Digital Sphere โลกยุคใหม่ของสื่อดิจิทัล

Digital Sphere โลกยุคใหม่ของสื่อดิจิทัล
โดย : อดิศักดิ์ จำปาทอง

เป็นที่เชื่อกันว่า ภายในหนึ่งหรือสองทศวรรษนี้ สื่อดิจิทัลจะครอบคลุมถึง 80% ของสื่อทั้งหมดที่เราบริโภคกันอยู่ ซึ่งในปัจจุบัน เราก็เริ่มที่จะเห็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงกันบ้างแล้ว

! http://bit.ly/11es1mI

การเกิดของสื่อใหม่ๆ ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อในรูปแบบดิจิทัลทั้งสิ้น ไม่ ว่าจะเป็นโทรทัศน์ดิจิทัล วิทยุออนไลน์ สื่อกลางแจ้งที่มีการควบคุมเนื้อหาสาระจากศูนย์บังคับการ อินเทอร์เน็ต เกมอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่สื่อที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดอย่างโทรศัพท์มือถือที่มีใช้กันอยู่ แทบจะทุกคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ในเมืองที่เรียกกันอย่างสุดเก๋ว่า สกรีนเอจ (Screen age) เพราะชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ เกิดมาไม่ทันไร ฟันยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมเสียด้วยซ้ำ ก็ไม่พ้นต่อการสื่อสารผ่านจอกันทั้งสิ้น ลองสำรวจดูสิครับว่า เกมต่างๆ ที่สอนให้เด็กรู้จักสี รู้จักสัตว์ เกมเรียนภาษาอังกฤษ เกมมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ และอะไรต่อมิอะไร ล้วนแล้วแต่สื่อสารผ่านจอกันทั้งสิ้น

ตัวอย่างผู้ใหญ่วัยเกษียณท่านหนึ่ง นึกอยากจะพบปะหน้าตาลูกหลาน จึงอาสาเป็นเจ้ามือเลี้ยงอาหารเย็นในวันคล้ายวันเกิดของหลานชาย พออาหารลงโต๊ะเท่านั้น 8 ใน 10 คนก็ควัก iPad iPhone ขึ้นมา แล้วกดๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยไม่สนใจอาหารบนโต๊ะเลย สถานการณ์อย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะพบเห็นแล้วโดยทั่วไป

นักการสื่อสารเห็นว่า โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริงแล้ว ถึงแม้ว่าอัตราความรู้ความสามารถในทางคอมพิวเตอร์ (Computer literacy) ของบางพื้นที่ยังคงต่ำอยู่ นักการ สื่อสารมองว่า การเข้าสู่ยุคดิจิทัลนี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถของสื่อในการเข้าถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะการเข้าถึงด้วยความรวดเร็ว (เกือบจะทันที) และการเข้าถึงผู้รับได้อย่างเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ซึ่งนั่นหมายความว่า นักการสื่อสารจะต้องจัดกลุ่ม จัดระดับ และจัดประเภทของกลุ่มเป้าหมายอย่างแยบยล เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาและวิธีการของสื่อให้ชัดเจนและเหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ว่ากันว่า สื่อต่างๆ จะมีความพยายามเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบของสื่อให้มีความเฉพาะเจาะจง ส่งตรงถึงผู้บริโภครายบุคคลกันเลยทีเดียว

ยิ่งเราเพลิดเพลินกับความสะดวกสบายมากขึ้นเท่าใด สื่อดิจิทัลก็จะเข้าถึงเราได้มากขึ้นเท่านั้น จนกลืนสื่ออื่นๆ ไปเรื่อยๆ และอาจจะหมดไปในที่สุดก็ได้ โดยดูตัวอย่างได้จากสื่อวีดิโอที่หมดโอกาสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ไปแล้ว

นอกจากนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ก็เป็นเทรนด์ที่กำลังร้อนแรงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา จนกลายเป็นเรื่องที่นักการตลาดอดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงและนำมาพิจารณาว่าจะ ใช้งานอย่างไรให้เหมาะกับสินค้าและบริการของตนเองได้บ้าง รวมทั้งมีการคาดการณ์ต่อไปว่า เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) เติบโตขึ้นตามไปด้วย

ในปัจจุบันนี้ มีจำนวนสมาชิกของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั่วโลกกว่า 500 ล้านราย และคาดกันว่าในประเทศไทยจะมีจำนวนสมาชิกของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ มากถึง 10 ล้านราย

โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) จึงได้รับการตอบรับมากขึ้นไปพร้อมๆ กับการเติบโตของการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งจากรายงาน The Wave 3 Report ของ Universal McCann พบว่า ผู้บริโภค 7 ใน 10 ราย จะเข้าไปหาข้อมูลในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ อาทิเช่น เว็บ บอร์ดกลุ่มชุมชนออนไลน์ หรือบล็อกต่างๆ เพื่อหาข้อมูล นอกจากนี้เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49) ของผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายสังคมออนไลน์เหล่า นี้

ประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคมออนไลน์จะอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี คิด เป็นสัดส่วนถึง 42% การโฆษณาส่วนใหญ่จึงเน้นรูปแบบการสร้างกระแสนิยมในตราสินค้า (Brand) ที่มีกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงานเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มสินค้าที่นิยมโฆษณาในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ กลุ่ม สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มบริการด้านบันเทิงและท่องเที่ยว และกลุ่มบริการบัตรเครดิต โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการซื้อสื่อผ่านเอเยนซีโฆษณามากกว่าซื้อสื่อโดยตรงผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการโฆษณาออนไลน์

เหตุผลสำคัญที่ทำให้โฆษณาออนไลน์เติบโตขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้า หมายได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ่านการบอกเล่าแบบปาก ต่อปาก (Words of mouth) ของสมาชิกในเครือข่าย ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ถูกบังคับให้ต้องรับฟัง อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ ในการทำ CRM (Customer Relationship Management) เช่น การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ ทำให้ผู้ประกอบการรับรู้ Feedback ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

ตราบใดที่ธุรกิจยังดำเนินอยู่ โลกของการโฆษณาก็จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

! http://blog.nation.ac.th/?p=2493