ntu

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ mba 2565

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ

ดร.ฑัตษภร ศรีสุข ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ได้แบ่งปันเรื่องราวผ่านสื่อสังคมเกี่ยวกับการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ ของนิสิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration) มหาวิทยาลัยเนชั่น ที่จัดขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคม 2565 เวลา 9.00 – 16.00น. ณ ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา โดยกิจกรรมประกอบด้วย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวให้โอวาสและต้อนรับนิสิต ในการเข้าสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ (Defense Examination) ประจำปี 2565 แล้วเริ่มกิจกรรมการสอบป้องกัน โดยมี ผศ.ดร.กัญญ์พ้สวี กล่อมธงเจริญ เป็นประธานการสอบ ผศ.ดร.วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์ และ ดร.อัศนีย์ ณ น่าน เป็นกรรมการสอบ แล้วยังมี ดร.อนันตพร วงศ์คำ และ ดร.นภสินธุ์ พรมวิเศษ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตมาให้กำลังใจ เพื่อสร้างความพร้อมให้กับนิสิต

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซึ่งนิสิตต้องเตรียมความพร้อมในหัวข้อที่ต้องนำเสนอ ทบทวนประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษามาเป็นอย่างดี จัดทำเอกสารรายงาน และเอกสารนำเสนอ เพื่อให้การสอบป้องกันผ่านไปได้ด้วยดี แล้วนำข้อแก้ไข หรือข้อเสนอแนะกลับไปดำเนินการให้ถูกต้องสมบูรณ์

ยินดีกับนิสิตที่ผ่านการสอบทุกท่าน

หลักสูตรนี้มีตัวอย่างรายวิชา ที่น่าสนใจดังนี้

  1. ACCT 510 การบัญชีเพื่อการจัดการ
  2. BUSI 510 การวิจัยเพื่อการวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจ
  3. ECON 510 เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ
  4. FINA 510 การจัดการการเงิน
  5. MKTG 511 การจัดการการตลาด
  6. MGMT 510 การจัดการเชิงกลยุทธ์
  7. MGMT 511 การจัดการการปฏิบัติการ
  8. MGMT 512 การจัดการทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมองค์การ
อาหารว่าง เสิร์ฟระหว่างสอบป้องกัน .

ตื่นเต้นวันเปิดเรียน 2565

มีหลายช่วงเวลาที่ #ตื่นเต้น
เช่น สอบติด มอบตัว เข้าหอ เปิดเรียน เข้าสอบ
สอบเสร็จ ฝึกงาน ฝึกสอน
เรียนจบ รับปริญญา หางาน เริ่มงาน จบงาน

แล้ว 9 พ.ค.65
พบว่า มีหลายโรงเรียนในประเทศ
เปิดเรียน on site
ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น ก็เช่นกัน
ที่เปิดให้นิสิต #หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล
เข้าหอพัก แล้วจะเริ่มเรียนกันแล้ว
ก่อนเริ่มเรียน จะมีฝ่ายต่าง ๆ
ออกมาพบปะพูดคุยกับนิสิต
ชี้แจงทำความเข้าใจ ตอบข้อซักถาม
ให้นิสิต และผู้ปกครองในวันมอบตัว

ปล. ภาพจากแฟนเพจของ ม.เนชั่น

อ.ธวัชชัย แสนชมภู
คุณลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์

และพบว่า
วันนี้มีหลายโรงเรียนเปิดสอนแล้ว
เช่น โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
หรือ โรงเรียนตากพิทยาคม

โรงเรียนส่วนใหญ่เปิดเรียน on site ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565

https://www.thaiall.com/education/competency_based_curriculum.htm

มหาวิทยาลัยเนชั่น nation university

ภาพธรรมชาติ ชุด in the park

วงเวียนระหว่างอาคาร

ภาพโดย อ.ชัญญานุช แซ่ตั้ง
ถ่ายด้วยสมาร์ทโฟน
หลังสอนออนไลน์ที่ตึก 5
ก็เดินกลับตึกแดง
มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
เห็นธรรมชาติสดใส
ในปลายฤดูเหมันต์ (หน้าหนาว)
ในช่วงเช้า ๆ เที่ยง ๆ บ่าย ๆ
เส้นทางพาดผ่านระหว่างอาคาร
เดินลัดเลาะไปตาม อ่างตระพังดาว
ทางยาวกว่า 300 เมตร
ชมนก ชมไม้ ชมธรรมชาติ ไปด้วยกัน
ชมน้ำ ชมฟ้า ไปด้วยกัน

ภายใน มหาวิทยาลัยเนชั่น
Nation University in the park

ปล. โพสต์นี้เป็นโพสต์แรกหลังเปลี่ยนมาใช้ ASTRA Theme บน WordPress

กิจกรรมเสริมหลักสูตร กับพี่โหน่ง แห่ง a day magazine

a day magazine @ ntu
a day magazine @ ntu

เสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2559
เห็นนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง
จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เชิญพี่โหน่ง (วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์)
แห่งนิตยสารดาวรุ่ง a day magazine
มาพูดคุยแบบเข่าชนกันที่ห้องประชุม Auditorium ม.เนชั่น
กิจกรรมครั้งนี้นักศึกษาจัดทำกันเองในวิชาสัมมนา
แล้วจัดทำคลิ๊ปประชาสัมพันธ์
เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา It’s time to inspire
https://www.youtube.com/watch?v=TKHNJe6RVcU

มันเป็นเวลาที่จะสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration)
นักศึกษาคณะนิเทศฯ จะได้รับการปลุกพลังที่อยู่ในใจ
ปลุกศักยภาพของตนเอง
ผ่านการแชร์ของวิทยากรที่ทำนิตยสารอย่างมืออาชีพ
นักศึกษาจะได้เรียนรู้บุคคลต้นแบบ แล้วติดตามแฟนเพจของ a day
ที่ https://www.facebook.com/adaymagazine/
มีข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจพรั่งพรูมาใน feed
พัฒนาการอ่านของนักศึกษา (Reading Skill)

นอกจากนั้น พี่วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
ยังมีเว็บไซต์ที่ http://www.wongthanong.com
ประวัติใน wiki บอกว่าพี่เกิด 21 มกราคม 2511
ที่ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร
จบคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง นิตยสารอะเดย์ (A Day)
ร่วมกับ นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์
ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการ นิตยสารอะเดย์
นิตยสาร Hamburger นิตยสาร Knock Knock
และบรรณาธิการที่ปรึกษาสำนักพิมพ์ อะบุ๊ค

ภาพโดย book terrier
ภาพโดย book terrier

ผลงาน
เรื่องเล็ก (2543)
เหมือนไขมัน (บทสัมภาษณ์ ประภาส ชลศรานนท์) (2543)
The Story of The Modern Rebel (2546)
The Bear Wish Project (นามปากกา เดปป์ นนทเขตคาม) (2547)
หญิงสาวนักขายขนมปัง (2547)
มากกว่านั้น (2548)
Wake Up ! (ร่วมกับ วชิรา รุธิรกนก และ ทรงกลด บางยี่ขัน) (2550)
Question Mark (บทสัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) (2550)
abc : Change (ผู้เขียน วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์,แทนไท ประเสริฐกุล,ใบพัด,เรียวตะ ซูซูกิ,วชิรา รุธิรกนก,นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล,วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล,หนุ่มเมืองจันท์) (2551)
TRY (2552)
มัชฌิมนิเทศ (2553)
minidot004 COME HOME (2554)
NO M>RE NO L<SS (2555)
In My Life (2555)
Day After Day (2556)
Everyday Story (2557)
กรรมการผู้ตัดสินรายการ SME ตีแตก (2557-2558)
ทำอะไรเล็กๆ ง่ายๆ ก็มีความสุขได้ (2558)
เป็นคนธรรมดามันง่ายไป (2558)
เดอะ ดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป (ภาพยนตร์สารคดี) (2558)
Everyday Story 2 (2559)

ภาพชุดที่ 1 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306139222785278/
ภาพชุดที่ 2 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306160609449806/
ภาพชุดที่ 3 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306189219446945/

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

เมื่อวันนี้ 18 พฤษภาคม 2559 9.00 – 16.00 นักศึกษาทุกชั้นปี ทุกคณะ ไปรวมตัวกันที่ห้อง Auditorium แต่งตัวเรียบร้อย เตรียมการนำเสนอเต็มรูปแบบ พร้อมสำหรับวิชากิจกรรม ของ อ.ธวัชชัย แสนชมภู วิชาบริหารของ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากข้างนอกมาเป็น Commentator อาทิ อ.สันติ เขียวอุไร ร่วมกับ Commentator ที่เป็นตัวแทนคณะวิชาต่าง ๆ รุ่นพี่แบ่งเป็นสองทีม นำเสนอได้เข้มข้น เหมือน Thailand Got Talent ซีซั่นเนชั่น ผู้นำแต่ละทีม คือ นายนิกร ชมชื่น และน.ส.รมิดา เลิศธนกร สาขาวิชาการบัญชี ช่วงบ่าย ๆ จะเป็นการนำเสนอของนักศึกษาปี 1 ในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (LEAC 200) ที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดภาคการศึกษา อาทิ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย เรารักม่อนพระยาแช่

http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/478782

ม.เนชั่นฯ สืบสานประเพณี ดำหัวอธิการ อาจารย์อาวุโส

การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้ แบบที่ 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) เช่น สำรวจ เสาะหา ค้นคว้า สร้างสรรค์ เกมการแข่งขัน แลกเปลี่ยน แสดงออก นำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ และทักษะเดิม มาทำให้กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ แบบที่ 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) เช่น ลงมือปฎิบัติ ทดลอง ทดสอบ การพูด การอ่าน การเขียน บทบาทสมมติ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอภิปรายผล โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติ ให้ได้ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ หรือการเรียนรู้เรื่องใหม่ แบบที่ 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เช่น การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุ เชื่อมโยงเรื่องราว หาแนวทางการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา และหาคำตอบ โดย เน้นให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาขึ้น หาวิธีแก้ไข ดำเนินการ และสรุปผลได้ แบบที่ 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) เช่น กำหนดประเด็นงานตามความสนใจแล้วนำเสนอ ฝึกทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการและวางแผน รู้จักใช้แหล่งข้อมูลแล้วจึงปฏิบัติ สร้างผลผลิตแล้วประเมินผล และนำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องกำหนดประเด็น แผนงาน และดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ แบบที่ 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL = Research-Based Learning) เช่น (1) การเรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน (2) การเรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานวิจัย (3) การเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย (ก) การเรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย (ข) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย (ค) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย (ง) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก และ (จ) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์

ขั้นตอนการสอนเชิงรุก (Active Learning) มีดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4) ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ 5) ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งคำว่า ชุมชน (Community) นั้นจำแนกได้หลายระดับ ได้แก่ ในห้องเรียน ในระดับชั้น ในโรงเรียน ในจังหวัด ในภาค ในประเทศ ในต่างประเทศ ในการประชุมวิชาการ ในวารสาร หรือในสื่อสังคม ที่เปิดให้มีการนำเสนอผลผลิต รับข้อซักถาม การโต้แย้ง ชี้ประเด็นที่น่าสนใจ หรือมีข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อยอดจากชุมชน

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

กสทช. ต้องตอบโจทย์สังคม

กสทช. ตอบโจทย์สังคม เรื่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ได้ไหม
จาก กรุงเทพธุรกิจ 3 เมษายน 2556

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

มีกี่คนที่รู้และเข้าใจว่า… กสทช. มีประกาศ เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

ซึ่งทั้ง 2 ประกาศนี้ มีผลบังคับใช้แล้ว เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปลายปีที่แล้ว

การที่ประชาชนไม่ติดตามกฎหมายก็คงไม่น่าแปลกใจ แต่สำหรับ 2 ประกาศนี้ และระเบียบอื่นๆ ที่สืบเนื่องกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนปล่อยผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะจะส่งผลต่อสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน และลูกหลานของเราอย่างมากที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะจะเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของคนทั้งประเทศ เป็นทีวีสาธารณะ ในระบบดิจิทัล จำนวน 12 ช่อง ไปให้กับผู้ประกอบการทีวีวิทยุ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ๆ ที่อยากจะเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้ (ความจริงยังมีทีวีช่องธุรกิจอีกที่ยังต้องถกเถียงกันอีกเยอะ)

จากวงเสวนา “ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล : กสทช.ควรทำอย่างไรให้บรรลุเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ” และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มนักวิชาการ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิทัลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น

มีหลายประเด็นที่ กสทช. ต้องออกมา “ตอบ
จะงุบงิบทำไป แบบค้านสายตาคนดู คงจะไม่ได้

เบื้องต้นขอให้ข้อมูลไว้ก่อนว่า กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ที่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตสำหรับกิจการบริการสาธารณะ มี 3 ประเภท

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 1 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 2 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 3 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ประชาชนอย่างเราๆ เกิดคำถาม ข้อสงสัย อะไร หรือไม่ ?

แต่ในวงเสวนา ฟันธง ตรงไปถึง กสทช. ว่าต้องตอบ อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้

กสทช. จะนิยามคำว่า “กิจการบริการสาธารณะ” ว่าอย่างไร และเหมือนหรือต่างจาก “ทีวีสาธารณะ” อย่างไทยพีบีเอส อย่างไร ตลอดจนเรื่องรูปแบบรายการ สัดส่วนรายการ ผังรายการ กลไกการกำกับดูแล เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อเนื้อหาสาระ คุณภาพของรายการ และเป็นเงื่อนไขการหารายได้ของแต่ละช่อง

กิจการฯ ประเภทที่ 2 เขียนไว้ไม่เกิน 2 บรรทัด แต่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตถึง 2 ช่อง ซึ่งขณะนี้ กองทัพบก ช่อง 5 ประกาศตัวชัดเจนมาตั้งแต่ 2-3 เดือนที่แล้วว่า จะยื่นขออนุญาตเพื่อให้ช่อง 5 เป็นช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ เรียกว่า ประกาศไว้ ใครก็ห้ามแย่ง แล้วล่าสุด กสทช.ก็ให้สิทธินั้นไปแล้วโดยอัตโนมัติ

ส่วนอีกช่อง ที่บอกว่าเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ก็คาดเดากันได้อย่างไม่น่าพลาดว่า โทรทัศน์ตำรวจ คงขอจอง

ข้อสังเกตที่คาใจมากที่สุดอีกเรื่อง คือ การที่ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2551 มาตรา 9 และ 11 เปิดช่องให้หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงหารายได้จากการให้เช่าเวลาได้ไม่เกินร้อยละ 40 และการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ ซึ่งสถานีวิทยุจุฬาฯ บอกว่าแค่ร้อยละ 20 เขาก็อยู่ได้สบายๆ แล้ว และถ้าสถานีจะดำเนินการเองเพียงร้อยละ 60 เช่นนี้ควรจะยังเรียกว่า “กิจการบริการสาธารณะ” อีกหรือ ?

นอกจากนี้ เรื่องที่ กสทช. ควรต้องตอบด้วยในเชิงของการปฏิรูปสื่อ คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีสาธารณะครั้งนี้ จะทำให้เกิดการจัดสรรโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างไร ให้ถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปสื่อที่เรียกร้องกันมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540

ม. เนชั่น และเหล่านักวิชาการทางสายนิเทศศาสตร์ ที่เข้าร่วมประชุมจากทั่วประเทศ
จึงทำข้อเสนอถึง กสทช. ขอให้ “ตอบโจทย์” สังคมในเรื่องเหล่านี้
ผลจะเป็นอย่างไร ต้องช่วยกันติดตาม !

http://bit.ly/10rHgYQ

http://blog.nation.ac.th/?p=2552

เตรียมตัวอย่างไร ถ้าจะกลายเป็นชาวอาเซียน

ตอนนี้หากคนถามว่าอาเซียนคืออะไร แล้วทำหน้างง ๆ สงสัยจะต้องหลุดกระแส ยิ่งผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาชูประเด็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
! http://bit.ly/Yclnyq

ภควัต สมิธธ์
ภควัต สมิธธ์

ทั้งโลกยิ่งตื่นเต้นกับคำว่า Change (เปลี่ยน) คลื่นความใหม่ของแนวคิดย่อโลกด้วย Cyber Network จึงทำให้คำว่า เปลี่ยน มีความชัดเจนมากขึ้น ประสบการณ์ท่องเที่ยวภาคเหนือของผม บ่งบอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการย่อโลกด้วยการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสังคมออนไลน์ ทำให้ความเชื่อ ความคิด และพฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่พบเห็น และได้สื่อสารกับคนในสังคมที่ต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรม ลองนึกถึงเวลาไปเที่ยวดอยแล้วพบคนพูดสำเนียงชาวเขาที่สวมยีนส์ คู่กับรองเท้าผ้าใบยี่ห้อดังแบบนักบาสเกตบอล ก็เกิดความคิดที่ว่า เราไม่สามารถหยุดโลกได้ แต่เราจะใช้ประโยชน์อย่างไรกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น

การรวมกลุ่มของประเทศอาเซียนมีพื้นฐานแนวคิดมาจากการรวมกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป การใช้ค่าเงินเดียวกัน ข้อตกลงทางการค้าเดียวกัน การแลกเปลี่ยน เคลื่อนย้ายแรงงาน และการศึกษาแบบเสรี ฟังดูดีและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เมื่อได้ยินบางกระแสที่ไม่เห็นด้วยกับการรวมอาเซียน โดยคิดไปว่าการรวมกลุ่มจะทำให้ประเทศไทยหายไป ภาษา วัฒนธรรม เอกลักษณ์จะโดนชาติที่เจริญอย่างสิงคโปร์กลืนความเป็นไทย ในทางกลับกันมองได้ว่า แนวคิดเรื่องอาเซียนไม่ได้ต้องการให้ทุกประเทศกลายเป็นประเทศเดียวกัน หากแต่มองเรื่องศักยภาพของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน จะสามารถเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กันและกันได้ โดยเรียกพวกเราทั้งหมดว่าอาเซียน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ในภูมิภาคว่า เรามีแนวทางการค้า การลงทุน การดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกัน และเราจะช่วยกันดูแลผลประโยชน์ของภูมิภาคบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกัน

คนไทยมีหลายแนวคิด บ้างอนุรักษนิยม บ้างสมัยใหม่นิยม บางคนมีเพื่อนเยอะแต่กลับไม่ถูกคอกับคนข้างบ้าน เราชอบแข่งกับคนข้างบ้านแต่ญาติดีกับคนที่อื่น ถ้าเขาซื้อรถใหม่เราจะอารมณ์เสีย แล้วเวลาโจรจะปล้นบ้าน หรือในยามเจ็บป่วย คนที่ไหนจะช่วยเรา ผมอยากให้เราลองมองย้อนไปในอดีตว่า ความคล้ายคลึงของพวกเราชาวอาเซียนมีมากมาย เรากินข้าว เราเคารพผู้ใหญ่ เราเก่งเกษตรกรรม เราเด่นศิลปะ เราอุดมสมบูรณ์ ส่วนความขัดแย้งที่ผ่านมาไม่ได้เกิดโดยประชาชนของประเทศนั้นๆ เพียงแต่เป็นเรื่องของโอกาสทางการเมือง การปกครอง แนวคิดของผู้นำ การขยายดินแดน ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานของการอยู่รอดแบบสมัยอดีต แต่ปัจจุบันเรารู้จักกัน เราสื่อสารกัน เราค้าขายกัน เราสามารถใช้ประโยชน์จากความคล้ายคลึงให้เป็นจุดแข็งในการต่อสู้ทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคอื่น เช่น การทำให้อาเซียนเป็นฐานการผลิตอาหารและการเกษตรของโลก เพราะเราปลูกข้าว เรามีพืชผักผลไม้ อาหารทะเล สมุนไพรที่มีประโยชน์ เรามีฝีมือ นอกจากนั้นชาวอาเซียนมีอุปนิสัยเป็นมิตร ชอบต้อนรับ เราสามารถเป็นฐานการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบที่ทำรายได้มหาศาลในแต่ละปี

ประชาชนของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องปรับตัวปรับใจ เพื่อยินยอมเป็นสมาชิกที่แท้จริงของอาเซียน ไม่ใช่แค่พูดถึงแล้วผ่านไป ต้องสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมกัน ประมาณว่าร่วมกันเป็นหุ้นส่วน ชาวอาเซียนต้องฝึกฝนตนเองในการรับรู้ข่าวสารประเทศเพื่อนบ้าน ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษอย่างน้อยก็ฝึกอ่านข่าวสั้นๆ จากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ยอมรับในความเป็นตัวตนของกันและกัน รับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา และเลิกเปรียบเทียบให้เกิดปมด้อย แต่จะต้องช่วยกันยกระดับความรู้ ความคิด ค่านิยม ในการสร้างความเจริญและความมั่นคงของภูมิภาค

จากที่เห็นทุกมหาวิทยาลัยเปิดโปรแกรมการเรียนเพื่อป้อนความต้องการของตลาดอาเซียน การส่งนักศึกษาไปฝึกงานกับมืออาชีพ เพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนสำเร็จการศึกษา และการเปิดรับนักศึกษาจากอาเซียนเข้ามาเรียน ทำให้บรรยากาศความร่วมมือดูมีชีวิตชีวาและมีความเป็นสากลมากขึ้น เราลองหันมาเรียนภาษาประเทศเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่สาม ซึ่งยังมีผู้ที่ชำนาญจำนวนไม่มากก็จะดูดีมีเสน่ห์อยู่ไม่น้อย น้องๆ รุ่นใหม่ จะต้องวางแผนในการเลือกสาขาที่จะเรียนให้สอดคล้องกับอนาคตในสาขาที่ขาดแคลน เช่น แพทย์แขนงต่างๆ วิศวกรรมปิโตรเลียมและเคมี บัญชีและการเงิน สาธารณสุข หรือสาขาที่จำเป็นต่อตลาดธุรกิจอินเตอร์ เช่น นิเทศศาสตร์ คอมพิวเตอร์ บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มัลติมีเดีย สถาปนิกและออกแบบ การโรงแรมและท่องเที่ยว แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะเลือกเรียนสาขาใด ก็จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของภูมิภาคอาเซียนว่ายังคงมีกรอบวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ หากเราเรียนรู้ การต้อนรับ การทักทาย การแสดงความเคารพซึ่งหมายถึงการยอมรับและการรับฟังผู้อื่น ก็จะเพิ่มความราบรื่นในการผูกมิตร

asean
asean

เมื่อก่อนเวลาเห็นคนที่ทำตัวเชยๆ เรามักจะเรียกเขาว่ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ในทางกลับกัน ถ้าเราล้าหลังกว่าใครในอาเซียนก็จะตกที่นั่งลำบากแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม รวมกันเป็นกลุ่มก็ยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่ง คิดดูสิขนาดซุปเปอร์ฮีโร่ยังต้องทำงานเป็นทีม

โดย : ภควัต สมิธธ์
! http://www.ประเทศอาเซียน.com

! http://blog.nation.ac.th/?p=2534

ทีวีดิจิตอลกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

เสียงคุณตาคนหนึ่งดังแว่วมาจากร้านรถเข็นริมฟุตบาธ
ว่า “ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงหรือ…
เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายแต่ตอบยาก

 

อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคำว่า “ปริมาณ” กับ “คุณภาพ” อาจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และบ่อยครั้งคำว่าคุณภาพก็มักไม่เคยเกิดขึ้นกับชีวิตของคนด้อยโอกาสในสังคม

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว การเข้ามาของโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดินในประเทศไทยนับว่าเป็นสิ่งแปลก ใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับคนในสังคมไทยไม่น้อย และถ้ากลับไปถามคนรุ่นปู่ย่าตายายในครอบครัวของเราว่าเริ่มดูโทรทัศน์ครั้ง แรกเมื่อใด หลายท่านอาจจะตอบว่า “ไม่รู้” เพราะไม่ได้จดจำหรืออาจหลงลืมไปแล้ว แต่บางท่านที่ความจำยังดีก็อาจจะตอบด้วยแววตาเป็นประกายและบอกเล่าเรื่องราว ได้อย่างละเอียดว่า ประเทศไทยเริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม” แต่ถ้าหากถามท่านต่อไปอีกนิดว่า แล้วโทรทัศน์ในยุคแรกนั้นมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้สูงอายุหลายท่านก็อาจตอบคำถามนี้ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มและตอบอย่างมั่นใจ มากกว่าเดิมว่า “ก็เพื่อความบันเทิงนะซิ
คำถามดังกล่าว หลายคนอาจตอบได้ไม่ยากนักเนื่องจากบทบาทหน้าที่ ดังกล่าวของโทรทัศน์ได้ถูกตอกย้ำและรับรู้กันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ยุคแรก เริ่มของการเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่ในการสร้างความ บันเทิงมาโดยตลอดแต่อาจมีรูปแบบ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอแตกต่างกันไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นการออกอากาศหรือแสดงสดในห้อง ส่ง (สตูดิโอ) ที่มีขนาดเล็กและมีฉากจำกัด แต่เมื่อมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารในระยะต่อมา รายการโทรทัศน์จึงมีทั้งการออกอากาศสด การบันทึกเทป และผลิตรายการได้ทั้งในและนอกสตูดิโอ
อย่างไรก็ดี บทบาทหน้าที่ของโทรทัศน์ในยุคแรกไม่เพียงแต่ให้ ความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทหน้าที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นทางการเมือง เช่น ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รายการโทรทัศน์นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังทำหน้าที่ในการปลูกฝังแนวคิด ชาตินิยมและในยุคสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้สถานีโทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อและสร้างความชอบธรรม จากการยึดอำนาจจากจอมพลป. พิบูลสงครามภายหลังจากการปฏิวัติสำเร็จ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำงบประมาณจากหน่วยงานทหารมาดำเนินการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นแห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทยและใช้ชื่อว่า “สถานีกองทัพบกช่อง 7” ระบบขาวดำในปี พ.ศ. 2500
ท่ามกลางกระแสการพัฒนา ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จอมพล พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสีในปี พ.ศ. 2510 การพัฒนาช่องฟรีทีวีในประเทศไทยทั้ง 6 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง NBT และช่อง Thai PBS รวมทั้งการพัฒนาระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมแต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ในสังคมไทยที่ผ่านมา (ก่อนการปฏิรูปสื่อปี พ.ศ. 2540) รัฐมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และคลื่นโทร คมนาคม รวมทั้งการให้สัมปทานช่องสถานีโทรทัศน์กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนส่งผลให้สถานีโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยกลุ่มองค์กรธุรกิจการ เมืองซึ่งมุ่งเน้นผลประกอบการทางธุรกิจและอำนาจทางการเมืองมากกว่าผล ประโยชน์ของประชาชน
จากการครอบงำสื่อ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และการครอบงำสื่อของกลุ่มธุรกิจทางสถานีโทรทัศน์ช่องไอทีวี ปี พ.ศ. 2538 (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในยุคปัจจุบัน) ได้ปิดกั้นการทำหน้าที่ของสื่อที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปสื่อในระยะต่อมา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 40 รวมทั้งการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายและแผนแม่บทกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการดำเนิน ธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล 48 ช่องปัจจุบันกำลังเป็นที่จับตามองเพราะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ของ กสทช.ว่า จะนำพาสังคมไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำสื่อของรัฐและกลุ่มธุรกิจที่ ยาวนานกว่า 50 ปี หรือไม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นให้กับบริการชุมชนบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจยังอยู่ในช่วงโค้งสำคัญ รวมทั้งประเด็นการเข้าถึงพื้นที่สื่อสาธารณะของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะผู้ด้อย โอกาสก็ยังเป็นด่านสำคัญที่ กสทช.จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

โค้ชสู่ผู้เล่น…. นิเทศฯบนสนามดิจิทัลทีวี

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน
! http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสาร มวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบ การบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2472

ทำไมไทยต้องเปิดเทอมรับอาเซียน

สถาบันศึกษาของไทย ทั้งส่วนพื้นฐานและอุดมศึกษา ได้เริ่มมีความเคลื่อนไหว ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอมเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนแล้วอย่างชัดเจนในขณะนี้

กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศให้โรงเรียนในระดับการศึกษาพื้นฐานทั่วประเทศปรับเปลี่ยนการเปิดเทอมแรกจากเดิมช่วงเดือนพฤษภาคมไปเป็นต้นเดือนมิถุนายน เริ่มปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

ในระดับอุดมศึกษานั้น มหาวิทยาลัยในกลุ่มเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีการปรับการเปิดภาคการศึกษาแรกจากเดือนมิถุนายนไปเป็นช่วงสองสัปดาห์แรก ของเดือนสิงหาคม

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้มีผลให้ช่วงเวลาการรับสมัครนักเรียนและนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยกระจายไปตลอดทั้งปีการศึกษา

! bangkokbiznews.com/home/news/politics/opinion/nation_u/news-list-1.php

ในความเห็นของผม การปรับเปลี่ยนเปิดเทอมของสถาบันการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ นั้นจะมีผลดี ทำ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ในภูมิภาคนี้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังจะมีผลทำให้การพัฒนามาตรฐานสูงขึ้น และการเทียบโอนรายวิชาก็สามารถจะทำได้อย่างสะดวกขึ้นอีกเช่นกัน

บางท่านอาจจะมองว่าการปรับเวลาเปิดเทอมเช่นนี้เป็นการเพิ่มความวุ่นวาย ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ในความเป็นจริงนั้น ความหลากหลายในช่วงเวลาการเปิดเทอมเป็นเรื่องปกติในหลายๆ ประเทศที่มีการพัฒนามาตรฐานการศึกษาเข้าระดับสากล

เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ความคิดที่จะควบคุมหรือกำกับระบบการศึกษาให้ต้องเป็นแบบเดียวกันหมดนั้นเป็น เรื่องฝืนธรรมชาติ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งยุคสมัย

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้ จึงเป็นการตอกย้ำว่าการศึกษาของไทยเรา จะต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวสู่มาตรฐานใหม่แห่งภูมิภาคในโลกยุคใหม่ที่การศึกษาจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

นั่นย่อมหมายถึง ความจำเป็นที่เราจะต้องปรับคุณภาพมาตรฐานของการ จัดสอบในระบบกลางของประเทศให้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานการวัด, การประเมินผล, การเทียบแทนหรือเทียบเท่า เกณฑ์การวัดทั้งในส่วนความรู้ความสามารถหรือทักษะในการคิดวิเคราะห์ให้ได้ มาตรฐานที่ประเทศอาเซียนทั้งหลายยอมรับโดยทั่วกัน เพื่อจะได้ พิจารณารับนักศึกษานานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน

เท่าที่พอจะประเมินได้ ณ ขณะนี้ความพร้อมของสถาบันการศึกษาชั้นสูงของไทยที่พร้อม จะเข้าสู่ระบบอาเซียนเช่นว่านี้มีอยู่ประมาณ 10 แห่งจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน 200 กว่าแห่งที่อยู่ในกลุ่ม ทปอ.หรือประมาณ 5% ซึ่งคงจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ปีแรกที่มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอม และเชื่อว่าน่าจะมีการทยอยปรับตัวได้มากขึ้นในปีต่อๆ ไป

เมื่อทุกภาคส่วนในประเทศมีความตื่นตัวในการปรับตัวให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน” ในอีกสองปีข้างหน้าโดยเฉพาะภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนในทุก ๆ ด้านแล้ว สถาบันการศึกษาซึ่งควรจะเป็นแถวหน้าแห่งการผลักดันให้เกิดการปรับตัวให้ทัน กับการเพิ่มพลวัตของภูมิภาคก็ย่อมจะต้องเร่งรัดการยกระดับของตนเองอย่าง คึกคักเช่นกัน

Tags : พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
! http://bit.ly/XmrvGc

! http://blog.nation.ac.th/?p=2484