“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ 1
โดย อาจารย์จตุพร รอดแย้ม
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์
ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์ : คุณสุทธิชัย หยุ่น
ปัจจุบันบทบาท ความเป็น GateKeeper /Watch Dog เปลี่ยนไป เพราะทุกคนสามารถหาข้อมูล รายงานข่าวได้จาก Social Media ทำให้ต่อไปห้องเรียนจะหายไป บทบาทของครูจะเปลี่ยนเป็น Co-Learners เรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งครูควรรอบรู้มากกว่าเพื่อมาถกเถียงหาข้อสรุป จะเกิดคำถามที่ต้องตอบให้ได้ว่า สอนใคร /สอนอะไร / สอนทำไม และสังคมส่วนรวมคาดหวังอะไรจากเทคโนโลยี
- เราสามารถเป็น Tableters = ผู้เสนอผ่าน Tablet สามารถสร้างช่องทางจาก Youtube สร้าง Channel ลง Clip วิเคราะห์ข่าว เล่าข่าว
- การเสนอข่าวผ่าน iPhone ทำให้ไม่ต้องใช้รถ OB ทีมช่างเทคนิคมากมาย ซึ่งการรายงานข่าวภาคสนามก้าวไปหลายก้าวแล้ว แต่ในห้องเรียนยังไม่มีการพัฒนา
- Public Interest เป็นนักข่าวที่คิดนอกกรอบ หาข้อมูลล้วงความลับมาเปิดเผยโดยใช้ Social Media
- Gentrapreneur Journalist สอนให้เป็นนายตัวเอง ทำกิจการเอง จะได้มีเสรีภาพสู้กับกลุ่มนายทุน ซึ่ง Social Media ช่วยได้ เช่น การมี Channel ของตัวเอง Mass Media อาจเจ๊งหาก Youtube ลงทุนให้คนมี Content
สิ่งที่ควรสอนให้นักศึกษาด้านวารสารศาสตร์รุ่นใหม่
- ความมุ่งมั่น (Passion) เพื่อความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
- คิดให้เป็น (Critical Thinking)อะไรคือเหตุผล, อารมณ์, โฆษณาชวนเชื่อ
- เขียนหนังสือให้เป็น (Clear Focused Writing) Social Media อาจทำให้เขียนหนังสือกันไม่ค่อยเป็น
- จริยธรรม (Ethics) ให้มีคุณภาพของความคิด
- ทักษะการใช้ New Media
- Short-Form, Long-Form Journalism เช่น ใน Social Media : Blog (=Long Form), Facebook (=Short-Form)
- Social Media for Investigative Reporting การใช้Social Media รายงานผลสืบเสาะหาข้อมูลในการเขียนวิเคราะห์ข่าว
- การสร้างหนังโดยใช้ Smartphone ตอนนี้มีคนเริ่มสร้างหนังสั้นโดยใช้ iPhone ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เพียงคนเดียวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้กำกับ
วารสารศาสตร์ การเผชิญความจริงกับสิ่งที่เปลี่ยนไป: คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี, คุณบัณฑิต จันทศรีคำ, ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล
- ตอนนี้คนทำสื่อเองได้ง่ายขึ้น เช่น ทีวีดาวเทียมที่ป้าเช็งและลีน่า จัง ผลิตรายการ(=ผลิต Content),เป็นเจ้าของช่องเอง แต่กรณีป้าเช็งสะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของสังคมไทยในเรื่องการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร
- นักข่าวภาคสนามกำลังพยายามปรับตัว แต่ยังไม่เท่าทันสื่อออนไลน์ Social Media เช่น ยังวิ่งตามนักการเมืองว่าจะพูดอะไร แต่ไม่ได้คิดสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญที่ควรถาม ซึ่งถ้ายังวิ่งตามข่าวอยู่เช่นนี้ หรือเอาข่าวจากที่อื่นมา ก็จะไม่มีความแปลกใหม่
- เด็กรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันไม่ค่อยอ่านนสพ.หรือข่าวออนไลน์ แต่มักรับข่าวสารจาก Facebook / Twitter ที่ส่งต่อกัน
- การที่นักข่าวจะใช้iPhone หรือ social media ในการรายงานข่าวหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายองค์กร เช่น ที่Nation ที่ให้นักข่าวใช้ Social Media ในการรายงานข่าว แต่มีนักข่าวบางคนไม่ชอบใช้
- การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข่าว จะมีต้นทุนในการสอนสูง และควรต้องหา Partner Ship และต้องคำนึงถึงจริยธรรมด้วย
- ตอนนี้มีการสื่อสารแบบโฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก ทั้งในสื่อเก่าและสื่อใหม่ โดยเฉพาะเชิงธุรกิจ เพราะฉะนั้นคนทำงานสื่อต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในเชิงองค์ความรู้ เช่นหัดใช้ Twitter ทั้งเป็นผู้ดูและผู้สื่อสาร
สรุปประเด็นจากการสัมมนากลุ่มย่อย
กลุ่มที่ 1: นโยบายสื่อ นโยบายวิชาชีพ แนวคิดวารสารศาสตร์และการศึกษา
- การใช้กลไกเดิมเป็นองค์กรกลาง
- ประสาน ส่งเสริม สร้างกลไก อบรมพัฒนาโดยรับประกันด้วยใบรับรอง
- เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อและผู้สนใจ
- ผลิต ส่งเสริมตำราวิชาการ การสอนที่เน้นองค์ความรู้ใหม่
- หลักสูตรยึดถือหลักจริยธรรม
- การลงโทษจะไม่ถอน ไม่ยึดใบอนุญาตแต่เน้นการประณามทางสังคม
- Gatekeeper เปลี่ยนไปเมื่อสื่อกับผู้รับสาร ต่างคนก็ต่างสร้างสารซึ่งกันและกัน
กลุ่มที่ 2: องค์กรข่าว นโยบายองค์กรและกระบวนการทำงานข่าว
กลุ่มที่ 3: ผู้สื่อข่าว เทคนิค และเทคโนโลยีในงานข่าว
1. นักข่าวรุ่นใหม่ – ใช้เครื่องมือเป็น แต่Content ไม่ได้ เขียนบรรยายเชิงลึกไม่ค่อยเป็น
2. นักข่าวรุ่นเก่า ระดับหัวหน้างาน – ใช้เครื่องมือไม่ค่อยเป็น แต่ Contentได้ สามารถเขียนข่าวยาวๆ เชิงบรรยาย ได้ดีกว่าเขียนข่าวสั้นๆ
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
- Style การเขียนข่าวบนFacebook ของนักข่าวเนชั่นจะให้เกิดประเด็นความคิดเห็นเพื่อเอา มานำเสนอข่าว โดยต้องเขียนให้น่าสนใจเพื่อให้คนมาตอบ Multimedia ต่างๆไม่ต้องใช้การเขียนแต่ ขึ้นอยู่กับ การนำ เสนอเพราะถ้า massage ไม่โดนใจ เขียนลักษณะข่าวมากเกินไป จะไม่เกิดการบอกต่อ
- Infographic จำเป็นมากต่องานวารสารศาสตร์ ควรผลิตให้เข้ากับคนไทย โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ
- กองบรรณาธิการข่าว ควรเปลี่ยนเป็น News Room
- ธุรกิจต้องเดินหน้า การผลิตคนต้องให้ทันกัน นักข่าวควรเป็น Convergent Journalist สามารถทำได้ทุกอย่าง เช่น รายงานข่าว, ตัดต่อ,ถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและโทรทัศน์ ส่วน News Room ต้องเปลี่ยนด้วยเพื่อสนับสนุนการทำงานของ Convergent Journalist
- ในการสอนเทคนิคไม่สำคัญเท่าการสอนให้คิดเป็น (Critical Thinking) ให้สามารถเล่าข่าวได้ทุกสื่อ อาจารย์ควรเน้นด้านเทคนิค และรู้เท่าทันเด็ก
กลุ่มที่ 4 : ผู้บริโภคข่าว เนื้อหา ความอยู่รอดทางธุรกิจ ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค
วิจัยผู้รับสารทั่วประเทศ เกี่ยวกับ
- พฤติกรรม >> ตำราของผู้รับสารในปัจจุบัน
- รูปแบบเนื้อหาในปัจจุบัน >> ตำรา
- ผู้รับสารกับการมีส่วนร่วม
- หามาตรวัดผู้รับสารที่มีคุณภาพ (Media Monitor) >> วิจัย = วิจัย >> ตำรา >> Workshop
………………………………………………………………………………………………………
อ้างอิงข้อมูล: งานสัมมนาวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 1, วันที่ 30 มีนาคม, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
http://blog.nation.ac.th/?p=2127