km

รับสมัคร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

รับสมัคร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

พบ ประกาศคณะอนุกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่อง รับสมัครบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) มีกำหนดการรับสมัครตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 18 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 – 17.30 น. สอบด้วยการเข้ารับการสัมภาษณ์และแสดงวิสัยทัศน์ แผนการดำเนินงานที่สำคัญด้านการบริหารจัดการและการพัฒนา และแนวทางการหารายได้ของสำนักงานฯ” เอกสารที่ต้องยื่น เช่น ประวัติการศึกษา หรือสำเนาเอกสารคุณวุฒิการศึกษา โดยไม่พบว่ามีการระบุวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ และเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ไม่เกิน 2 หน้า หรือ เอกสารนำเสนอด้วย Power point หรือในรูป คลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 3 นาที

โดยคุณสมบัติที่พึงประสงค์ มีดังนี้ 1) มีความสามารถด้านการบริหารจัดการ 2) มีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ 3) มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ สำหรับตำแหน่งนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2561

ประเด็นที่น่าสนใจอยู่หน้า 7 พบ หัวข้อ 2 เป้าหมาย มี 4 ข้อ ประกอบด้วย คือ 1) มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการจัดกิจกรรมกระตุ้นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) ผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าสู่ตลาดยุคใหม่ 3) ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 4) ผู้รับบริการได้รับประโยชน์และความพึงพอใจจากแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ ส่วนหัวข้อ 3 ตัวชี้วัด จะมีหัวข้อ 3.1 และ 3.2 เป็นตัวชี้วัด 2 กลุ่มที่ต้องบรรลุในแต่ละปี กลุ่มแรก ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งปีแรกต้องบรรลุร้อยละ 85 ปีต่อไปร้อยละ 90 กลุ่มสอง ตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปี ตามแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด หัวข้อ 4 ผลผลิต คือ ผู้ประกอบการ SME ธุรกิจสร้างสรรค์ วิสาหกิจเริ่มต้น และผู้ประกอบการใหม่ มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นภายหลังได้รับการพัฒนาศักยภาพและนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจ

การเรียนหนังสืออย่างสร้างสรรค์
โดยการสอนที่สร้างสรรค์
ย่อมได้นักเรียนที่สร้างสรรค์
นักเรียนจะมีความสุขและสำเร็จในแบบของตน
ซึ่งผมสนใจเรื่อง การหางาน และ ระบบฐานความรู้/ปัญญาประดิษฐ์
สำหรับนิสิตด้านบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อแรกที่ควรมีในตำแหน่งนี้

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ
เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

! http://blog.nation.ac.th/?p=2438