alumni

ตอนที่ 3 อีบุ๊ควารสารศิษย์เก่า
ที่หาอ่านได้ในอินเทอร์เน็ต
เรื่องเล่า โค้ดดิ้งสร้างโฮมเพจ

ตอนที่ 3 อีบุ๊ควารสารศิษย์เก่า

พบว่า ในอดีตนั้น
การจัดทำ
– จุลสารโรงเรียน
– วารสารมหาวิทยาลัย
– วารสารศิษย์เก่า
มักมีการเก็บค่าสมาชิกศิษย์เก่า
เพื่อนำไปใช้จ่ายเป็น
ค่าสแตมป์ ค่าจัดพิมพ์ ค่ากระดาษ เป็นต้น
.
ปัจจุบันมีสื่อสังคม และเว็บไซต์มากมาย
ที่ให้บริการพื้นที่
เพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดเอกสาร
หรือ แบ่งปันหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เช่น
แคตตาล็อกสินค้าพรีเมี่ยมเพอร์เฟค
premiumperfect.com
หรือ อีบุ๊คแบบพีดีเอฟ (PDF)
ให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
.
เมื่อเข้าไปดูเว็บไซต์สมาคมศิษย์เก่า
(Alumni Website)
ได้พบแนวปฏิบัติที่ดี หรือ หัวข้อที่น่าสนใจ
ที่ถูกแบ่งปันเป็นสาธารณะ
เช่น
– มีเว็บไซต์ของศิษย์เก่าที่ชัดเจน
– มีการสนับสนุนของสถาบันการศึกษา
– มีข่าวกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
– มีคอลัมศิษย์เก่านั่งคุย
– มีเรื่องเล่าโดยครูเก่า
– มีข่าวธุรกิจของศิษย์เก่า
– มีข่าวพบปะศิษย์เก่าแต่ละรุ่น
– มีรายงานการประชุม
– มีผลงานศิษย์เก่า
– มีเล่นเกมชิงรางวัล
.
การเผยแพร่วารสารศิษย์เก่าในรูปอีบุ๊ค
มีทั้งแบบใช้เครื่องบริการภายนอก
หรือ เครื่องบริการของสมาคม
หรือ แบ่งปันผ่านไดร์ฟออนไลน์
.
ซึ่งการเผยแพร่เอกสาร
ในระบบพลิกหน้าหนังสือ (Flip book)
จะให้ความรู้สึกเหมือนหนังสือจริง
ที่เปิดอ่านได้ง่าย และให้ความรู้สึกดีที่สุด
.
ท่านล่ะ ชอบหัวข้อ หรือการเผยแพร่
วารสารศิษย์เก่า แบบใดมากที่สุด

วารสารที่น่าสนใจ

https://vt.tiktok.com/ZSFKskYWs/

https://www.thaiall.com/e-book/

ตอนที่ 3 อีบุ๊ควารสารศิษย์เก่า
ที่หาอ่านได้ในอินเทอร์เน็ต
เรื่องเล่า โค้ดดิ้งสร้างโฮมเพจ
#journal
#ebook
#flipbook
#school
#university
#alumni
#newsletter

ตอน 1 สระเกล้าดำหัวบูรพาจารย์
เรื่องเล่า พี่น้องศิษย์เก่า
ชาวอัสสัมชัญลำปาง

ตอน 1 สระเกล้าดำหัวบูรพาจารย์
.
ศิษย์เก่าอาวุโส เขียนเล่า
เรื่องราวในกลุ่มเกียรติภูมิ อ.ส.ช. อยู่เสมอ
แล้วเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567
พี่ชัยวัฒน์ สุรวิชัย เล่าเรื่องเป็นฉากเป็นตอน
ส่วนพี่ชัยศักดิ์ เลิศฤทธิ์ ส่งอัลบั้มรวมภาพมาให้ชม
.
สถานที่จัดกิจกรรม คือ ห้องกัลปพฤกษ์
สนามกอล์ฟธูปเตมีย์
.
งาน A.C.L. Alumni
สายสัมพันธ์ สืบสานประเพณีสระเกล้าดำหัว
บูรพาจารย์ และ ศิษย์เก่าอาวุโส
ของศิษย์เก่าอัสสัมชัญ ลำปาง
.
ด้วยบรรยากาศอบอุ่น
ด้วยความรัก ความสามัคคี
ความเคารพของลูกศิษย์
ต่อ ท่านภราดา และครูเก่า
ที่ได้เคยอบรมสั่งสอน
.
ด้วยมิตรไมตรีของรุ่นพี่รุ่นน้อง
เป็นที่ประทับใจ
ของ ผู้มาร่วมงานทุกท่าน
นี่คือ อัสสัมชัญลำปางโมเดล
.
สายสัมพันธ์
สืบสานงานประเพณี น้องพี่ 
A.C.L. Alumni
ร่วมกัน แสดงมุทิตาจิต
รดน้ำดำหัว บราเดอร์
คณะครูอาวุโส และ ศิษย์เก่าอาวุโส 
พร้อมร่วมสังสรรค์ระหว่างพี่น้อง
ชาวศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
.
ปู่จิ๊บ มีความสุขและความภาคภูมิใจ
ในความเป็นชาวอัสสัมชัญลำปาง
และชาวลำปาง
.
ตลอดเวลาที่อยู่ในงาน ได้เห็น
รุ่นน้องชาวอัสสัมชัญลำปาง
ทั้งชาย หญิง คนแก่ ผู้ใหญ่
และรุ่นหนุ่มสาว
.
มีความสุข สนุกสนาน
ทั้งจากการได้มาพบปะ
สังสรรค์ พูดคุย เล่าเรื่องชีวิต
โดยเฉพาะ ในช่วงเรียนหนังสือร่วมกัน
.
น้อง ๆ ขอให้ ปู่จิ๊บ ขึ้นไป
พูดความในใจ กล่าวปราศรัย
ในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าอาวุโส
ที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุน
กองทุนครูอาวุโสของโรงเรียนมาตลอด
.
ซึ่งใน คำกล่าวปราศรัย ตอนหนึ่ง
กล่าวว่า
“ขอให้พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปาง
มีความรัก ความกตัญญู
และมีความสุข ตลอดไป”

คำกล่าวปราศรัย  มีดังนี้
.
พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปางที่รักทุกคน
วันนี้ เป็นวันที่ชาวอัสสัมชัญลำปาง
ที่มาร่วมงานมีความสุข และ
มีความภาคภูมิใจ
.
ความภาคภูมิใจ
ในความเป็นนักเรียนอัสสัมชัญลำปาง
อยู่ที่ เราได้ศึกษาเล่าเรียน
ในโรงเรียนที่ดีที่สุด
โรงเรียนหนึ่งของลำปาง
ที่คณะบราเดอร์ มาสเซอร์ ได้สอน
ให้เรามีความรู้ มีระเบียบวินัย
.
วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ
คือ คำขวัญ ที่นำเรา
และทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิต
และเมื่อเราได้ประสบความสำเร็จ
ในชีวิต ในการทำงาน
เราก็ได้แสดงความรัก ความกตัญญู
ต่อ  โรงเรียน และคณะครูของเรา
ในการช่วยเหลือสนับสนุน
และให้ความร่วมมือ
กับกิจกรรมของโรงเรียน
.
พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปางที่รักทุกคน
วันนี้ เรามีความสุขร่วมกัน ที่ได้มาร่วมงานในวันนี้ ใช่ไหมครับ
(  ใช่ . ใช่ . ใช่  )
ความเป็นชาวอัสสัมชัญลำปางที่ดีของเรา คือ
เรารัก เคารพ กตัญญู ต่อ บราเดอร์ ครู และโรงเรียนของเรา
เรารัก ลำปาง ที่เราเกิด เราได้เรียน และ
เรารัก เมืองไทย ที่ให้เราทุกอย่าง และทำให้เรามีความสำเร็จในวันนี้
.
วันนี้ คืนนี้
เราชาวอัสสัมชัญลำปาง
ได้มาร่วมงานที่ดีงาม
ได้แสดงมุทิตาจิต
รดน้ำดำหัวบราเดอร์มีชัย
ครูอาวุโสมาสเซอร์ และซิสเตอร์
รวมทั้งศิษย์เก่าอาวุโส
ได้แสดงความรัก ในความเป็นเพื่อน
เป็นพี่ เป็นน้อง ของชาวอัสสัมชัญลำปาง
เรามีความสุข สนุกร่าเริง เบิกบานหัวใจ
.
ขอให้พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปาง
มีความรัก ความกตัญญู
และมีความสุข ตลอดไป

พี่ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
๒๗๐๔๒๕๖๗

https://www.tiktok.com/@burinrujjanapan/video/7363654542556204306

ACL Alumni

ตอน 1 สระเกล้าดำหัวบูรพาจารย์
เรื่องเล่า พี่น้องศิษย์เก่า
ชาวอัสสัมชัญลำปาง
#alumni
#association
#assumption
#college
#lampang
#friends
#teacher
#school
#writer
#aclalumni

กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของ ศิษย์เก่า

สระเกล้าดำหัว ครูอาวุโส และศิษย์เก่าอาวุโส

กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของ ศิษย์เก่า
ที่แสดงมุทิตาจิตต่อครูอาวุโส และศิษย์เก่าอาวุโส

ปี พ.ศ. 2566 สมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
นำโดย คุณปุณณสิน มณีนันทน์ (คม)
และ #ชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพ)
นำโดย คุณนภสินธุ์ ตันติไชยบริบูรณ์
จัดกิจกรรม #รดน้ำดำหัว หรือ #สระเกล้าดำหัว
ครูอาวุโส และศิษย์เก่าอาวุโส
ที่ลำปาง เมื่อวันเสาร์ที่ 22 เมษายน ปี พ.ศ. 2566
ที่กรุงเทพ เมื่อวันเสาร์ที่ 29 เมษายน ปี พ.ศ. 2566
มีอัลบั้มให้ติดตามจากพี่ ๆ ศิษย์เก่า และคุณครูอาวุโส
ผมได้แชร์เผยแพร่ใน aclalumni.com
มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแจ้งมาได้ครับ

http://www.thaiabc.com/acla/

สมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
(Assumption College Lampang Alumni Association)

คือ การรวมตัวของศิษย์เก่า เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างศิษย์เก่า
และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์ของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
“พวกเรารักกัน อัสสัมชัญ สามัคคีกัน รักสถาบัน”

สระเกล้าดำหัว
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

คือ ประเพณีที่ศิษย์เก่ากลับมารวมกันทำกิจกรรมแสดงมุทิตาจิต
ระลึกคุณความดีของครูอาวุโส ศิษย์เก่าอาวุโส ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ หรือขึ้นปีใหม่ไทย
โดยสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และชมรมศิษย์อัสสัมชัญลำปาง(กรุงเทพ)
ถือเป็นวัฒนธรรมอันดีที่ร่วมกันรักษาไว้ และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี

thaiabc.com/acla/
thaiabc.com/acla/thainewyear.asp
ประวัติสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง - ช่วงเริ่มต้นปี 2506

ประวัติสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง – ช่วงเริ่มต้นปี 2506

การก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง เริ่มขึ้นในช่วงปี 2506 – 2507 โดยภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ ให้ข้อคิดเตือนใจแก่นักเรียนในขณะนั้น ให้พยายามรวบรวมศิษย์เก่ามาพบปะพูดคุยกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ปี พ.ศ. 2510 ภราดามิเกล ซีซีเรีย อิลเดฟองซ์โซ กลับมารับตำแหน่งอธิการอีกครั้ง ถึงปี พ.ศ. 2512 และในวันคริสต์มาสของทุกปีได้มีการจัดงานวันครอบครัว ดังนั้นคณะครูโรงเรียนที่เป็นศิษย์เก่าได้ปรึกษากับคณะครูอาวุโส มีมติร่วมกันให้จัดงานพบปะสังสรรค์ประจำปี ซึ่งครั้งแรกจัดใต้อาคารเซนต์หลุยส์ โดยเชิญภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ มาเป็นประธาน มีผู้มาร่วมงานประมาณ 30 คน ปี พ.ศ. 2511 – 2515 การพบปะระหว่างศิษย์เก่ากับโรงเรียนได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ แต่ยังไม่มีประธานฯ มารับผิดชอบโดยตรง ปี พ.ศ. 2516 คณะครูโรงเรียนได้มอบหมายให้ ม.เรืองยุทธ นวลบุญเรือง รุ่น 02 และ ม.สุรเดช ประสาทพร รุ่น 04 ร่วมกันยกร่างข้อบังคับ ชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง และสรรหาศิษย์เก่ามาเป็นประธานจัดงาน เพื่อปรึกษากันก่อตั้งสมาคมฯ ได้นายชนะ บูรมินเหนทร์ รุ่น 04 มาเป็นประธานจัดงานฯ วาระ 1 ปี ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานชมรม มาโดยตลอด

อ้างอิงจาก เอกสารในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2553 เสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2553
ในสมัยที่ พี่มนัสพี เดชะ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 18

http://www.thaiabc.com/acla/team.asp

http://www.thaiabc.com/acla/team_bkk.asp

เอกสารในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2553
คลิกเพื่อเปิด e-book
ศิษย์เก่ารุ่นพี่ที่มีความเมตตากรุณาต่อรุ่นน้อง

ศิษย์เก่ารุ่นพี่ที่มีความเมตตากรุณาต่อรุ่นน้อง

ระหว่างปรับปรุงเว็บไซต์ให้กับสมาคมศิษย์เก่าสมัยประถมศึกษา เนื่องจากได้รับมอบหมายจากรุ่นพี่และหัวหน้า ให้ทำเว็บไซต์ของสมาคมศิษย์เก่าแบบจดโดเมนเนมเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ตอนนี้โดเมนยังไม่ได้ย้ายไปไหน และใช้พื้นที่ในเครื่องบริการที่ผมเช่าไว้อยู่ ช่วงนี้มีเวลาติดตามข่าวสารของสมาคมศิษย์เก่า จึงได้นำเนื้อหามาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งในช่วงต้นฤดูหนาว ประมาณปลายเดือนธันวาคมของทุกปี สมาคมศิษย์เก่าได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมคืนสู่เหย้า (Home Coming Day) พบว่า มีกิจกรรมมากมายของสมาคมฯ ศิษย์เก่า และชมรมครูเก่าที่แชร์ทั้งในเพจ และในกลุ่ม จึงรวบรวม และแบ่งปันเรื่องราว ประกอบกับอ่านบทความวิจัยของ อนวัช มีเคลือบและคณะ (2560) และบทความวิชาการในสื่อของ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ ที่เขียนเรื่องสมาคมศิษย์เก่าฯ ในเชิงวิชาการ ทำให้เห็นภาพในหลายมุมมองของบรรดาศิษย์เก่าในประเทศไทย

พบโพสต์ในเฟซบุ๊กเรื่องการแสดงน้ำใจของรุ่นพี่ที่มีให้รุ่นน้องที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นกรณีของน้องเอื้อง (สุจิตรา มีบ้านเกิ้ง) ที่เขียนและโพสต์ลงสื่อสังคมโดยเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์สมาคมศิษย์เก่า KKU Alumni ได้เล่าถึงการมอบทุนการศึกษาจากศิษย์พี่ให้ศิษย์น้อง ทำให้นึกถึงภาพมากมายลอยเข้ามา โดยเฉพาะข้อความ Quote ของน้องเอื้อง ตอนหนึ่งที่เขียนว่า “เคยได้รับทุนการศึกษาจากสมาคมค่ะ ตอนเรียนอยู่จะเข้าไปรับทุนทุก ๆ เดือน เมื่อจบมาและมีงานทำพอมีเงินบ้าง จึงอยากแบ่งปันโอกาสนี้ให้กับน้อง ๆ

การมีศิษย์เก่าเช่นนี้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษา บทบาทในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาของสมาคมศิษย์เก่า ผ่านการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่า การปลูกฝังความเอื้ออาทร ความเสียสละ การแสดงความมีน้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูลของรุ่นพี่ที่มีต่อรุ่นน้อง เป็นสังคมแห่งมิตรภาพอย่างแท้จริง และเชื่อว่าเป็นที่ต้องการในทุกแวดวงการศึกษา

เมื่อค้นคำว่า “ศิษย์เก่าทรงคุณค่า” จาก google.com
จะพบข้อมูลของน้องเอื้อง ปรากฎเป็นรายการแรก

ศิษย์พี่ ให้ ศิษย์น้อง

https://web.facebook.com/KKUAlumni/

ดร.ยุ้ย ประธานรุ่น ACL32 ร่วมบริจาคเงินสนับสนุนซื้ออุปกรณ์ดนตรีให้กับ ACL Band ในนามรุ่น ACL32 กับโครงการ “สานฝัน…ปันรัก จากพี่ถึงน้อง” จำนวน 100,000 บาท โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

https://web.facebook.com/photo/