สพฐ.วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนโอเน็ต ม.6 ร.ร.ห่างไกลเก่งกว่า ร.ร.ในเมืองแต่ภาพรวมคะแนนเพิ่ม

15 เมษายน 2556

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ. )ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ตระดับชั้น ม.6 ของนักเรียนในสังกัด โดยเปรียบเทียบคะแนนโอเน็ตระหว่างปี 2554 และ 2555 เพื่อดูพัฒนาในการจัดการเรียนการสอนและพบว่า ในภาพรวมคะแนนดีขึ้น 6 วิชา จากทั้งหมด 8 วิชา โดยวิชาที่คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ วิชาภาษาไทย เพิ่มขึ้น 5.56% วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น 5.37 ศิลปะ 4.33 สังคมศึกษา เพิ่มขึ้น 3.07 ส่วนอีก 2 คะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือ วิชาภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้น 0.37 และคณิตศาสตร์ 0.09 สำหรับวิชาที่คะแนนลดลง ได้แก่ วิชาสุขศึกษา ลดลง 0.88 และการงานและอาชีพ ลดลง 3.01 อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมเฉลี่ยทุกวิชา คะแนนเพิ่มขึ้น 1.86

“สพฐ.ยังได้วิเคราะห์เจาะลึกโดยแยกคะแนนโอเน็ตตามขนาดของโรงเรียน คือ ร.ร.ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบว่า คะแนนเฉลี่ยนลดหลั่นไปตามขนาดของโรงเรียน และยังได้เปรียบเทียบคะแนนโอเน็ตระหว่าง ร.ร.ในเมืองและในชนบท พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า คะแนนเฉลี่ยของ ร.ร.ในชนบททคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าในเมือง ซึ่ง สพฐ.จะได้มอบให้สำนักทดสอบทางการศึกษาของ สพฐ.ไปวิจัยเชิงลึกเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตของ ร.ร.ในชนบทสูงว่า ร.ร.ในเมือง” นายชินภัทร กล่าว

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะได้วิจัยผลการสอบโอเน็ตอย่างละเอียดเพื่อนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวิชาด้วย โดยเลือกดูว่า หัวข้อการเรียนรู้ใดที่ นร.ทำสอบไม่ค่อยได้ เช่น วิชาภาษาไทยพบว่า นักเรียนมีปัญหาในเรื่องหลักใช้ภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม วิชาคณิตศาสตร์ มีปัญหาพีชคณิต สพฐ.ก็จะเข้าปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในหัวข้อนั้นๆ ด้วยการจัดทำคู่มือการเรียนการสอน พัฒนาสื่อ พัฒนาครู ให้มีเทคนิคการสอนหัวข้อเหล่านี้ดียิ่งขึ้น สำหรับผลวิจัยคะแนนโอเน็ตต่ำ จะนำย้อนกลับมาที่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จะเป็นข้อมูลที่ สพฐ.ใช้ในการวางแผนพัฒนาแบบเจาะลึก ทั้งการพัฒนาครู พัฒาการจัดการเรียนการสอน โดย สพฐ.จะไม่ปูพรมทำเหมือนสมัยก่อน แต่จะเลือกเน้นพัฒนาในหัวข้อการเรียนรู้ที่มีปัญหา

ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า สำหรับคะแนนเฉลี่ยของโอเน็ต ชั้น ม.6 ในภาพรวมแยกตามสาระทั้งในระดับประเทศและตามขนาดโรงเรียน ใน 5 วิชาหลัก ดังนี้

วิชาภาษาไทย โรงเรียนขนาดเล็ก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านสูงที่สุด 47.41% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 39.23% ตามด้วยการเขียน 34.68% วรรณคดีและวรรณกรรม 29.55% และ หลักการใช้ภาษา 29.03% โรงเรียนขนาดกลาง การอ่านสูงสุด 50.73% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 43.32% ตามด้วยการเขียน 37.50% หลักการใช้ภาษา 32.09% และวรรณคดีและวรรณกรรม 32.06% โรงเรียนขนาดใหญ่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน การอ่านสูงที่สุด 54.73% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 48.41% ตามด้วยการเขียน 40.90% หลักการใช้ภาษา 35.93% และวรรณคดีและวรรณกรรม 35.37% และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ การอ่านสูงสุด 61.48% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 57.89% ตามด้วยการเขียน 47.35% หลักการใช้ภาษา 44.00% และวรรณคดีและวรรณกรรม 42.33%

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนขนาดเล็ก มีผลสำเร็จทางการเรียนในเรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมสูงสุด 37.30% รองลงมา ภูมิศาสตร์ 37.16% เศรษฐศาสตร์ 36.77% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 27.48% และประวัติศาสตร์ 22.06% โรงเรียนขนาดกลาง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์สูงสุด 39.04% รองลงมา เศรษฐศาสตร์ 38.85% หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 38.50% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 27.25 และประวัติศาสตร์ 22.67% โรงเรียนขนาดใหญ่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์สูงสุด 41.41% รองลงมา เศรษฐศาสตร์ 40.70% หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 40.02% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 29.41 และประวัติศาสตร์ 23.76% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์สูงสุด 45.30% รองลงมา เศรษฐศาสตร์ 44.59% หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 43.16% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 33.23% และประวัติศาสตร์ 27.09%

ภาษาอังกฤษ โรงเรียนขนาดเล็ก มีผลสัมฤทธิ์เรื่องภาษาและการสื่อสารสูงสุด 21.78% รองลงมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 19.23% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 18.90% และภาษาและวัฒนธรรม 9.80% โรงเรียนขนาดกลาง ภาษาและการสื่อสารสูงสุด 22.59% รองมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 19.63% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 19.31% และภาษาและวัฒนธรรม 11.05% โรงเรียนขนาดใหญ่ ภาษาและการสื่อสารสูงสุด 24.24% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 20.65% รองลงมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 20.60% และภาษาและวัฒนธรรม 12.93% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ภาษาและการสื่อสารสูงสุด 31.12% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 26.41% รองลงมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 24.41% และภาษาและวัฒนธรรม 17.92%

วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก สูงสุดการวัด 18.16% พีชคณิต 18.06% จำนวนและการดำเนินการ 17.62% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 15.53% โรงเรียนขนาดกลาง สูงสุดพีชคณิต 19.64% รองมาจำนวนและการดำเนินการ 18.99% การวัด 18.72% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 16.67% โรงเรียนขนาดใหญ่ สูงสุดพีชคณิต 22.04% รองลงมาจำนวนและการดำเนินการ 20.98% การวัด 19.57% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 17.72% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สูงสุดพีชคณิต 28.82% รองลงมาจำนวนและการดำเนินการ 27.50% การวัด 22.37% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 21.07%

วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก สูงสุด ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 38.02% รองมาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 37.21% กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 33.46% โรงเรียนขนาดกลาง สูงสุดธรรม ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 39.34% ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 39.29% กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 36.12% โรงเรียนขนาดใหญ่ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 41.63% ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 40.63% กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 38.85% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 46.35% รองลงมา กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 43.80% และชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 43.32%

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32423&Key=hotnews

Leave a Comment