จุดเปลี่ยนการศึกษาไทยครั้งสำคัญ อีกครั้ง
อันที่จริงก็คงมีจุดเปลี่ยนทางการศึกษาในหลาย ๆ ครั้ง
แต่ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ และไม่เคยเปลี่ยนแบบนี้มาก่อน
ถ้า กยศ. ไม่อนุโลมกู้ยืมต้อง 2.00 จริง ๆ นะครับ
ที่ผ่านมาหลายสิบปี ในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มีข้อมูลที่ทราบกันดี ดังนี้
1. การจบปริญญาตรี มีเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ ต้องเกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 จึงจะขอจบได้
2. จากนักเรียนมาเป็นนักศึกษา ทำให้นักศึกษาจำนวนมากปรับตัวไม่ทันในชั้นปีที่ 1
ทำให้มีเกรดเฉลี่ยสะสมในปีที่ 1 ต่ำกว่าชั้นปีอื่น
และเมื่อเลื่อนชั้นปีก็จะปรับตัวจนกระทั่งได้เกรดดีขึ้น
http://www.komchadluek.net/detail/20150312/202882.html
จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ
1. ผู้กู้ยืม กยศ. ทั้งรายเก่าและรายใหม่ ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
เริ่มใช้เกณฑ์ในปีการศึกษา 2558
ซึ่งเชื่อว่ามีผลให้นักศึกษาที่ปรับตัวในระดับอุดมศึกษาไม่ทัน หมดสิทธิกู้ยืม
2. มีความเชื่อว่า ถ้าใช้เกณฑ์นี้จริง สถาบันการศึกษาจะมีมาตรการในหลายรูปแบบ
ช่วยเหลือไม่ให้นักศึกษาในสถาบันหมดสิทธิกู้ยืมต่อเนื่อง
ซึ่งบางรูปแบบอาจไปลดทอนคุณภาพการศึกษาก็ได้
หลักเกณฑ์การคัดกรองและแนวปฏิบัติในการคัดกรองสถานศึกษาและผู้กู้ยืม
ปีการศึกษา 2558
http://www.studentloan.or.th/detail.php?ctid=643
หากทำความเข้าใจที่มาที่ไป พบว่าจากความเชื่อที่ว่า
เด็กที่ไม่ถึง 2.00 แสดงว่าไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีวินัย และความรับผิดชอบ
เมื่อเกรดต่ำ จบออกไปก็มักไม่ถูกคัดเลือกเข้าทำงาน
เมื่อไม่มีงาน ก็ไม่มีเงินมาชำระหนี้ กยศ.
เมื่อไม่มาชำระหนี้ กยศ.ก็ไม่มีเงินปล่อยกู้ให้รุ่นน้อง
เมื่อรุ่นน้องที่อยากเรียน กยศ.ไม่มีตัง เขาก็ไม่ได้เรียน
ดังนั้น นักศึกษาที่กู้ยืม กยศ. และกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ของปี 2557
จะต้องมุ่งมั่น ทุ่มเท และตั้งใจเรียนให้เต็มที่มากกว่าครั้งใด ๆ
มิเช่นนั้น ก็อาจจะไม่ได้กู้ยืม กยศ. และเป็นผลให้ไม่มีตังที่เคยได้จากการกู้ยืม
เข้ามาจุนเจือทางการศึกษา สำหรับการศึกษาในปีการศึกษา 2558
ซึ่งหลายคนก็อาจต้องหยุดเรียน หรือ drop เรียนไปอย่างน่าเสียดาย
สำหรับท่านใดที่เขียนอาชีพใน facebook.com ว่า
พ่อแม่จ้างมาเรียน ก็คงไม่ได้รับผลกระทบ
แต่คนที่เขากู้ยืมเงินจาก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
http://www.studentloan.or.th/index.php
จะได้รับผลกระทบเต็ม ๆ แบบเปลี่ยนชีวิตกันเลยทีเดียว