อาจารย์ ดอกเตอร์ ม.ราชภัฎพระนคร ยิงกันเสียชีวิต 2 ราย และผู้ลงมือเสียชีวิตในเวลาต่อมา
เหตุเกิดประมาณ 9 โมง วันที่ 18 พ.ค.59 ตามข่าวทราบว่า
ที่ ห้องพุทธวิชชาลัย ชั้น 5 อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
เหตุเกิดในระหว่างสอบภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท ในห้องมีรวมกัน 5 คน
คือ อาจารย์ 3 ท่าน และนักศึกษา 1 คน กับเพื่อนนักศึกษาอีก 1 ท่าน
ชื่อเดิมคณะคุรุศาสตร์ เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยการฝึกหัดครู
อาจารย์ผู้ก่อเหตุมีปัญหากับประธานสอบมาก่อน
เข้ามาแล้วก็ยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่านจนเสียชีวิต
คือ ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม อายุ 56 ปี
กศ.บ.(การบริหารการศึกษา), กศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่), Ph.D.(Development Education)
ประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มรภ.พระนคร
และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี อายุ 54 ปี
ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์), พณ.ม. (พัฒนาสังคม), กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.พระนคร
ตามข่าวทราบว่า ดร.วันชัย ดนัยตโมนุท อายุ 60 ปี
กศ.บ. (ฟิสิกส์), วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), ศษ.ด.(บริหารการศึกษา)
อาจารย์ประจำวิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาบริหารการศึกษา หลักสูตรปริญญาโท มรภ.พระนคร
เป็นผู้ก่อเหตุยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน
แล้วยิงตนเองจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ที่โรงแรมสุภาพ กทม.
+ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1463544579
+ http://www.dailynews.co.th/crime/398329
+ https://www.facebook.com/matichonweekly/photos/a.494435107250507.121360.127655640595124/1300938559933487/
+ http://news.mthai.com/hot-news/general-news/495802.html
+ http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378502109/
ระบบการเสนอข่าวดอกเตอร์เสียชีวิต (itinlife553)
เหตุการณ์ที่อาจารย์ดอกเตอร์ทั้ง 3 เสียชีวิตเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2559 นั้น เหตุเกิดครั้งแรกที่ห้องสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษา การนำเสนอข่าวครั้งแรกทำให้มีข้อสงสัยว่าปัญหานั้นเกิดจากการถกเถียงกันระหว่างกรรมการสอบที่ร่วมกันพิจารณาผลงานนักศึกษาในประเด็นที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ วรรณกรรมอ้างอิง กรอบแนวคิด วิธีวิทยา เครื่องมือวิจัย การเก็บข้อมูล ผลการศึกษา หรือการเขียนรายงานสรุปผลหรือไม่ หากเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ก็จะเกิดจากความมีอัตตาในบุคลากรทางการศึกษา
หลังตำรวจพบว่าผู้ก่อเหตุและพยายามเจรจาให้จบลงด้วยดี ระหว่างนั้นก็มีการเสนอข่าวด้วยการถ่ายทอดสด ที่มีลักษณะที่เป็นการนำเสนอเนื้อหารายการที่อาจเข้าข่ายมีพฤติกรรมแสดงออกถึงความรุนแรง เป็นการถ่ายทอดสด การฆ่าตัวตาย จนมีหนังสือตักเตือนทั้งด้วยวาจา และหนังสือไปยังสื่อที่ถ่ายทอดสดว่าให้ระมัดระวัง เพราะมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ในมาตรา 37 หมวด 2 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 แต่ระบบและกลไกในระดับสถานีโทรทัศน์ก็ยังเป็นประเด็นคำถามว่าต้องทำอย่างไร จึงจะเหมาะสม
เนื่องจากระบบและกลไกจะถูกใช้ในเหตุการณ์ปกติ แล้วระบบและกลไกของเหตุการณ์นี้ควรเป็นแบบใด ในเมื่อเป็นเรื่องที่สังคมกำลังจับจ้อง สะท้อนความจริงของสังคม วินาทีใดระหว่างรายงานที่ควรตัดจากการถ่ายทอดสดเข้าไปในสตูดิโอ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน จุดใดที่ควรหยุดด้วยเหตุและผลเชิงวิชาชีพสื่อสารมวลชนสำหรับแต่ละสถานี มีการวิพากษ์กันมากทั้งการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ และจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย แล้วยังมีกรณีตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง เหยี่ยวข่าวคลั่งล่าข่าวโหด หรือ คู่อำมหิตฆ่าออกทีวี หรือกรณีของปอ ทฤษฎี เองก็มีการพูดถึงปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ ที่ขัดต่อจรรยาบรรณ ล่าสุด กสทช. ออกหนังสือขอความร่วมมือให้สถานีโทรทัศน์ปฏิบัติตาม เพราะอาจผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษตามมา
+ http://news.mthai.com/hot-news/social-news/496117.html
+ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000050882
+ http://www.komchadluek.net/detail/20160123/221096.html