school

ชี้ยุบโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มภาระให้เด็กผู้ปกครอง-ทำลายชุมชน

10 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ข่าวขอนแก่น-บุคคลากรทางการศึกษาในภาคอีสาน ไม่เห็นด้วยยุบโรงเรียนเด็กเล็ก คาดกระทบพ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็กแน่ เพราะต้องไปเรียนไกลขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ตลอดจนทำลายวิถีชุมชน ชี้นโยบายนี้เป็นเรื่องทางการเมือง เชื่อการศึกษาจะมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ขนาดหรือจำนวนนักเรียน แต่อยู่ที่ผู้บริหาร และผู้คุมนโยบาย

small classroom
small classroom

http://www.psychtronics.com/2012/08/smaller-school-classes-increases.html

นายปัญญา แพงเหล่า ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จ.อุบลราชธานี แสดงความไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนขนาดเล็กเข้าด้วยกัน เพราะทำให้เสียเสาหลักของบ้านเมืองคือ บ.ว.ร. (บ้าน วัด โรงเรียน) ที่สืบทอดกันมานานเป็นร้อยปี และเป็นการทำร้ายจิตใจผู้ปกครองของนักเรียนอย่างรุนแรง เพราะโรงเรียนตามหมู่บ้าน ถือเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชุมชนนั้น การไม่มีโรงเรียนเหลืออยู่ในหมู่บ้าน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองรับไม่ได้แน่นอน

การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ยังสร้างผลกระทบในการเดินทางไปเรียนของนักเรียนที่เป็นเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กตามชนบทที่การคมนาคมยังเป็นถนนฝุ่น ถนนลูกรังเป็นส่วนมาก ฤดูฝนทำให้การเดินทางไปโรงเรียนลำบาก และยังเป็นการเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครองที่ต้องส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนที่ห่างไกลจากหมู่บ้าน

นายปัญญา ยังตอบคำถามกรณีครูผู้สอนอาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่อย่างไรก็ยังมีโรงเรียนให้สอนอยู่ดี แต่ผลกระทบตกอยู่กับเด็กนักเรียนและชาวบ้าน หากคิดว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็กมารวมกันเป็นเรื่องดี ทำให้คุณภาพการสอนดีขึ้น อยากให้ทดลองทำจังหวัดละ 1 โรงเรียน เป็นเวลาหนึ่งปีการศึกษา แล้วให้วัดผลก็จะรู้ว่าการยุบรวมกันไม่ได้ทำให้เรียนการสอนดีขึ้นแต่อย่างใด

สำหรับจุดประสงค์ที่ต้องการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก นายปัญญามองว่า เป็นเรื่องของนักการเมืองที่มองมุมเดียว ต้องการให้มีแต่โรงเรียนขนาดใหญ่ เพื่อบริหารจัดการเงินงบประมาณได้ง่าย ทั้งที่ความจริงโรงเรียนขนาดเล็กชุมชนเป็นผู้ดูแลเรื่องค่าน้ำค่าไฟมานานแล้ว ไม่ต้องใช้จ่ายงบประมาณที่รัฐจัดให้ด้วยซ้ำไป
ดังนั้น การอ้างค่ารายหัวของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่รัฐจัดให้ จึงไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นเกมของนักการเมือง เหมือนการยุบเขตการศึกษาทั่วประเทศมารวมกันกว่า2 ปี แต่คุณภาพการศึกษาไม่ได้ดีขึ้นเหมือนที่พูดไว้ ตรงข้ามกลับแย่ลงเรื่อยๆ นักการศึกษารายนี้ให้ความเห็นไว้

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี มีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 100 คน และอยู่ในข่ายที่ต้องถูกยุบประมาณ 150 แห่ง จากจำนวนโรงเรียนทั้งหมดกว่า 1,300 แห่ง

ดร.อุทัย ปลีกล่ำ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเลยตาดโนนพัฒนา อ.ภูหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 2 จ.เลย กล่าวว่า โรงเรียนนั้นอยู่ร่วมกับชุมชนมานาน มีการช่วยเหลือ ดูแลและมีการประสานงานในด้านต่างๆ ด้วยกัน เดิมนั้นเรามี บ้าน วัด โรงเรียน ที่อยู่ด้วยกันมาตลอด โรงเรียนนั้นเป็นศูนย์รวมการประสานความร่วมมือและการพัฒนาชองหมู่บ้าน ในหมู่บ้านซึ่งจะขาดไม่ได้ตรงนี้ ไปก็คงลำบาก

ส่วนข้อดี หากมีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจริง ๆ นั้น โรงเรียนไหนที่มีครูน้อย การจัดการไม่ครอบคลุม การเรียนการสอนก็อาจจะไม่คุ้มค่า หากจะมีการยุบโรงเรียนก็น่าจะมาบอกกันล่วงหน้าหลายๆ ปี ไม่เร่งรีบจนเกินไป หากจะยุบโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน ก็จะต้อง ศึกษาดีๆ หากจะยุบก็ให้ยุบโรงเรียนที่มีน้อยไปมาก ไม่ควรตั้งมาจาก 60 คน หากจะยุบจริงก็ให้ยุบโรงเรียนที่มีครู แค่ 1 หรือ 2 คน และให้เวลาโรงเรียนหรือชุมชนเหล่านั้นปรับตัว

ด้าน นายมงคล ชูทิพย์ ผู้อำนวยโรงเรียนมโนบุเรศรบำรุงการ เลขที่ 268 หมู่ที่ 1 ถนนเลย -ด่านซ้าย บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมืองเลย จ.เลย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 1 กล่าวว่า โรงเรียนนั้นผูกพันกับชุมชนมาช้านาน ยิ่งโรงเรียนนี้แล้ว ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจในชื่อโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนนี้ก็มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่ชื่อพระราชทาน จากสมเด็จย่า ชาวบ้านหวงแหนและถือเป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดเลย มีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ชาวบ้านในหมู่บ้านสามารถร่วมแก้ปัญหาในชุมชนและโรงเรียนได้ เป็นจุดบริการชุมชนในด้านวิชาการต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โรงเรียนเป็นเหมือนสถาบันในหมู่บ้าน
ขณะที่แหล่งข่าวระดับรองผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง แถบชานเมืองขอนแก่น กล่าวถึงนโยบายดังกล่าวของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการว่า หากมองในประเด็นยุบแล้วนำเด็กนักเรียนและครูไปรวมกับโรงเรียนขนาดที่ใหญ่กว่าที่ตั้งอยู่ไม่ไกลชุมชนเดิมของเด็กมากนัก ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้ปกครองมากนัก

แต่ทั้งนี้กระทรวงศึกษาฯ ต้องชัดเจนในแนวทางปฏิบัติว่า หลังยุบรวมโรงเรียนแล้วจะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ดีกว่าเดิมได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่ยุบรวมกันแล้วการเรียนการสอนยังเหมือนเดิม งบพัฒนาครู งบจัดซื้ออุปกรณ์เสริมทักษะเด็กไม่ได้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ เพราะยิ่งโรงเรียนใดมีเด็กนักเรียนน้อยและมีครูผู้สอนในอัตราส่วนที่พอเหมาะกับจำนวนนักเรียน ครูที่มีอยู่สามารถที่จะทุ่มเทความรู้ความสามารถทุ่มเทเวลาสอนเด็กได้เต็มที่ เมื่อเด็กมีน้อยการดูแลการสอนก็ทำได้อย่างทั่วถึง ดีกว่าโรงเรียนชื่อดังในตัวเมืองเสียอีก เพราะโรงเรียนยิ่งดังเด็กนักเรียนยิ่งเยอะการเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่เท่ากับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดเล็กควรได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลเป็นพิเศษ
การจัดการบริหารการศึกษาจะมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ขนาดของโรงเรียนหรือจำนวนนักเรียนว่าจะมีน้อยหรือมาก อยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารมากกว่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีและผู้ใหญ่ในกระทรวงผู้กำหนดแนวนโยบายว่าใส่ใจจริงจังที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชนมากน้อยแค่ไหนมากกว่า

–ASTVผู้จัดการออนไลน์–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32668&Key=hotnews

แจกฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) นักเรียนเอกชน

elearning harddisk
elearning harddisk

17 เมษายน 2556 นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กำหนดให้ปีนี้เป็น ปีแห่งการเพิ่มคุณภาพการศึกษาเอกชน มีเป้าหมายให้ร.ร.ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักเรียน ให้มีกระบวนการคิดอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ โดยนำนวัตกรรมการสอนที่เหมาะสมมาปรับใช้ ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต ให้คิดวิเคราะห์เป็น พัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น ต่อไปนักเรียนป.3 ต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง ป.4 ต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้ เป็นต้น โดย ร.ร.ต้องลดเวลาเรียนลง เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมมากขึ้น ส่วน ร.ร.นานาชาติ ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ร.ร.นอกระบบ ต้องผ่านการประกันคุณภาพภายในอย่างน้อย 1,500 โรง

“สช.มีมาตรการส่งเสริมการเรียนรู้ เพิ่มคุณภาพการศึกษาโดยรูปแบบหนึ่งคือ การแจกฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ที่มีข้อมูลการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) 5 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ระดับป.3-ป.6 และม.1-ม.3 ให้นำกลับไปฝึกทำที่บ้าน ใช้เป็นสื่อการสอนของครู ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองเชื่อมั่นในคุณภาพการเรียนการสอนของร.ร.เอกชน ว่าบุตรหลานจะได้รับการศึกษามีคุณภาพ จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2556 นี้” เลขาธิการ สช. กล่าว

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 17 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32433&Key=hotnews

เกณฑ์คำนวณครูต่อนักเรียนในระดับประถมและมัธยม

teacher criteria
teacher criteria

การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครู
โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

แบบ 1
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 120 คน ลงมา
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

– นักเรียน 1 -20 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 1 คน
– นักเรียน 21 -40 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 2 คน
– นักเรียน 41 -60 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 3 คน
– นักเรียน 61 -80 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 4 คน
– นักเรียน 81 -100 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 5 คน
– นักเรียน 101 -120 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 6 คน

แบบ 2
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 3
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ม.3 หรือ ป.1-ม.3

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1
อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา

อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 5 การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
อัตราส่วน ครู : นักเรียน = 1 : 12
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 35 : 1

จำนวนครูรวม = (35 x จำนวนห้องเรียน) / 12

จำนวนครูปฏิบัติการสอน = จำนวนครูรวม – จำนวนบุคลากรสายบริหาร

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
1 – 2 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน
3 – 6 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 1 คน
7 – 14 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 2 คน
15 – 23 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 3 คน
24 ห้องเรียนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 4 คน

หมายเหตุ ในการคำนวณตามสูตรหากมีเศษตั้งแต่ 0.1 ขึ้นไปให้ปัดเป็น 1
! http://www.saraeor.org/Job%20school3/km.kumlungkroo.htm
http://www.kroobannok.com/14836

จำนวนครู น่าเป็นห่วงมากกว่าคุณภาพการสอน 0 คน

zero teacher in school
zero teacher in school

พบข้อมูลจำนวนครูต่อโรงเรียน แล้วรู้สึกน่าเป็นห่วงมี 2 กรณี
กรณีแรกที่เข้าข่ายน่าเป็นห่วงมาก คือ ทั้งโรงเรียนมีครู 1 คน
กรณีที่สองที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ทั้งโรงเรียนมีครู 0 คน

จากข่าววิชาการเรื่อง “ปัญหาการศึกษาไทยถอยหลังลงคลอง ชี้การเรียนการสอนด้อย-ขาดจิตสำนึก” ที่  ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะกลุ่มเป้าหมายครูเพื่อสังคม
ในหัวข้อเรื่อง”บทบาทของครูต่อการศึกษา สังคมและประเทศชาติ
ชี้ว่า ปัญหาของการศึกษาไทยในขณะนี้มีอยู่ 3 เรื่อง
1. ปัญหาการขาดความรับผิดชอบของครู ทั้งที่มีการให้งบประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท หรือแม้แต่การเพิ่มเงินเดือนครูให้มากขึ้น แต่กลับปรากฏว่าการเรียนการสอนไม่ดีขึ้น และส่งผลให้สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนไม่ปรากฏ
2. ปัญหาความแตกต่างทางการศึกษา จากอัตราครูที่สูงขึ้น เงินเดือนที่สูงขึ้น มีผู้บริหารจำนวนมากขึ้น แต่การศึกษากลับถดถอยไม่มีความก้าวหน้า
3. เกิดความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงระหว่างโรงเรียนในเมืองหลวง เมืองใหญ่ และชนบท ซึ่งปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ เพราะระบบการเมืองที่ล้มลุกคลุกคลาน ไม่เข้มแข็ง ไม่มั่นคง แต่ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนที่มีการจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
บรรทัดสุดท้ายชี้ว่า
ขณะนี้มีโรงเรียนอีกหลายพันแห่งที่มีครูคนเดียว แต่ต้องสอนนักเรียนทั้งโรงเรียน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151501840442272&set=a.423083752271.195205.350024507271
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32209&Key=hotnews
http://202.143.169.168/emis/table_school.php?areaid=50