เด็กเอเชียเก่งระดับโลก

3 มกราคม 2557

เด็กเอเชียมีคุณภาพการศึกษาดีที่สุดในโลก จากการประเมินผลสอบ PISA ในปี 2012 เซี่ยงไฮ้ได้คะแนนรวมอันดับหนึ่งโลก ตามด้วยฮ่องกงและสิงคโปร์ ประเทศไทยอยู่อันดับ 50 จาก 65 ประเทศสมาชิก ตามหลังเวียดนามที่อยู่อันดับ 17 และนับเป็นที่ 3 ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

ทั้งนี้ องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Develop ment) ได้ดำเนินโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pro gram for International Stu dent Assessment) หรือ PISA โดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมจากทั่วโลก 65 ประเทศ มีเด็กเข้ารับการทดสอบประมาณ 510,000 คน

การประเมินของ PISA เป็นการประเมินเพื่อชี้อนาคตของกลุ่มตัวอย่างนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว ไม่เน้นความรู้ตามหลัก สูตรในห้องเรียน แต่เน้นทักษะที่ต้องใช้ในชีวิตจริงในอนาคต 3 ด้าน ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน หลายประเทศในเอเชียมีคะแนนรวมสูงสุดในโลก นักเรียนในเซี่ยงไฮ้ทำคะแนนสูง สุดทั้ง 3 วิชา โดยด้านคณิต ศาสตร์ ทำได้ 613 คะแนน จากค่าเฉลี่ย 494 คะแนน ด้านการอ่าน 570 คะแนน จากค่าเฉลี่ย 496 คะแนน ด้านวิทยา ศาสตร์ 580 คะแนน จากค่าเฉลี่ย 501 คะแนน

สิงคโปร์มีคะแนนรวมอันดับ 3 ด้านคณิตศาสตร์ทำได้ 573 คะแนน แต่การอ่านและวิทยาศาสตร์น้อยกว่าฮ่องกง โดยการอ่านได้ 542 คะ แนน และวิทยาศาสตร์ 551 คะแนน ฮ่องกงมีคะแนนรวมอันดับ 2 ด้านคณิตศาสตร์ 561 คะแนน การอ่าน 545 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 555 คะแนน

ประเทศอื่นๆที่มีคะแนนรวมสูงสุด 10 อันดับแรก ได้ แก่ ไต้หวัน เกาหลี มาเก๊า ญี่ปุ่น ลิกเตนสไตน์ สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ นอกเหนือจากสิงคโปร์ ประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างเวียดนามทำคะแนนรวมอันดับ 17 มีคะแนนด้านคณิตศาสตร์ 511 คะแนน การอ่าน 508 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 528 คะแนน ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 50 จาก 65 ประเทศทั่วโลก มีคะแนนด้านคณิตศาสตร์ 427 คะแนน การอ่าน 441 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 444 คะแนน นับเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ตามด้วยมาเลเซียอันดับ 52 มีคะแนนด้านคณิตศาสตร์ 421 คะแนน การอ่าน 398 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 420 คะแนน

อินโดนีเซียอันดับ 64 มีคะแนนด้านคณิตศาสตร์ 375 คะแนน การอ่าน 396 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 382 คะแนน ข้อมูลดังกล่าวสะท้อน ถึงระบบการจัดการศึกษาและการแข่งขันกันเป็นเลิศทางการศึกษาของประเทศที่เตรียมคนในยุคที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสูงมาก โดยประเทศในเอเชีย มีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งเซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี มาเก๊า และญี่ปุ่น ขึ้นนำในฐานะกลุ่มประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงและเศรษฐกิจมั่นคง
ให้เห็นเหตุผลที่สอดคล้องกัน ผลการสอบ PISA แสดงระหว่างความมั่งคั่งของประเทศและความสำเร็จของนักเรียนในการทดสอบทางคณิตศาสตร์

นักเรียนในเซี่ยงไฮ้ทำได้ดีที่สุด ขณะที่รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อหัวประชากรของเซี่ยงไฮ้สูงเป็นอันดับ 1 ของจีน คุณภาพของการศึกษาเป็นตัวชี้วัดศักยภาพของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยผลการจัดอันดับประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกช่วงเดือนตุลาคมปีก่อน กาตาร์มาเป็นที่หนึ่ง ตามด้วยลัก เซมเบิร์ก และสิงคโปร์ กาตาร์มีคะแนนวิชาคณิต ศาสตร์อันดับ 63 ขณะที่เป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก รายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุดในโลก เพราะรวยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ส่วนตัวเลขจีดีพีของสิงคโปร์มาเป็นอันดับ 3 เพราะความเจริญด้านเทคโน โลยี การผลิต และศูนย์กลางการเงิน

จีนเริ่มประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาที่ มุ่งเน้นความสามารถในการ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหามาตั้ง แต่ปี 2005 เปลี่ยนจากระบบการศึกษาแบบเดิมที่เน้นการท่องจำ

แม้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาของเซี่ยงไฮ้ไม่ได้สะท้อนมาตรฐานการศึกษาของทั้งประเทศ เนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพของโรงเรียนในเมืองและชนบท แต่ความคาดหวังสูงและการให้ความสำคัญกับการศึกษาไม่ว่ายากดีมีจนนับเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญมาก เกิดความหวังขึ้นมาว่า ผลการประเมิน PISA เปรียบเทียบกับนานาประเทศอาจเป็นประเด็นร้อนให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องเกิดความตื่นตัว เร่งผลักดันการปฏิรูปการเรียนรู้ ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในระยะยาว

–โลกวันนี้วันสุข ฉบับวันที่ 4 – 10 ม.ค. 2557–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35279&Key=hotnews