สำหรับผมคิดว่าการสำรวจ 2 ครั้งเปรียบเทียบกัน
พบว่าร้อยละของการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ลดลงอย่างชัดเจนมาก
คาดว่าวิธีการมีประสิทธิภาพ น่าจะเป็น Good Practice ได้เลย
แต่เห็นว่าครั้งที่ 1 สำรวจ มิ.ย.58 และครั้งที่ 2 สำรวจ ก.ค.58
ซึ่งทำให้รู้สึกว่าการระยะห่างน้อยไปนะครับ
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000000019
เมื่อ 1 ม.ค.59 พบบทความเชิงข่าว
เรื่อง “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย “อ่านน้อย” จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้“
โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศให้ปี 2558
เป็น ปีแห่งการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
อาจเรียกได้ว่าการแก้ปัญหานี้อาจยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
เพราะเมื่อดูจากผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
เมื่อช่วง ส.ค. 2558 แม้จำนวนเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้จะลดลง แต่ก็ยังทำไม่ได้ 100%
—
โดยกิจกรรมที่ดำเนินการคือ
– การจัดการเรียนการสอนที่ สพฐ.ได้พัฒนาให้แก่โรงเรียน
– การจัดสอนเสริมให้แก่นักเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเป็นรายบุคคล
– การเรียนการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ
– อาศัยโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
แม้จะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ถือว่ายังไม่ทั้งหมด
—
โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.1
ครั้งที่ 1 เดือน มิ.ย. 2558
พบว่า มีนักเรียนอ่านไม่ออกร้อยละ 11.5 เขียนไม่ได้ร้อยละ 8.7
ครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 2558
พบว่า นักเรียนอ่านไม่ออกลดลงเหลือร้อยละ 5.6 และ เขียนไม่ได้เหลือร้อยละ 5.0
—
โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.2
ครั้งที่ 1 อ่านไม่ออก ร้อยละ 8.2 เขียนไม่ได้ร้อยละ 11.2
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.0
—
โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.3
ครั้งที่ 1 อ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.6
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 2.8 เขียนไม่ได้ร้อยละ 5.3
—
โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.4
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 4.4 เขียนไม่คล่องร้อยละ 11.3
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 2.5 เขียนไม่คล่องร้อยละ 8.1
—
โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.5
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 3.5 เขียนไม่คล่องร้อยละ 9.7
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 1.9 เขียนไม่คล่องร้อยละ 6.6
—
โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.6
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 2.6 เขียนไม่คล่องร้อยละ 7.0
ครั้งที่ 2 อ่านไม่คล่องร้อยละ 1.4 และเขียนไม่คล่องร้อยละ 4.7
—
เด็กที่ยังมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยังคงมีอยู่
โดยเฉพาะเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กชายขอบที่อยู่ตามโรงเรียนห่างไกล
และไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
ขณะที่ครูตามพื้นที่ห่างไกลก็ยังคงขาดแคลนด้วยเช่นกัน
ครู 1 คนอาจต้องสอนหลายวิชา และไม่ได้มีความชำนาญในวิชาที่สอน
—
การสำรวจมีหลายแบบ ส่วนใหญ่ที่เห็นจะสำรวจครั้งเดียว
เช่น สำรวจที่สุดแห่งปี เมื่อสิ้นสุดในแต่ละปี
แต่เรื่องการอ่านจากข้อมูลของ สพฐ. จะสำรวจ 2 ครั้งเทียบผลกัน
เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจครับ
http://www.thaiall.com/blogacla/burin/5007/