president

4 มหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ก็น่าจะจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรม

4 universities
4 universities

เนื่องจากหัวหน้าแชร์เรื่อง 4 มหาวิทยาลัย
ที่เค้าจะใช้ ม.44 เข้าไปแก้ปัญหา น่าสนใจ
They are 4 universities in governance crisis.
1. ม.มหาสารคาม ขัดแย้งอธิการกับสภา ปัญหาสอบทุจริต
2. มรภ.สุรินทร์ สรรหาอธิการ สตง.ชี้มูลความผิด ให้สภาฯ ทบทวน
3. ม.บูรพา สรรหาอธิการ เกิดฟ้องร้องกันไปมา ยังแก้ปัญหาไม่ได้
4. ม.กรุงเทพธนบุรี ขอสอน 200 คน แต่รับจริง 2500 คน
อันที่จริงทั้ง 4 มหาวิทยาลัย มีปัญหาจากผู้บริหาร หรือสภาฯ ขาด คุณธรรมและจริยธรรม
ถ้าจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านคิดดี ทำดี อะไรอะไรน่าจะดีขึ้น
+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435228389
+ http://www.matichon.co.th/news/199342
+ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1464773574
+ http://www.matichon.co.th/news/201277
+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435222892

รายการคืนความสุข ท่านนายกพูดถึง ภารกิจหลักด้านการศึกษา และการใช้ไอที

รายการคืนความสุข วันที่ 27 มีนาคม 2558
เล่าถึงนโยบายทางการศึกษาในนาทีที่ 2.10 super board ด้านการศึกษา
มุ่งเน้น 3 ภารกิจหลัก

1. การดำเนินงานตามภารกิจประจำ
(routine work)
2. การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
(Implementation of government policies)
3. การดำเนินงานสำหรับการวางรากฐานเพื่อส่งไปยังรัฐบาลในอนาคต
(Work related to laying down the foundation for future governments)

ทั้งนี้
จะดำเนินการทั้งด้านการจัดการศึกษา
การปรับหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพครูและผู้เรียน
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณ และการกระจายอำนาจ
เน้นให้มีทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติ โดยจะพิจารณาการดำเนินงาน
จากต่างประเทศมาปรับใช้ตามความเหมาะสม

แล้วนาทีที่ 4.45
ที่เห็นเป็นประโยชน์ คือ การสอนทาง social media หรือระบบดิจิทอล
ต้องสอนให้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร
ถ้าใช้ผิด แล้วไปคาดหวังจากระบบอย่างเดียว ก็คงไม่ได้
https://www.youtube.com/watch?v=2A5fPtiJ-Qw

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ
คนที่เขียนเรื่องนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะเชิงอรรถแน่น และร้อยเรียงได้ดี
ผมคัดลอกส่วนของปัญหาความโปร่งใส .. รายละเอียดอื่นอีกเพียบ
ที่ http://prachatai.com/journal/2013/12/50325

ในด้านหนึ่งตำแหน่งอธิการบดีนั้นถือว่าเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง การที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พงศ์เทพ เทพกาญจนาออกมาเตือนให้ สภามหาวิทยาลัยควรมีความโปร่งใสในการสรรหาอธิการบดี ก็ยิ่งเป็นตัวชี้วัดได้ดี [10] ไม่เพียงเท่านั้นข่าวฉาวของอธิการบดีก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำสมาชิก ทปอ. และมหาวิทยาลัยนอก ทปอ. ยังไม่ต้องนับว่า ตำแหน่งอธิการบดีหลายแห่งในประเทศไทย ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และตัดขาดความมีส่วนร่วมของประชาคมในมหาวิทยาลัยนั้นๆ

ความเหลื่อมล้ำของสถาบันต่างๆ โดยโครงสร้างนั้นมีอยู่จริง ไม่นับต้องพูดถึงความเหลื่อมล้ำภายในองค์กรที่จัดฐานันดรศักดิ์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ที่เป็นปัญหาอย่างมากในฐานะขององค์กรแนวดิ่ง ไม่มีสหภาพแรงงานเฉกเช่นประเทศในโลกสมัยใหม่ทั้งหลาย  ในที่นี้ขอปิดท้ายด้วยงบประมาณที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการจัดสรร ตั้งแต่งบประมาณปี 2549-2556 ทำให้เห็นความแตกต่างของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับครีมสมาชิกทั้ง 27 แห่ง มีความแตกต่างอย่างไรกับมหาวิทยาลัยที่ไม่ถูกนับ ช่องว่างดังกล่าวแสดงถึงความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง มหาวิทยาลัยใหญ่จึงได้รับทั้งอภิสิทธิ์ทางเกียรติยศ เงินทอง และบทบาททางการเมือง ซึ่งที่ถือว่ามีปัญหามากในสายตาของผู้เขียนคือ ทำตัวเป็นผู้ไม่รู้ร้อนเกี่ยวกับหลักการอยู่ร่วมกันโลกสมัยใหม่ และระบอบประชาธิปไตย.

อาจารย์-นักศึกษา ราชภัฏโคราชฮือแต่งดำประท้วง

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา – อาจารย์-นศ. ม.ราชภัฏโคราชฮือแต่งดำประท้วง ค้านมติสภามหาวิทยาลัยฯ เลือกอธิการบดีคนใหม่ กก.สภาฯ 3 คน สุดทนยื่นลาออก พร้อมชูป้ายประณาม “สภาอัปยศ ไม่ฟังเสียงประชาคม” ชี้ทุกขั้นตอนผ่านการกลั่นกรองมาอย่างหนัก แต่สุดท้ายสภาฯ กลับเลือกเอาคนได้คะแนนแพ้รวดทุกยกเป็นอธิการฯ โดยไม่สนความเหมาะสมตามที่คนส่วนใหญ่เลือกมา

ค้านมติสภาเลือกอธิการ
ค้านมติสภาเลือกอธิการ

18 พ.ค.2556 ที่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มคณาจารย์และนักศึกษา จำนวนกว่า 30 คน นำโดย ผศ.ธวัช ตราชู ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้รวมตัวกันแต่งชุดสีดำแสดงพลังคัดค้านมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ได้ลงมติเลือก รศ.ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาคนใหม่ ในการประชุมเมื่อวานนี้ (17 พ.ค.2556)

พร้อมกันนี้ ผู้ชุมนุมได้ชูป้ายประท้วงข้อความต่างๆ เช่น “ไม่เอาวิเชียร” “มหาลัยจะอยู่อย่างไรถ้าสภาไม่ยอมรับฟังเสียงประชาคม” และ “สภาอัปยศไม่ฟังเสียงประชาคม” จากนั้น ผศ.ธวัช ตราชู กับพวกได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อคัดค้านการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ โดยมี ผศ.คมกฤช ตรีสินธุรส รักษาการรองอธิการบดี เป็นตัวแทนรับหนังสือ พร้อมอ่านแถลงการณ์ ก่อนเดินขบวนไปรอบมหาวิทยาลัยฯ

ผศ.ธวัช ตราชู ประธานสภาคณาจารย์ และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเปิดเผยว่า สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้ดำเนินการสรรหาอธิการบดีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากอธิการบดีคนปัจจุบัน ผศ.ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยสภามหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีขึ้นมา จำนวน 9 คน ภายใต้ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯ และ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 ซึ่งในมาตรา 28 อธิการบดีนั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย จากผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 29

ต่อมา คณะกรรมการสรรหาฯ ได้ดำเนินการให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัย จำนวน 14 หน่วยงาน เสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี หน่วยงานละ 1 รายชื่อ ปรากฏว่ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อจากหน่วยงานทั้งสิ้น 5 คน เรียงลำดับตามจำนวนหน่วยงาน คือ อันดับ 1 ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ จำนวน 6 หน่วยงาน อันดับ 2 รศ.ดร.นภัทร์ น้อยน้ำ จำนวน 3 หน่วยงาน และอันดับ 3 รศ.ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล จำนวน 2 หน่วยงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ไม่ได้ถูกเสนอชื่อสมัครเข้ารับการสรรหาอีก 3 คน ร่วมเป็นผู้เข้ารับการสรรหาทั้งสิ้น 8 คน

จากนั้น คณะกรรมการสรรหาฯ ได้จัดให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ต่อหน้าประชาคม มีการสัมภาษณ์ กลั่นกรอง พิจารณาคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ และให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเลือกให้เหลือ 3 คน เพื่อนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยฯ ปรากฏว่า ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ มาเป็นอันดับ 1 ได้คะแนน 87.36 อันดับ 2 รศ.ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล ได้คะแนน 77.41 และอันดับ 3 ดร.สุนทรี ศิริอังกูร ได้คะแนน 72.30

ล่าสุด เมื่อวานนี้ (17 พ.ค.2556) คณะกรรมการสรรหาฯ ได้นำรายชื่อทั้ง 3 คน ดังกล่าว เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยฯ ในการประชุมครั้งที่ 5/2556 แต่ผลปรากฏว่า สภามหาวิทยาลัยฯ ได้ลงมติ 11 เสียง เลือก รศ.ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล และ 9 เสียงเลือก ศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ ทั้งที่ได้รับการเสนอชื่อจากหน่วยงานมหาวิทยาลัยมากที่สุดถึง 6 หน่วย ซึ่งแสดงถึงการยอมรับของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมากกว่า รศ.ดร.วิเชียร ที่ได้รับการเสนอจากหน่วยงานเพียง 2 หน่วยงาน อยู่ในอันดับที่ 3

นอกจากนี้ คะแนนในส่วนของคณะกรรมการสรรหาฯ ยังได้มาเป็นอันดับ 1 จำนวน 87.36 มากกว่า รศ.ดร.วิเชียร ซึ่งได้มาเป็นอันดับ 2 จำนวน 77.41 อย่างเห็นได้ชัดเจน แต่สภามหาวิทยาลัยฯ กลับมีมติที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 มาตรา 28

ฉะนั้น วันนี้พวกเราในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ ตัวแทนผู้บริหาร และผู้แทนคณาจารย์เห็นว่า มติของสภามหาวิทยาลัยฯ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ได้คำนึงถึงบทบัญญัติใน พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเสียงสะท้อนของประชาคมในมหาวิทยาลัย และไม่ได้รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดถือกันมาโดยตลอดอย่างยาวนาน จึงขอคัดค้านมติสภามหาวิทยาลัยดังกล่าว

ทั้งนี้ เพราะเป็นมติที่ทำลายวัฒนธรรมองค์กร ก่อให้เกิดความแตกแยกในองค์กร และขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากการเป็นสภาคณาจารย์ และข้าราชการ และการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ผม พร้อมด้วย รศ.พรณีย์ ตะกรุดทอง และ อ.ศักดิ์ดา นาสองสี ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ เพราะกระบวนการสรรหาแต่ละขั้นตอนเราต้องระดมความคิดเห็นอย่างสาหัสจนมั่นใจว่าจะได้ผู้นำที่เหมาะสมแล้วจึงนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยฯ ที่เต็มไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และทรงเกียรติ เพื่อจะได้พิจารณาอย่างสมเหตุสมผล แต่สุดท้าย การสรรหาที่กลั่นกรองไว้ด้วยหลักการ และเต็มไปด้วยความยุติธรรม กลับไม่ได้ถูกนำมาอ้างอิง แต่มติที่ออกมากลับเป็นการเลือกข้าง เพื่อพรรคพวกตัวเองอย่างชัดเจน” ผศ.ธวัช ตราชู กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบัน มีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย ซึ่งผูกขาดในตำแหน่งนี้มาตลอดเป็นเวลานานกว่า 18 ปี และมักถูกมองว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังตัวจริงในการสรรหาอธิการบดีคนใหม่มาทุกยุคสมัย เช่นเดียวกับครั้งนี้ ที่ นายสุวัจน์ เดินทางมาเป็นประธานประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ คุมเกมเลือกอธิการบดีคนใหม่ด้วยตัวเอง และร่วมลงคะแนนเสียงด้วย

! http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000059750