ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีเรื่องของทางเลือก (Decision) ที่คนเขียนโปรแกรมทุกคนต้องใช้คำสั่ง if สำหรับการเขียนโปรแกรมยุคใหม่ก็อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ไม่ใช่เงื่อนไขปกติ จะมีบริการตรวจสอบความผิดพลาดที่เป็นข้อยกเว้น (Exception) แล้วดำเนินการแบบพิเศษกับเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งการเขียนโปรแกรมก็จะต้องเขียนตามนโยบาย หรือความต้องการของผู้ใช้ อาทิ เขียนโปรแกรมตัดเกรด คุณครูก็ต้องกำหนดว่าจะตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ หรืออิงกลุ่ม ถ้าอิงเกณฑ์จะให้ A มีคะแนนเท่าใด หรืออิงกลุ่มจะใช้ค่าเบียงเบนมาตรฐานเท่าใด
http://www.oknation.net/blog/zumon/2011/07/05/entry-1
ในทางคอมพิวเตอร์มีทางออก และมีแนวทางแก้ไขเสมอ มีเหตุและมีผลทุกครั้ง ไม่มีหลักไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ในอดีตตัวแปรภาษายังไม่ดีนัก เวลากำหนดให้โปรแกรมทำซ้ำตลอดกาลก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างไม่ตอบสนองใด แล้วผู้ใช้ก็ต้องปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ เมื่อรู้ก็เข้าไปแก้ไขได้ไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่างกับปัญหาในชีวิตจริงที่ไม่สมเหตุสมผล อาทิ ในบางกิจกรรมบอกว่าเรามีเมตตาไปทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา จากนั้นไปทานอาหารร่วมกันบนโต๊ะอาหารก็มีปลาเผาไก่ย่างส้มตำ ซึ่งปลาก็ได้มาจากแม่น้ำหน้าวัดนั่นเอง หรือดื่มสุราทำให้เสียสุขภาพ แต่ก็เหมือนดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะดื่มกันบ่อยแล้วแบ่งปันผ่านเฟสบุ๊คมาให้ดูอย่างมีความสุข
ปัจจุบันเราพูดว่าปฏิเสธรถไฟความเร็วสูง ปฏิเสธเสื้อผ้ายี่ห้อ ปฏิเสธฟุตบอลนอก ปฏิเสธอาหารต่างชาติ ปฏิเสธยักค้าปลีก เพราะชาตินิยมสูง แต่พบว่าสถิติอุปโภคบริโภคไม่เป็นเช่นนั้น หากนึกไปถึงการปฏิเสธผู้นำ ถ้าคนกลุ่มเล็กกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าผู้นำไม่ดี ไม่ชอบผลการเลือกตั้ง แล้วขอให้เลือกตั้งใหม่หลังรู้ผลเลือกตั้ง สังคมนั้นก็คงมีชีวิตอยู่ในทางตัน เพราะในชีวิตจริงไม่มีสังคมขนาดใหญ่สังคมใดยอมรับผู้นำที่ถูกเลือกตั้งร้อยละร้อย คงเพราะสามัญสำนึกของผู้คนรู้ว่าสังคมต้องมีผู้นำ แม้ไม่ถูกใจบ้างแต่เรือจะขาดกัปตันไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้บริหารไปวาระหนึ่ง แล้วค่อยมาพิจารณากันใหม่ ในทางคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันเทคโนโลยีใดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการทดลองใช้ แล้วประเมินผล หากผลประเมินไม่น่าพอใจก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ถ้าดีก็บอกต่อ แต่อย่างน้อยก็ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นไประยะหนึ่ง เมื่อมีของใหม่มาให้เลือกก็ค่อยพิจารณาทางเลือกนั้นอีกครั้ง