culture

สารบัญใน หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

อีบุ๊ก (e-book)
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 1 : scribd.com
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 2 : pubhtml5.com

thai dance

สารบัญ (ใช้เลขหน้าตาม e-book ตั้งแต่ 1 – 93)

  1. หน้าปก 1
  2. ปกใน 2
  3. สำนักพระราชวัง 3 – 4
  4. สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ 5
  5. กำหนดการ 6
  6. รัตนชยาลัยกถา (คำไว้อาลัย) : เจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง 7
  7. คำไว้อาลัย : เจ้าอาวาสวัดพระแก้วดอนเต้าสุดชาดาราม พระอารามหลวง 8
  8. ระลึกถึง อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย : ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์ 9
  9. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม : วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 10
  10. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ รัตนชัย : ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง 11 – 12
  11. อัจฉริยบุรุษ สุดประเสริฐยิ่งนัก “อาจารย์ ศักดิ์ รัตนชัย” : ประดิษฐ สรรพช่าง 13
  12. ข่าวสาร กลุ่มพิธีการฯ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 14
  13. ค่าใช้จ่าย 15
  14. มูลนิธิส่งเสริมงานวัฒนธรรมลำปาง สนับสนุนน้ำดื่ม และน่ำแข็ง 15
  15. ท่าฟ้อนเผียไหม 16 – 17
  16. เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง 18 – 19
  17. สารบัญ (ตามเล่มเอกสาร) 20
  18. ประวัติและผลงาน อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 21 – 40
  19. ความหลัง ความทรงจำ ชุดภาพงานแสดงแห่งชีวิต ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 41 – 59
  20. ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้บุกบั่น ฟันฝ่า ตามหาอาจารย์ สุดขอบฟ้า ร่ำเปิงถึงความหลัง : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 60 – 63
  21. แด่ปูชนียะ อาจาริยะ ศักดิ์ ส.รัตนชัย : อาจารย์ประดิษฐ สรรพช่าง 64 – 67
  22. ซอสะหรีสักเสิน เชิดชูเกียรติ อาจารย์ศักดิ์ สักเสริฐ รัตนชัย ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ถ่ายทอดและสืบทอดตำนานแผ่นดิน : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 68 -70
  23. การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่ เอกสารชุดที่ 12 71 – 88
  24. เอกสารเพิ่มเติม เรื่อง แก้วตาแม่ : อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด 89 – 92
  25. ปกหลัง 93
สารบัญ ตาม e-book

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ… by บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย

ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย

ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย
ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย

26 พ.ย.56 นักศึกษา และเพื่อนอาจารย์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ประกอบด้วย นายไวภพ ตุ้ยน้อย อาจารย์วิเชพ ใจบุญ และนายณภัทร เทพจันตา
เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 พ.ย.56
โดย กสทช. จัดเวิร์กช็อปนักศึกษา
เรื่อง ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย
(Threats on Cyber security and Its Implication on Thai Culture Workshop)

ตามที่ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาทุกประเทศในโลกมีอัตราการเติบโตของปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบที่เรียกกว่า สมาร์ทโฟน ขึ้นสูงมาก วิวัฒนาการได้ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด จนทำให้ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงความปลอดภัยของข้อมูลที่ตนเองได้ใช้ในการทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟนดังกล่าว ทำให้เกิดช่องโหว่ให้ผู้ไม่หวังดี และแฮคเกอร์ต่างใช้โอกาสนี้ในการโจรกรรมข้อมูล และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและองค์กรเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ใช้เครือข่ายออนไลน์ โดยเฉพาะเฟชบุ๊คในกรุงเทพมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ยิ่งเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮคเกอร์ได้โดยง่าย

กสทช. เห็นความสำคัญ ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย ทุกภูมิภาค เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงภัยคุกคามออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมให้เยาวชนและผู้เข้าร่วมประชุมใช้วัฒนธรรมนำชีวิต รู้จักใช้วัฒนธรรมในโลกไซเบอร์ รู้จักวิธีป้องกันปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อสร้างความตื่นตัวของภาคการศึกษา ประชาชนและกรรมการสภาวัฒนธรรม ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยนักเรียนนักศึกษา รวมทั้งครูอาจารย์ ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน นักธุรกิจ และประชาชนที่สนใจ

http://www.pracharkomnews.com/hilight/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81/

สาวเปิดเต้า เล่นสงกรานต์ แล้วอะไรคือความเป็นไทย

นางทั้ง 7 ในที่ที่เป็นส่วนตัว
นางทั้ง 7 ในที่ที่เป็นส่วนตัว

“.. เต้าแห่งความเป็นไทยไม่ปกปิด แล้วจิ๋มคู่ชีวิตจะอยู่ไหม ..

culture1

ผมเห็นเรื่องนี้  .. ก็ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร
เคยอ่านบทความเรื่อง “การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน
http://thainame.net/edu/?p=817
นำเสนอไว้ว่า ข้อเสนอแนะของเพียร์สัน
ข้อ 3 คือ มีวัฒนธรรมที่สนับสนุนการศึกษา
แล้ววัฒนธรรมไทยก็ไม่สนับสนุนการศึกษาจนเราเกือบบ๊วย
แล้วเหตุการณ์นี้ตอกย้ำว่า เกือบบ๊วยเลื่อนไปสู่บ๊วยนั้น อยู่แค่เอื้อม
เพราะกระทรวงที่จะทำให้สังคมไทยมีวัฒนธรรมการศึกษา
กลับพาเราเข้ารกเข้าพงกันไปใหญ่
.. ก็เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ในวงการการศึกษา
.. เรื่องการศึกษาก็ปล่อยให้กระทรวงศึกษาทำ กระทรวงนี้ไม่เกี่ยว

culture2

กระทรวงวัฒนธรรม ไม่เข็ด สาวเปิดเต้า เล่นสงกรานต์ โพสต์ลงเว็บอีกแล้ว

อีกไม่กี่วันก็จะถึง “วันสงกรานต์” อย่างเป็นทางการแล้ว “กระทรวงวัฒนธรรม” ที่ดูจะเป็นแม่งานหลักในเทศกาลนี้ก็ประเดิมรับสงกรานต์ ด้วยการใช้รูปภาพหน้าหัวเว็บของกระทรวง เป็นรูปหญิงสาวประมาณ 3-4 คน สาดน้ำไปมาดูน่าชื่นชมสวยงามด้วยขนมแบบไทย

http://www.m-culture.go.th/

แต่ที่น่าสนใจคือ พวกเธอสวมใส่โจงกระเบน แต่เฉพาะแค่ช่วงล่าง ช่วงบนของพวกเธอกลับไม่สวมใส่อะไรเลย จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คว่า ถึงความย้อนแย้งของกระทรวงวัฒนธรรมในการรณรงค์เรื่องการแต่งกายให้เหมาะสมกับความเป็นไทยหรือไม่ และวกกลับมาสู่คำถามสำคัญที่ดูจะยังหาคำตอบไม่ได้ว่า “อะไรคือความเป็นไทย

โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์จากสำนักท่าพระจันทร์ ก็ได้แสดงความเห็นว่า “อุเหม่ ไหงเป็นยังงั้นไปได้ ไปปิดเต้าทั้ง ๖ บัดเดี๋ยวนี้เลย เสื่อมเสียฟามเป็นไทยเมิด

เต้าแห่งความเป็นไทยไม่ปกปิด แล้วจิ๋มคู่ชีวิตจะอยู่ไหม กระทรวงวัฒนธรรมมาอำไทย สิ้นอำนาจอธิปไตยแล้วบัดนี้ ชะเอิงเงิงเงย

ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นเพราะกระแสวิจารณ์หรือปรากฎการณ์เซ็นเซอร์ตัวเอง ท้ายที่สุดเว็บกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้เปลี่ยนจากรูปหญิงสาวเปิดเต้าเล่นสงกรานต์ เป็นรูปสถาปัตยกรรมไทยที่เป็นที่รู้จัก และมีภาพหญิงสาว 2 คนเล่นรดน้ำสงกรานต์อย่างสุภาพ เพราะพวกเธอใส่เสื้อผ้ามิดชิดมาก – ใส่เสื้อแขนยาว และห่มทับด้วยสไบเฉียง

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่กระทรวงวัฒนธรรมนำรูปดังกล่าวลงเว็บไซต์ เพราะเมื่อสองปีที่แล้ว เว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้ลงรูปเดียวกันนี้ในแบนเนอร์ของเวป เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กระหึ่มโลกออนไลน์ มากจนถึงกับเว็บไซต์ของกระทรวงล่มกันเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวเป็นภาพวาดสีน้ำของนายสมภพ บุตรราช ศิลปินมีชื่ออีกคนของไทย ที่ได้วาดภาพบอกเล่าถึงวันสงกรานต์ ซึ่งมีหญิงสาวจำนวน 7 คนเปลือยหน้าอก ร่ายรำ เล่นดนตรี เล่นน้ำกันอย่างอย่างสนุก โดยภาพดังกล่าวเคยจัดแสดงไปครั้งหนึ่งแล้วที่หอศิลป์ฯ ก่อนที่ทางกระทรวงจะตัดทอน และนำไปไว้ในหน้าเว็บดังกล่าว

และเช่นเดียวกับปีนี้ ที่สุดท้าย กระทรวงวัฒนธรรมก็นำภาพดังกล่าวออกไปจากหน้าเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

http://news.sanook.com/1179825/

การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน

ตอนนี้หากถามว่าภูมิใจกับอันดับด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลกหรือไม่
ก็คงไม่มีใครไปตอบว่า “ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว” ! http://bit.ly/17oaJI9

วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)
วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)

เพราะระบบการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 40 ประเทศในปี 2555 จากผลการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษา คือ เพียร์สัน (Pearson) และ อีไอยู (EIU = The Economist Intelligence Unit) ในทางกลับกันพบว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีสถิติการเข้าถึงเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งในโลก เท่ากับ 12.7 ล้านคนจากทั้งหมด 7.8 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เข้าถึงเกือบ 2 เท่าของจำนวนประชากร ก่อนถามคนไทยว่าภูมิใจหรือไม่กับการเป็นอันดับหนึ่ง ก็ต้องกลับไปทบทวนวรรณกรรมว่าสถิติแต่ละค่าเป็นตัวบ่งชี้ต่อการแผนพัฒนาประเทศในด้านใด แล้วการเข้าเฟซบุ๊คมากผิดปกติเช่นนี้จะทำให้การศึกษาของไทยพัฒนาไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นปฏิกิริยาต่อกันจะเป็นแนวแปรผันหรือแนวผกผัน

เมื่อเข้าอยู่ในสนามประลองย่อมต้องเหลียวซ้ายแลขวา และย้อนดูตนเองไปพร้อมกับการชำเรืองดูคู่แข่งขัน เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่ในอันดับเกือบบ๊วย แล้ว 5 อันดับแรกคือใคร พบว่าเบอร์หนึ่งคือ ฟินแลนด์ ตามด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ หลังผลการจัดอันดับออกมาแล้วพบว่ากระทรวงศึกษาธิการขยับในหลายเรื่อง อาทิเช่น ส่งหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมบ๊อบ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งลดการบ้าน และหวังลดภาระนักเรียน เพื่อจะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าถูกที่ ถูกทางแล้วใช่ไหม

รายงานของเพียร์สันในส่วนสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ได้เขียนคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นวลีสำคัญดังนี้ ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง สอนเด็กให้เลิศต้องสอนโดยครูที่เป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ดีที่สนับสนุนการศึกษา พ่อแม่ต้องส่งเสริม สอนเรื่องที่นำไปใช้ในอนาคตได้ ซึ่ง 5 วลีนี้เป็นข้อเสนอในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา หลังจากอ่านแล้วอ่านอีกหลายรอบ ก็รู้สึกอื้ออึงในสมองซีกซ้ายเป็นคำถามว่ามีเรื่องใดแก้ไขได้เร็วที่สุดบ้าง เพราะทุกเรื่องล้วนเป็นปัญหาที่พบเห็นเป็นประจักษ์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าประเทศของเราไม่มีปัญหาดัง 5 ข้อนี้ เราก็คงไม่ได้ตำแหน่งเกือบบ๊วยเป็นแน่

สำหรับข้อที่ 3 ในคำแนะนำของเพียร์สันเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ และทุกวัยอย่างแท้จริง เกี่ยวตรงคำว่าวัฒนธรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของกิจกรรม ความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อโลก และแนวการปฏิบัติของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษามีมากมาย อาทิเช่น อยากเรียนต้องได้เรียน สอบได้เป็นเรื่องตลกสอบตกเดี๋ยวก็สอบซ่อม จ่ายครบจบแน่ เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นแต่สิ่งที่อยากเชื่อ ชิงสุกก่อนห่าม ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ตั้งใจเรียนโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน รีบเรียนให้จบนะลูกจะได้มาช่วยพ่อแม่ไถนา เรียนไปก็ตกงานจะตั้งใจเรียนไปทำไม เงินซื้อได้ทุกอย่างแม้แต่ปริญญา สาธุขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างให้สอบผ่านทีเถอะ หมอดูในทีวีทักมาว่าราศีไม่ดีสอบปลายภาคตกแน่ ปล่อยให้หนูจบเถอะไม่งั้นอาจารย์เจอดีแน่

การเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษาของคนไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำว่า กรุงโรมไม่อาจสร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ก็ไม่อาจพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จได้ในปีเดียวฉันนั้น เพราะการเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาต้องเริ่มต้นจากการมีต้นแบบวัฒนธรรมที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ ถ้ายังไม่รู้ยังไม่มีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับทั้งสังคม ประเทศก็คงค่อยเดินค่อยคลานไปในความมืดโดยมีเป้าประสงค์ที่เลือนรางรออยู่ เพราะในสังคมไทยมีผู้คนที่เดินสวนทางกับวัฒนธรรมการศึกษาคุณภาพอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบทันที ถ้าคนในสังคมเริ่มคิดเป็น ทำเป็น แล้วรู้จักเลือกอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้ไปอิงกับค่านิยม ความเชื่อ ตามอิทธิพลของสื่อ ตามคนหมู่มาก หรือแฟชั่นที่ฟุ้งเฟ้อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2563

news paper
news paper

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=477721182295748&set=a.160162067384996.39239.100001736120394

แหล่งข้อมูล
http://thelearningcurve.pearson.com/
http://www.thairath.co.th/content/edu/325982
! http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzJPRFl5T0E9PQ==
http://www.voathai.com/content/best-education-systems-ss/1557918.html
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/