online

ถ้าเพื่อนขายได้ เราก็น่าจะขายได้

เปิดดูคลิปสั้น
ของเพื่อนชายหญิงหลายคน
พบว่า เพื่อนทำคลิปขายของกันเยอะ
บางคนก็ขายภาพลักษณ์ ดูมีความสุข
เห็นทีไรก็กดไลค์ให้กำลังใจกัน
.
ทำให้นึกถึงคำค้นหนึ่ง
“ธุรกิจออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ
ค้าขายผ่านเน็ต พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์”
เมื่อไปค้นดู
พบเนื้อหาที่มี title ตามคำค้นนี้
ซึ่งผมเคยเขียนเล่าไว้ในโฮมเพจ ว่า
.
เพื่อนหลายท่าน
ที่ผมแอบชื่นชม ชื่นชอบ
เห็นแล้วก็อดไม่ได้ที่จะเก็บเรื่องราว
เพื่อไปเล่าขวัญ ว่าแต่ละท่าน
ขายอะไรอะไรกันบ้าง
.
เผื่อเป็นแนวทาง ช่องทาง ลู่ทาง
ให้ลูกศิษย์ลูกหาติดต่อ
ทักไปเป็นคู่ค้าหรือลูกค้าของเพื่อน ๆ
ในอนาคตอันใกล้นี้
.
หรือ บันทึกเรื่องราวกิจกรรม
ไว้ในความทรงจำ
เพราะสินค้าบางอย่างขายตามฤดูกาล
เช่น จิ้งกุ่ง อึ่งไข่ แมงมัน
ก็คงต้องรอเป็นรอบปีไป
.
ก็อยากเขียนบันทึกไว้
ให้อยู่ในความทรงจำ
ว่าฤดูไหนฤดูหน้า จะซื้ออะไรกันดี
.
ถ้ามีเพื่อนที่ไม่สะดวกใจที่ถูกเล่า
ก็แจ้งมาได้ครับ
“มังเขาห้ามเอากู ไปเล่าขวัญนาอิ!”
เป็นข้อความในสื่อสังคมประกอบการ์ตูน
ที่เห็นแล้วก็รู้สึกขำไปด้วย
.
ที่เล่านี่ก็ถือว่าช่วยกันแชร์
ช่วยกันขาย
ช่วยกันเก็บเรื่องราวที่ดีจะได้ไม่ลืม
คิดถึงทุกท่านและอยู่ในความทรงจำเสมอ
.
สรุปว่า มีเพื่อนชื่อ.นาย
ขอบคุณมากครับ
เพื่อนซื้อผ้าคลุมไหล่ไหม
บรรจุกล่องสวยงาม ของที่บ้าน
เค้าซื้อหลายกล่องไปฝากเพื่อนที่รักกัน
.
สมัยนี้คน Gen Z ทำอาชีพเสริม
ขายของกันเยอะมากครับ

ผ้าคลุมไหล่ไหม

#learning
#ecommerce
#friends
#customer
#blog

หลักสูตรสร้างสรรค์ กับ ห้องเรียนออนไลน์

อ่านโพสต์ของ
TeacherMickey Suphanta ในเพจ eduzones
เมื่อ 4 ม.ค.67
เรื่อง “เรียนแบบ Anytime Anywhere จริง ๆ”
เลือกหลักสูตร แล้วก็สมัครเรียน
ดูวิดีโอ ทำงานส่ง
ทำโปรเจค และสอบให้ผ่าน
แล้วได้ใบรับรองมาเป็นหลักฐาน
จัดเก็บเข้าแฟ้ม สั่งสมความรู้อย่างเป็นระบบ
เพื่อไปสมัครงานได้
สร้างโอกาสให้กับตัวเอง
มีแฟ้มเยอะ มีใบรับรองเยอะ ก็มีโอกาสเยอะ
เช่น เรียนกับ coursera แบบออนไลน์

#การเรียนรู้ไร้พรมแดน
#ห้องเรียนแห่งอนาคต
#ห้องเรียนออนไลน์

มีหลักสูตรมากมายเกี่ยวกับสร้างสรรค์
เช่น
Creative Problem Solving
University of Minnesota (13 hours)

Creative Thinking and Innovation
The University of Sydney (13 hours)

Creativity, Innovation and Transformation 
The Pennsylvania State University (18 hours)

Creative Thinking: Techniques and Tools for Success (19 hours) Imperial College London

โป้ยเซียน

นิสิตทั้ง 8 เล่าเรื่องขายสินค้าออนไลน์

เมื่อปลายเดือนเมษายน 2565 มีนิสิตเล่าเรื่องการขายสินค้าออนไลน์ ฟังเพลินเลยครับ เพราะแต่ละท่านมีภูมิหลัง ที่มาที่ไป กระบวนการ และความสุขจากการขาย แตกต่างกันไป เรียกว่า หลากหลายรสชาติ ไม่ซ้ำกันเลย เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มีบางท่านที่ผมขอเป็นลูกค้าเค้าด้วยนะ สั่งสินค้ามาส่งที่ทำงานของผม ซึ่งเค้าก็โอเค (ทำให้นึกถึงเพื่อน 603 ที่เล่าเรื่องการเย็บกระเป๋าหนังทำมือ hand-made ที่แชร์ผลงานที่ได้ทำจากการเรียนเย็บกระเป๋าหนัง เสมือนผลงานส่งคุณครูก่อนจบรายวิชาที่เรียนออนไลน์ ผลงานกระเป๋าของเพื่อนดูดีมาก เห็นบอกว่าต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูง เช่น โซ่ทองเหลือง หรือเหรียญที่ใช้แต่งกระเป๋า)

กลับมาเรื่องลูกศิษย์ทั้ง 8 ที่ทำให้นึกถึงความเทพของแต่ละคน ก็ชวนให้นึกถึง 8 เซียนข้ามทะเล (eight immortals) ที่แต่ละผลงาน และความเป็นมาล้วนมีเสน่ห์แตกต่างกันไป น่าบันทึกไว้เพื่อเป็นบทเรียน นำไปบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่นิสิตแต่ละคนได้เลือกสินค้า พบว่า บางคนผลิตสินค้าภายในเครือญาติ บางคนมีอาชีพเสริมขายออนไลน์ บางคนฝันอยากเป็นเกษตรกร บางคนเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากจีน บางคนขายรถยนต์มือสอง บางคนเป็นนักสะสมหนังสือการ์ตูน บางคนชอบต่อเลโก้ บางคนมีสินค้าแบรนเนมที่ขายต่อแล้วได้ราคา

หากลงลึกไปที่ตัวสินค้า เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ที่นิสิตเค้าเลือกมาขายออนไลน์ เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ทันที ไม่จำกัดงบประมาณ เพศ วัย หรือวุฒิการศึกษา ซึ่งมีตัวอย่างที่ถูกหยิบมาเล่าอยู่เสมอ คือ น้องมิลค์ รัญชิดา ยายแอ๋วไลฟ์ขายเสื้อผ้า หรือ ฮาซันอาหารทะเล อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนิสิต ทั้ง 8 นำเสนอสินค้า ดังนี้ 1) แคบหมู แหนมหมู ไส้อั่ว 2) ชุดชั้นใน 3) ปลูกผักไฮโดโปรนิกส์ 4) สินค้าแฟชั่นนำเข้าจากจีน 5) ขายรถยนต์มือสอง 6) ขายหนังสือการ์ตูนบล็อกเซ็ต 7) ตัวต่อเลโก้ 8) กางเกงยีนส์ยี่ห้อมือสอง

https://web.facebook.com/363415133996355/posts/754420488229149/

https://www.thaiall.com/e-commerce/indexo.html

ชวนกันออกจาก comfort zone เข้าหลักสูตร GCP online training (ภาพจากแฟนเพจ มหาวิทยาลัยเนชั่น)

ชวนนิสิตเข้า หลักสูตร GCP online training แบบ self-learning

เมื่อวาน (20 ก.พ.2565) ชวนนิสิต M.Ed. เข้าสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร GCP online training (Computer based) ตามความสมัครใจ หลังทุกคนนำเสนอโครงงานประจำวิชาช่วงกลางวันแล้ว ในช่วงเย็น พบว่า กลุ่มนิสิต M.B.A. แชร์ประกาศนียบัตร ซึ่งนิสิตจะผ่านได้ ต้องเข้าสอบและผ่านการสอบ ตามเกณฑ์อย่างน้อยถูก 24 จาก 30 ข้อ แล้วก่อนหน้านี้ เคยทราบว่ากลุ่มนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ก็ผ่านหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อได้เข้าไปทำข้อสอบ ทำให้ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ “แนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี” เพิ่มขึ้น

คู่มือแนะนำหลักสูตร GCP online training

หลักสูตร GCP online training (Computer based) “แนวทางการปฎิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (ICH-GCP:E6(R2))” โดย คณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ICH ย่อจาก The International Conference on Harmonization of Technical Requirements for Registration of Pharmaceuticals for Human Use และ GCP ย่อจาก Good Clinical Practice


คำชี้แจง ที่น่าสนใจ

  1. ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมดให้จบก่อนทำแบบทดสอบ
  2. แบบทดสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ เกณฑ์ผ่านคือ ตอบถูกอย่างน้อย 24 ข้อ (240 จาก 300 คะแนน)
  3. หลังจากท่านทำข้อสอบทั้งหมดแล้ว ท่านจะได้รับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ pdf ทางอีเมล์
  4. ท่านสามารถหยุดทำข้อสอบชั่วคราว แล้วกลับมาทำต่อคราวหลังได้ โดยระบบจะเริ่มต่อจากข้อล่าสุด

http://www.thaiall.com/ethics/