วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21

essential learning
essential learning

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 โดย
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

หลังฟังแล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟัง
ว่า นอกจากความรู้ในสาระวิชาหลัก มีสิ่งที่ต้องรู้ยังมีอีกมากมาย
แต่ที่ชอบในแนวคิดนี้อย่างมาก คือ การมีทักษะสำคัญ 3 ด้าน
1. ทักษะชีวิตและการทำงาน คือ การปรับตัว รับผิดชอบ และเป็นผู้นำ
2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารได้
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือ ประเมินสารสนเทศได้ ใช้ไอทีเป็น
ทักษะที่ 3 ต้องชวนดูซีรี่เรื่อง CSI : Cyber ตอบได้ครบ (พึ่งดูมาครับ ยังไม่จบเลย)


ในอดีต
รับความรู้เยอะ ๆ แล้วก็ท่องเยอะ ๆ เคยใช้ได้

แต่ยุคสมัยนี้
มอบความรู้ตรง ๆ ใช้ไม่ได้ผล
เค้าเน้นให้สอนเรื่องสำคัญ (Essential)
แล้วนำความรู้ไปต่อยอดเอง ความรู้จะงอกขึ้นมา (Teach less, Learn more)
เดี๋ยวนี้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้ (Knowledge)” ไปสู่ “ทักษะ (Skill)
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก มาเอานักเรียนเป็นหลัก (Child Center)
เรียนด้วยการปฏิบัติจริง เรียก Project Base Learning
เป็นการฝึกให้เด็กทำโครงงาน แล้วครูเป็นโค้ช ช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ
แล้วได้ฝึกนำเสนอ ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง
ครูต้องเป็นครูฝึก (Coach) ที่ฝึกให้นักเรียนทำงาน และบรรลุ
แล้วนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration)
ครูต้องมีทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ มีพลัง มีไฟ มีชีวิตชีวา ไม่มีกรอบ
การเรียนยุคใหม่ไม่สนใจคำตอบ (Answer) แต่สนใจกระบวนการหาคำตอบ (Process)
โจทย์ข้อหนึ่งมี คำตอบมากมาย การให้เด็กร่วมกันหาคำตอบ (A question has many answers.)
เราจึงสนใจกระบวนการที่เด็กทำงานร่วมกัน (Team work)
นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ (Development)
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้ (Increase experience by homework)
การบ้านสมัยใหม่ คือ การบ้านทั้งปี เรียนเป็นทีม ปลายปีแสดงละคร (Drama)
สมัยนี้ความรู้มหาศาล จนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงต้องมี PLC (Professional Learning Community)
เพื่อครูรวมตัวกันเรียนรู้การออกแบบการสอนที่เหมาะสมของแต่ละที่ เป็น “ชุดการเรียนรู้ครู
เป็นชุมชนการเรียนรู้ ให้ครูมีทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรณที่ 21
PLC ไม่ใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะได้ผลกว่า

เรื่องของ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
อยู่ใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
หน้า 69
โดย สกอ. หวังว่าหลักสูตรจะจัดให้มีการสร้างโอกาสการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ให้ได้มาตรฐานสากล