ต่อไปไม่มีตัง แม้อยากเรียน ถ้าไม่เก่ง ไม่จิตอาสา ก็ไม่ได้เรียนแล้ว
ตีความตามข่าวเรื่อง กยศ. ว่า
ในอดีต ไม่เก่ง ไม่จิตอาสา ถ้าอยากเรียนย่อมได้เรียน
ในอนาคต แม้อยากเรียน ถ้าไม่เก่ง และไม่จิตอาสา ก็ไม่ได้เรียนนะครับ
สถาบันไหน รุ่นพี่เบี้ยวหนี้เยอะ ก็จะได้วงเงินกู้ปีต่อไปลดลง
สถาบันไหนเปิดหลักสูตรใหม่ ก็จะกู้ กยศ. ไม่ได้
2 ก.ย.57 นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
เปิดเผยว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายเกี่ยวกับการปล่อยกู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นั้น
ให้เน้นกู้ให้ยาก จ่ายคืนง่าย โดยในการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000100630
เมื่อเร็วๆ นี้ มีมติเห็นชอบกำหนดมาตรการการและปรับหลักเกณฑ์การให้กู้ยืมกองทุน กยศ. ประกอบด้วย
1. หลักเกณฑ์การคัดกรองสถานศึกษา ที่จะจัดสรรเงิน กยศ. ให้นักเรียนกู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค
ต้องเปิดการเรียนการสอนมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
มีผลการรับรองคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพศึกษา (สมศ.)
และต้องมีโครงการที่มุ่งจิตอาสาที่มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ
ส่วนระดับอนุปริญญาตรี และปริญญาตรี นอกจากจะต้องเปิดสอนมาอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
และมีโครงการที่มุ่งจิตอาสา แล้วหลักสูตรที่เปิดสอนต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผ่านการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ตลอดจนมีผลการรับรองจาก สมศ. ด้วย
2. หลักเกณฑ์การคัดกรองผู้กู้ยืมเงินในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้ที่จะยื่นกู้จะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไม่น้อยกว่า 2.00
ระดับ ปวช. ปวท. และ ปวส. ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว
เพราะต้องการส่งเสริมให้มีการเรียนสายอาชีพมากขึ้น
ส่วนระดับอนุปริญญา/ปริญญาตรี ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยกว่า 2.00
รวมทั้งต้องมีหลักฐานแสดงถึงการเข้าร่วมโครงการจิตอาสาด้วย
ส่วนผู้กู้รายเก่าที่จะเลื่อนชั้นปีหากจะกู้ต่อได้ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.00 เช่นกันทุกภาคเรียน
และยังต้องมีหลักฐานการเข้าร่วมโครงการจิตอาสาอย่างน้อย 1 กิจกรรมต่อภาคการศึกษา
โดยต้องเข้าร่วมโครงการจิตอาสาไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมงต่อ 1 ภาคการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในส่วนของผู้ที่กู้ยืมนั้นจะดูเฉพาะเรื่องรายได้เท่านั้น
แต่ส่วนอื่นไม่ได้กำหนด เช่น เรื่องผลการเรียนเฉลี่ยสะสม เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบหลักเกณฑ์สัดส่วนวงเงินให้กู้ยืมแก่สถานศึกษา ไว้ 4 ส่วน
อาทิ กำหนดสัดส่วนจำนวนผู้กู้ที่มาชำระหนี้คืนไว้ 40% ซึ่งต่อไปหากสถานศึกษาใดมีการค้างชำระหนี้ของผู้กู้มาก
จะได้รับจัดสรรวงเงินให้กู้ยืมน้อยลงด้วย
อีกทั้งยังได้กำหนดสัดส่วนจำนวนผู้กู้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อสายอาชีพ ไว้ในสัดส่วน 50 : 50
และระดับอนุปริญญา/ปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์ต่อสายสังคมในสัดส่วน 50 : 50 เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม กยศ. จะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป