ntu2555

7 อันดับคณะวิชา ที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด

ตามข้อมูลของ #มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน หลังรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามคณะวิชาต่าง ๆ แล้ว ได้มีการจัดทำรายงานสรุปผล เพื่อให้ข้อมูลเป็นสาธารณะ สำหรับนักศึกษา ผู้ปกครอง หรืออาจารย์ที่ดูแลหลักสูตรได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ หรือวางแผนต่อไป สำหรับนักศึกษาแล้วจะทำให้รู้ว่าเรียนคณะวิชาใดที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด ส่วนผู้ดูแลหลักสูตรแล้ว ทำให้ใช้วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค เพื่อพัฒนาต่อไป

โดยข้อมูลเมื่อปีการศึกษา 2566 พบว่า มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละคณะวิชาจำนวนเท่าใดแล้ว จึงได้นำข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนมาจัด #เรียงจากมากไปน้อย ทำให้รู้ว่าคณะวิชาใดมีเพื่อนเรียนเยอะที่สุด โดยผลการจัดเรียงเป็นดังนี้

  1. คณะครุศาสตร์ 547 คน
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 359 คน
  3. คณะวิทยาการจัดการ 239 คน
  4. คณะวิทยาศาสตร์ 167 คน
  5. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 115 คน
  6. คณะพยาบาลศาสตร์ 48 คน
  7. คณะเทคโนโลยีการเกษตร 20 คน

รวมประมาณ 1495 คน

จำนวนนักศึกษาคงอยู่ ณ ปัจจุบัน แยกตามคณะ
ข้อมูลล่าสุด ในปี 2566

มิติใหม่ของอุดมศึกษาไทย ในหนังสือเล่มเล็ก

อาจารย์ ดร.วันชาติ นภาศรี ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง, อาจารย์ธวัชชัย แสนชมภู ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง และคุณสิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย นักวิชาการอิสระ ได้รับรางวัลดีเด่น “การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย” จากเครือข่าย บริหารการวิจัยภาคเหนือต้อนบน การประชุมวิจัยระดับชาติเครือข่าววิจัยอุดมศึกษา ประจำปี 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 แล้วมีนักวิชาการนำหนังสือเล่มเล็กจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ไปเผยแพร่ทาง อินเทอร์เน็ต ผ่าน e-book
http://www.thaiall.com/e-book/wil/

! http://blog.nation.ac.th/?p=2078

ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Posted on July 8, 2012

asean

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับเนชั่น กรุ๊ป และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดสัมมนา “ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้เพื่อการบริหารจัดการธุรกิจสู่ประชาคม อาเซียน จากผู้บริหารมืออาชีพในระดับประเทศ เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง กล่าวต้อนรับ และ คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงานและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการบรรยายพิเศษ จากนั้น ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้เพื่อการบริหารจัดการธุรกิจสู่ประชาคม อาเซียน จากผู้บริหารมืออาชีพในระดับประเทศ ในวันดังกล่าวได้มีการเสวนาหัวข้อสำคัญ เรื่อง “จากลำปาง สู่ AEC” โดยคุณอธิภูมิ กำธรวรินทร์ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง คุณอนุศิษฏ์ ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้า จังหวัดลำปาง และนายนิรันดร์ ปาเต็ล บริษัท ITC NTRECUT จำกัด นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ( M.B.A.) ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ร่วมเสวนาในครั้งนี้

ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบถึง การที่ประเทศไทยจะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และความสัมพันธ์กับภายนอกภูมิภาคอาเซียน ได้ตระหนักถึงการสร้างความรู้ และความเข้าใจเรื่องอาเซียน ต่อสาธารณชน และเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นการเตรียมความพร้อม อีกทั้งถือเป็นการพัฒนาบุคลากร เกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ทั้ง 3 ด้าน คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ด้วยทิศทางประเทศไทยในประชาคมอาเซียนร่วมกันภายในปีพุทธศักราช 2558 อย่างสง่างามและสมภาคภูมิ

ข่าวโดย นิเวศน์ อินติ๊ป

! http://www.ustream.tv/recorded/23815560

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.339255416151550.76624.228245437252549

! http://blog.nation.ac.th/?p=2094

นิเทศอาจารย์/เจ้าหน้าที่ 55 : มคอ. ประกัน ภาระงาน

21 ก.ค.55
21 ก.ค.55

21 – 22 ก.ค.55 มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมนิเทศอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้ และปรับความเข้าใจ สำหรับการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการตามกรอบ มคอ. ในปีการศึกษา 2555 โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ท่านอธิการบดีเป็นผู้นำบรรยาย ในหัวข้อเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดทำข้อตกลงภาระงาน การทำหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติ การตัดเกรดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีผู้ช่วยบรรยายได้แก่ ดร.วันชาติ นภาศรี และอ.ศศิวิมล แรงสิงห์ มีการทำ workshop เรื่องของการกำหนดกระบวนการการประกันคุณภาพ และการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มข้อตกลงภาระงาน

การรวมประชุมครั้งนี้ ฝึกบันทึกประเด็นที่ใช้ mindjet บน samsung galaxy tab 10.1 แล้วส่งภาพไปเก็บใน dropbox แล้ว export กลับมาเข้า samsung แล้วใช้ fb apps อัพโหลดเข้า group ของเพื่อนบุคลากร เพื่อชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพที่ได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร หลายคำอ่านยาก แต่พอเดาได้

“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ 1

โดย อาจารย์จตุพร รอดแย้ม
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์

ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์ : คุณสุทธิชัย หยุ่น

ปัจจุบันบทบาท ความเป็น GateKeeper /Watch Dog เปลี่ยนไป เพราะทุกคนสามารถหาข้อมูล รายงานข่าวได้จาก Social Media ทำให้ต่อไปห้องเรียนจะหายไป บทบาทของครูจะเปลี่ยนเป็น Co-Learners เรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งครูควรรอบรู้มากกว่าเพื่อมาถกเถียงหาข้อสรุป จะเกิดคำถามที่ต้องตอบให้ได้ว่า สอนใคร /สอนอะไร / สอนทำไม และสังคมส่วนรวมคาดหวังอะไรจากเทคโนโลยี

  • เราสามารถเป็น Tableters = ผู้เสนอผ่าน Tablet สามารถสร้างช่องทางจาก Youtube สร้าง Channel ลง Clip วิเคราะห์ข่าว เล่าข่าว
  • การเสนอข่าวผ่าน iPhone ทำให้ไม่ต้องใช้รถ OB ทีมช่างเทคนิคมากมาย ซึ่งการรายงานข่าวภาคสนามก้าวไปหลายก้าวแล้ว แต่ในห้องเรียนยังไม่มีการพัฒนา
  • Public Interest เป็นนักข่าวที่คิดนอกกรอบ หาข้อมูลล้วงความลับมาเปิดเผยโดยใช้ Social Media
  • Gentrapreneur Journalist สอนให้เป็นนายตัวเอง ทำกิจการเอง จะได้มีเสรีภาพสู้กับกลุ่มนายทุน ซึ่ง Social Media ช่วยได้ เช่น การมี Channel ของตัวเอง Mass Media อาจเจ๊งหาก Youtube ลงทุนให้คนมี Content

สิ่งที่ควรสอนให้นักศึกษาด้านวารสารศาสตร์รุ่นใหม่

  1. ความมุ่งมั่น (Passion) เพื่อความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
  2. คิดให้เป็น (Critical Thinking)อะไรคือเหตุผล, อารมณ์, โฆษณาชวนเชื่อ
  3. เขียนหนังสือให้เป็น (Clear Focused Writing) Social Media อาจทำให้เขียนหนังสือกันไม่ค่อยเป็น
  4. จริยธรรม (Ethics) ให้มีคุณภาพของความคิด
  5. ทักษะการใช้ New Media
  6. Short-Form, Long-Form Journalism เช่น ใน Social Media : Blog (=Long Form), Facebook (=Short-Form)
  7. Social Media for Investigative Reporting การใช้Social Media รายงานผลสืบเสาะหาข้อมูลในการเขียนวิเคราะห์ข่าว
  8. การสร้างหนังโดยใช้ Smartphone ตอนนี้มีคนเริ่มสร้างหนังสั้นโดยใช้ iPhone ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เพียงคนเดียวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้กำกับ

วารสารศาสตร์ การเผชิญความจริงกับสิ่งที่เปลี่ยนไป: คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี, คุณบัณฑิต จันทศรีคำ, ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล

  • ตอนนี้คนทำสื่อเองได้ง่ายขึ้น เช่น ทีวีดาวเทียมที่ป้าเช็งและลีน่า จัง ผลิตรายการ(=ผลิต Content),เป็นเจ้าของช่องเอง แต่กรณีป้าเช็งสะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของสังคมไทยในเรื่องการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร
  • นักข่าวภาคสนามกำลังพยายามปรับตัว แต่ยังไม่เท่าทันสื่อออนไลน์ Social Media เช่น ยังวิ่งตามนักการเมืองว่าจะพูดอะไร แต่ไม่ได้คิดสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญที่ควรถาม ซึ่งถ้ายังวิ่งตามข่าวอยู่เช่นนี้ หรือเอาข่าวจากที่อื่นมา ก็จะไม่มีความแปลกใหม่
  • เด็กรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันไม่ค่อยอ่านนสพ.หรือข่าวออนไลน์ แต่มักรับข่าวสารจาก Facebook / Twitter ที่ส่งต่อกัน
  • การที่นักข่าวจะใช้iPhone หรือ social media ในการรายงานข่าวหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายองค์กร เช่น ที่Nation ที่ให้นักข่าวใช้ Social Media ในการรายงานข่าว แต่มีนักข่าวบางคนไม่ชอบใช้
  • การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข่าว จะมีต้นทุนในการสอนสูง และควรต้องหา Partner Ship และต้องคำนึงถึงจริยธรรมด้วย
  • ตอนนี้มีการสื่อสารแบบโฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก ทั้งในสื่อเก่าและสื่อใหม่ โดยเฉพาะเชิงธุรกิจ เพราะฉะนั้นคนทำงานสื่อต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในเชิงองค์ความรู้ เช่นหัดใช้ Twitter ทั้งเป็นผู้ดูและผู้สื่อสาร

สรุปประเด็นจากการสัมมนากลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1: นโยบายสื่อ นโยบายวิชาชีพ แนวคิดวารสารศาสตร์และการศึกษา

  • การใช้กลไกเดิมเป็นองค์กรกลาง
  • ประสาน ส่งเสริม สร้างกลไก อบรมพัฒนาโดยรับประกันด้วยใบรับรอง
  • เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อและผู้สนใจ
  • ผลิต ส่งเสริมตำราวิชาการ การสอนที่เน้นองค์ความรู้ใหม่
  • หลักสูตรยึดถือหลักจริยธรรม
  • การลงโทษจะไม่ถอน ไม่ยึดใบอนุญาตแต่เน้นการประณามทางสังคม
  • Gatekeeper เปลี่ยนไปเมื่อสื่อกับผู้รับสาร ต่างคนก็ต่างสร้างสารซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ 2: องค์กรข่าว นโยบายองค์กรและกระบวนการทำงานข่าว

กลุ่มที่ 3: ผู้สื่อข่าว เทคนิค และเทคโนโลยีในงานข่าว

1. นักข่าวรุ่นใหม่ – ใช้เครื่องมือเป็น แต่Content ไม่ได้ เขียนบรรยายเชิงลึกไม่ค่อยเป็น
2. นักข่าวรุ่นเก่า ระดับหัวหน้างาน – ใช้เครื่องมือไม่ค่อยเป็น แต่ Contentได้ สามารถเขียนข่าวยาวๆ เชิงบรรยาย ได้ดีกว่าเขียนข่าวสั้นๆ

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • Style การเขียนข่าวบนFacebook ของนักข่าวเนชั่นจะให้เกิดประเด็นความคิดเห็นเพื่อเอา มานำเสนอข่าว โดยต้องเขียนให้น่าสนใจเพื่อให้คนมาตอบ Multimedia ต่างๆไม่ต้องใช้การเขียนแต่ ขึ้นอยู่กับ การนำ เสนอเพราะถ้า massage ไม่โดนใจ เขียนลักษณะข่าวมากเกินไป จะไม่เกิดการบอกต่อ
  • Infographic จำเป็นมากต่องานวารสารศาสตร์ ควรผลิตให้เข้ากับคนไทย โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ
  • กองบรรณาธิการข่าว ควรเปลี่ยนเป็น News Room
  • ธุรกิจต้องเดินหน้า การผลิตคนต้องให้ทันกัน นักข่าวควรเป็น Convergent Journalist สามารถทำได้ทุกอย่าง เช่น รายงานข่าว, ตัดต่อ,ถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและโทรทัศน์ ส่วน News Room ต้องเปลี่ยนด้วยเพื่อสนับสนุนการทำงานของ Convergent Journalist
  • ในการสอนเทคนิคไม่สำคัญเท่าการสอนให้คิดเป็น (Critical Thinking) ให้สามารถเล่าข่าวได้ทุกสื่อ อาจารย์ควรเน้นด้านเทคนิค และรู้เท่าทันเด็ก

กลุ่มที่ 4 : ผู้บริโภคข่าว เนื้อหา ความอยู่รอดทางธุรกิจ ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค

วิจัยผู้รับสารทั่วประเทศ เกี่ยวกับ

  1. พฤติกรรม >> ตำราของผู้รับสารในปัจจุบัน
  2. รูปแบบเนื้อหาในปัจจุบัน >> ตำรา
  3. ผู้รับสารกับการมีส่วนร่วม
  4. หามาตรวัดผู้รับสารที่มีคุณภาพ (Media Monitor) >> วิจัย = วิจัย >>  ตำรา >>  Workshop

………………………………………………………………………………………………………
อ้างอิงข้อมูล: งานสัมมนาวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 1, วันที่ 30 มีนาคม, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

http://blog.nation.ac.th/?p=2127

google apps training

อาจารย์เก๋ วิทยากรจาก CRM Charity ที่ Support Google
บรรยาย เรื่อง Google Apps for Education
สำหรับอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา
เมื่อปลางเดือนสิงหาคม 2555

! http://blog.nation.ac.th/?p=2181

Kotter’s 8 Step Change Process Your Organization

โดย  อาจารย์วนิดา วินิจจะกูล
รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
จากการได้เข้าอบรมหลักสูตร “คณบดีเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1” โดยสถาบันคลังสมองของชาติ มูลนิธิทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2555 ได้ความรู้และแง่คิดของการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจมาก จากหนังสือเรื่อง Leading Change : Why Transformation Efforts Fail ของ John P. Kotter หัวข้อ Eight Step to Transforming Your Organization โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบันท่านเป็นรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยท่านนำมาถ่ายทอด และเสริมด้วยตำราทั้ง 4 เล่มของ Kotter ทำให้พวกเราที่เข้าร่วมอบรมทุกคน เข้าใจความหมายของการ “Change” ที่เป็นกระบวนการไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Eight Step to Transforming Your Organization

ขั้นแรก อ.ประสิทธิ์ ย้ำให้เห็นความสำคัญข้อแรกของการสร้างการเปลี่ยนแปลง คือต้องสร้างความรู้สึกให้เห็นความจำเป็นที่ต้องเร่งรีบพัฒนา หรือ Creating a Sense of Urgency คือต้องทำให้ทุกคนตระหนักว่า องค์กรของเราไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว เช่น ถ้าศิริราชไม่ผ่านประเมิน HA จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน อาจารย์เล่าว่าก็มีคนตอบว่าก็เอาหน้าที่มีรอยแตกร้าวนั้นไว้ที่เดิม (555) ผู้เขียนก็หันกลับมาถามตัวเองว่า

“ถ้าหาก ม.เนชั่น ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งไม่ผ่านการประเมิน ในอีก 2 ปีข้างหน้า สถานะของศูนย์เนชั่นบางนา จะเป็นอย่างไร ?”

คำถามท้าทายที่ให้เห็น Sense of Urgency โดยเฉพาะใช้ได้ดีกับภาคการเมือง ก็เช่น “ถ้ามีโอกาสเกิด (หายนะ) แล้วไม่ทำ เราจะอธิบายประชาชนอย่างไร?” คำถามแบบนี้ ทำให้ผู้บริหารต้องชั่งใจ เพราะเหมือนมีจิ้งจกทักซะแล้ว

ขั้นที่สอง Building a Guiding Coalition อ.ประสิทธิ์บอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่ยากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง “ตัวคน” ดังนั้น จะต้องสร้างทีมแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรียกว่า Change Team ที่ต้องมีบุคลิกภาพของการกล้าตัดสินใจ กัดไม่ปล่อย ตัดสินใจบนฐานข้อมูล และสื่อสารเก่ง เพื่อเป็นหัวหอกในการ “เปลี่ยน”

อ.ประสิทธิ์ อธิบายด้วยว่าหัวหน้าจะต้องเชื่อมั่นลูกน้องว่าเขาทำได้ แต่เราจะรู้ศักยภาพลูกน้องได้ก็ต่อเมื่อหัวหน้าได้หมั่นประเมินลูกน้องอยู่ เสมอ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่จะมอบหมายงาน ก็ไม่ต้องถามเลยว่าลูกน้องจะใช้วิธีการอะไร ในเมื่อเขามีศักยภาพที่จะทำได้สำเร็จอยู่แล้ว

ขั้นที่สาม Developing a Vision for Change ซึ่งจะต้องเป็นวิสัยทัศน์ที่ “แตกต่าง” ทำให้คนได้ยินแล้ว “ซื้อ” จากหนังสือเล่มใหม่ของ Kotter ที่ อ.ประสิทธิ์ เล่าให้ฟังเรื่องการย้ายถิ่นของเหล่าเพนกวิน ที่ไม่เคยมีวัฒนธรรมการย้ายถิ่นฐาน แต่มีความจำเป็นเพราะความเสี่ยงจากน้ำแข็งละลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นำที่กล้าตัดสินใจก็ต้องทำให้ทุกคนเห็นภาพว่าแหล่งใหม่ที่จะย้ายไปหรือ สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้นดีขึ้นกว่าสภาพปัจจุบันอย่างไร เป็นวิสัยทัศน์ที่จะนำพาการเปลี่ยนแปลงมาสู่กลุ่ม

จำไว้เสมอว่าการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเกิดขึ้นทุกวัน แค่เราอยู่เฉยๆ ก็เท่ากับเราถอยหลังแล้ว ที่ศิริราช    อ.ประสิทธิ์ พยายามให้ “การวิ่งเป็น Norm เพราะว่าแค่คุณเดินก็เท่ากับคุณถอยหลังแล้ว เพราะทุกคนวิ่งไปข้างหน้า”

ขั้นที่สี่ Communicating the Vision อ.ประสิทธิ์ให้หลักว่า เมื่อเรื่องที่จะเปลี่ยนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ อย่าชี้แจงด้วยกระดาษ และยิ่งเป็น Big Change เท่าไหร่ ยิ่งต้องให้ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นเป็นผู้สื่อสาร

ขั้นที่ห้า Removing Obstacles ในตัวอย่างที่อาจารย์ยกมา จะมี No No Man คือไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดใดเลย แต่ในที่สุดเมื่อทุกคนเริ่มเห็นผลสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง ก็ได้เวลาของผู้นำในการจัดการจัดการกับอุปสรรค (Get Rit of Obstacle) ตามหนังสือเล่มล่าสุดของ Kotter ก็เขียนให้ท่านผู้นำสภาเพนกวิน เซ็นคำสั่งปลด No No Man ที่มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ

ขั้นที่หก Creating Short-Term Wins การสร้างความสำเร็จระยะสั้นให้เห็นก่อน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงช่วงแรกจะทำให้ผลประกอบการหรือสถานการณ์ต่างๆ จะดูเหมือนแย่ลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างความมั่นใจให้กับทีม โดยควรเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เห็นง่ายก่อน อย่าเพิ่งไปแตะระบบ เพื่อให้เห็นโอกาสของความสำเร็จ

ถ้าเป็นในระบบมหาวิทยาลัย ความสำเร็จระยะสั้นก็อาจจะเป็นการกำหนดว่าจะได้แต้มจากการมีผลงานวิจัย เป็นต้น โดยเป้าหมายคือ การสร้างแรงบันดาลและความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปในทางที่ดี

ขั้นที่เจ็ด Building on the Change หรือ Change Culture หรือ Change System ซึ่งตามเนื้อเรื่องในหนังสือของ Potter การ Change Culture คือ การย้ายถิ่นฐานของเหล่าเพนกวินที่ไม่เคยกระทำกันมาก่อน  เป็นขั้นตอนที่ต้องทำแต่ก็ถือว่ายากที่สุด

ขั้นที่แปด Anchoring Changes in the organization’s culture ขั้นนี้ถือเป็นการลงหลักปักฐานให้กับระบบหรือสิ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วนั้นให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน…เรื่องนี้ คงต้องอาศัยเวลา

Tip : Timing Potential Point for Change

ระยะเวลาใดที่จะมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ที่การ “ระบุปัญหา” ได้เร็ว ไม่ใช่ว่ารอทุกอย่างชัดแล้วค่อยมาเปลี่ยน เพราะจะไม่ทันสถานการณ์

การจะระบุปัญหาได้ ก็ต้องดู “แนวโน้ม” และ “ตัวชี้วัด”

การวิเคราะห์แนวโน้มอาจจะไม่ยากนัก เมื่อเทียบกับคำถามว่า แล้วอะไรล่ะที่จะเป็นตัวชี้วัด ที่จะบอกว่า มันถึงเวลาของการเปลี่ยน !!!

จากภาพ อ.ประสิทธิ์ เล่าว่า Kotter ให้เริ่มมีการ Change เมื่อองค์กรอยู่ในระยะที่กำลังจะถึงจุดสูงสุดของกราฟ เพราะอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มอยู่ในอัตราถดถอย และหากปล่อยให้เลยช่วงนี้ไปแล้ว การปรับเปลี่ยนต่างๆ จะไม่ทันการณ์ แต่ความยากของการเปลี่ยน คือ ผู้นำจะทำให้คนอื่นเห็นได้อย่างไรว่าต้องเปลี่ยน ในเมื่อ การเจริญเติบโตยังมีอยู่ แม้อัตราน้อยกว่าเดิมก็ตาม

คำตอบ ก็อยู่ที่ขั้นตอนที่ 1-8 นั่นเอง

เก็บความโดย อ.วนิดา วินิจจะกูล รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
หากผิดพลาดสิ่งใดต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ แต่หวังว่าผู้ที่ได้อ่าน     จะได้เก็บสาระความสำคัญของคำว่า CHANGE
ไว้ในใจท่าน ซึ่งแค่นี้…ก็ถือว่า “การเปลี่ยนแปลง” ได้ก่อร่างขึ้นแล้ว

โครงการ “การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง”

ท่องเที่ยว ลำปาง

อ.ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ อ.แดน กุลรูป และ ทีมงานวิจัย 14 ท่าน ผู้ช่วยวิจัยอีก 6 ท่าน และนักศึกษาช่วยงาน รวมกว่าีอีก 50 ชีวิต จัดสัมมนา เรื่อง “การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง” ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด

ผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วย บุคคลจากหน่วยงาน สถานศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในจังหวัดลำปาง วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง .. ความสำเร็จในการสัมมนาเกิดจาก เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทีม และภาคีเครือข่าย

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)
การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)

ผู้ใหญ่เล่าเรื่องคำสอนของขงจื้อ

คำสอนของขงจื้อ .. กับคน 5 ประเภท

คำสอนของขงจื๊อสะท้อนให้เห็นถึง อุดมคติของปัญญาชน เช่นเขาเอง
คือ คำสอนที่ว่าด้วย ความประพฤติของชาว “หยู” (ผู้ที่เชื่อในวิถีของวิญญูชน)
ซึ่งไม่ล้าสมัยเลย แม้มองจากมุมของคนในยุคปัจจุบัน ขงจื๊อกล่าวว่า ชาวหยูที่แท้
จะต้องแสวงหา ความรู้ สร้างเสริม คุณธรรม ความสามารถอย่างไม่เหนื่อยหน่ายท้อแท้
เขาจะต้องพยายามทำสิ่งที่ตนศึกษาเล่าเรียนมาให้ปรากฏเป็นจริง และพร้อมที่จะรับใช้บ้านเมืองเมื่อมีโอกาส

ในเส้นทางการพัฒนาตัวเองตามทัศนะของขงจื๊อนั้น จำแนกคนออกเป็น 5 ระดับ
คือ สามัญชน บัณฑิต ปราชญ์ วิญญูชน และอริยบุคคล โดยเรียงลำดับจากขั้นต่ำไปขั้นสูง
ระดับที่ 1 สามัญชน คือ บุคคลที่ไม่ค่อยเคารพปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่สามารถกล่าวเขียนวาจาที่สะท้อนความมีสติปัญญา ไม่เคยคิดที่จะคบนักปราชญ์ ชีวิตไม่มีเป้าหมาย รู้แต่เรื่องเฉพาะหน้า ไม่มีอุดมคติที่ลึกซึ้งกว้างไกล ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองในเชิงปณิธาน ชอบเปลี่ยนความคิดไปตามกระแส ที่เข้ามากระทบ และไม่ยืนหยัดในหลักการ
ระดับที่ 2 บัณฑิต คือ บุคคลที่แม้ไม่เข้าใจเหตุผลที่ลึกซึ้ง ไม่สามารถบำเพ็ญคุณธรรมอย่างหมดจด แต่ก็มีความรู้และความเชื่อบางอย่าง ทำงานและประพฤติตัวตามหลักการบางอย่าง เพราะฉะนั้น ถึงระดับความรู้ความเข้าใจจะมีข้อจำกัดก็ยึดกุมความรู้ความเข้าใจได้ในระดับ จำกัดนั้นอย่างแม่นยำ ถึงระดับความสามารถในการพูดจะมีข้อจำกัด ก็เข้าใจเหตุผลที่กำลังพูดอย่างแท้จริง ถึงระดับความสามารถในการสื่อด้วยความประพฤติจะมีจำกัด ก็ระมัดระวังความประพฤติของตัวเองเสมอ พวกเขาจึงสามารถเผชิญความจริงภายใต้ข้อจำกัดของตัวเอง
ระดับที่ 3 ปราชญ์ คือ บุคคลที่ประพฤติตัวอยู่ในทำนองคลองธรรมมีวาจาเที่ยงแท้เป็นที่น่าเชื่อถือ มีความรู้และคุณธรรมมากพอที่จะเป็นแบบอย่างแก่ราษฎรทั่วแผ่นดินได้
ระดับที่ 4 วิญญูชน คือ บุคคลที่ศึกษาความรู้บ่มเพาะคุณธรรมอย่างทุ่มเท พูดจริงทำจริง ไม่บ่นโทษ ไม่นินทา ไม่พยาบาท มีคุณธรรมสูงส่ง แต่ไม่เย่อหยิ่งทะนงตน มีสติปัญญาเลิศล้ำ แต่กลับมีท่าทีอบอุ่น นอบน้อม จนดูคล้ายไร้สติปัญญา ทั้งที่แท้ที่จริงแล้วมีความสามารถอันลึกล้ำหาผู้ใดเสมอยาก
ระดับที่ 5 อริยบุคคล คือ บุคคลที่มีจิตใจสูงส่งน่าบูชาดุจฟ้าดิน แต่สามารถปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม มีสติปัญญาแจ่มจ้าดุจแสงแห่งสุริยันจันทรา สามารถหยั่งรู้รากเหง้าของสรรพสิ่ง ยามดำเนินมรรคธรรมจะประหนึ่งฟ้าดินหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตโดยไม่ลำเลิก และเหล่าราษฎรทั้งปวงก็หารู้ไม่ว่ารับบุญคุณท่านแล้ว คนทั่วไปจึงไม่ทราบว่า ท่านได้ทำอะไรบ้าง ไม่ทราบว่าท่านมีคุณธรรมสูงส่งเพียงใด ดุจเดียวกับที่ไม่เข้าใจความลับของฟ้าดิน

! http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=13083

! http://blog.nation.ac.th/?p=2209

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หน้า 201

ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

! http://blog.nation.ac.th/?p=2377