component

แกะบันทึกดอกเตอร์มาเป็นบทเรียน ในประเด็นการประชุมกรรมการหลักสูตร

7 ตัวบ่งชี้ระบบ
7 ตัวบ่งชี้ระบบ

ดอกเตอร์ที่เป็นข่าวเขียนบันทึกไว้หลายหน้า อ่านแล้วก็ทำให้ตระหนัก
มีหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การประชุมกรรมการหลักสูตรมีเรื่องต้องพิจารณา
ซึ่งมีประเด็นที่ท่านห่วง พอสรุปได้ดังนี้
– กำหนดแผนการศึกษาที่เข้าใหม่แต่ละเทอม [3+4]
– จัดตารางสอนของนักศึกษาใหม่ในเทอมแรก [3+4]
– การอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ [3.2]
– ทบทวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา [5.3]

สำหรับเลขที่ต่อท้ายประเด็นข้างต้น มีความหมายดังนี้
เลข 3+4 สอดรับกับ องค์ประกอบนักศึกษา และอาจารย์
เลข 3.2 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เลข 5.3 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การประเมินผู้เรียน รวมถึงกำกับการทำ มคอ.7
แล้วก็ไปอ่านเรื่องที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES)
ท่านได้วิเคราะห์ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล”
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596
แล้ว หลักธรรมมาภิบาล มี 10 ข้อ
เป็นตัวบ่งชี้ระดับสถาบัน ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
เป็นตัวบ่งชี้ระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
ซึ่งหลักธรรมาภิบาลอยู่ในคู่มือประกัน หน้า 40 และยากทุกข้อเลย
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/

งานประชุมที่ท่านพูดถึงถ้าไม่ทำก็ไม่ได้คะแนน
การได้คะแนนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
การให้คะแนนตามเกณฑ์ระบบมี 5 ระดับคะแนน

คะแนน 1 มีระบบ มีกลไก
คะแนน 2 มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ มีการประเมินกระบวนการ
คะแนน 3 มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน
คะแนน 4 มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
คะแนน 5 มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน
และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

หากจะทำเป็นระบบกันจริง ๆ ก็มีตัวบ่งชี้ระบบ ซึ่ง สกอ. คิดขึ้นมา
ประเด็นที่ต้องมีระบบ ในทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้จาก 13 ตัวบ่งชี้ของหลักสูตร

3.1 การรับนักศึกษา และการเตรียมก่อนเข้าศึกษา
3.2 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพศตวรรษที่ 21
4.1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
ระบบการบริหารอาจารย์ และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
5.1 ระบบควบคุมการออกแบบ และสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัย
5.2 ระบบผู้สอน กำกับ ติดตาม การบูรณาการพันธกิจ
การควบคุมหัวข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการช่วยเหลือตีพิมพ์
5.3 ระบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
6.1 ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

http://www.thaiall.com/iqa/

องค์ประกอบชำรุด ผลลัพธ์ย่อมผิดรูปไป

สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกฎวัฏสงสาร มีเกิดมีดับเปลี่ยนไปตามภพภูมิ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วก็กลับมาเกิดใหม่

องค์ประกอบนั้น สำคัญนะ
องค์ประกอบนั้น สำคัญนะ

แล้วทุกสถานะก็จะมีองค์ประกอบและค่าประจำองค์ของตน การเลื่อนไหลจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งค่าขององค์ประกอบทั้งหมดจะถูกรวมและประเมินว่าจะไหลไปอยู่ที่ใดเป็นเวลาเท่าใด เช่นเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยว่าสถาบันจะรุ่ง หรือจะร่วง

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกันขององค์ประกอบ เช่น ข้าวมันไก่จะประกอบด้วย ข้าว ไก่ น้ำจิ้ม น้ำซุป แต่จะมีลูกค้ามากน้อยเพียงใดย่อมมีอีกหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้าวมันไก่ที่มีคุณภาพก็จะมีรสชาติและปริมาณใกล้เคียงกันทุกจาน หากกุ๊กทำมานับสิบปีที่เรียกว่ามืออาชีพก็มักมีมาตรฐาน คือ ปริมาณและรสชาติใกล้เคียงกันทุกจาน ส่วนร้านใดเปลี่ยนกุ๊กบ่อยก็คาดได้ว่าไม่มีมาตรฐาน คือ รสชาติเปลี่ยนตามแม่ครัว ลูกค้าก็มักทยอยหนีหายไปร้านอื่น

การศึกษายุคโบราณที่มีวัดเป็นโรงเรียนจะมีองค์ประกอบที่ต่างกับปัจจุบัน คือ มีพระสงฆ์ มีกระดานชนวน มีปั๊บสา มีศาลาวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งยังไม่มีใครพูดถึงคุณภาพหรือมาตรฐาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ หลักสูตร คุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น แล้วองค์ประกอบที่ทำให้โรงเรียนแตกต่างกันก็มีอยู่มากมาย เพื่อแยกความแตกต่างจึงมีการจัดลำดับโรงเรียน ก็มีทั้งจัดอันดับในจังหวัด ในประเทศ และในโลก เมื่อมีโรงเรียนที่เป็นเลิศก็ย่อมมีโรงเรียนที่อยู่ท้ายสุด ผู้จัดอันดับแต่ละรายก็จะสนใจองค์ประกอบที่เป็นที่มาของคะแนนแตกต่างกัน อาจพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าในสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวนนักเรียนที่เป็นตัวแทนระดับชาติ หรือคะแนนเฉลี่ยจากการสอบวัดผลด้วยข้อสอบส่วนกลาง

ในระดับอุดมศึกษามีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดว่าสถาบันที่มีคุณภาพต้องประเมินองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) กำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพต้องมี 18 มาตรฐาน หากลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่ามีตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพอีกร้อยกว่าตัวที่ทุกหลักสูตรต้องปฏิบัติ ไม่มีหลักฐานมาแสดงก็จะไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น ถ้าไม่ดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับหนึ่งก็จะถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ อาจมีผลพิจารณาจากต้นสังกัดว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนในปีต่อไป หากดื้อดึงยังรับนักศึกษาต่อไปก็จะไม่ส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผลให้หลักสูตรที่มีบัณฑิตจบออกมานั้นไม่สามารถรับราชการได้

องค์ประกอบของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพต้องมี 9 องค์ประกอบ คือ แผนการดำเนินการ การผลิตบัณฑิต การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหาร การเงิน และการประกันคุณภาพ จากการกำกับให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกสถาบันเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบ CHEQA เมื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลผลประเมินสถาบันการศึกษาในไทย พบว่า มีสถาบันการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีผลประเมินต่ำกว่าระดับดี โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำคือ การผลิตบัณฑิต และการวิจัย

เมื่อเข้าไปดูผลการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลประเมินในระดับต่ำในระบบ CHEQA ที่ สกอ. เผยแพร่ พบว่า ตัวบ่งชี้ของการผลิตบัณฑิตที่ได้คะแนนต่ำ คือ จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ซึ่งสะท้อนได้ว่าจำนวนอาจารย์ที่พร้อมสอนในระดับนี้ยังขาดแคลน ส่วนตัวบ่งชี้ของการวิจัยที่ได้คะแนนต่ำ คือ วงเงินสนับสนุนงานวิจัย ถ้าหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอาจารย์ 5 ท่านจะต้องได้ทุนวิจัย 300,000 บาทต่อปี จึงจะได้คะแนนในระดับดีมาก

องค์ประกอบทั้งสองส่งผลถึงการผลิตบัณฑิตว่า ถ้าอาจารย์มีความพร้อมที่จะสอน ย่อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าอาจารย์ทำวิจัยที่มีคุณภาพก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่ และนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ แล้วจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคม แต่จากการติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพการศึกษาจนเป็นเหตุให้ต้องถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย หรือบางแห่งต่างเรื่องคุณภาพอาจารย์จน สกอ. มีคำสั่งให้หยุดรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกน้อย และตำแหน่งทางวิชาการน้อย

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม คนที่กำหนดเกณฑ์เป็นคนกลุ่มหนึ่ง คนที่รักษากฎเป็นอีกกลุ่ม คนที่พิพากษาเป็นอีกกลุ่ม แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อให้ครบถ้วน ปัจจุบันพบว่ามีนักวิชาการไทยก็ยังเห็นต่างเรื่องคุณภาพการศึกษา อาทิเช่น เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาจนทำให้คุณภาพเสียไป เน้นเรียนกับมืออาชีพโดยใช้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจมาเป็นอาจารย์พิเศษเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปก็จะไม่เป็นตามเกณฑ์คุณภาพ

ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งองค์ประกอบคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์คุณภาพมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในช่วงเวลา 10 ปีนี้ และจะยังปรับเปลี่ยนต่อไป การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดอย่างไรย่อมทำให้ผลลัพธ์แปรผันตามกันไป ในอนาคตการศึกษาไทยอาจให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึงก็เชื่อได้ว่าบัณฑิตใหม่จะสวดมนต์ และฟ้อนรำเป็นทุกคน

แหล่งข้อมูล
! http://www.cheqa.mua.go.th
http://www.mua.go.th
http://www.onesqa.or.th
http://www.moe.go.th

โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ในกรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/16WbWsK

องค์ประกอบดี ผลลัพธ์ย่อมดี แปรผันตามกัน

ทัศนะวิจารณ์  ..  “องค์ประกอบชำรุด ผลลัพธ์ย่อมผิดรูปไป

 

องค์ประกอบ และผลลัพธ์
องค์ประกอบ และผลลัพธ์

สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกฎวัฏสงสาร มีเกิดมีดับเปลี่ยนไปตามภพภูมิ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วก็กลับมาเกิดใหม่ แล้วทุกสถานะก็จะมีองค์ประกอบและค่าประจำองค์ของตน การเลื่อนไหลจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งค่าขององค์ประกอบทั้งหมดจะถูกรวมและประเมินว่าจะไหลไปอยู่ที่ใดเป็นเวลาเท่าใด  เช่นเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยว่าสถาบันจะรุ่ง หรือจะร่วง

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกันขององค์ประกอบ เช่น ข้าวมันไก่จะประกอบด้วย ข้าว ไก่ น้ำจิ้ม น้ำซุป แต่จะมีลูกค้ามากน้อยเพียงใดย่อมมีอีกหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้าวมันไก่ที่มีคุณภาพก็จะมีรสชาติและปริมาณใกล้เคียงกันทุกจาน หากกุ๊กทำมานับสิบปีที่เรียกว่ามืออาชีพก็มักมีมาตรฐาน คือ ปริมาณและรสชาติใกล้เคียงกันทุกจาน ส่วนร้านใดเปลี่ยนกุ๊กบ่อยก็คาดได้ว่าไม่มีมาตรฐาน คือ รสชาติเปลี่ยนตามแม่ครัว ลูกค้าก็มักทยอยหนีหายไปร้านอื่น

การศึกษายุคโบราณที่มีวัดเป็นโรงเรียนจะมีองค์ประกอบที่ต่างกับปัจจุบัน คือ มีพระสงฆ์ มีกระดานชนวน มีปั๊บสา มีศาลาวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งยังไม่มีใครพูดถึงคุณภาพหรือมาตรฐาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ หลักสูตร คุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น แล้วองค์ประกอบที่ทำให้โรงเรียนแตกต่างกันก็มีอยู่มากมาย เพื่อแยกความแตกต่างจึงมีการจัดลำดับโรงเรียน ก็มีทั้งจัดอันดับในจังหวัด ในประเทศ และในโลก เมื่อมีโรงเรียนที่เป็นเลิศก็ย่อมมีโรงเรียนที่อยู่ท้ายสุด ผู้จัดอันดับแต่ละรายก็จะสนใจองค์ประกอบที่เป็นที่มาของคะแนนแตกต่างกัน อาจพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าในสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวนนักเรียนที่เป็นตัวแทนระดับชาติ หรือคะแนนเฉลี่ยจากการสอบวัดผลด้วยข้อสอบส่วนกลาง

ในระดับอุดมศึกษามีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดว่าสถาบันที่มีคุณภาพต้องประเมินองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.) กำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพต้องมี 18 มาตรฐาน หากลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่ามีตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพอีกร้อยกว่าตัวที่ทุกหลักสูตรต้องปฏิบัติ ไม่มีหลักฐานมาแสดงก็จะไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น ถ้าไม่ดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับหนึ่งก็จะถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ อาจมีผลพิจารณาจากต้นสังกัดว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนในปีต่อไป หากดื้อดึงยังรับนักศึกษาต่อไปก็จะไม่ส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผลให้หลักสูตรที่มีบัณฑิตจบออกมานั้นไม่สามารถรับราชการได้

องค์ประกอบของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพต้องมี 9 องค์ประกอบ คือ แผนการดำเนินการ การผลิตบัณฑิต การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหาร การเงิน และการประกันคุณภาพ จากการกำกับให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกสถาบันเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบ CHEQA เมื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลผลประเมินสถาบันการศึกษาในไทย พบว่า มีสถาบันการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีผลประเมินต่ำกว่าระดับดี โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำคือ การผลิตบัณฑิต และการวิจัย

เมื่อเข้าไปดูผลการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลประเมินในระดับต่ำในระบบ CHEQA ที่ สกอ. เผยแพร่ พบว่า ตัวบ่งชี้ของการผลิตบัณฑิตที่ได้คะแนนต่ำ คือ จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ซึ่งสะท้อนได้ว่าจำนวนอาจารย์ที่พร้อมสอนในระดับนี้ยังขาดแคลน ส่วนตัวบ่งชี้ของการวิจัยที่ได้คะแนนต่ำ คือ วงเงินสนับสนุนงานวิจัย ถ้าหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอาจารย์ 5 ท่านจะต้องได้ทุนวิจัย 300,000 บาทต่อปี จึงจะได้คะแนนในระดับดีมาก

องค์ประกอบทั้งสองส่งผลถึงการผลิตบัณฑิตว่า ถ้าอาจารย์มีความพร้อมที่จะสอน ย่อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าอาจารย์ทำวิจัยที่มีคุณภาพก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่ และนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ แล้วจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคม แต่จากการติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพการศึกษาจนเป็นเหตุให้ต้องถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย หรือบางแห่งต่างเรื่องคุณภาพอาจารย์จน สกอ. มีคำสั่งให้หยุดรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกน้อย และตำแหน่งทางวิชาการน้อย

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม คนที่กำหนดเกณฑ์เป็นคนกลุ่มหนึ่ง คนที่รักษากฎเป็นอีกกลุ่ม คนที่พิพากษาเป็นอีกกลุ่ม แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อให้ครบถ้วน ปัจจุบันพบว่ามีนักวิชาการไทยก็ยังเห็นต่างเรื่องคุณภาพการศึกษา อาทิ เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาจนทำให้คุณภาพเสียไป เน้นเรียนกับมืออาชีพโดยใช้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจมาเป็นอาจารย์พิเศษเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปก็จะไม่เป็นตามเกณฑ์คุณภาพ
ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งองค์ประกอบคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์คุณภาพมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในช่วงเวลา 10 ปีนี้ และจะยังปรับเปลี่ยนต่อไป การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดอย่างไรย่อมทำให้ผลลัพธ์แปรผันตามกันไป ในอนาคตการศึกษาไทยอาจให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึงก็เชื่อได้ว่าบัณฑิตใหม่จะสวดมนต์ และฟ้อนรำเป็นทุกคน

แหล่งข้อมูล
http://www.cheqa.mua.go.th
http://www.mua.go.th
http://www.onesqa.or.th
http://www.moe.go.th