retire

นิสิตนิติจุฬาฯ ร้องไม่เป็นธรรม ถูกรีไทร์ย้อนหลัง 5 คน อ้างเกรดออกช้า 2 ปี

nisit chula
nisit chula

http://nisitchula.weebly.com/

19 มิ.ย.56 รายงานข่าวแจ้งว่ามีกลุ่มนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  5 คน ถูกแจ้งย้อนหลังให้พ้นสถานภาพการเป็นนิสิต ในวิชาที่เรียนในระดับชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 วิชาหนึ่ง ซึ่งเป็นวิชาบังคับที่นิสิตทุกคนต้องเรียน  เพราะเหตุจากการที่อาจารย์ผู้สอน ส่งผลคะแนนการศึกษาในวิชาดังกล่าวล่าช้ามากกว่า 2 ปี หรือกว่า 5 ภาคการศึกษา  โดยในขณะนั้นนิสิตกลุ่มดังกล่าวกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่หนึ่ง  ในรายวิชา “กฏหมายกับสังคม” ซึ่งเป็นวิชาที่เรียนในระดับชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 โดยผลคะแนนของวิชาดังกล่าวเพิ่งออกมาเมื่อไม่นานมานี้ รวมระยะเวลามากกว่า 2 ปี

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1371628676&grpid=01&catid=01

ปัจจุบันนิสิตกลุ่มดังกล่าวกำลังศึกษาในชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การขยับขึ้นชั้นเรียนในชั้นปีที่2-3 แม้ว่าผลคะแนนวิชาดังกล่าวจะยังไม่ประกาศผล ระบบการลงทะเบียนเรียน ก็อนุญาตให้นิสิตกลุ่มดังกล่าว สามารถที่จะลงทะเบียนเรียนในชั้นปีที่ 2- 3 ได้โดยปกติ เมื่อขึ้นชั้นปี 4 นิสิตกลุ่มดังกล่าว ได้ทำการลงทะเบียนเรียนปกติ แต่ภายหลังกลับถูกแจ้งว่า ให้พ้นสถานภาพการเป็นนิสิต เนื่องจากผลคะแนนวิชา “กฎหมายกับสังคม” ที่เคยเรียนเมื่อชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 เมื่อหลายปีก่อนได้ประกาศผล โดยเป็นการประกาศผลคะแนนถึงสามชั้นปีในครั้งเดียว (เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2556)  ทำให้เมื่อนำผลคะแนนวิชาดังกล่าว มาคำนวณผลคะแนนเฉลี่ยรวมสมัยชั้นปีที่ 1 ทั้งสองภาคการศึกษาแล้ว ปรากฏว่า ผลการเรียน ไม่ผ่านเกณฑ์ที่จะได้ศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ อีกต่อไป

เมื่อตรวจสอบเว็บไซต์ของ สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายหลักเกณฑ์ การจำแนกสภาพนิสิต ว่าต้องกระทำครั้งแรกเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่สอง ซึ่งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ผลคะแนนของ วิชา “กฎหมายกับสังคม” กลับไม่สามารถประกาศได้ทัน จนเวลาล่วงเลยมามากกว่า 2 ปี ซึ่งไม่สามารถจำแนกสภาพนิสิตครั้งแรกได้ กลับมาจำแนกสภาพนิสิตในการประกาศผลคะแนนวิชาดังกล่าวเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 4

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นิสิตกลุ่มดังกล่าว ได้พยายามที่จะติดต่ออาจารย์ผู้สอนรายวิชาดังกล่าว เพื่อติดตามผลคะแนน แต่ก็ได้รับคำตอบว่า กำลังเร่งในการตรวจอยู่ เมื่อสอบถามไปยังหน่วยงาน และ บุคคลที่เกี่ยวข้องก็ได้รับคำตอบว่า จะประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนให้ ซึ่งนิสิตเองก็มีความกังวลกับผลคะแนนที่ประกาศช้าเป็นอย่างมาก เพราะมีผลต่อการวางแผนการศึกษาในชั้นปีต่อไป และเมื่อล่าสุดผลคะแนนได้ประกาศออกมา ก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 4 ทำให้ผลการเรียนเฉลี่ยรวมในสองภาคการศึกษาของชั้นปีที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์และต้องถูกถอนสถานภาพนิสิต ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตของนิสิตกลุ่มดังกล่าวอย่างมาก รวมทั้งครอบครัว ของนิสิตด้วย

หลังเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ทางคณะกรรมการบริหารคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน  รวมทั้งเชิญนิสิตที่ได้รับผลกระทบทั้ง 5 คน เข้าพบหารือ เพื่อหาทางออก พร้อมทั้งได้เปิดเวทีชี้แจงให้นิสิตทุกชั้นปีรับฟัง และในคราวการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 12/2556 ได้มีมติออกมา  โดยมีใจความสำคัญ คือ การยอมรับผิดที่คณะได้ส่งคะแนนการศึกษาล่าช้า  และมีมาตราการในการเยียวยาออกมา 4 ข้อ  คือ

1.มาตรการเยียวยาทางการเงิน เห็นควรให้นิสิตได้รับการเยียวยา ดังต่อไปนี้
1.1 คืนค่าธรรมเนียมทางการศึกษานับตั้งแต่เวลาที่พ้นสภาพ  พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
1.2 ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการศึกษาตามความเป็นจริง เป็นรายกรณีไป
1.3 ชดเชยค่าเสียโอกาส
2. เห็นควรเสนอให้มหาวิทยาลัยให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ในกรณีดังกล่าว
3.ทั้งนี้ในส่วนของรายวิชาดังกล่าว คณะกรรมการเห็นพ้องให้มีการเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้เป็นต้นไป
4.ในส่วนของการส่งคะแนนช้าในรายวิชาต่างๆนั้น  ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรเพิ่มมาตราการ ดังต่อไปนี้
4.1ให้มีการออกหนังสือทวงถาม ครั้งที่1 และ 2 ถึงอ.ผู้สอนในรายวิชา เมื่อครบ 1 ถึง 2 เดือน นับแต่วันสอบวันสุดท้ายของภาคนั้น
4.2 หากครบสามเดือนแล้ว พึงมีการตั้งกรรมการสอบวินัยอาจารย์ผู้สอนต่อไป เว้นแต่มีเหตุจำเป็นบางประการที่ทำให้ส่งคะแนนภายในกำหนดไม่ได้

ทั้งนี้จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกตั้งคำถามจาก ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าจำนวนมากถึงเรื่องความรับผิดชอบของคณะที่ควรจะมีมากกว่านี้ตั้งแต่คณะผู้บริหารจนกระทั่งถึงอาจารย์ผู้สอน  เพราะเมื่อนิสิตกลุ่มดังกล่าวได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ต้องถูกรีไทร์ (Retire) ตั้งแต่การเรียนในชั้นปีที่ 1 นิสิตก็ควรจะต้องรู้ตั้งแต่เวลานั้น การปล่อยให้เวลาล่วงเลยจนถึงปีสี่ แล้วเกรดปีหนึ่งจึงได้ประกาศ และมารู้ตัวตอนปี 4 ว่าต้องถูกรีไทร์  ซึ่งคณะจะเยียวยาโดยจ่ายเงินตั้งแต่ปี 2 ถึง ปี 4 นั้นเป็นวิธีที่ถูกต้องแล้วหรือ เมื่อเป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ชัดเจน ทำไมจึงไม่มีเวลาในการตรวจข้อสอบนิสิต

นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามจากศิษย์เก่ากันอีกว่ามาตรการดังกล่าวที่ออกมานอกจากเป็นการไม่ช่วยเหลือนิสิตทั้งห้าคนแล้วยังเป็นการลอยตัวของผู้บริหารคณะ ที่ให้อาจารย์เพียงท่านเดียวแบกความรับผิดชอบ โดยมิได้ตระหนักว่า ในคณะมีอาจารย์เพียงไม่ถึงสิบท่านที่ออกเกรดตรงเวลา โดยจำนวนมากตั้งคำถามและวิพากษ์กับความเป็นมาตรฐานและตัวระบบโครงสร้างการคิดคะแนนและการจัดการเรียนการสอนของคณะที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงดังกล่าว

เรื่องดังกล่าวนี้น่าจะเป็นที่จับตามองของประชาคมจุฬาทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันอย่างกว้างขวาง   โดยปัญหาดังกล่าว สะท้อนระบบการบริหารงาน และการจัดหลักสูตรการศึกษา ของ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ส่งผลกระทบต่อ “นิสิต” เพราะจะไม่ใช่เพียง 5 คน ที่ได้รับผลกระทบกับเรื่องที่เกิดขึ้น หากแต่อาจส่งผลกระทบกับ “นิสิต” รุ่นต่อไป  และเรื่องนี้อาจต้องไปต่อสู้ในศาลปกครองกลางต่อไป

วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน 56-60 แนะผลิตรองรับ

ศิษย์มีครู
ศิษย์มีครู

23 เม.ย.56 รายงานข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่าจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2556-2560 มีจำนวน 97,254 คน มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2556 จำนวน 10,932 คน ได้แก่ อันดับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (คศ.) 1 จำนวน 11 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 3,929 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 6,556 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 260 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 167 คน ปี 2557 จำนวน 15,541 คน ได้แก่ คศ. 1 จำนวน 6 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 5,774 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 9,239 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 275 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 237 คน

รายงานข่าวระบุด้วยว่า สำหรับ ปี 2558 จำนวน 20,661 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 23 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 7,612 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 12,546 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 206 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค(2) จำนวน 264 คน

ปี 2559 จำนวน 24,689 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 28 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,165 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,019 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 174 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 5 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 298 คน และ ปี 2560 จำนวน 25,431 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 42 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,057 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,865 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 146 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 2 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 319 คน

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า เรื่องนี้หน่วยผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ จะต้องมาขอข้อมูลเพื่อผลิตบัณฑิตให้เพียงพอทดแทนกับข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการในช่วงปี 2556-2560 ซึ่งจะต้องมาดูว่า จะต้องผลิตบัณฑิตในสาขาอะไรบ้าง และจะต้องเริ่มวางแผนการผลิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้ โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีการประสานหรือขอข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานที่ข้าราชการครูเหล่านี้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ก็ไม่สามารถกำหนดอัตรามาทดแทนได้ เพราะตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ

(คปร.) ได้กำหนดให้มีการคืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ ศธ.100% จนถึงปี 2556 นี้และหลังจากนั้นจะเหลืออัตราคืนให้เพียง 20% ของอัตราเกษียณในแต่ละปี โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2557-2560 แล้ว จะได้อัตราเกษียณคืนมาประมาณ 20,000 อัตราเท่านั้น ฉะนั้น หากไม่มีการวางแผนแล้ว ก็จะมีปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครู อย่างแน่นอน

หน่วยผลิตสามารถเสนอขอข้อมูลมายัง ก.ค.ศ.เพื่อให้วิเคราะห์รายละเอียดข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการช่วงปี 2556-2560 จำแนกตามสาขาวิชาเอกได้ จะได้เป็นประโยชน์ในการผลิตบัณฑิตให้เพียงพอ ในส่วนของ สพฐ.นั้น ก็อาจจะต้องสรรหาครูให้ตรงและเพียงพอกับสาขาที่ขาดแคลน เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

ที่มา : นสพ.มติชน http://www.prachachat.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews