ดันไซเบอร์โฮม (Cyber home) ส่งไอซีทีถึงบ้าน

ict กับ child
ict กับ child

 

cyber home จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครู
เด็ก ๆ จะได้เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต เรียนผ่านอีเลินนิ่ง
เรียนแบบ child center


“ภาวิช” แจงช่วยแก้คุณภาพครู สสค.ชี้ไทยเผชิญปัญหาแก่-จน-โง่

http://www.thairath.co.th/content/edu/335714

จากการเสวนาวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาและประชุมปฏิบัติการเพื่อการปฏิรูปหลักสูตร โดยสำนัก งานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) องค์การยูเนสโก และคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร ศธ. กล่าวว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้อยู่ปัจจุบันใช้มานานกว่า 12 ปี ศธ.จึงต้องปรับให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเน้นหลักสูตรที่นำไปสู่การปฏิบัติ ทั้งข้อมูลจาก สสค.พบว่า คนกว่า 70% ของประเทศไม่ได้เรียนต่ออุดมศึกษาและต้องเข้าสู่ตลาดแรงงาน ดังนั้น การศึกษาพื้นฐานจึงไม่ควรตอบสนองเพียงแค่เด็กที่เข้าสู่อุดมศึกษา แต่ต้องรวมถึงเด็กกลุ่มใหญ่ของประเทศ และหลังจากที่รัฐบาลปฏิรูปหลักสูตรแล้ว ก็จะปฏิรูปครูต่อ เพราะพบการผลิตครูที่มีจำนวนมากแต่กระทบต่อคุณภาพและการมีงานทำ โดยปัจจุบันเรามีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ถึง 1 ล้านคน และเป็นครูอยู่ในระบบ 600,000 คน หรือครู 1 คน ต่อนักเรียน 19 คน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม แต่ปัญหาคือความล้มเหลวของการกระจายครู ทำให้ขาดแคลนครูบางพื้นที่ หากมีระบบไอซีทีที่ดีก็จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ ศธ.จึงกำลังเสนอให้รัฐบาลขับเคลื่อนระบบไอซีที จัดทำระบบไซเบอร์โฮม เพื่อใช้ไอซีทีที่เข้าถึงทุกบ้าน

ด้าน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รองประธานคณะกรรมการ สสค. คนที่ 2 กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไม่ใช่แค่ปฏิรูปเพื่อการศึกษา เพราะประเทศไทยกำลังเผชิญสถานการณ์ 3 ด้านคือ “แก่ จน และโง่

1. ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมวัยชรา สิ่งที่เห็นขณะนี้คือโรงเรียนร้างและการยุบรวมโรงเรียน และอีก 10 ปีข้างหน้าจะเห็น ร.ร.อาชีวะร้าง

2.ความยากจน

3. ระดับการศึกษาแรงงานไทยที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น การศึกษาไทยต้องส่งเสริมให้วัยแรงงานได้ศึกษาต่อเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน ใช้โรงเรียนที่ว่างอยู่เป็นที่ฝึกอาชีพ.

http://www.thairath.co.th/content/edu/335714

http://variety.n108.com/view/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C-80.html

Leave a Comment