job

ตอนที่ 9 งานพาร์ทไทม์มีเส้นทางที่หลากหลาย

ในซีรี่ย์ เรื่อง ผู้หญิงหลายหน้า กับ สุดหล่อขี้ลืม
มีหนุ่มหล่อเพื่อนนางเอก เป็นพระรอง
พบกับ สาวสวยน้องพระเอก เป็นนางรอง
พบกันบ่อยโดยบังเอิญ ต่างอาชีพ
ต่างเวลา ต่างสถานที่ ในมุมกุ๊กกิ๊กบ่อย ๆ
เพราะหนุ่มหล่อทำงานพาร์ทไทม์
มีความสามารถหลากหลายทักษะ
จึงได้พบ น้องสาวพระเอกบ่อยครั้ง

ทำให้นึกถึงธุรกิจสตาร์อัพ
ของ เดย์เวิร์ค daywork.co
ที่มีบริการช่วยให้หนุ่มสาวในปัจจุบัน
สามารถหางานพาร์ทไทม์ได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบัน
มีบริษัทมากมายเปิดรับบุคลากร
พาร์ทไทม์ คือ เลือกเวลาทำงานได้
ไม่ต้องทำงานเต็มเวลา
เริ่มงาน แปดโมงเช้า
เลิกห้าโมงเย็น เสมอไป

ซึ่ง เดย์เวิร์ค เป็นสตาร์ทอัพ
ที่เข้าใจในจุดนี้
จึงได้พัฒนาระบบ อย่างครบวงจร
เพื่อตอบความต้องการของ
ทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง ได้อย่างลงตัว

เรื่องนี้ผมอ่านมาครับ
เพื่อน ๆ ไปหาอ่าน หาดูกันได้นะ

https://vt.tiktok.com/ZSYWDJ7k8/

ตอนที่ 9 งานพาร์ทไทม์
มีเส้นทางที่หลากหลาย
เรื่องเล่า สังคมคนรักอ่าน
#parttime
#student
#daywork
#movie
#storytelling
#readbook
#km

เอ.ไอ. แนะนำหลักสูตร ที่เลือกเรียนแล้ว จะมีอาชีพในอนาคต

ตั้งคำถามให้ เอ.ไอ. ตอบคำถาม พบว่า ได้รับคำแนะนำ 5 หลักสูตรแรก ที่นักเรียนควรเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้มีอาชีพ มีงานทำในอนาคต
.
นักเรียนจะเลือกสายที่หนึ่ง หรือสายสุดท้าย ก็ขึ้นกับ ความชอบ ความถนัด พละกำลัง ของแต่ละครอบครัว
.
ผมคิดว่าไม่สำคัญ
ว่าท่านจะเป็น เด็กหน้าห้อง
หรือ เด็กหลังห้อง
เพราะในปัจจุบัน
อยากเรียนหลักสูตรไหน ก็เรียนได้
การศึกษาเปิดกว้างกว่าในอดีตอย่างมาก
หากมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ อดทน
และมีความพยายามที่มากพอ
.
ลองทายกันดูได้ครับ
ว่าเมืองไทยมีสายอาชีพไหน
ตามคำแนะนำของ เอ.ไอ.
ที่โดนใจท่านบ้าง คิดเหมือนกัน
หรือคิดต่างกัน หรือไม่
.
สรุปว่าที่ เอ.ไอ. เสนอมานั้น ประกอบด้วย
1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ
2. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมข้อมูล
3. การเงิน การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์
4. ธุรกิจ การตลาดดิจิทัล และดิจิทัลมีเดีย
5. การจัดการโลจิสติกส์ และวิศวกรรมโลจิสติกส์
.
แล้วท่านคิดอย่างไรกับอันดับข้างต้นนี้

Students
A.I. answer

สายหลักสูตรน่าเรียนในมหาวิทยาลัย
#artificialintelligence
#curriculum
#university
#education

นายจ้างบางคนบอกว่าเลือกบัณฑิตจากสถาบันที่มีคุณภาพ

15 มหาวิทยาลัยคุณภาพในมุมมองนายจ้าง
15 มหาวิทยาลัยคุณภาพในมุมมองนายจ้าง

เคยฟัง
นักการศึกษา นักปฏิบัติ นักคิด นักพูด เล่าว่า
สถาบันไม่สำคัญ หลักสูตรไม่สำคัญ ปริญญาไม่สำคัญ
เรียนที่ชอบ อย่ายึดติดกับใคร อย่าฟังใคร เชื่อตัวเอง
http://www.dek-d.com/board/view/3664541/

ลองฟัง
อีกเสียงหนึ่งที่น่าเชื่อ น่าฟัง คือ “ผู้ประกอบการหรือผู้จ้างงาน
เค้าไปถามนายจ้างว่ามหาวิทยาลัยไหนผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด
นี่ไปถามมาทั่วโลกเลย พบว่า มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ 15 แห่ง
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2016#sorting=2732657+region=+country=131+faculty=+stars=false+search=

ชีวิตนอกระบบ
http://www.tedxchiangmai.com/th_event2016.php
แต่ถ้ารักงานอิสระ นอกระบบ เป็นนายตนเอง ไม่อยากมีเจ้านาย
บางทีปริญญาก็ไม่สำคัญเหมือนกัน ลองฟัง โจน จันใด ศูนย์พันพรรณ
ลองฟัง Life is easy. Why do we make it so hard? by Jon Jandai
https://www.youtube.com/watch?v=21j_OCNLuYg

เธอ(เคย)น่าเห็นอกเห็นใจ .. หัวหน้าเตือนสติว่า .. อย่าเกลียดชีวิตที่เหลืออยู่

เธอ(เคย)น่าเห็นอกเห็นใจ
เธอ(เคย)น่าเห็นอกเห็นใจ

ภาพตัวอย่างจาก http://xinshijiyuleceng.com/?p=26814

อ่านมาครับ
แล้วทำให้ผมคิดเห็นว่าผู้หญิงในเรื่อง .. เธอ (เคย) เป็นคนน่าเห็นอกเห็นใจ .. แต่ตอนนี้ไม่ล่ะ
เพราะเธอแฮปปี้ล่ะ .. และคงไม่ทุกข์ระทมกับชีวิตที่เหลืออยู่
ผมพบเรื่องนี้ จากการที่หัวหน้าโพสต์ไว้ในไลน์ (line group)
.. เตือนสติว่าอย่าเกลียดสิ่งที่ต้องอยู่ด้วยกันไปชั่วชีวิต
เกิดมาแล้ว แต่ยังพอที่จะเลือกได้ว่าจะเกลียดชีวิตที่เหลืออยู่ไปทั้งชีวิตหรือไม่

เนื้อหาที่ไปพบมามีดังนี้

เรื่องนี้เป็นส่วนนึงในหนังสือที่ได้อ่านเอง พออ่านแล้วประทับใจมาก
เลยอยากจะมาแชร์ให้ได้อ่านกันค่ะ อ่านจบแล้วมาคุยกันค่ะว่าได้อะไรบ้าง

ตัวอย่างนี้มาจากกูรูด้านความสำเร็จระดับปรมาจารย์ของโลกชื่อ “ซิก ซิกล่าร์”
เขาเล่าให้ฟังว่า .. หลังจากที่เขาจัดสัมมนา มีหญิงคนนึ่งมาหาเขา ดูหน้าแต่ไกลก็รู้ว่าเธอมีความโกรธขนาดหนัก
มี “รังสีอำมหิต” ส่งออกมาจากตัวเธอมากมาย
เธอต้องการให้เขาแก้ปัญหานี้ให้…

ซิกบอกว่า ให้เล่ามาคร่าวๆ มีเวลาให้สิบนาที หญิงคนนั้นเริ่มพรั่งพรูออกมา
บอกว่า
เธอเกลียดงานของตนเอง เจ้านายแย่ เพื่อนร่วมงานก็ไม่ดี ที่ทำงานไกลและอื่นๆอีกร้อยแปดพันประการ
ซิกปล่อยให้เธอพรรณนาไปได้ 5 นาที พอเธอพูดจบ
ซิกบอกว่า “ผมเสียใจกับคุณด้วยแต่ผมมีข่าวร้ายมาบอก ผมแน่ใจว่าที่ทำงานคุณก็กำลังจะ ไล่คุณออก ด้วย”

หญิงคนนั้นตาโต อ้าปากค้าง ใจหาย และเมื่อรวบรวมสติได้ ก็รีบถาม
“แล้วฉันจะทำอย่างไรดีคะ ที่จะไม่ถูกไล่ออก ช่วยแนะนำหน่อยเถอะค่ะ”

ซิก : งั้นคุณสัญญานะ ว่าจะทำตามที่ผมบอกทุกอย่าง
หญิง : ค่ะ ค่ะ
ซิก : ขั้นแรก ให้คุณไปเอากระดาษกับปากกามา
หญิง : ไม่ต้องหรอกค่ะ ฉันจำได้
ซิก : ตามประสบการณ์ผม คนที่ไม่ทำขึ้นแรก ก็ไม่มีทางทำขั้นที่สอง ถ้าคุณไม่อยากทำขั้นแรก ผมก็ขอตัวนะครับ
หญิงคนนั้นรีบไปเอากระดาษกับปากกามา
ซิก : ขั้นที่สอง เขียนทุกสิ่งที่คุณชอบเกี่ยวกับที่ทำงานของคุณลงไป
หญิง : โอ๊ย เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ ฉันไม่ชอบอะไรสักอย่างเลย
ซิก : แล้วเขาจ่ายเงินให้คุณหรือเปล่า
หญิง : จ่ายค่ะ
ซิก : แล้วคุณชอบหรือเปล่า
หญิง : ชอบสิคะ
ซิก : งั้นเขียนลงไป ข้อ 1 ฉันชอบที่ทำงานเพราะเขาจ่ายเงินให้ฉัน ต่อไป… เขาจ่ายประกันสังคมให้คุณหรือเปล่า
หญิง : จ่ายค่ะ
ซิก : เขียนต่อ ข้อ 2…

สรุปพอเสร็จ ผู้หญิงคนนั้นลิสต์สิ่งที่เธอชอบเกี่ยวกับที่ทำงานได้ 22 สิ่ง
เช่น จ่ายเงินเดือนสูงกว่าตลาด มีโปรแกรมประกันสุขภาพให้พนักงานอย่างดี
เธอได้หยุดพักผ่อน 3 สัปดาห์ต่อปี โดยมีเงินเดือนให้ ฯลฯ

ซิกยังแนะให้ผู้หญิงคนนั้น เอาลิสต์นั้นอ่านออกเสียงทุกเช้า และก่อนนอน
โดยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยอารมณ์ที่ดี
“ฉันรักงานนี้ เพราะเขาจ่ายเงินให้”
“ฉันรักงานนี้เพราะ …” ฯลฯ

6 สัปดาห์ต่อมา ซิกเจอหญิงคนนั้นอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งคราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุข เธอรีบบอกซิกด้วยความตื่นเต้นว่า…
“ขอบคุณมาก ๆ เลย ชีวิตฉันดีขึ้นอย่างมาก
คุณจะไม่เชื่อฉันเลยว่า ทุกๆคนในที่ทำงานของฉันเปลี่ยนไปมากแค่ไหน!”

(จริงๆแล้วสิ่งที่เปลี่ยนไม่ใช่เพื่อนร่วมงาน แต่เป็นทัศนคติของหญิงคนนี้เอง
ซึ่งก็เป็นผลให้คนที่ทำงานเปลี่ยนความสัมพันธ์กับเธอไปในทางที่ดีขึ้น)

ผมการันตีเลยว่า
ถ้าสถานการณ์ของเรา มี “สิ่งดี” 10 อย่าง “สิ่งดีน้อย” 90 อย่าง
แล้วคุณขอบคุณสิ่งดี 10 อย่างนั้นบ่อยๆ พูดถึงมันบ่อยๆ รู้สึกดีกับมัน
ในขณะเดียวกันอีก 90 อย่างที่ดีน้อยนั้น ถ้าเปลี่ยนมันไม่ได้ ก็เปลี่ยนทัศนคติของเรากับมัน
สิ่งดีๆ จะมีแต่ไหลเข้ามาในชีวิตคุณ ไม่รู้จบ เพียงแค่คุณ “ขอบคุณ”

บทความส่วนหนึ่งจากหนังสือ “เชื่อมั่นในตน” โดย บัณฑิต อึ้งรังสี

การตรวจสอบ และการทวนสอบ (itinlife401)

 

system audit
system audit

พบคำว่า การทวนสอบในแบบฟอร์ม มคอ.3 หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา หัวข้อที่ 4 ใน กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่ทุกวิชาต้องจัดทำก่อนดำเนินการสอน และหัวข้อนี้เป็นแผนที่ต้องดำเนินการในการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐาน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จก็จะต้องจัดทำ มคอ.5 ที่เป็นรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เรื่องนี้สอดรับกับการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของระบบงาน ซึ่งจำแนกได้ 2 ส่วนคือ การตรวจสอบ (Verification) และการยืนยันความถูกต้อง (Validation)

การพิจารณางาน (Work) สามารถวิเคราะห์ได้หลายรูปแบบ และมีทฤษฎีให้เลือกใช้มากมาย การทำงานให้สำเร็จมักประกอบด้วยระบบและกลไก เมื่องานเสร็จแล้วก็สามารถดำเนินการตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องได้ หากจะแยกความต่างของ verification และ validation ก็อาจแยกที่ประเด็นการตรวจสอบว่า การพบผลการดำเนินการตามที่เขียนไว้ในแผน ทั้งแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแผน เป็นไปตามกิจกรรม/โครงการ ระยะเวลา กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ หากดำเนินการครบทุกรายการที่ตรวจสอบก็เรียกว่าผ่านการ verification โดยกิจกรรมนี้มักเป็นงานที่ดำเนินการโดยพนักงานเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่างานมีคุณภาพตามที่กำหนด

ส่วน Validation คือ การตรวจสอบว่ามีการสร้างระบบที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนสร้างระบบ ระหว่างสร้าง การใช้ระบบ การเลือกวิธีตรวจสอบ การนำผลการตรวจสอบไปใช้ และการเชื่อมโยงผลของงานเข้ากับผลการตรวจสอบว่ามีความสมเหตุสมผล ก็จะเป็นผลว่าระบบงานนั้นมีความถูกต้องเพียงใด การทวนสอบก็จะรวมความหมายทั้งการตรวจสอบ และการตรวจความถูกต้องว่าข้อสอบ กิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ มีที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน ผู้ปกครอง นักศึกษา อาจารย์ และสถาบัน ว่ามีความครบถ้วน และเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็จะนำไปใช้ปรับปรุงนโยบาย แผนกิจกรรม/โครงการ ทั้งในชั้นและนอกชั้น และแนวทางจัดการเรียนทั้งระดับสูงสุดไปถึงแต่ละวิชากันต่อไป

http://audit.obec.go.th/

http://www.npc-se.co.th/pdf/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%20Rev%200.pdf

http://km.bus.ubu.ac.th/?p=831

12 มี.ค.56 สุขวิทย์ โสภาพล ได้แบ่งปันผ่าน blog ของ ubu.ac.th ว่า การทวนสอบ หมายถึง ดำเนินการหาหลักฐานด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้น ได้มีการดำเนินการ และบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยทั่วไปการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

มีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบการให้คะแนนจากกระดาษคำตอบข้อสอบและงานที่ได้รับมอบหมาย
2. การตรวจสอบการประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา
3. การตรวจสอบภาควิชาหรือสาขาวิชาและหลักสูตรโดยบุคคลภายนอก
4. การรายงานเกี่ยวกับทักษะของบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต

 

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา
ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ประเทศไทยได้จัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานมาหลายปีแล้ว แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลด้านนักศึกษา ข้อมูลด้านบุคลากร และข้อมูลด้านหลักสูตร ซึ่งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องส่ง .. ในเวลาต่อมาก็เพิ่มข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต และการเงินอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา  และปีนี้จะนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

 

 

 

สกอ. จึงจัดประชุมชี้แจง
เรื่อง “การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 9.30 – 15.00น. ณ ห้องคอนแวนชั่น A-B ชั้น 1
โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เมื่อสกอ. ได้ข้อมูล ก็จะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
โดยข้อมูลต้องมีการแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เขากำหนดก่อน
ที่เผยแพร่คือ http://www.info.mua.go.th/information/

ตารางมาตรฐานต่าง ๆ ที่
http://interapp.mua.go.th/NewreferenceTable/