พบคำถามเรื่อง ชุดลูกเสือ ที่ผู้ปกครองต้องจ่ายสำหรับจัดหาให้นักเรียนสวมใส่ไปโรงเรียน แล้ว ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชวนตั้งคำถามใหม่ว่า เป้าหมายลูกเสือคืออะไร โดยชวนคิดอย่างสร้างสรรค์เปรียบเทียบใน 3 ประเด็น คือ แก่น เปลือก และภาระ เพราะการศึกษาที่ดี ภาครัฐควรจัดงบประมาณอุดหนุน เพื่อลดภาระผู้ปกครองให้มีภาระน้อยที่สุดตามกำลังของแต่ละครอบครัว สำหรับเรื่อง รายวิชาที่ควรบรรจุเข้าห้องเรียนในอนาคตนั้น ได้มีการประชุมพิจารณาขับเคลื่อน จนถึงการยกร่าง หลักสูตรฐานสมรรถนะ แล้วทดลองใช้ในโรงเรียนทั้งหมด 265 โรงเรียน นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 ซึ่งหลายโรงเรียนเป็นการดำเนินการใช้หลักสูตรนี้ต่อเนื่องมาจากปีการศึกษาที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าร่วมโครงการนำร่องมาก่อนแล้ว
ตาม คู่มือการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดทำโดย สำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พบหน้า 3 ที่จำแนกงบประมาณเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนไว้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1) ค่าใช้จ่ายรายหัว 2) ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน 3) ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนประจำ 4) ค่าอาหารนักเรียนประจำ 5) ค่าอาหารนักเรียนไป-กลับ
สำหรับการเบิกจ่ายในโรงเรียนนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว กาวางแผน การเบิกจ่าย การเคลียร์หลักฐานตามที่ได้เบิกจ่ายไปทำกิจกรรม และการตรวจสอบ เป็นหน้าที่ของคุณครูในโรงเรียนที่ช่วยกันดำเนินการ ควบคุม กำกับ ติดตาม และเขียนสรุปรายงานผล ตามที่ได้เบิก-จ่าย ว่าตรงกับเป้าหมายที่อยู่ในแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งครบรอบกระบวนการ Plan Do Check Act เป็นหนึ่งรอบสำหรับแต่ละปีการศึกษา และมีคู่มือให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างชัดเจน