computer

คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของฉัน

ในอัลบั้มเล่มหนึ่ง มีบทหนึ่งบทในนั้น
มีสแตมป์ที่ฉันอยากประพันธ์ถึงเธอ
เนื้อความข้างในที่เขียน
บอกเล่าเรื่องราว
ให้ได้คิดถึงอดีตเสมอ
.
ในอดีตเลยนั้น
คอมพิวเตอร์ จะต้องมีขนาดใหญ่
การใช้งาน ถึงจะมีความสะดวกสบาย
ซึ่งต้องมีแผ่นโปรแกรมไว้รอท่า
เป็นกล่องมีนับสิบแผ่นโปรแกรม
ช่องใส่แผ่นดิสก์ มี 2 ช่อง
ช่องแรก ใส่แผ่นโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ช่องที่สอง ใส่แผ่นโปรแกรมประยุกต์
จอภาพก็มีสีเดียว
.
ต่อมา
มีหน่วยความจำสำรองขนาดใหญ่
ติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
ช่องใส่ดิสก์ก็ลดเหลือช่องเดียว
ปัจจุบันไม่เหลือ แม้แต่ช่องเดียว
.
ปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ย่อเล็กลง
แต่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำงานได้เร็วขึ้น
แสดงผลได้ละเอียดขึ้น
.
พัฒนาให้มีขนาดเล็กลงมาก
จนนำมาวางอยู่บนฝ่ามือ
หรือ ถือมือเดียว ก็ทำได้
กล่อง CPU ที่เคยหนักมาก และขนาดใหญ่
เดี๋ยวนี้ ถูกทำให้เล็กเท่าหัวแม่มือก็มีแล้ว
.
วันนี้
เปิดดูสมุดสแตมป์
พบภาพวาดเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยก่อน
ซึ่งการส่งจดหมาย
ในอดีต ต้องติดสแตมป์
ตามน้ำหนักของพัสดุ
ทักษะนี้คนรุ่นใหม่น่าจะไม่ถนัดแล้ว
.
สมัยนี้
เราสื่อสารกันหลายวิธี
ทุกคนมี สมรรถนะดิจิทัล กันหมดแล้ว
จะส่งอีเมลแบบตัวต่อตัว
จะส่งข้อความในกลุ่ม
จะสนทนากลุ่มย่อย
จะโพสต์ขึ้นเพจหรือเว็บไซต์
เผยแพร่เป็นสาธารณะก็ทำได้
.
สรุปว่า
การติดต่อสื่อสาร มีหลายวิธีให้เลือกใช้
และยังได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ให้ล้ำยุคล้ำสมัย ยิ่งขึ้นไปทุกวัน

https://vt.tiktok.com/ZSFfBNJkw/

คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของฉัน
#คอมพิวเตอร์
#สแตมป์
#การสื่อสาร
#ไปรษณีย์
#องค์ประกอบ
#หน่วยความจำ

ตีแสกหน้าอาจารย์คอม กับความเสี่ยงของโปรแกรมเมอร์

ในความเห็นของผม

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สะท้อนภาพความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ และหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนัก และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสที่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เห็นการสะท้อนแรง ๆ ที่ของใช้คำว่า ตีแสกหน้า เพราะหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเร็ว

ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าแชร์มา แล้วผมก็นำไปเล่าต่อ แล้วก็ repost ส่วนของ quote และ บทความ อีกหลายที่ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ควรตะหนักกัน

เคยอ่านบทความ 2 เรื่อง เขียนโดย ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ท่านเขียนบทความลง manager online มีความสนใจในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยง (Risk Management) และความเสี่ยงที่ใกล้ตัว คือ สถาบันการศึกษา และ อาชีพอาจารย์

ใครที่สนใจเรื่องความเสี่ยง คาดไว้ก่อนว่าต้องทำงานประกันคุณภาพ เคยเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งในเรื่องการบริหารจัดการ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้ ดร.อานนท์ มาอยู่ในเว็บเพจหน้านี้ บทความ 2 เรื่องที่ท่านเขียน กระแทกเข้ามาที่อาชีพ โปรแกรมเมอร์ และวิทยากรคอมพิวเตอร์ สำหรับผมแล้ว จิ้งจกทักยังต้องเหลียวไปมอง ดังนั้นสิ่งที่ท่านกระแทกมา นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจด้าน Developer จะวางเฉยได้ไง ถ้า ดร.อานนท์ กระแทกเข้ามาซึ่งหน้าแบบนี้แล้ว แล้วอาจารย์หรือนักศึกษาที่เกี่ยวข้องยังวางเฉยได้ ก็อ่ะนะ เรียก สงบ สยบ เคลื่อนไหว ก็แล้วกัน แล้วบทความของท่านเขียนมายาว ผมคัดลอกฉบับเต็มให้นักศึกษาผมได้อ่านที่ /webmaster/responsive

จากบทความเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงมหาวิทยาลัย

ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดสอนกันแทบทุกสถาบันในประเทศไทย แต่บริษัทเอกชนกลับหาคนมาทำงานด้าน Computer ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องการคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถอีกมากได้ยากมาก บัณฑิตด้าน computer sciences จำนวนมากจากหลายสถาบันไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงได้เลย หรือในอีกด้านเราผลิตคนที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพไม่เพียงพอ
http://www.manager.co.th

จากบทความเมื่อ 28 ธันวาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
http://www.manager.co.th