quota

สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายของผู้สอบผ่านข้อเขียน โควตา มช.

แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม

ในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2560 เวลา 8.30 – 10.30น.
นักเรียนในเขตพัฒนาภาคเหนือฯ
จะมีการสอบสัมภาษณ์ ในหลายอาคาร ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาทิ ณ อาคารเรียนรวมหลังที่ 5
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ก็มีหลายหลักสูตร หลายสถาบัน ที่ผ่านเข้าถึงรอบ
สัมภาษณ์ผู้สอบผ่านข้อเขียนการสอบคัดเลือกนักเรียนในเขตพัฒนาภาคเหนือฯ
หรือที่เรียกว่าโควตามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
วันที่ 28 มกราคม 2560 เวลา 8.30 – 12.00 น.
1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคาร RB5 ห้อง 5101
2. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อาคาร RB5 ห้อง 5103 และ 5104
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคาร RB5 ห้อง 5201 และ 5205
4. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาคาร RB5 ห้อง 5202 และ 5203
5. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร RB5 ห้อง 5301 และ 5305
6. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อาคาร RB5 ห้อง 5302, 5303 และ 5304
7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาคาร RB5 ห้อง 5401
8. มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาคาร RB5 ห้อง 5402 และ 5403

กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Timeline รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ

ตามที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประชุมร่วมกับที่ประอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.)
และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.)
เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยระบบใหม่ วันที่ 15 ธันวาคม 2559
ณ สำนักงานคณะกรรมการการการอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อแก้ปัญหาให้นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนจนครบหลักสูตรมัธยมปลาย
2. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง นักเรียนไม่ต้องวิ่งรอกสอบหลายที่สามารถเลือกสาขาที่ต้องการเรียน มีความถนัด
3. เพื่อยังคงเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเลือกนักเรียนได้ตามความต้องการ

http://www.moe.go.th

timeline admission 2561
timeline admission 2561

แล้วพบว่า ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ได้ออกแถลงข่าวเรื่อง การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2561
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559

Timeline รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ
Timeline รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ

พบว่ารับนักเรียนเข้าศึกษาในระบบมีทั้งหมด 5 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 ใช้แฟ้มสะสมงาน
การรับนักเรียนโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน(Portfolio)
ไม่มีการสอบคัดเลือก เช่น การรับนักเรียนดี/ช้างเผือก
นักเรียนที่มีความสามารถด้านกีฬา ดนตรีศิลปวัฒนธรรม
โอลิมปิกวิชาการ นักเรียนกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
หรือ เด็กดีมีคุณธรรม เป็นต้น
คัดเลือกโดยพิจารณาจากการสอบสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
โดยนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาแล้ว
มหาวิทยาลัยจะส่งรายชื่อให้ ทปอ. ทำการตัดสิทธิ์
การเข้าศึกษาในระบบอื่น ๆ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์

รอบที่ 2 ใช้คะแนน ช่วง มี.ค.2561 – เม.ย.2561

ระบบโควตา หรือรับตรงโดยใช้คะแนน ที่มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการได้เอง

รูปแบบที่ 1 โควตา
เช่น
โควตาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยตามภูมิภาค
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)
โครงการผลิตแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(ODOD) เป็นต้น
คัดเลือกโดยข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบ

รูปแบบที่ 2 สอบตรงที่มหาวิทยาลัยจัดสอบ
เช่น การสอบตรงของคณะ/สาขาต่าง ๆ

รูปแบบที่ 3 รับตรงโดยใช้คะแนนที่จัดสอบโดย สทศ.
โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
(O-NET , GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ)
เช่น โครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ทั้งนี้ การจัดสอบโดยสทศ. หรือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
เช่น O-NET ,GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ และการจัดสอบโดยมหาวิทยาลัย
เช่น ข้อสอบโควตา ข้อสอบตรงของคณะ/สาขาต่าง ๆ
จะต้องอยู่ภายในช่วงเวลาเดียวกัน
คือ ช่วงเดือนมีนาคม 2561 – เมษายน 2561

โดยนักเรียนเลือกสมัครได้ทุกมหาวิทยาลัยที่เปิดดำเนินการคัดเลือกเอง
นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและต้องการเข้าศึกษา
ต้องทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาเพียง 1 ที่ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
และจะถูกตัดสิทธิ์จากการคัดเลือกในระบบเคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 1 และ รอบที่ 2

รอบที่ 3 ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 1 (ระบบรับตรงร่วมกัน)

คัดเลือกโดยใช้ ผลคะแนนที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
(GAT/PAT และ/หรือ วิชาสามัญ 9 วิชา)
ผลคะแนน O-NET และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)

โดยนักเรียนเลือกสมัครได้ 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
ผ่านการคัดเลือกได้มากที่สุด 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย

นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและต้องการเข้าศึกษา
ต้องทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาเพียง 1 ที่ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
เมื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาผ่าน ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 1 แล้ว
จะถูกตัดสิทธิ์จากการคัดเลือกใน ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 2

รอบที่ 4 ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 2 (ระบบคัดเลือกกลาง)

คัดเลือกโดย ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)
ผลคะแนน O-NET และ ผลคะแนน GAT/PAT
ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
โดยยังคงสัดส่วนและกระบวนการคัดเลือกเหมือนระบบแอดมิชชันเดิม
นักเรียนเลือกสมัครได้ 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
ผ่านการคัดเลือกได้เพียง 1 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย

รอบที่ 5 รับตรงอิสระ

ทั้งนี้ภายหลังการรับนักศึกษาในระบบเคลียริ่งเฮาส์แล้วเสร็จ
หากมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถรับนักเรียนได้ตามจำนวนที่ต้องการ
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้เอง
รวมทั้ง มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา ต่าง ๆ
สามารถเปิดสอบวิชาเฉพาะได้เองอีกด้วย

รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ
รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ

http://p-dome.com/new-admissions-61/
http://www.komchadluek.com/news/edu-health/247329

สอบตรง จะถูกแทนที่ด้วย แอดมิชชั่นกลาง

22 มิถุนายน 2557 ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปีการศึกษา 2559 มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง และระบบการรับตรง เพื่อประโยชน์ของเด็ก โดยให้เด็กจะสอบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถนำคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ทุกระบบ ช่วยลดการวิ่งรอกสอบและเด็กก็จะไม่เสียสิทธิ์จากเดิมที่เคยมี
http://education.kapook.com/view91386.html

26 มิถุนายน 2557 ข่าว ปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
hourly-Rerun 26 มิถุนายน 2014 เวลา : 09:01 – 10:00 น.
http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2014-06-26/09/

พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม

เป็นช่วงข่าวนาทีที่ 9:27 – 9:40น.
สอบร่วมกัน แก้ปัญหาการวิ่งรอบสอบ
ครั้งนี้อธิการบดีเห็นชอบร่วมกัน ว่าจะใช้ admission ครั้งเดียว
ส่วนวัดวิชาสามัญ สอบครั้งเดียว
ส่วนวัดความถนัด gat pat สอบสองครั้งเหมือนเดิม
อยากเห็นอยู่ในห้องเรียนจนจบ ม.6

25 มิถุนายน 2557 ตอบโจทย์ เกณฑ์ใหม่เข้ารั้วมหาวิทยาลัย
ผล vote จาก dek-d.com จาก 718 คน
– 67% เห็นด้วย ช่วยลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ และไม่ต้องเสียเงินเยอะ
– 33% ระบบใหม่พลาดแล้ว พลาดเลย ไม่มีโอกาสได้แก้ตัว
http://www.dek-d.com/board/view/3331378/
http://www.youtube.com/watch?v=FlqKIYjyIcM
http://clip.thaipbs.or.th/file-12482

4 ตุลาคม 2556 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประธาน ทปอ.เผยปี 2557 ที่ประชุมมีมติจัดสอบตรงแค่เดือนมกราคม เชื่อช่วยลดปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบได้ ยืนยันยังไม่ยกเลิกระบบรับตรง ชี้ปัญหาเกิดจากระบบแอดมิชชั่นส์กลาง ไม่ใช่ความต้องการของมหาวิทยาลัย
http://www.dek-d.com/board/view/3065525/
ผล vote 30 คน
– 23% เห็นด้วยเลื่อนไปเลย จะได้ทำให้ลดปัญหาวิ่งรอกสอบ ลดปัญหาคนสละสิทธิ์ โอกาสระหว่างคนรวยกับคนจนเริ่มเท่าๆกัน
– 77% ไม่เห็นด้วย เราก็เสียประโยชน์ ไม่ได้ไปสอบหลาย ๆ ที่ เผื่อไม่ติดอะสิ

1 เมษายน 2557 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยกับทีมข่าวการศึกษา เว็บไซต์เด็กดีดอทคอมว่า “ในกรณีรับตรงปีการศึกษา 2558 ยังคงมีอยู่ แต่อาจจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ได้ประสานงานให้ สกอ. ขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ หากมหาวิทยาลัยไหนยังไม่ได้ดำเนินการรับตรงนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2558 ให้ไปจัดสอบหลังจากที่นักเรียนได้เรียนจบการศึกษาแล้ว นั้นคือประมาณ ก.พ.58 เป็นต้นไป แต่หากมหาวิทยาลัยไหนดำเนินการรับนักศึกษาไปแล้ว ก็ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น กลับมาว่ามีเหตุใดที่เลือกที่จะรับตรงโดยการจัดสอบเอง”
http://www.dek-d.com/admission/34370/
ผล vote “พัฒนาการศึกษาไทย สิ่งไหนที่ควรยกเลิก ?” 1594 คน
– 9% ยกเลิกรับตรง ต้นเหตุวิ่งรอกสอบ เสียเงินเยอะ รวยก็ได้เปรียบ
– 91% ยกเลิกแอดมิชชั่น ข้อสอบไร้คุณภาพ สอบถี่ สอบทั้งปี เครียด

31 กรกฎาคม 2553 กระแสการเข้ามาแทนที่สอบตรงของแต่ละสถาบันของสอบแอดมิชชั่นกลาง
หรือคล้ายระบบ entrance ในอดีตนั้น มีมาได้ระยะหนึ่งแล้ว
ที่เว็บไซต์เด็กดี นำเสนอเหตุการณ์ที่ต่างกัน 5 เรื่อง ระหว่างสอบ 2 แบบนี้
เหตุการณ์ที่ 1 : เรื่องของการอ่านหนังสือ
อ่านเฉพาะ หรืออ่านหมดทุกวิชา
เหตุการณ์ที่ 2 : เรื่องของคืนก่อนวันสอบ
พักแต่หัววัน หรือเครียดยันสว่าง
เหตุการณ์ที่ 3 : เรื่องของวันสอบ
รอบหน้ายังมี หรือคิดแล้วคิดอีก
เหตุการณ์ที่ 4 : เรื่องของความเครียด
ไม่เครียด หรือเครียดว่าคะแนนถึงหรือไม่
เหตุการณ์ที่ 5 : เรื่องหลังจากวันประกาศผล
มีที่เรียนก่อน หรือถ้าพลาดแอดก็พลาดเลย
http://www.dek-d.com/admission/21456/
http://www.dek-d.com/admission/28730/
http://www.dek-d.com/admission/34901/

รับตรงหลัง admission มีที่ว่างในมหาวิทยาลัยชื่อดังให้ไปสอบกว่า 2 หมื่นที่นั่ง
น่าจะติดสักที่ http://www.dek-d.com/admission/34908/

รวมรับตรง หลังแอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2557
http://p-dome.eduzones.com/all-post-admissions-57/