education

หัวข้อวิจัย การเปลี่ยนหลักสูตร

การวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนหลักสูตรเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและมีความสำคัญมากในการพัฒนาการศึกษา นี่คือแนวทางและหัวข้อที่คุณอาจพิจารณา มีดังนี้
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนเฉพาะ เช่น การพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนหนึ่ง
2. การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร คือ วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียน
3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตร คือ ศึกษาบทบาทของชุมชนและผู้ปกครองในการพัฒนาหลักสูตร
4. การฝึกอบรมครูเพื่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร คือ วิเคราะห์ความต้องการและผลของการฝึกอบรมครูในการปรับปรุงหลักสูตร
5. การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาหลักสูตร คือ ศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
[.cp.]

การวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนหลักสูตรเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและมีประโยชน์ในหลายแง่มุม ทั้งในด้านการพัฒนาการศึกษา การเพิ่มคุณภาพของหลักสูตร และการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน มีประเด็นให้พิจารณาดังนี้
1. ความสำคัญของหัวข้อ
– สาเหตุของการเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนหรือสอดคล้องกับความต้องการของโลกยุคใหม่ 
– ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และองค์กรต่าง ๆ 
– ความเหมาะสมกับบริบท คือ หลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงต้องสอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ 
2. แนวทางการวิจัย
– การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง 
– การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) คือ ทดสอบผลกระทบของหลักสูตรใหม่ต่อผลการเรียน 
– การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ  ศึกษาความคิดเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์และปัญหา 
3. ตัวอย่างหัวข้อการวิจัย
– การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย
– ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับหลักสูตรใหม่ในโรงเรียนประถมศึกษา
– การปรับหลักสูตรการศึกษาตามแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต
– การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างหลักสูตรเดิมและหลักสูตรใหม่ในรายวิชาคณิตศาสตร์
4. แหล่งข้อมูลและวิธีการเก็บข้อมูล
– การสัมภาษณ์กับ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง 
– แบบสอบถาม คือ การสำรวจความคิดเห็น 
– เอกสารและรายงานเป็น ข้อมูลจากกระทรวงศึกษา โรงเรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
5. ข้อควรระวัง
– การเปลี่ยนหลักสูตรอาจต้องคำนึงถึงงบประมาณ การอบรมครู และความเข้าใจของผู้ปฏิบัติ 
– ต้องหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่เร็วเกินไปหรือไม่ผ่านการประเมินผลที่เหมาะสม 
[.cg.]

การเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียนเอกชน พบว่า การประเมินและทดลองใช้หลักสูตรมีผลต่อความสามารถของครูในการนำหลักสูตรไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนหลักสูตร สามารถพิจารณาหัวข้อเพิ่มเติมดังนี้
1) การประเมินความต้องการในการปรับปรุงหลักสูตร (Requirement) คือ วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและสังคมเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น
2) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (Effect) คือ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับเปลี่ยนหลักสูตรและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน
3) การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาหลักสูตร (Technology) คือ การสำรวจวิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการสอนในหลักสูตรใหม่
[.pp.]

หัวข้อวิจัย การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีประเด็นที่ควรเจาะลึกลงไปในหัวข้อย่อยได้อีกมากมาย

ตัวอย่างหัวข้อวิจัย เช่น
1) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อรองรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
    * การนำเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการในหลักสูตร
    * การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน
    * การเตรียมความพร้อมนักเรียนให้เข้าสู่โลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป
2) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
    * การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต
    * การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
3) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นศูนย์กลางนักเรียน
    * การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ
    * การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้
    * การส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้
4) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
    * การนำภาษาต่างประเทศมาใช้ในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ
    * การส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์จริง
5) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
    * การบูรณาการค่านิยมเข้าสู่ทุกวิชาเรียน
    * การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิต
6) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อรองรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
    * การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
    * การสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่าง
7) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนตลอดชีวิต
    * การส่งเสริมให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็นและใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
    * การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกหัวข้อวิจัย มีดังนี้
1) ความสนใจ (Interested)
2) ความสำคัญ (Importance)
3) ความเป็นไปได้ (Possibility)
4) ความใหม่ (New idea)

ขั้นตอนในการทำวิจัย
1. กำหนดขอบเขตของการวิจัย
2. รวบรวมข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. นำเสนอผลการวิจัย

[.gm.]

/schooldirector/

https://www.thaiall.com/schooldirector/

ตอนที่ 5 สารสนเทศด้านการศึกษา พบนักเรียนเลือก สพฐ. เยอะสุด เรื่องเล่า สังคมคนรักอ่าน

ระหว่างเข้าอ่านข้อมูลที่น่าสนใจ
ใน สื่อสังคม และ เว็บไซต์
พบ อีบุ๊คที่น่าสนใจจากหลายแหล่ง
เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง
ที่เผยแพร่ อีบุ๊คในระบบ ถึง 45 เล่ม
มีเล่มหนึ่งเกี่ยวกับ มีข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา
.
มีทั้งแบบตารางสรุปข้อมูล และ แผนภูมิวงกลมจำแนกสัดส่วน
และ แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบแนวโน้ม
.
จากข้อมูลตาราง เปรียบเทียบจำนวนผู้เรียนจังหวัดลำปาง
พบว่า จำนวนนักเรียนส่วนใหญ่
อยู่ในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองลงมาอยู่ใน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

สรุปว่า นักเรียนที่จังหวัดลำปาง
เลือกเรียนในสถานศึกษา ที่สังกัด สพฐ. เยอะสุด

https://vt.tiktok.com/ZSYB2MeVk/

https://lpgpeo.go.th/

http://www.sesalpglpn.go.th/

ข้อมูล

ตอนที่ 5 สารสนเทศด้านการศึกษา
พบนักเรียนเลือก สพฐ. เยอะสุด
เรื่องเล่า #สังคมคนรักอ่าน
#รักการอ่าน
#โรงเรียน
#school
#สารสนเทศ
#ข้อมูล
#ศึกษาธิการจังหวัด
#ลำปาง
#สพฐ
#ebook

ตอนที่ 6 ห้องเรียนที่อยู่นอกห้องเรียน นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว

ตอนที่ 6 ห้องเรียนที่อยู่นอกห้องเรียน
.
นอกจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
เรียนรู้จากในตำรา
เรียนจากอีเลินนิ่ง และ แบบฝึกหัดแล้ว
.
นักเรียน มักชอบฟังเรื่องเล่า
จากวิทยากร ที่ทำงานในสายอาชีพต่าง ๆ
ที่โรงเรียนจัดกิจกรรมเชิญรุ่นพี่ศิษย์เก่า
ให้กลับไปสร้างแรงบันดาลใจให้รุ่นน้อง
.
ครูแจง ครูจอย หรือ ผอ.ฟ้า
มักจัดเวลาในห้องเรียนไว้ช่วงหนึ่ง
เพื่อแบ่งปันประสบการณ์นอกห้องเรียน
ให้นักเรียนได้ฟังอยู่เสมอ
เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน
ที่จะออกไปประกอบอาชีพในอนาคต
.
ผอ.ฟ้า ส่งเสริมครูให้ทำอาชีพเสริม
และบูรณาการกับการสอนได้
โดยเน้นไปที่อีคอมเมอร์ซ
มีเว็บไซต์ หรือหน้าร้านออนไลน์
ทำคลิปวิดีโอ เขียนบล็อก
เพราะอาชีพออนไลน์
เป็นสายธุรกิจที่เติมโตเร็ว ลงทุนน้อย
และมีแพลตฟอร์มที่สนับสนุนจำนวนมาก
เช่น การสั่งสินค้าจากจีนมาขาย
จาก taobao.ttpcargo.com เป็นต้น
.
ที่โรงเรียนได้เปิดห้องให้คำปรึกษา
และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ที่นับได้ว่าเป็นห้องเรียนสู่อนาคต
ที่ถูกนักเรียนประเมินว่าน่าสนใจ
.
แต่การเรียนต่อตามระบบการศึกษา
ยังถูกเลือกโดยนักเรียนกลุ่มใหญ่
มีหลายหลักสูตรที่ถูกกำกับดูแล
โดยองค์กรวิชาชีพที่กำกับมาตรฐาน
เช่น สายตำรวจ สายทหาร
หรือ สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ที่มีนักเรียนสนใจเข้าไปฝึกประสบการณ์
เก็บชั่วโมงการฝึกงาน
.
ปัจจุบันนอกห้องเรียน
มีเรื่องราวให้เรียนรู้มากมาย
และเข้าถึงได้ง่ายกว่าในอดีต

https://vt.tiktok.com/ZSF3qv9TM/

ตัดต่อด้วย capcut

ตอนที่ 4 ภาระครูไทยที่คาดไม่ถึง
นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว

นิทาน ตอนที่ 4 ภาระครูไทยที่คาดไม่ถึง
ตั้งแต่ครูแจง ปลอมตัวไปเป็นครูอัตราจ้าง
เพื่อเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง
.
จึงไม่มีเวลากลับบ้านที่ต่างจังหวัด
เพราะได้รับภาระที่ ผอ.ฟ้า
มอบหมายมาหลายรายการ
ทั้งภาระที่จำเป็น และไม่จำเป็น
ทั้งคาดถึง และคาดไม่ถึง
.
ภาระที่จำเป็น ในบทบาทของครูอัตราจ้าง
เป็นสิ่งที่เข้าใจได้
เช่น งานสอนหนังสือ งานดูแลนักเรียน
.
แต่ภาระที่ไม่จำเป็น และเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้
ทำให้นึกถึงครูชีวะสายสตรองค์
ที่ทำคลิปรีวิวหลังบรรจุครบหนึ่งปี
เก็บสำรองไว้ใน usb-perfect.com
ก่อนเผยแพร่ในสื่อสังคม
.
ทำให้เห็นภาระของครู ที่คาดไม่ถึง เช่น
– ซ่อมประตู
– เปลี่ยนหลอดไฟ
– ทาสีอาคาร
– ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
– ติดตั้งอินเทอร์เน็ตวายฟาย
– ติดตั้งกระดานดำ
– ติดตั้งโซลาร์เซลล์
– เป็นช่างก่อสร้างเทปูน
– เป็นช่างประปาเดินท่อน้ำ
– เป็นพนักงานพัสดุ จัดซื้อ และการเงิน
– ดูแลห้องสมุด
– ดูแลคลังข้อสอบ
-ทำเว็บไซต์โรงเรียน และ
-ทำโครงการพัฒนาอีกมากมาย
.
เมื่อ ครูแจง ได้เห็นปัญหาแล้ว
ก็คิดได้ว่า เพียงหนึ่งสมอง สองมือ
ไม่พอกับภาระมากมายที่กองตรงหน้า
จึงเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำไปวิเคราะห์
และหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

https://vt.tiktok.com/ZSF3dtD5D/

ตอนที่ 4 ภาระครูไทยที่คาดไม่ถึง
นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว
#school
#teacher
#fiction
#lesson
#learning
#เพื่อความบันเทิง
#ซีรี่
#ของพรีเมี่ยม
#creative
#usbperfect
#elearning

เอ.ไอ. แนะนำหลักสูตร ที่เลือกเรียนแล้ว จะมีอาชีพในอนาคต

ตั้งคำถามให้ เอ.ไอ. ตอบคำถาม พบว่า ได้รับคำแนะนำ 5 หลักสูตรแรก ที่นักเรียนควรเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้มีอาชีพ มีงานทำในอนาคต
.
นักเรียนจะเลือกสายที่หนึ่ง หรือสายสุดท้าย ก็ขึ้นกับ ความชอบ ความถนัด พละกำลัง ของแต่ละครอบครัว
.
ผมคิดว่าไม่สำคัญ
ว่าท่านจะเป็น เด็กหน้าห้อง
หรือ เด็กหลังห้อง
เพราะในปัจจุบัน
อยากเรียนหลักสูตรไหน ก็เรียนได้
การศึกษาเปิดกว้างกว่าในอดีตอย่างมาก
หากมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ อดทน
และมีความพยายามที่มากพอ
.
ลองทายกันดูได้ครับ
ว่าเมืองไทยมีสายอาชีพไหน
ตามคำแนะนำของ เอ.ไอ.
ที่โดนใจท่านบ้าง คิดเหมือนกัน
หรือคิดต่างกัน หรือไม่
.
สรุปว่าที่ เอ.ไอ. เสนอมานั้น ประกอบด้วย
1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ
2. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมข้อมูล
3. การเงิน การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์
4. ธุรกิจ การตลาดดิจิทัล และดิจิทัลมีเดีย
5. การจัดการโลจิสติกส์ และวิศวกรรมโลจิสติกส์
.
แล้วท่านคิดอย่างไรกับอันดับข้างต้นนี้

Students
A.I. answer

สายหลักสูตรน่าเรียนในมหาวิทยาลัย
#artificialintelligence
#curriculum
#university
#education

วุฒิสภาด้านการศึกษา

กลุ่มวุฒิสภาด้านการศึกษาในเฟสบุ๊ค

https://www.facebook.com/groups/345918844728152/

วุฒิ คือ ภูมิรู้, ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่

สภา คือ องค์กร หรือสถานที่ประชุม

การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้

ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ สมัครเป็น ส.ว. ได้

ทำความรู้จัก
#คณะกรรมาธิการการศึกษา
มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบของชาติแต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ การให้บริการทางการศึกษาสำหรับประชาชน โดยคำนึงถึงความเป็นมาตรฐาน เป็นธรรมและทั่วถึงเน้นความเป็นเลิศทางปัญญา วินัย คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ ความเป็นไทยบนพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทภายในยุทธศาสตร์ชาติ ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

https://www.senate.go.th/

ภาษาอังกฤษที่ 100 จาก 112 ประเทศ

ใบรับรองภาษาอังกฤษ

ประเด็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาสากล มีการสอบวัดในระดับโลก
พบว่า บางประเทศเน้นสอน Grammar
แต่ผลสอบของเด็กเราชัดว่าไม่แม่นใน Grammar
พบว่า คะแนนสอบต่ำในหลายด้าน
ทั้ง Reading, Listening, Writing, Speaking และ Grammar
ถ้าเน้นสอน Grammar และแม่นใน Grammar จริง
ผลสอบ Reading, Writing และ Grammar ย่อม OK
กลับมามอง
ข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อสอบครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
พบว่า ไม่ยากอย่างที่ควร แต่ยังสอบตกจำนวนมาก
ทั้งที่ไม่มี Listening และ Speaking ในข้อสอบ
ปัญหาหลัก คือ ครูไม่เก่งภาษาอังกฤษ
พอที่จะสร้างระบบนิเวศการใช้ภาษาอังกฤษในโรงเรียน

ข้อเสนอสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหา
1) หลักสูตรการเรียนการสอนควรเริ่มจากการเน้น Listening และ Speaking ในขั้นพื้นฐาน แล้วเพิ่มทักษะอื่นในระดับชั้นที่สูงขึ้น
2) สร้างแรงจูงใจให้ครูพัฒนาตัวเอง เช่น ครูที่ได้คะแนน TOEIC ระดับ 600 คะแนนจะได้เงินเพิ่มสัก 2,500 บาทต่อเดือน และยื่นทุกสองปี
3) สอบบรรจุครูต้องยื่นในรับรองการสอบภาษาอังกฤษ พร้อมใบสมัคร

Cr: เรียบเรียงจาก Chaturong ใน Wiriyah Eduzones

ภาษาอังกฤษ 100 จาก 112 ประเทศ


https://thethaiger.com/th/news/500946/

https://web.facebook.com/ajWiriya/

ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ

7 ประเด็นร้อนในชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครู

ชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ท้าทายจรรยาบรรณครู มีประเด็นที่น่าสนใจใน 7 กลุ่มประเด็น ประกอบด้วย 1) สุข 2) สาร 3) สั่ง 4) สอบ 5) สมรรถนะ 6) สุจริต และ 7) เกษียณ เสนอให้ใช้คำค้นต่อไปนี้ในกูเกิลจะพบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย ได้แก่ ครูไม่มีความสุข ครูทำงานเอกสาร สั่งครูมิชอบ สอบไม่ตรงที่สอน ฐานสมรรถนะเชิงรุก ครูสุจริต ผอสุจริต และ บังคับครูงานเกษียณ พบว่า ประเด็นข้างต้นมีหลายชุมชนได้หยิบยก หรือจุดประเด็นในสื่อสังคม และมีหลายช่องทางที่แจ้งข้อมูลร้องเรียนได้ สำหรับช่องทางที่ไม่เป็นทางการ คือ สื่อสังคม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทุกสำนักที่เปิดช่องทางสื่อสารทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ โทรศัพท์ อีเมล หรือไปรษณีย์

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_teacher.htm

ช่องทางที่เป็นทางการ ได้แก่

  • สายด่วนการศึกษา 1579 หรือ http://1579.moe.go.th/
  • สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาสายด่วน 1676
  • ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน GCC สายด่วน 1111 หรืออีเมล contact_1111@gcc.go.th
  • ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ 022831270-84 โทรสาร 022834525 หรืออีเมล ccc@opm.go.th
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสายด่วน 1166
  • เว็บไซต์ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภคออนไลน์ https://complaint.ocpb.go.th
  • ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยสายด่วน 1567 โทรศัพท์ 02-222-1141-55 โทรสาร 02-222-6838
  • สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสายด่วน 1166 โทรศัพท์ 02-141-3800 โทรสาร 02-143-9563 อีเมล info@nhrc.or.th
  • สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งเลขที่ 19 อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ
สายด่วนการศึกษา 1579
ลอย ชุนพงษ์ทอง กับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ดี

ลอย ชุนพงษ์ทอง เสนอให้มี 17 ข้อใน พ.ร.บ.ฯ

นั่งดูคลิปวิดีโอของ ลอย ชุนพงษ์ทอง
เรื่อง ชำแหละ #แผนการศึกษา #จุดจบความคิดสร้างสรรค์ #ใส่กรอบแบบเดียวกัน

พบข้อเสนอแนะว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ดี
ควรต้องมี 17 ข้อ ต่อไปนี้

  1. ระบุวิธีดำเนินการที่ให้รัฐจะจัดหา เพื่อให้สิทธิเด็กและประชาชนได้เรียนรู้ ตามความถนัด ตามท้องถิ่น ตามความเชื่อ ตามศักยภาพ ได้อย่างไร
  2. ระบุช่องทางที่รัฐ จะให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างไร
  3. ระบุช่องทางการตรวจสอบ จากภาคประชาชน เช่น งบการเงินของสถานศึกษา คะแนนโหวตของประชาชนในท้องถิ่น นำไปสู่งบของโรงเรียน
  4. ระบุหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต่อเด็ก
  5. ระบุสิทธิ เสรีภาพขอบเขตการแสดงออกของเด็ก และหน้าที่ในสถานศึกษา
  6. ระบุสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของครูในและนอกสถานศึกษา
  7. ระบุขอบเขตการลงโทษเด็กโดยครู
  8. ระบุขอบเขต และการคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการในสถานศึกษา
  9. ระบุกรอบและความเป็นอิสระของสถานศึกษาในการจัดการศึกษา
  10. ระบุภาระหน้าที่ของสถานศึกษาต่อชุมชน หรือภูมิภาค
  11. ระบุสิทธิในการศึกษาภาคพิเศษ เช่น ผู้พิการ ทางการ/สมอง นักบวช นักโทษจองจำ
  12. กำหนดหลักสูตรฯ ต้นแบบการสอน ประเมินผล โดยสถาบันส่งเสริมการสอนฯ
  13. กำหนดสัดส่วนเวลาที่ครูใช้ไปกับการสอน และการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  14. กำหนดหน่วยงานในการกำกับ ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา
  15. กำหนดภาระหน้าที่ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
  16. กำหนดบทลงโทษ หัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย แนวทาง หรือมติที่ออกไป
  17. แก้ไขกฎกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

https://www.thaiall.com/student/law.htm

#เล่าสู่กันฟัง 63-010 ออกหานักเรียนไปเรียนเป็นทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล วิทยาการคอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน โรงเรียนต่าง ๆ จะจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาเข้าไปจัดบูทแนะแนวการศึกษา ว่าแต่ละอาชีพ แต่ละสถาบัน มีหลักสูตรอะไรที่น่าสนใจ นักเรียนก็ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากบูทแนะแนว เอกสารประชาสัมพันธ์ และการซักถามจากวิทยากรที่ให้ความรู้ #tcas

การเลือกทางเดินชีวิตด้วยข้อมูลด้วยตนเอง

ย่อมดีกว่าคนอื่นเลือกให้ และไม่มีข้อมูล

พบว่า ม.เนชั่นร่วมกิจกรรม Career Shopping Day 2019 ณ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ 8 ม.ค.63 มีการจัดบูทนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อ ให้ความรู้อาชีพทันตแพทย์ ในฐาน Career Expo เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้รู้จักอาชีพนำไปเป็นแนวทางการศึกษาต่อ และชวนไปเรียนเป็นหมอฟัน หมอแล็บ พยาบาล ที่ม.เนชั่น โดย งานประชาสัมพันธ์ รับสมัคร วิเทศ และศิษย์เก่าสัมพันธ์

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2616190341791368&id=228245437252549