ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ
คนที่เขียนเรื่องนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะเชิงอรรถแน่น และร้อยเรียงได้ดี
ผมคัดลอกส่วนของปัญหาความโปร่งใส .. รายละเอียดอื่นอีกเพียบ
ที่ http://prachatai.com/journal/2013/12/50325
—
ในด้านหนึ่งตำแหน่งอธิการบดีนั้นถือว่าเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง การที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พงศ์เทพ เทพกาญจนาออกมาเตือนให้ สภามหาวิทยาลัยควรมีความโปร่งใสในการสรรหาอธิการบดี ก็ยิ่งเป็นตัวชี้วัดได้ดี [10] ไม่เพียงเท่านั้นข่าวฉาวของอธิการบดีก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำสมาชิก ทปอ. และมหาวิทยาลัยนอก ทปอ. ยังไม่ต้องนับว่า ตำแหน่งอธิการบดีหลายแห่งในประเทศไทย ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และตัดขาดความมีส่วนร่วมของประชาคมในมหาวิทยาลัยนั้นๆ
ความเหลื่อมล้ำของสถาบันต่างๆ โดยโครงสร้างนั้นมีอยู่จริง ไม่นับต้องพูดถึงความเหลื่อมล้ำภายในองค์กรที่จัดฐานันดรศักดิ์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ที่เป็นปัญหาอย่างมากในฐานะขององค์กรแนวดิ่ง ไม่มีสหภาพแรงงานเฉกเช่นประเทศในโลกสมัยใหม่ทั้งหลาย ในที่นี้ขอปิดท้ายด้วยงบประมาณที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการจัดสรร ตั้งแต่งบประมาณปี 2549-2556 ทำให้เห็นความแตกต่างของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับครีมสมาชิกทั้ง 27 แห่ง มีความแตกต่างอย่างไรกับมหาวิทยาลัยที่ไม่ถูกนับ ช่องว่างดังกล่าวแสดงถึงความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง มหาวิทยาลัยใหญ่จึงได้รับทั้งอภิสิทธิ์ทางเกียรติยศ เงินทอง และบทบาททางการเมือง ซึ่งที่ถือว่ามีปัญหามากในสายตาของผู้เขียนคือ ทำตัวเป็นผู้ไม่รู้ร้อนเกี่ยวกับหลักการอยู่ร่วมกันโลกสมัยใหม่ และระบอบประชาธิปไตย.