management

Guidelines for Managing the Digital Technology Learning Environment

แนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล

แนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Guidelines for Managing the Digital Technology Learning Environment นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ที่ บทควาวิชาการของ ศักดิ์คเรศ ประกอบผล ได้เสนอให้ใช้แนวคิดวงจรคุณภาพพีดีซีเอของวิลเลียม เอ็ดเวิดส์ เดมมิ่ง โดยขั้นแรก (Plan) คือ การวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ วางแผนจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก บริการทางการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในวิถีความปกติใหม่ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1) สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ (1.1) ห้องสตูดิโอผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การสอนในวิถีความปกติใหม่ผู้สอน และ ผู้เรียนอาจไม่ได้เผชิญหน้ากันจริง ดังนั้นการผลิตบทเรียนในลักษณะสื่อวีดิทัศน์ (คลิปวิดีโอ) ส่งให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ (ไทยออล ดอท คอม, 2564) (1.2) ห้องสำหรับไลฟ์สดออนไลน์ และบันทึกการสอนด้วยตนเอง ในการสอนสดผ่านออนไลน์ปัจจุบันสามารถทำได้สะดวก เพียงแค่ผู้สอนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่มีกล้องเว็บแคม หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีกล้องเว็บแคมและมีไมโครโฟนก็สามารถสอนแบบไลฟ์สดได้แล้ว (1.3) ห้องเรียนวิถีใหม่ พบว่า ยง ภู่วรวรรณ และยืน ภู่วรวรรณ (2564) กล่าวว่า “การพบกันของโลกเสมือนจริงด้วยดิจิทัลที่เรียกว่า โลกไซเบอร์ (Cyber World) กับ โลกจริงทางกายภาพ (Physical World) ก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ที่ผสมรวมเรียกว่า ระบบไซเบอร์กายภาพ (Cyber Physical System) ชีวิตวิถีใหม่จึงมีการดำเนินกิจวัตรในสองโลกนี้ วิถีชีวิตผู้คนมีสองสถานะ สถานะหนึ่งในโลกจริง (Real) ทางกายภาพ กับอีกสถานะหนึ่งในโลกเสมือนจริง (Virtual) ที่อยู่ในไซเบอร์”

2) บริการทางการศึกษา ได้แก่ (2.1) บริการจัดฝึกอบรม (2.2) บริการให้คำปรึกษาในการจัดการเรียนรู้และผลิตสื่อ (2.3) บริการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศ

3) เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ (3.1) อินเทอร์เน็ต (3.2) โปรแกรมการจัดการเรียนรู้ (3.3) อุปกรณ์ดิจิทัล

Guidelines for Managing the Digital Technology Learning Environment
Guidelines for Managing the Digital Technology Learning Environment

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2565). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในวิถีความปกติใหม่. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 53-66.

ไทยออล ดอท คอม. (2564). คลิปช่วยสอนออนไลน์/วิดีโอช่วยสอน. สืบค้นจาก http://www.thaiall.com/vdoteach/.

https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/20/articles/358

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ
เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

! http://blog.nation.ac.th/?p=2438