“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ 1

โดย อาจารย์จตุพร รอดแย้ม
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์

ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์ : คุณสุทธิชัย หยุ่น

ปัจจุบันบทบาท ความเป็น GateKeeper /Watch Dog เปลี่ยนไป เพราะทุกคนสามารถหาข้อมูล รายงานข่าวได้จาก Social Media ทำให้ต่อไปห้องเรียนจะหายไป บทบาทของครูจะเปลี่ยนเป็น Co-Learners เรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งครูควรรอบรู้มากกว่าเพื่อมาถกเถียงหาข้อสรุป จะเกิดคำถามที่ต้องตอบให้ได้ว่า สอนใคร /สอนอะไร / สอนทำไม และสังคมส่วนรวมคาดหวังอะไรจากเทคโนโลยี

  • เราสามารถเป็น Tableters = ผู้เสนอผ่าน Tablet สามารถสร้างช่องทางจาก Youtube สร้าง Channel ลง Clip วิเคราะห์ข่าว เล่าข่าว
  • การเสนอข่าวผ่าน iPhone ทำให้ไม่ต้องใช้รถ OB ทีมช่างเทคนิคมากมาย ซึ่งการรายงานข่าวภาคสนามก้าวไปหลายก้าวแล้ว แต่ในห้องเรียนยังไม่มีการพัฒนา
  • Public Interest เป็นนักข่าวที่คิดนอกกรอบ หาข้อมูลล้วงความลับมาเปิดเผยโดยใช้ Social Media
  • Gentrapreneur Journalist สอนให้เป็นนายตัวเอง ทำกิจการเอง จะได้มีเสรีภาพสู้กับกลุ่มนายทุน ซึ่ง Social Media ช่วยได้ เช่น การมี Channel ของตัวเอง Mass Media อาจเจ๊งหาก Youtube ลงทุนให้คนมี Content

สิ่งที่ควรสอนให้นักศึกษาด้านวารสารศาสตร์รุ่นใหม่

  1. ความมุ่งมั่น (Passion) เพื่อความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
  2. คิดให้เป็น (Critical Thinking)อะไรคือเหตุผล, อารมณ์, โฆษณาชวนเชื่อ
  3. เขียนหนังสือให้เป็น (Clear Focused Writing) Social Media อาจทำให้เขียนหนังสือกันไม่ค่อยเป็น
  4. จริยธรรม (Ethics) ให้มีคุณภาพของความคิด
  5. ทักษะการใช้ New Media
  6. Short-Form, Long-Form Journalism เช่น ใน Social Media : Blog (=Long Form), Facebook (=Short-Form)
  7. Social Media for Investigative Reporting การใช้Social Media รายงานผลสืบเสาะหาข้อมูลในการเขียนวิเคราะห์ข่าว
  8. การสร้างหนังโดยใช้ Smartphone ตอนนี้มีคนเริ่มสร้างหนังสั้นโดยใช้ iPhone ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เพียงคนเดียวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้กำกับ

วารสารศาสตร์ การเผชิญความจริงกับสิ่งที่เปลี่ยนไป: คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี, คุณบัณฑิต จันทศรีคำ, ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล

  • ตอนนี้คนทำสื่อเองได้ง่ายขึ้น เช่น ทีวีดาวเทียมที่ป้าเช็งและลีน่า จัง ผลิตรายการ(=ผลิต Content),เป็นเจ้าของช่องเอง แต่กรณีป้าเช็งสะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของสังคมไทยในเรื่องการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร
  • นักข่าวภาคสนามกำลังพยายามปรับตัว แต่ยังไม่เท่าทันสื่อออนไลน์ Social Media เช่น ยังวิ่งตามนักการเมืองว่าจะพูดอะไร แต่ไม่ได้คิดสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญที่ควรถาม ซึ่งถ้ายังวิ่งตามข่าวอยู่เช่นนี้ หรือเอาข่าวจากที่อื่นมา ก็จะไม่มีความแปลกใหม่
  • เด็กรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันไม่ค่อยอ่านนสพ.หรือข่าวออนไลน์ แต่มักรับข่าวสารจาก Facebook / Twitter ที่ส่งต่อกัน
  • การที่นักข่าวจะใช้iPhone หรือ social media ในการรายงานข่าวหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายองค์กร เช่น ที่Nation ที่ให้นักข่าวใช้ Social Media ในการรายงานข่าว แต่มีนักข่าวบางคนไม่ชอบใช้
  • การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข่าว จะมีต้นทุนในการสอนสูง และควรต้องหา Partner Ship และต้องคำนึงถึงจริยธรรมด้วย
  • ตอนนี้มีการสื่อสารแบบโฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก ทั้งในสื่อเก่าและสื่อใหม่ โดยเฉพาะเชิงธุรกิจ เพราะฉะนั้นคนทำงานสื่อต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในเชิงองค์ความรู้ เช่นหัดใช้ Twitter ทั้งเป็นผู้ดูและผู้สื่อสาร

สรุปประเด็นจากการสัมมนากลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1: นโยบายสื่อ นโยบายวิชาชีพ แนวคิดวารสารศาสตร์และการศึกษา

  • การใช้กลไกเดิมเป็นองค์กรกลาง
  • ประสาน ส่งเสริม สร้างกลไก อบรมพัฒนาโดยรับประกันด้วยใบรับรอง
  • เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อและผู้สนใจ
  • ผลิต ส่งเสริมตำราวิชาการ การสอนที่เน้นองค์ความรู้ใหม่
  • หลักสูตรยึดถือหลักจริยธรรม
  • การลงโทษจะไม่ถอน ไม่ยึดใบอนุญาตแต่เน้นการประณามทางสังคม
  • Gatekeeper เปลี่ยนไปเมื่อสื่อกับผู้รับสาร ต่างคนก็ต่างสร้างสารซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ 2: องค์กรข่าว นโยบายองค์กรและกระบวนการทำงานข่าว

กลุ่มที่ 3: ผู้สื่อข่าว เทคนิค และเทคโนโลยีในงานข่าว

1. นักข่าวรุ่นใหม่ – ใช้เครื่องมือเป็น แต่Content ไม่ได้ เขียนบรรยายเชิงลึกไม่ค่อยเป็น
2. นักข่าวรุ่นเก่า ระดับหัวหน้างาน – ใช้เครื่องมือไม่ค่อยเป็น แต่ Contentได้ สามารถเขียนข่าวยาวๆ เชิงบรรยาย ได้ดีกว่าเขียนข่าวสั้นๆ

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • Style การเขียนข่าวบนFacebook ของนักข่าวเนชั่นจะให้เกิดประเด็นความคิดเห็นเพื่อเอา มานำเสนอข่าว โดยต้องเขียนให้น่าสนใจเพื่อให้คนมาตอบ Multimedia ต่างๆไม่ต้องใช้การเขียนแต่ ขึ้นอยู่กับ การนำ เสนอเพราะถ้า massage ไม่โดนใจ เขียนลักษณะข่าวมากเกินไป จะไม่เกิดการบอกต่อ
  • Infographic จำเป็นมากต่องานวารสารศาสตร์ ควรผลิตให้เข้ากับคนไทย โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ
  • กองบรรณาธิการข่าว ควรเปลี่ยนเป็น News Room
  • ธุรกิจต้องเดินหน้า การผลิตคนต้องให้ทันกัน นักข่าวควรเป็น Convergent Journalist สามารถทำได้ทุกอย่าง เช่น รายงานข่าว, ตัดต่อ,ถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและโทรทัศน์ ส่วน News Room ต้องเปลี่ยนด้วยเพื่อสนับสนุนการทำงานของ Convergent Journalist
  • ในการสอนเทคนิคไม่สำคัญเท่าการสอนให้คิดเป็น (Critical Thinking) ให้สามารถเล่าข่าวได้ทุกสื่อ อาจารย์ควรเน้นด้านเทคนิค และรู้เท่าทันเด็ก

กลุ่มที่ 4 : ผู้บริโภคข่าว เนื้อหา ความอยู่รอดทางธุรกิจ ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค

วิจัยผู้รับสารทั่วประเทศ เกี่ยวกับ

  1. พฤติกรรม >> ตำราของผู้รับสารในปัจจุบัน
  2. รูปแบบเนื้อหาในปัจจุบัน >> ตำรา
  3. ผู้รับสารกับการมีส่วนร่วม
  4. หามาตรวัดผู้รับสารที่มีคุณภาพ (Media Monitor) >> วิจัย = วิจัย >>  ตำรา >>  Workshop

………………………………………………………………………………………………………
อ้างอิงข้อมูล: งานสัมมนาวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 1, วันที่ 30 มีนาคม, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

http://blog.nation.ac.th/?p=2127

Leave a Comment