tool

รูบิค เป็นสื่อการเรียนรู้ไหม

เราสามารถใช่ รูบิค เป็นสื่อการเรียนรู้ได้

รูบิค (rubik)
เป็นเกมปริศนาที่มีองค์ประกอบทางคณิตศาสตร์และตรรกะที่ซับซ้อน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในหลายด้าน


เช่น

รูบิค Rubik

ทักษะการคิดวิเคราะห์ ผู้เล่นจะต้องคิดอย่างมีเหตุผล แยกแยะสิ่งต่าง ๆ และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อหาวิธีแก้ปริศนา

ทักษะการแก้ปัญหา ผู้เล่นจะต้องหาวิธีแก้ไขหรือปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

ทักษะการสร้างสรรค์ ผู้เล่นจะต้องคิดนอกกรอบและสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อหาวิธีแก้ปริศนาที่มีประสิทธิภาพ

ทักษะการทำงานร่วมกัน ผู้เล่นสามารถทำงานร่วมกันเพื่อหาวิธีแก้ปริศนาได้

นอกจากนี้ รูบิคยังสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น

ทักษะการสังเกต ผู้เล่นจะต้องสังเกตรายละเอียดต่าง ๆ ของปริศนา เพื่อหาความสัมพันธ์และลำดับขั้นตอนในการแก้ปริศนา
ทักษะความอดทน ผู้เล่นจะต้องมีความอดทนและพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาวิธีแก้ปริศนาที่ถูกต้อง

ทักษะความมุ่งมั่น ผู้เล่นจะต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะแก้ปริศนาให้สำเร็จ

รูบิคเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและสนุกสนาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในหลาย ๆ ด้าน เหมาะสำหรับผู้เรียนทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการสร้างสรรค์

รูบิค Rubik

รวมเทคนิค

https://parade.com/living/how-to-solve-a-rubiks-cube

https://www.undocard.com/index.php/3-welcome-to-your-blog

https://ruwix.com/the-rubiks-cube/how-to-solve-the-rubiks-cube-beginners-method/

ความหมายของโอ่งชีวิต

โอ่งชีวิต หรือโอ่งเศรษฐกิจ
คือ เครื่องมือช่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจของชุมชน หรือบุคคล
ว่ามีสิ่งใดเป็นรายรับ สิ่งใดเข้ามาเป็นประโยชน์ หรือเข้ามาสนับสนุนชุมชน
และมีสิ่งใดเป็นรายจ่าย สิ่งใดรั่วไหลออกไป หรือเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย
หากรู้ที่มาของรายรับ และที่ไปของรายจ่าย ก็จะเป็นข้อมูลในการจัดการ
ด้วยการเพิ่มรายรับ และลดรายจ่ายต่อไป
อาทิ นักศึกษาใช้โอ่งชีวิตช่วยวิเคราะห์รายรับ รายจ่าย ด้านการศึกษาของตนเอง

! http://blog.nation.ac.th/?p=3505

จิรายุ คำแปงเชื้อ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง โอ่งชีวิต ว่า
โอ่งชีวิต เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์
สำหรับโอ่งชีวิตเป็นเครื่องมีที่มีประโยชน์สามารถนำไปใช้กับชุมชนก็ได้ ใช้กับตนเองก็ได้
เพื่อที่เราจะได้รู้รายรับที่เข้ามาและรายจ่ายที่ออกไปและเงินออมของเรา
ในภาพประกอบไปด้วย ก็อกน้ำเปรียบเหมือนรายรับที่เข้ามาของเดือนนั้น
โอ่งเปรียบเหมือนเงินเก็บของเราในเดือนนั้น
และรอยรั่วเปรียบเหมือนรายจ่ายที่ออกไปในเดือนนั้น
สำหรับผมก็อยากจะรู้ว่ารายรับที่ผมได้มาทำไมมันไม่พอใช้ ผมก็ได้มาเยอะนะ(ต่อเดือน)
ผมก็เลยเขียนรายจ่าย ตรงรอยรั่วนั้นลงไป ทำให้ผมได้รู้เลย
ทำไมรายจ่ายของผมถึงไม่พอ เพราะผมไปใช้ในเรื่องไร้สาระนั้นเอง แถมใช้ไปเยอะด้วย
อาทิเช่น แทงบอล เที่ยว กินเหล้า ซื้อรองเท้า ซื้อเสื้อผ้า ฯลฯ
ผมก็เลยตัดการใช้จ่ายบางรายการออกไปและลดการใช้จ่ายบางรายการดู
ผมนี้ตกใจเลย เงินที่ได้มาเหลือเยอะขนาดนี้เลยหรือนี้
ถ้าผมทำอย่างนี้บ่อย ๆ ผมอาจจะมีโอ่งใบเล็ก ๆ ที่รองรอยรั่ว เปรียบเหมือนเงินออมนั้นเอง
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจาก คุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559