วรอขาย (กรณีของผมรอ 6 วัน)

สำหรับการทดสอบบันทึกภาพ .png แบบไร้พื้นหลัง (Save Transparency as Alpha channel + etc.) เปรียบเทียบกัน ที่ burin_2565.htm โดยผลงานที่อัพโหลดเป็นภาพเซต burin1 นี้ นับได้ว่าเป็นชุดแรกที่ต้องการเรียนรู้ระบบของ Line Creators Market แต่ผมไปพะวงเรื่องขนาดกว้างยาวที่ระบบยอมรับ เมื่อแก้ไขจนพบขนาดที่ accepted แล้ว ในขณะอัพโหลดนั้น พบว่า ลืมลบพื้นหลังทำให้ภาพมีพื้นสีขาวอย่างที่เห็น หลังอัพโหลดได้กลับมาทดสอบเปรียบเทียบระหว่าง iview alpha และ remove.bg พบว่า iview ลดขนาดได้มากกว่า และคุณภาพดีกว่า มีตัวอย่างใน burin_2565.htm

https://www.thaiall.com/line/

การใช้ puffin tv browser บน android tv

เมื่อได้ smart tv ของ Haier รุ่น LE32K9000T และต้องการใช้งาน browser

เริ่มต้นด้วยการติดตั้ง puffin tv browser ผ่าน play store บน android tv เมื่อติดตั้ง app ใหม่ เพิ่มเข้าไปแล้ว ก็คลิ๊กเปิด app เพื่อใช้งาน browser บน android tv จะพบตัวเลือก “เพิ่ม url จากมือถือ” เพื่อทำการ scan qr code ที่พบบน browser เมื่อ scan จาก smart phone อีกเครื่องแล้วก็จะเข้า cloudmosa.net เพื่อพิมพ์ url ในช่องว่าง ซึ่งง่ายกว่าบน android tv ที่ใช้ tv remote control เมื่อกดปุ่ม ส่ง url แล้ว Url ก็จะถูกส่งไปบน puffin tv browser เพื่อสั่งเปิดตาม url ได้โดยสะดวก

แล้วยังพบว่าภาษาไทยแสดงผลได้ปกติ และบน browser เหมือนมี mouse ที่ควบคุมได้ด้วย tv remote control สามารถคลิ๊กลิงค์ได้ง่าย แล้วยังพบว่า font จุฬาภรณ์ลิขิต สามารถแสดงผลได้ปกติ ซึ่งผมใช้ฟอนต์นี้บนเว็บไซต์ทุกเว็บเพจ เพราะฟอนต์ถูกออกแบบมาให้แสดงบนเว็บเพจได้ชัดเจน และสวยงาม

หน้าแรกของ Puffin tv browser เลือก เพิ่ม URL จากมือถือได้
พบ QR Code เพื่อเชื่อมกับ smart phone ที่จะเป็นตัวส่ง url มาให้ puffin tv browser
ใช้ smartphone ส่ง url ไปให้กับ puffin tv browser

#เล่าสู่กันฟัง 63-002 กฎการเรียน ข้อ 1

ปัจจุบันสำหรับนักเรียนแล้ว จะมีข้อมูล สารสนเทศ กฎ กติกา ระบบ ระเบียบ เงื่อนไข โอกาส ภัยคุกคาม สิ่งล่อ สิ่งเร้า ทั้งจากในตนเอง ในกลุ่มเพื่อน ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน ในประเทศ หรือในโลก วิ่งเข้ามาหา มาชนตลอดเวลา แบบที่เรียกว่า Too fast to think แล้ว

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เคยโพสต์ไว้ใน AJWiriya
ทำให้ฉุกคิดได้ว่า น่านำมาตั้งเป็นกฎได้ 2 ข้อ ดังนี้

กฎข้อ 1
เรียนเพื่อทำงานได้
ไม่ใช่เรียนเพื่อของานใครทำ
เรียนเพื่อปัญญา
ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา

กฎข้อ 2
ถ้ามีกฎใดชวนคิดต่าง
ก็อย่าเสียเวลาให้มากนัก
ให้กลับไปมอง กฎข้อ 1

สรุปว่า #เรียนเพื่อทำงานได้
เป็นคาถาที่อยากฝากไว้เป็น #แรงบันดาลใจ
ฝั่งอยู่ในใจ และคิดถึงบ่อย ๆ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157186345671171&id=284423006170

ชวนดูหนังเรื่อง
#สยบฟ้าพิชิตปฐพี (ever night)
ที่เข้ากับคำว่า #เรียนไว้ใช้ ได้ดีจริง ๆ
http://thaiall.com/handbill/

สังคมไม่ยอมรับการทุจริตสอบ (itinlife552)

จดโน้ต กันลืม
จดโน้ต กันลืม

ไม่มีสังคมใดในโลกยอมรับการทุจริต เพราะการทุจริตสอบของนักเรียนคนหนึ่ง หมายถึงการเอารัดเอาเปรียบนักเรียนคนอื่นที่ร่วมกันสอบทั้งหมด คุณครูเองหรือกรรมการคุมสอบก็จะยอมให้มีการทุจริตสอบเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นความไม่ยุติธรรมต่อผู้เข้าร่วมสอบแข่งขันทั้งหมด ทุกครั้งที่มีข่าวการทุจริตก็จะเป็นที่สนใจของสังคมทั้งทุจริตสอบครู สอบตำรวจ หรือสอบแพทย์ ยิ่งสื่อสังคมได้รับความนิยมเท่าใด การทุจริตก็ยิ่งเป็นที่สนใจ แพร่ได้เร็ว และได้รับการติดตามใกล้ชิด ทำให้การพิจารณาโทษของการทุจริตเป็นเรื่องผ่อนปรนไม่ได้ เพราะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่ดำเนินการตามระเบียบที่บัญญัติไว้

การทุจริตสอบเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ที่เกิดขึ้นได้ง่ายและเห็นในภาพยนตร์ ก็มีทั้งแบบที่รู้คำตอบล่วงหน้าก่อนเข้าสอบจากการที่ข้อสอบรั่ว และแบบที่ไปหาคำตอบกันในห้องสอบ หากทุจริตคนเดียวก็จะใช้วิธีแอบจดสูตร สมการ ขั้นตอน หรือแนวคำตอบเข้าห้องสอบ อาจเป็นกระดาษซ่อนไว้ในชายเสื้อ กระเป๋าลับ หรือจดไว้ตามแขนขาฝ่ามือ หากทำกันหลายคนก็อาจเป็นการส่งคำตอบให้กัน ผ่านกระดาษโน้ต ยางลบ แลกกระดาษคำตอบ แลกข้อสอบที่จดคำตอบลงไปแล้ว การยกกระดาษคำตอบให้เพื่อนรอบโต๊ะได้เห็นและลอกตาม นั่งตัวเอียงให้เพื่อนด้านหลังได้เห็นคำตอบ การส่งสัญญาณมือ หรือใช้ภาษากายอื่น การผลัดกันออกไปเข้าห้องน้ำ แล้วใช้ห้องน้ำเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีโบราณที่สุด คือ พูดคุยกันในห้องสอบ เหมาะกับห้องสอบที่มีขนาดใหญ่ และชิดกัน

การใช้เทคโนโลยีในยุคนี้ปรากฏเป็นข่าวดังหลายครั้ง ถ้าใช้อุปกรณ์ในระดับบุคคล หรือระหว่างสองคนก็เป็นเพียงการแอบพกอุปกรณ์เข้าห้องสอบ เพื่อแอบเปิดอุปกรณ์ค้นหาคำตอบ หรือหาข้อมูลที่เกี่ยวกับคำถาม อาจใช้สื่อสารกันผ่านบรูทูช แชท อีเมล หรือเอสเอ็มเอส แต่ที่ยอมรับไม่ได้และมีโทษร้ายแรง คือ การใช้อุปกรณ์ที่ทำกันเป็นกระบวนการมีความผิดตามกฎหมายทั้งลักทรัพย์และฉ้อโกง ด้วยการมีผู้รับจ้างจัดเตรียมอุปกรณ์ มีทีมเข้าไปนำข้อสอบออกมา ทีมทำหน้าที่เฉลยคำตอบ ทีมส่งคำตอบกลับไปให้ผู้สอบ และกลุ่มผู้สอบที่ทำการทุจริต อุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ก็ต่างกันไปในแต่ละครั้ง มีทั้งแบบแนบเนียนที่ใส่ไว้ในทวารหนัก หรือสวมให้เห็นกันเลยก็มี ต่อไปจะทุจริต หรือจะคุมสอบก็ต้องคิดกันเยอะขึ้น เพราะมีบทเรียนมาให้เรียนรู้กันหลายบทแล้ว

กระบวนการทุจริต แบบใช้อุปกรณ์ร่วมกับการรับจ้างสอบ

http://www.dailynews.co.th/education/397229

http://www.unigang.com/Article/9009

นักเลงคีย์บอร์ด (itinlife472)

มีโอกาสฟังเพลงนักเลงคีย์บอร์ดที่ขับร้องโดยแสตมป์ ซึ่งเนื้อเรื่องในคลิ๊ปวีดีโอสะท้อนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเด็กนักเรียนหญิงสองคนที่ดูเหมือนมีความรักต่อกัน สื่อสารกันผ่านโปรแกรมไลน์ (line) นานนับปี จนกระทั่งต่างบอกรักกันและกันอย่างสนิทสนม เหตุการณ์คือเป็นการนัดพบครั้งแรกของทั้งสองที่ไม่เคยพบกัน ไม่ทราบประวัติของกันและกันมาก่อน เมื่อถึงเวลานัดพบฝ่ายที่โกหกว่าตนเองเป็นผู้ชายชื่อน้องแบงค์ได้เห็นหน้าของฝ่ายหญิงที่ใช้ชื่อว่าน้องพิมพ์กลับไม่ได้แสดงตัว แต่เดินหนีออกมาจากจุดนัดพบ และปล่อยให้น้องพิมพ์ผิดหวังที่อีกฝ่ายผิดนัด โดยให้เหตุผลว่าไม่กล้าพูดออกไป เพราะถนัดที่จะพิมพ์มากกว่า เมื่อทุกอย่างผ่านไปกลับแก้ปัญหาด้วยการลบตัวตนของน้องแบงค์ทิ้ง แล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ว่าน้องต้น เพื่อเข้าไปพูดคุยกับน้องพิมพ์อีก เป็นการเริ่มต้นโกหกครั้งใหม่และหลอกว่ามีเพศเป็นชายอีกครั้ง

คำว่านักเลง (Gangster) คือ คนที่จริงจัง มุ่งมั่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงคนเกะกะเกเร เช่น นักเลงรถคือคนที่มุ่งมั่นจะศึกษาเรื่องรถ นักเลงพระคือคนที่สนใจเรื่องพระเป็นพิเศษ ดังนั้นนักเลงคีย์บอร์ดคือคนที่มุ่งมั่นจะสื่อสารผ่านแป้นพิมพ์บนสมาร์ทโฟนมากจนทำให้การสื่อสารด้วยการพูดคุยโต้ตอบ หรือส่งเสียงแลกเปลี่ยนซึ่งหน้าด้อยลงไป กรณีของมิวสิกวีดีโอนี้ก็เช่นกัน สะท้อนว่าน้องที่ใช้ชื่อว่าแบงค์ติดกับสังคมก้มหน้ามากเกินไป ไม่เคยชินกับการใช้คำพูดในการสื่อสาร แต่ถนัดการใช้แป้นพิมพ์จนสามารถเลือกใช้คำได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดจากปากกลับรวบรวมความกล้าไม่ได้และเลือกหนีความจริงกลับไปอยู่ในโลกเสมือนจริงที่ไม่มีใครตรวจสอบได้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ไม่มีใครรู้ จะโกหกคนที่รักซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ไม่มีใครมาว่ากล่าวตักเตือน

น่าเสียดายที่คลิ๊ปนี้ไม่ได้สอนให้เยาวชนตระหนักถึงผลเสียของการโกหกให้ชัดเจนกว่านี้ แต่กลับเปิดมุมมองว่าสมาชิกของสังคมก้มหน้าสามารถโกหกซ้ำแล้วซ้ำอีก ปล่อยให้คิดต่อเองว่าผลจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน แต่ถ้าคลิ๊ปนี้เพิ่มบทเรียนเชิงลบจากการโกหกให้ชัดเจนขึ้น ก็อาจช่วยให้ผู้คนลดการโกหก ตระหนัก และให้ความสำคัญกับการสื่อสารซึ่งหน้าเพิ่มขึ้น ลดบทบาทสังคมก้มหน้าลง เพราะในชีวิตจริงผู้คนรอบตัวเรายังรอคอยการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งหน้าอย่างจริงใจ มิใช่อยู่ด้วยกันแต่เหมือนต่างคนต่างอยู่อย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ตัวอย่างคำถามในข้อสอบอัตนัย

http://www.dek-d.com/admission/27780/

อยากให้นักศึกษาเตรียมตัวกันแต่เนิ่น ๆ
อีกไม่ถึงเดือนก็จะสอบกลางภาคแล้ว
มีตัวอย่างคำถามในข้อสอบ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ดังนี้
1. What are the advantages of …
เช่น อะไรเป็นประโยชน์ของ online shopping cart
2. What is the meaning of …
เช่น อะไรคือความหมายของ RFID
3. List 5 names of …
เช่น บอกชื่อบริษัทด้านไอที และสินค้าที่โดดเด่นของบริษัทนั้น มา 5 บริษัท
4. Explain about device that has …
เช่น อธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มีระบบ Finger scan
5. What are the functions of …
เช่น อะไรเป็นหน้าที่ของ Switch (อย่าตอบตาม dictionary นะครับ)

ผมมักให้กำลังใจนักศึกษาไปว่า
ตอบมาเถอะ มาอย่างไรก็จะได้คะแนนตามนั้น
แต่ถ้าไม่เขียนอะไรมาเลย แล้วจะให้ตรวจอะไรล่ะครับ

ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล (TV digital peel)

ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล (TV digital peel)
ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ เจ้าของวิทยานิพนธ์ Digital TV in Thailand
ที่มา: เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

! http://mediamonitor.in.th/archives/3708
! http://www.sikares.com/
! http://www.nstda.or.th/news/12133-nstda

ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ Digital TV
ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ Digital TV

หากถามถึงการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ ระบบโทรทัศน์ใหม่ที่กำลังจะเกิดในประเทศไทยอย่าง ‘ระบบดิจิทัล’ หรือที่เราเรียกกันสั้นว่า ‘ทีวีดิจิทัล’ นั้น คนไทยส่วนมากก็พอจะรับทราบกันในระดับหนึ่ง และเป็นช่วงระยะเวลามาช่วงหนึ่งพอสมควร

ที่สำคัญ ล่าสุด ซึ่งคงถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับคนไทยคือ มีการยืนยันจาก พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แล้วว่า คนไทยจะได้ชมภาพและฟังเสียงจาก ‘ทีวีดิจิทัล’ เป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 นี้อย่างแน่นอน

โดยในการประมูลช่องทีวีดิจิทัลทั้ง 30 ช่อง ในช่วงปี 2556 นี้ จะแบ่งเป็นช่องธุรกิจ 24 ช่อง และช่องสาธารณะ 6 ช่อง จากทั้งหมดที่จัดสรร 12 ช่องในกลุ่มสาธารณะ ส่วนช่องอื่นๆ ที่เหลือรวมทั้งทีวีดิจิทัล ประเภทชุมชน จะมีการจัดสรรใบอนุญาตให้ในปีหน้าฟ้าใหม่ต่อไป รวมเป็น 48 ช่อง

อย่างไรก็ดี ยังมีแง่มุมของความห่วงใยจากนักวิชาการ ที่ต้องเรียกว่า เชี่ยวชาญด้านทีวีดิจิทัลเลยก็ว่าได้ นั่นคือ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ ผู้เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หัวข้อ Digital TV in Thailand ผู้ที่ได้ดีกรีดอกเตอร์ PhD in International Communication Macquarie University Sydney Australia

โดยระหว่างที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) คงกำลังคร่ำเคร่งให้การประมูลครั้งที่จะเกิดขึ้นผ่านไปด้วยดี นั้น ค่าที่ได้ศึกษาบทเรียนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้ง เนชั่นสุดสัปดาห์จึงได้โอกาสเข้าสัมภาษณ์ เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ แนวคิด ความคิดเห็น ในเชิงเปรียบเทียบว่า ในการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิทัลทีวี หรือเรียกว่า ‘อนาล็อคสวิทช์ออฟ ดิจิทัลสวิชท์โอเวอร์’ ที่กำลังจะเกิดในประเทศไทย แตกต่างหรือเหมือนหรือมีแนวโน้มที่จะเดินตามรอยทีวีดิจิทัลในต่างประเทศอย่างไร

เบื้องต้นต้องบอกว่า สิ่งที่ได้จาก ดร.สิขเรศ ในฐานะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญไม่แค่เรื่องทีวีดิจิทัล แต่ยังรวมไปถึงนิวมีเดีย และองค์ความรู้ทางสื่อสารมวลชนในด้านต่างๆ คือการฉายภาพให้เข้าใจกันง่ายๆ พร้อมตั้งคำถามหลายๆ คำถามไปพร้อมๆ กัน เกี่ยวกับภาพของอนาคตทีวีดิจิทัลไทย แบบเป็น Scenario Thinking หรือ กระบวนการคิดและคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคต เนื่องจากได้ศึกษาทีวีดิจิทัลมาแล้วด้วยตัวเองถึงโมเดลของประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ

อนึ่ง ปัจจุบัน ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ มีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ‘การบริหารจัดการสื่อใหม่’ (Master of Communication Arts Program in New Media Management : NMM) ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น อันเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย ที่ใช้กรณีศึกษาจากที่เกิดขึ้นจริงในโลกนิวมีเดียสมัยใหม่มาให้นักศึกษาระดับปริญญาโทได้เรียนรู้การบริหารจัดการให้พัฒนาและอยู่รอด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสื่อยุคใหม่ที่รวดเร็ว

ยังมีสาระข้อมูลอีกมากเกี่ยวกับนิวมีเดีย และกระบวนทัศน์ต่างๆ ทางสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสื่อฯ ที่ ดร.สิขเรศ นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ ติดตามได้ที่ http://www.sikares-digitalmedia.blogspot.com, https://twitter.com/sikares และ https://www.facebook.com/drsikares อาจารย์ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง Digital TV in Thailand ทำไมสนใจเรื่องนี้

ครับ ผมทำทีสิส (Thesis) เล่มนี้ในช่วงปี 2004-2007 โดยประมาณ แล้วด้วยความที่ผมทำงานด้านโปรดักชั่นมาก่อน จนถึงโปรดิวเซอร์ สิ่งที่สนใจอย่างน้อยๆ มันก็ต้องแบ็คกราวด์ของตัวเราเอง แบ็คกราวด์ของเราก็อยู่ในแวดวงโทรทัศน์ ภาพยนตร์มาก่อน เพราะฉะนั้นเลยเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และช่วงนั้นเป็นช่วงรอยต่อการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อคไปสู่ดิจิทัลพอดี ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือออสเตรเลีย เหมือนบ้านเราตอนนี้ เขาเริ่มมีกระบวนทัศน์ตรงนี้เกิดขึ้นแล้ว แต่ทีนี้ เข้าเนื้อหาก็คือว่า กระบวนทัศน์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลบ้านเรา จริงๆ แล้วมีมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 ก็คือช่วง 1998-99 ตอนนั้นเป็นช่วงที่เป็นการแข่งกันของเจ้าพ่อเทคโนโลยีของโลก เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เพราะฉะนั้นตอนนั้นเป็นเรื่องของการชิงธงความเป็นเจ้าพ่อทางด้านเทคโนโลยีบรอดคาสติ้ง จากยุคอนาล็อคมาสู่ยุคดิจิทัล

เป็นเจ้าพ่อเพื่ออะไร

ก็คือตอนนั้นใครที่จะสามารถโน้มน้าวใจ พูดง่ายๆว่า พวกนี้คือสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งหมด คำว่าเทคโนโลยีที่จริงก็คือสินค้านั่นเอง คือกระบวนการทุนนิยมนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราจะลองตีความนัยทางเศรษฐศาสตร์การเมืองก็ได้ จะเห็นว่ามันเป็นกระบวนการที่เราจะผ่องถ่ายเทคโนโลยีตรงนี้มาอย่างไร ในที่สุดก็รบกันซักพักหนึ่ง แต่ละประเทศก็ใช้ระบบและวิธีคิดของตัวเอง จนมีการเปลี่ยนผ่านจริงๆ ก็ในช่วงปลายปี 1990-2000 เริ่มมีการก่อตัวของนโยบายสาธารณะ เริ่มมีการพูดคุยกันในรัฐสภาของแต่ละที่ เริ่มมีการวางแผนของเรกกูเลเตอร์ หรือว่าองค์กรกำกับดูแลของแต่ละที่

มาสู่ความสนใจเรื่องทีวีดิจิทัลของบ้านเรา

จากงานของผมจะเห็นว่า แต่ละประเทศมีประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านมา มีทั้งประสบการณ์ความสำเร็จ ประสบการณ์ความล้มเหลว นี่จึงเป็นแรงจูงใจของผม ที่ผมคิดว่า เรื่อง อนาล็อคสวิทช์ออฟ ดิจิทัลสวิทช์โอเวอร์ หรือว่าการเปลี่ยนผ่านมาสู่ระบบดิจิทัลมันน่าสนใจนะ มันสนุกและมันจะเห็นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

อาจารย์ตั้งหัวข้อในเชิงเปรียบเทียบ จากช่วงเวลาแล้ว ตอนนั้นบ้านเรายังไม่มีทีวีดิจิทัลให้เปรียบเทียบหรือเปล่า

บ้านเราหลายคนเข้าใจผิดว่า โทรทัศน์ดิจิทัลมันเพิ่งเกิด และมันกำลังจะเกิด ไม่ใช่นะครับ(ยิ้ม) ประเด็นของเราถ้าพูดถึงคำว่าโทรทัศน์ดิจิทัล ผมอยากจะให้นิยามแก่คนอ่านให้ถูกต้องก่อนนิดหนึ่งก็คือว่า อันที่หนึ่งคำว่าโทรทัศน์ดิจิทัล ถ้าจะแบ่งตามแพลตฟอร์มหรือหมายถึงการแบ่งตามวิธีการส่งสัญญาณ ผมคิดว่าเราต้องมาบอกก่อนว่าโทรทัศน์ มันมีการส่งอยู่ 3-4 ลักษณะ หนึ่งส่งผ่านคลื่นความถี่ทางภาคพื้นดิน หรือ Terrestrial Television หรือโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั่นเอง สองคือผ่านดาวเทียม หรือ Satellite Television อันที่สามก็คือผ่านสายเคเบิล หรือเคเบิลทีวีนั่นเอง และมันยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกนะ เช่น ไอพีทีวี หรือ Internet Protocal Television ก็คือโทรทัศน์ที่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แล้วยังมีเรื่องเกี่ยวกับ Second screen เพิ่มเติมเข้ามาอีก นี่คือระบบนิเวศของโทรทัศน์ มันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าจะแบ่งอย่างง่ายๆ 1.แบบใช้คลื่นความถี่ และ 2.แบบไม่ใช้คลื่นความถี่นั่นเอง

สิ่งที่เรากำลังพูดถึง คือ โทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน

ใช่ ถามว่า ทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน เพิ่งเริ่มมีการขยับเขยื้อนมีการปรับเปลี่ยน มีการทำตรงนี้ใช่หรือไม่ ไม่ใช่ หลายคนรู้ ผู้ใหญ่ในวงการโทรทัศน์เรารู้ดี หลักฐานหนังสือช่วงปี 2543 มีการทดลอง ส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลเกิดขึ้น กี่ปีมาแล้วครับ ปีนี้ กสทช. บอกว่าจะทำการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล คือ 5 ธันวาคม 2556 ก็นับมาได้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว เรามีแล้วทีวีดิจิทัล เป็นโมเดลคล้ายกัน การทดลองออกอากาศเหมือนกัน ผู้ประกอบการผู้บริหารสถานีใหญ่ๆ ทั้งหมดทุกท่านทราบอยู่แล้ว จะเข้าร่วมโครงการตรงนี้อยู่แล้ว ถามว่า โทรทัศน์ดิจิทัล ภาคพื้นดินเพิ่งมีในประเทศไทยหรือเปล่า ผมตอบเลยไม่ใช่นะ มีการรับทราบ มีการอิมพลีเมนเตชั่นมาเมื่อ 13 ปีที่แล้ว เราเป็นประเทศในกลุ่มแรกๆ เสียด้วยซ้ำไป ที่ได้เริ่มสัมผัสกับเทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน

ความพร้อมของผู้ประกอบการในช่วงนั้นเป็นอย่างไร

ตอนนั้นผมทำวิทยานิพนธ์ปี 2004 -2007 โดยประมาณ ผมได้มีโอกาสไปสถานีโทรทัศน์ไทยเกือบทั้งหมด ได้มีโอกาสไปดูไปสังเกตการณ์ และได้คุยกับผู้บริหาร ซึ่งต้องขอขอบคุณ ถามว่าพร้อมไหม พร้อมนะครับ มันเหมือนกับการสับสวิทช์นะครับ ยกตัวอย่าง ช่วงนั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเทคโนโลยีการผลิตของโทรทัศน์อนาล็อคไปสู่ดิจิทัล ช่วงนั้นสวิทเชอร์ทั้งหมดรออยู่แล้ว เป็นระบบดิจิทัลทั้งหมดแล้ว คือจะบอกว่าเป็นเชนที่ตลก คือสมัยนั้นเราทำงานทั้งหมดเลยด้วยเครื่องตัดต่อ ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ด้วยเวอร์ชวลสตูดิโอ อะไรทุกอย่าง แต่เวลาเราเอาท์พุท เราต้องเอาท์พุทด้วยเทปเบต้าแคมคืออนาล็อค ต้องไปใส่เทปเพลย์เยอร์แล้วส่งสัญญาณออกอากาศอีกทีหนึ่ง ซึ่งในการส่งสัญญาณออกอากาศบางทีเราส่งขึ้นดาวเทียมเสียด้วยซ้ำไป ซึ่งดาวเทียมสมัยนั้น ไทยคมก็เป็นดิจิทัลเรียบร้อยแล้วเหมือนกัน

แต่บ้านเราไม่เกิดเพราะอะไรคงต้องย้ำกันอีกที

ครับ เพราะเป็นช่วงสุญญากาศของ กสทช. เรามีเต็มที่คือ กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) ก็ไม่สามารถจะทำ บทบาทอะไรบางอย่างของ กสทช.ได้ เพราะการเปลี่ยนผ่านมันต้องใช้กลไกทางกฎหมาย มันต้องใช้กลไกทางการบังคับบัญชา มันต้องใช้กลไกลทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ไม่ใช่อยู่ดีๆ เราจะมาบอก เอ้าช่อง 3 ส่งเลยนะดิจิทัล ไม่ได้ เพราะฉะนั้นในงานวิจัยของผมจึงบอกว่าถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ที่เราไม่สามารถมีทีวีดิจิทัลได้เพราะเราไม่มีเรกกูเลเตอร์ หรือ กสทช. ที่มีอำนาจเปลี่ยนผ่านเด็ดขาด สิ่งเหล่านั้นคืออุปสรรค

ในต่างประเทศการเปลี่ยนผ่านของเขาติดปัญหาทำนองนี้ไหม

ร้อยแปดเหมือนกัน ยกตัวอย่างในอเมริกา แบบเขามีอีโก้ของตนเองมากในการเปลี่ยนผ่าน ช่วงปี 2002 เขาอยากจะทำ แต่ก็ทำไม่ได้ จนเลื่อนมาเรื่อยๆ จนปี 2009 คิดดูว่าเขาเริ่มพูดกันช่วงต้นปี 1999 กี่ปี ทศวรรษหนึ่งเลยนะ กว่าอเมริกาจะสวิทช์ออฟระบบอนาล็อคได้ เขามีเงินขนาดไหนเขายังใช้เวลา 10 ปีโดยประมาณ เพราะอะไร พูดเลยว่าเป็นแค่จุดเล็กๆ หลายเรื่องที่เราคิดไม่ถึง เช่น เพราะเขาไม่สามารถบริหารจัดการในการแจกคูปองสนับสนุนโทรทัศน์ดิจิทัลได้ และเซตท็อปบ๊อกซ์หรือกล่องรับสัญญาณ ไม่สามารถนำส่ง หรือไม่สามารถแจกจ่ายให้กับประชาชนได้ คือปัญหานี้ ต้องบอกเลยว่ามันคิดได้ไง (หัวเราะ)

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการยอมรับนวัตกรรม มันมีหลายระดับนะ สิ่งที่จูงใจของคนนะ อันที่ 1 ถ้ากลไกราคา ไม่เป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้บริโภค เขาก็ปฏิเสธ เพราะฉะนั้นอเมริกาก็พยายามคิดเรื่องแจกคูปอง อันที่ 2 ถ้าคุณลักษณะหรือคุณภาพของมันเปรียบเทียบไม่แตกต่าง ประชาชนก็ยอมรับนวัตกรรมตรงนี้ไม่ได้ แล้วเราอย่าลืมว่าในเส้นเคิฟของนวัตกรรม มันมีกลุ่มคน 4-5 กลุ่ม จากคนที่รับนวัตกรรมได้เลย จนถึงคนที่ไม่เอาเลย เพราะฉะนั้นที่อเมริกา ปลายปี 2009 ตอนแรกต้องสวิทช์ออฟกุมภาฯ 2009 เลื่อนไปเป็นมิถุนายน 2009 โอบาม่าคนเซ็นกุมขมับเลย เลื่อนเพราะอะไร เพราะในช่วงสุดท้ายเขาทำการสำรวจ มีประชากรอเมริกาประมาณร้อยละเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่สนใจการเปลี่ยนตรงนี้ ถือว่าเยอะนะครับ เพราะอเมริกาประเทศใหญ่ ผลคือบางบ้านเขายังพอใจระบบเดิมอยู่ แล้วก็เรื่องคูปองที่ตกสำรวจอะไรก็แล้วแต่ นี่แค่ประเทศเดียวนะ ทางญี่ปุ่นเขาก็เลื่อนๆ เหมือนกัน (หัวเราะ)

บ้านเราถ้าเอาเรื่องการยอมรับนวัตกรรม

บ้านเรายังไม่มีการสำรวจตัวเลขที่แท้จริงเรื่องการยอมรับนวัตกรรมตรงนี้ ว่าคนยอมรับเทคโนโลยีตรงนี้ขนาดไหน อย่างไร แต่เรามีนะ ยังมีคนที่ไม่ยอมรับ คนไม่สนใจเลย เพราะฉะนั้น ถ้าถามถึงโทรทัศน์ดิจิทัล ถ้ามองง่ายๆ ก็บอกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเปลี่ยนผ่าน แค่สับสวิทช์ แต่ถ้ามองยากก็คือว่า เราอย่าลืมว่าเรายังมีคนไม่พร้อม ยอมรับนวัตกรรม อย่างอเมริกาคนที่เขาคอนเซอร์เวทีฟก็เยอะและคนที่เขาไม่มีความจำเป็นก็มี เอาง่ายๆ ร้านผัดข้าวข้างตึกเรา ป้าเขาขอเปิดแค่ฟังเสียงล่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องยอมนับว่าเรามีประชาชนที่คิดแบบนี้ แล้วเราถูกหล่อหลอมมาด้วยโทรทัศน์ 3 5 7 9 มา 50-60 ปีแล้ว เราก็คิดว่าไม่จำเป็นไม่เป็นไร

ก็ไม่แปลกถ้าบ้านเราจะมีอุปสรรครออยู่

แน่นอน เหมือนกัน อย่างตอนนี้บ้านเราจะพูดคำว่า ‘สงครามแพลตฟอร์ม’ กันพร่ำเพรื่อ ผมจะบอกว่า ถ้าเราไม่เรกกูเลเตอร์ ภาคอุตสาหกรรมให้ร่วมมือกัน ทั้งภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์ อุตสาหกรรมผู้ผลิต ผมคิดว่าการเปลี่ยนผ่านจะมีอุปสรรค เพราะทุกวันนี้ดู มีวาทกรรม มีแนวโน้ม หรือมีอะไรก็แล้วแต่ มีการขีดเส้นระหว่างโทรทัศน์ดาวเทียม โทรทัศน์เคเบิล และโทรทัศน์ภาคพื้นดิน อันนี้จะเป็นจุดวิกฤติที่เป็นอุปสรรค เลิกพูดเลยคำว่าสงครามแพลตฟอร์ม เลิกพูดได้แล้ว เราคิดว่าเรายิ่งใหญ่จนต้องมาขีดเส้นกันขนาดนั้นเลยเหรอ เพราะอะไร อังกฤษมีประสบการณ์นี้มาแล้วพยายามจะเตะคนออกไปจากวงโคจร คือสมัยที่เขาทำโทรทัศน์ดิจิทัลใหม่ๆ เขาล้มเลย ไอทีวียูเค คือถ้าเราเตะคนออกจากวงการ ลองคิดดูนะ เคเบิลกับแซทเทลไลท์จะเป็นตัวเล่นโทรทัศน์ภาคพื้นดินอย่างมาก เพราะตอนนี้ตัวเลขอยู่ 52 ความเป็นจริงไม่รู้เท่าไหร่ กลุ่มนี้มีพลังนะ ถึงแม้ว่าเราจะวิจารณ์เนื้อหาเขาว่าไร้สาระอะไรก็แล้วแต่ โทรทัศน์ป้าเช็งนะ โทรทัศน์โอนามิ อย่าไปดูถูกลีน่าจังนะ เพราะฉะนั้นเราจะมีวิธีไหนไหม ในการสมานพวกนี้เข้ามาด้วยกัน เพราะในที่สุดแล้วมันคือคอนเวอร์เจนซ์มันต้องรวมกันหมด ไอแพด สมาร์ทโฟนเป็นตัวอย่าง มันคอนเวอร์เจนท์กันหมดเรียบร้อยแล้ว ถ้าพูดคำว่าสงครามแพลตฟอร์ม มันคือแบ่งแยก เราต้องนิยามใหม่ แล้วมาคิดกันว่าเราจะไดรฟ์กันอย่างไรในอีก 15 ปีข้างหน้า ตามระยะเวลาของไลเซนส์ของทีวีจิทัลที่จะประมูลได้กัน

เรามีโอกาสเดินพลาดเหมือนประเทศต่างๆ ที่เล่ามานี้

การศึกษาเปรียบเทียบในสาขาที่ผมเรียนมาหรือว่าอินเตอร์เนชั่นแนลคอมมิวนิเคชั่น มันให้ข้อดีกับผมคือเราเรียนรู้ร่วมกัน คือตอนนี้สังคมไทยวิพากษ์อย่างเดียว ไม่เสนอทางออก ผมก็อยากจะนำเสนอทางออกในส่วนของคนเล็กๆ มุมเล็กๆ เป็นลูกชาวบ้านนี่แหละ ถามว่าผมสนับสนุนไหมทีวีดิจิทัล เต็มที่เลย แต่ผมไม่อยากให้ หนึ่ง-เราเสียเงินเปล่าโดยใช่เหตุ คิดดูนะครับ ราคาประมูลตั้งต้น 20,000 กว่าล้านมันมาจากไหน นอกจากนี้ยังมีค่ามัลติเพล็กซ์ คือค่าเช่าโครงข่ายส่งสัญญาณ ซึ่งยังไม่เปิดเผยข้อมูลที่มันเป็นทางการ ซึ่งถ้ามันราคาตามที่เราได้ยิน ผมว่าผู้ประกอบการตาย อันที่ 3 ค่าประกอบการ สามขา ไม่ว่าจะภาคไหน แต่ผมเนี่ย รักภาคประชาชนมากๆ แต่ถ้าใครบอกว่า ภาคพาณิชย์ ไม่ต้องพูดถึง ไม่ใช่นะ ภาคพาณิชย์ก็หมายถึงภาคประชาชนด้วย เพราะอะไร คือถ้าเขาเจ๊ง คนเป็นร้อยตกงานไหม

เพราะฉะนั้นง่ายๆ เลย ผมถาม สูตร หรือฟอร์มูล่าในการประมูล เคยเปิดเผยก่อนที่จะประกาศไหม เมืองนอกไม่มีหรอกครับ จะโกรธผมก็ได้นะ เมืองนอกไม่มีหรอกนะที่จะจ้างที่เดียวให้ทำ เขาต้องมีจัดสาธารณะ หมายถึง เรื่องเกี่ยวกับงานวิจัย การตั้งราคาประมูล มันเหมือนกับ 3 จี ผมอ่านงานวิจัยสิบกว่าหน้า ผมเชื่อเลยว่า คณาจารย์ทั้งหมด หวังดีกับประเทศ และมีการนำเสนอออพชั่น มีการนำเสนอข้อมูลอย่างดี แต่อาจมีการหยิบยกแค่พารากราฟเดียว หน้าเดียว เอาไปใช้

ซึ่งโทรทัศน์ดิจิทัลยิ่งกว่าอีก คือผมไม่เคยเห็นเลย ถามว่ามันถึงจุดหนึ่ง มันก็ต้องมีการวิพากษ์กันทั้งนั้น ผมว่ามันทุกฝ่ายด้วยนะ ผู้ประกอบการจะได้ดีเฟนด์ได้ อุ๊ยราคาถูกไป ราคาสูงไป โอเคคุณจะเอาเศรษฐศาสตร์แบบไหนมาจับ ผมเชื่อว่าคนประเทศนี้เก่งเศรษฐศาสตร์และวิศวะที่คำนวณตรงนี้ได้เยอะมาก ซึ่งผมอาจจะแค่ปลายแถว แต่ผมถามว่าราคาตรงนี้มาจากไหน และกลไกอื่นๆ อีก

อาจารย์ศึกษาความล้มเหลวของต่างประเทศมา เห็นอะไรของบ้านเรา

สามส่วนนี้ คุณต้องมองซีนารีโออีก 15 ปี ของประเทศนี้ ถามว่ามันจะล้มไหม ผู้ประกอบการ กิจการ ผมเชื่อว่ามันจะมีล้ม มีลุกไหม มี ถามว่าอาจารย์ไปยุ่งอะไรกับเขา อาจารย์มาเข้าข้างเชิงพาณิชย์ไปไหม ผมก็คิดว่าโอย ถ้าอย่างนั้นไม่ถูกแล้ว ผมเป็นคนเดียวด้วยซ้ำไปในเวลานี้ ที่ขออนุญาตเลยนะ โทรทัศน์ชุมชน โทรทัศน์ภาคประชาชน ยังไม่มีใครพูดถึงเลย อย่างช่องสาธารณะที่ทำอยู่ มันก็ลับลวงพรางกันอยู่หรือเปล่า เพราะกำลังเงี้ยวๆๆ อยู่ แต่อีก 12 ช่องของประชาชนไม่มีใครพูดถึงเลย เหมือนกับประชาชนถูดเตะออกหมด เรามัวแต่เถียงกันเรื่องช่องสาธารณะ ช่องพาณิชย์ แต่ช่องบริการชุมชนล่ะ ผมกราบเรียน วิงวอนเถอะใครก็ได้ช่วยพูดเรื่องนี้ที ช่วยนำมาเป็นประเด็นสาธารณะในสังคมที
คำถาม คือ มันจะล้มได้ไหม อังกฤษล้มมาแล้ว สเปนล้มมาแล้ว เพราะเชื่อมั่นในตัวเองตัดสินใจผิด ฝรั่งเศสไปดูงานวิจัยของไทยพาณิชย์ 5-6 ปี กว่าผู้ประกอบการจะลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้ เหมือนกัน มันจะเป็นเคิฟเหวเลยครับ กว่าจะขึ้นมา บางประเทศเป็นรูปตัววี บางประเทศเป็นรูปตัวยู เพราะฉะนั้นอันนี้ไม่ได้มาพูดเพื่อไซโค ถามว่าสิขเรศ คุณแหม ไม่ใช่ครับ ผมกำลังถามว่าพวกเรามาย้อนคิดกันอีกทีไหม ในส่วนที่เรายังไม่ได้กำหนดหรือประกาศอะไรก็แล้วแต่ มาช่วยกัน ได้ไหม

แต่ทุกอย่างไม่ได้มาฟรีๆ

ใช่ แต่ถามว่า 20,000 ล้านราคาตั้งต้น มาจากไหน หรือจะเอามาช่วยเรื่องเซตท็อปบ๊อกซ์ ถามว่ามันเป็นโมเดลอย่างนั้นใช่ไหม ถามประชาชนหรือยังว่าเขาอยากได้เซตท็อปบ็อกซ์หรือเปล่า มันมีวิธีอื่นไหมในการรับสัญญาณ โมเดลการแจกจ่ายทำไมถึงใช้โมเดลอเมริกา ยังมีโมเดลอังกฤษอีกนะ มันไม่มีเวทีสาธารณะให้นักวิชาการ หรือคนที่มีประสบการณ์อยู่ที่ประเทศนั้น หรือที่เขาผ่านประสบการณ์มาได้รู้ ว่ามันมีข้อดี-ข้อเสียอะไร ผมไม่เคยได้ยิน มีแต่มติออกมา มติออก มติออก ง่ายๆ เลยประชาพิจารณ์ ผมไปมาหลายที่ ตอนเช้าจบ ตอนบ่ายจบ มีคนพรีเซ้นต์ เปเปอร์ มีเวที เปิดไมค์แป๊บหนึ่ง ครึ่งวัน หรือเกือบวัน ผมว่าอันนี้ไม่ใช่ประชาพิจารณ์ ไม่ใช่การรับฟัง

สรุปง่ายๆ คนไทยยังไม่รู้อะไรอีกเยอะ ที่ควรรับรู้ นอกเหนือจากฉันจะมีทีวีดูชัดขึ้น จะได้กล่องแจกฟรี

เอาภาพกว้างนะ ต่างประเทศที่ผมศึกษามา เขาจะเน้นเลยว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านที่ประสบความสำเร็จคืออะไร สิ่งหนึ่งเลยคือ การรณรงค์โครงการสื่อสารให้ภาคประชาชนได้รับทราบ ที่ไม่ใช่งานเปิดผ้าคลุมป้ายอย่างเดียว หรืองานตัดริบบิ้น หรืองานจัดโชว์ที่ศูนย์การประชุมใหญ่ๆ อย่างเดียว มันต้องมีกลยุทธ์ในเชิงรุก ที่ กสทช. บางทีรับงานอะไรจนล้นภาระจนเกินไป ตัวเองน่าจะทำเรื่องการวางกรอบนโยบายให้ดีและมีเหตุผลที่สุด เป็นผู้คุมกฎที่ดีที่สุด เมืองนอกทุกที่ครับ เขาใช้หน่วยงานภาคเอกชน เขาให้เอกชนเป็นตัวไดรฟ์ เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการการรณรงค์ รัฐก็เปิดทางไฟเขียว แล้วก็ดึงภาคอุตสาหกรรมมา เช่น ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ กับผู้ประกอบการของภาคอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์ ตั้งเป็นกลุ่มขับเคลื่อนโทรทัศน์ดิจิทัล และมีหน่วยงานที่คุ้มครองสิทธิประชาชน คุ้มครองผู้บริโภค แล้วจัดตั้งหน่วยงานแบบ ดิจิทัลยูเค คือเขามีกันแล้วทุกประเทศ ออสเตรเลียก็มี อเมริกาก็มี เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนพลวัตของโทรทัศน์ดิจิทัลภาคประชาชน เพื่อทำแคมเปญ เดินสาย โรดโชว์ ให้ข้อมูล คอลเซ็นเตอร์ วิทยากร ทุกอย่าง

ยังมีเรื่องเซตท็อปบ๊อกซ์ เพราะตอนนี้ มีหากกล่องหลากสีมาก เซตท็อปบ๊อกซ์มาจากไหน เสิ่นเจิ้นอินดัสตรีไหม มันคืออะไร มันคือเงินทองรั่วไหลไป ผมไม่เชื่อหรอกว่าประเทศไทยผลิตไม่ได้ ทำไมภาครัฐไม่เริ่มตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเรา การที่เราอยู่ดีๆ ให้ล็อตใหญ่ บิ๊กล็อต สั่งมาจากเมืองจีน อันนี้ผมคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญนะครับ สิทธิของนักวิชาการ สามารถพูดได้ไม่ต้องมาฟ้องนะครับ คืออะไร เราพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเราสิ เรารู้อยู่แล้ว แต่เรามีวิธีไหนไหมที่เราจะเอาเงินมาผ่องถ่ายตรงนี้ สัก 30% เป็นค่าแรงงานของคนในประเทศ 30% ของหมื่นล้านได้เท่าไหร่

ยังมีอะไรจะฝากถึง กสทช. อีกไหม

ที่จะฝากนะ กสทช. ไปเอาโมเดลของอเมริกาที่สิบปีที่แล้ว ซึ่งมันไม่เข้ากับสังคม ตอนนี้ถ้าจะมองซีนาริโอแบบหยาบๆ นะ โมเดลมันมีอยู่ 4 กลุ่มเรียบร้อยแล้ว (ทีวีภาคพื้นดิน ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ไอพีทีวี ) แล้วยังมีจอที่สองอีก ถ้าคุณจะเอาโมเดล 48 ช่อง แบบสมัยโบราณ ยกตัวอย่าง ‘ฮอร์โมนส์’ผมถามเด็กที่ผมสอนเลยว่าดูยังไง เขาบอกแนวมาก เขาบอกว่ารีโมทหาไม่เจอแล้ว แต่ดูย้อนหลังผ่านยูทูบ ถามว่าดูบนไหน ดูบนจอที่สอง คือ แทบเล็ต สมาร์ทโฟน เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจกันใหม่เรื่อง ภูมิสถาปัตย์ หรือระบบนิเวศของสื่อมันเปลี่ยนไปแล้ว ผมยังไม่รู้เลยว่า ประมูลมาเพื่ออะไร แต่ถามผมว่าทีวีดิจิทัล ดีไหม ผมสนับสนุนทำเลย แต่ทำยังไงล่ะที่บอก ทำให้ดี ถ้าสถานีโทรทัศน์เราล้มรายหนึ่ง เกิดอะไรขึ้น เอาง่ายๆ ของเนชั่น พนักงานกี่คน เป็นพันไหม (ยิ้ม) ส่งเงินให้พ่อ-แม่กี่คน เลี้ยงลูกกี่คน แล้วมันไม่ใช่แต่สถานีอย่างเดียว ยังมี เอเยนซี โปรดักชั่นเฮาส์ ทั้งหมดนี้ แค่ไม่จ่ายเงินเดือนๆ เดียว พังทั้งระบบ นี่ล่อไป 48 ช่อง ตัวอย่างมันมีอยู่แล้ว ไอทีวีของอังกฤษล้ม เป็นหมื่นๆ ล้านเลยเงินตรงนี้

อีกกลุ่มคือ โทรทัศน์ภาคประชาชน หรือชุมชนที่อาจารย์บอกก็ห่วง กสทช. จะทำยังไง

ผมคิดว่าคนที่จะต้องเข้ามาช่วยจริงๆ เลยนะ ผมแหย่จริงๆ เลยนะ คือแทนที่ กสทช.สุภิญญา จะมาแง้ว ๆ ๆ อยู่ตลอดเวลานะ ถ้าเป็นผม ผมจะเดินเกมตรงนี้ให้ชัด เพราะตอนนี้ถ้าดูแล้ว กสทช. สุภิญญา กับ หมอประวิทย์นะ (สุภิญญากลางณรงค์ กรรมการกสทช และนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค) แพ้ทุกรูป โหวต ก็ 8 ต่อ 2 หรือ 4 ต่อ 1 หรือ 3 ต่อ 2 ยังไงคุณก็แพ้ ถ้าเอาประเด็นเรื่องทีวีดิจิทัล ขอกลับมาตั้งหลัก ผมส่งสัญญาณเลยนะ รีบกลับมาตั้งหลักเลย มาช่วยกันดูโทรทัศน์บริการชุมชนซะตั้งแต่วันนี้เลย ช่วยโพรเทค ช่วยมาสร้างระบบอย่างที่บอก มันต้องมีเฟรมมิ่งก่อนนะ มันต้องมีการพัฒนาก่อน

แต่ยังไงเสียเดือนธันวาคมนี้เราจะได้เห็นทีวีดิจิทัล แน่ๆ ใช่ไหม

ผมเชื่อว่าในความหมายของ กสทช. ที่เขาอยากจะให้เกิด มันเกิดได้ มันแพร่ภาพได้แน่นอน ในเชิงเทคนิค ดีเดย์วันนั้นก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ฝากง่ายๆ เลย ว่า ผมยังไม่เคยเห็น สวิทช์โอเวอร์โพลิซี หรือแผนการเปลี่ยนผ่าน จริงๆ ผมยังไม่เห็นเลยว่าเฟสต่างๆ ที่ทำมันเป็นยังไง มีอะไรบ้าง ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ผมอยากจะเห็นโรดแมพจริงๆ กลวิธี มันมีเยอะหลายโมเดลในการสวิทช์ออฟอนาล็อค คุณช่วยนำเสนอสู่สาธารณะนิดหนึ่งสิ เอาโมเดลของคุณแหละ และตีโจทย์อื่นๆ เช่น เซตท็อปบอกซ์ ทำไมเอาโมเดลอเมริกา คุณถอดองค์ความรู้ของโมเดลอเมริกามามากน้อยขนาดไหน ยังมีเรื่องอื่นอีกนะที่ไม่ได้พูด ถามว่าธันวานี้ไปได้ไหม ไปได้ แต่ไปได้อย่างประเทศได้ประโยชน์หรือเปล่า ผมไม่ค่อยแน่ใจ สุดท้ายขีดเส้นใต้ ผมสนับสนุนทีวีดิจิทัลร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมเข้าใจทุกซีนาริโอว่าทำไมมันต้องเปลี่ยน แต่ไส้กลางที่ต้องนำมาวิพากษ์กันสู่สาธารณะ คือประโยชน์ของชาติ

ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล โดย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์
ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล โดย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์

การตรวจสอบ และการทวนสอบ (itinlife401)

 

system audit
system audit

พบคำว่า การทวนสอบในแบบฟอร์ม มคอ.3 หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา หัวข้อที่ 4 ใน กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่ทุกวิชาต้องจัดทำก่อนดำเนินการสอน และหัวข้อนี้เป็นแผนที่ต้องดำเนินการในการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐาน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จก็จะต้องจัดทำ มคอ.5 ที่เป็นรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เรื่องนี้สอดรับกับการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของระบบงาน ซึ่งจำแนกได้ 2 ส่วนคือ การตรวจสอบ (Verification) และการยืนยันความถูกต้อง (Validation)

การพิจารณางาน (Work) สามารถวิเคราะห์ได้หลายรูปแบบ และมีทฤษฎีให้เลือกใช้มากมาย การทำงานให้สำเร็จมักประกอบด้วยระบบและกลไก เมื่องานเสร็จแล้วก็สามารถดำเนินการตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องได้ หากจะแยกความต่างของ verification และ validation ก็อาจแยกที่ประเด็นการตรวจสอบว่า การพบผลการดำเนินการตามที่เขียนไว้ในแผน ทั้งแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแผน เป็นไปตามกิจกรรม/โครงการ ระยะเวลา กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ หากดำเนินการครบทุกรายการที่ตรวจสอบก็เรียกว่าผ่านการ verification โดยกิจกรรมนี้มักเป็นงานที่ดำเนินการโดยพนักงานเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่างานมีคุณภาพตามที่กำหนด

ส่วน Validation คือ การตรวจสอบว่ามีการสร้างระบบที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนสร้างระบบ ระหว่างสร้าง การใช้ระบบ การเลือกวิธีตรวจสอบ การนำผลการตรวจสอบไปใช้ และการเชื่อมโยงผลของงานเข้ากับผลการตรวจสอบว่ามีความสมเหตุสมผล ก็จะเป็นผลว่าระบบงานนั้นมีความถูกต้องเพียงใด การทวนสอบก็จะรวมความหมายทั้งการตรวจสอบ และการตรวจความถูกต้องว่าข้อสอบ กิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ มีที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน ผู้ปกครอง นักศึกษา อาจารย์ และสถาบัน ว่ามีความครบถ้วน และเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็จะนำไปใช้ปรับปรุงนโยบาย แผนกิจกรรม/โครงการ ทั้งในชั้นและนอกชั้น และแนวทางจัดการเรียนทั้งระดับสูงสุดไปถึงแต่ละวิชากันต่อไป

http://audit.obec.go.th/

http://www.npc-se.co.th/pdf/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%20Rev%200.pdf

http://km.bus.ubu.ac.th/?p=831

12 มี.ค.56 สุขวิทย์ โสภาพล ได้แบ่งปันผ่าน blog ของ ubu.ac.th ว่า การทวนสอบ หมายถึง ดำเนินการหาหลักฐานด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้น ได้มีการดำเนินการ และบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยทั่วไปการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

มีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบการให้คะแนนจากกระดาษคำตอบข้อสอบและงานที่ได้รับมอบหมาย
2. การตรวจสอบการประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา
3. การตรวจสอบภาควิชาหรือสาขาวิชาและหลักสูตรโดยบุคคลภายนอก
4. การรายงานเกี่ยวกับทักษะของบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต

 

สารสนเทศระดับอุดมศึกษา (itinlife400)

สารสนเทศอุดมศึกษา
สารสนเทศอุดมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษาที่สอนผู้ใหญ่ในประเทศไทย ส่วนสถาบันการศึกษาที่สอนเด็กนั้นกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แม้อันดับของระบบการศึกษาไทยในเวทีโลกจะทำได้ไม่ดีนัก แต่ก็มีการขับเคลื่อนในระดับปฏิบัติการอยู่ตลอดเวลา ดังจะเห็นได้ว่ามีความพยายามรวบรวมข้อมูลของสกอ. ที่ได้ข้อมูลจากสถาบันการศึกษารวมร้อยกว่าแห่งทุกภาคการศึกษา แล้วจัดทำเป็นสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้บริหารนำไปประกอบการตัดสินใจ ในเว็บไซต์สารสนเทศอุดมศึกษา (Information) มีข้อมูลสถิติการศึกษา เกี่ยวกับนักศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา และบุคลากรที่ถูกรวบรวมมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 ถึงปัจจุบันก็เกือบ 10 ปีแล้ว

กว่าจะมาเป็นสารสนเทศอย่างทุกวันนี้ สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะมีหน่วยงานรับผิดชอบในการเตรียมข้อมูล (Data) อาทิ งานบุคลากร งานทะเบียน งานงบประมาณ งานผู้สำเร็จการศึกษา งานหลักสูตร โดยมีรูปแบบตาราง (Template) ที่ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษาออกแบบให้สถาบันการศึกษากรอกข้อมูลแล้วส่งเข้าระบบฐานข้อมูล โดยการอัพโหลดข้อมูล (Upload) แล้วมีการตรวจสอบความถูกต้อง (Verify) ถ้าจำนวนความถูกต้องของข้อมูลเป็นที่พึงพอใจในระดับหนึ่งก็จะยืนยันการส่งข้อมูล แล้วข้อมูลทั้งหมดจะนำไปรวมกันเป็นข้อมูลระดับประเทศ เพื่อประมวลผลเป็นกราฟ (Graph) หรือตารางที่ผ่านการประมวลผล แล้วนำเสนอในรูปของสารสนเทศ (Information) ที่หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์

ในความเป็นจริง การได้มาของข้อมูล และส่งเข้าระบบของสกอ. ยังไม่ครบถ้วนด้วยหลายสาเหตุ มีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบทั้งในระดับสถาบันและส่วนกลางที่ดูแลข้อมูล ความเข้าใจในการตรวจสอบความถูกต้อง การเผยแพร่สารสนเทศ และการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลร่วมกันแบบบูรณาการ ปัจจุบันกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต้องการข้อมูลหลักสูตรไปเชื่อมโยงกับการพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ยืม กรมแรงงานใช้ข้อมูลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา หรือสกอ.ต้องการใช้ข้อมูลวันเกิดของนักศึกษาจากกระทรวงมหาดไทย ก็จะเป็นเรื่องที่ต้องมีการพัฒนาทั้งระบบและกลไกกันต่อไป เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สมบูรณ์ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และเชื่อถือได้