education

ภาษาอังกฤษที่ 100 จาก 112 ประเทศ

ใบรับรองภาษาอังกฤษ

ประเด็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาสากล มีการสอบวัดในระดับโลก
พบว่า บางประเทศเน้นสอน Grammar
แต่ผลสอบของเด็กเราชัดว่าไม่แม่นใน Grammar
พบว่า คะแนนสอบต่ำในหลายด้าน
ทั้ง Reading, Listening, Writing, Speaking และ Grammar
ถ้าเน้นสอน Grammar และแม่นใน Grammar จริง
ผลสอบ Reading, Writing และ Grammar ย่อม OK
กลับมามอง
ข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อสอบครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
พบว่า ไม่ยากอย่างที่ควร แต่ยังสอบตกจำนวนมาก
ทั้งที่ไม่มี Listening และ Speaking ในข้อสอบ
ปัญหาหลัก คือ ครูไม่เก่งภาษาอังกฤษ
พอที่จะสร้างระบบนิเวศการใช้ภาษาอังกฤษในโรงเรียน

ข้อเสนอสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหา
1) หลักสูตรการเรียนการสอนควรเริ่มจากการเน้น Listening และ Speaking ในขั้นพื้นฐาน แล้วเพิ่มทักษะอื่นในระดับชั้นที่สูงขึ้น
2) สร้างแรงจูงใจให้ครูพัฒนาตัวเอง เช่น ครูที่ได้คะแนน TOEIC ระดับ 600 คะแนนจะได้เงินเพิ่มสัก 2,500 บาทต่อเดือน และยื่นทุกสองปี
3) สอบบรรจุครูต้องยื่นในรับรองการสอบภาษาอังกฤษ พร้อมใบสมัคร

Cr: เรียบเรียงจาก Chaturong ใน Wiriyah Eduzones

ภาษาอังกฤษ 100 จาก 112 ประเทศ


https://thethaiger.com/th/news/500946/

https://web.facebook.com/ajWiriya/

ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ

7 ประเด็นร้อนในชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครู

ชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ท้าทายจรรยาบรรณครู มีประเด็นที่น่าสนใจใน 7 กลุ่มประเด็น ประกอบด้วย 1) สุข 2) สาร 3) สั่ง 4) สอบ 5) สมรรถนะ 6) สุจริต และ 7) เกษียณ เสนอให้ใช้คำค้นต่อไปนี้ในกูเกิลจะพบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย ได้แก่ ครูไม่มีความสุข ครูทำงานเอกสาร สั่งครูมิชอบ สอบไม่ตรงที่สอน ฐานสมรรถนะเชิงรุก ครูสุจริต ผอสุจริต และ บังคับครูงานเกษียณ พบว่า ประเด็นข้างต้นมีหลายชุมชนได้หยิบยก หรือจุดประเด็นในสื่อสังคม และมีหลายช่องทางที่แจ้งข้อมูลร้องเรียนได้ สำหรับช่องทางที่ไม่เป็นทางการ คือ สื่อสังคม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทุกสำนักที่เปิดช่องทางสื่อสารทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ โทรศัพท์ อีเมล หรือไปรษณีย์

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_teacher.htm

ช่องทางที่เป็นทางการ ได้แก่

  • สายด่วนการศึกษา 1579 หรือ http://1579.moe.go.th/
  • สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาสายด่วน 1676
  • ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน GCC สายด่วน 1111 หรืออีเมล contact_1111@gcc.go.th
  • ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ 022831270-84 โทรสาร 022834525 หรืออีเมล ccc@opm.go.th
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสายด่วน 1166
  • เว็บไซต์ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภคออนไลน์ https://complaint.ocpb.go.th
  • ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยสายด่วน 1567 โทรศัพท์ 02-222-1141-55 โทรสาร 02-222-6838
  • สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสายด่วน 1166 โทรศัพท์ 02-141-3800 โทรสาร 02-143-9563 อีเมล info@nhrc.or.th
  • สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งเลขที่ 19 อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ
สายด่วนการศึกษา 1579
ลอย ชุนพงษ์ทอง กับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ดี

ลอย ชุนพงษ์ทอง เสนอให้มี 17 ข้อใน พ.ร.บ.ฯ

นั่งดูคลิปวิดีโอของ ลอย ชุนพงษ์ทอง
เรื่อง ชำแหละ #แผนการศึกษา #จุดจบความคิดสร้างสรรค์ #ใส่กรอบแบบเดียวกัน

พบข้อเสนอแนะว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ดี
ควรต้องมี 17 ข้อ ต่อไปนี้

  1. ระบุวิธีดำเนินการที่ให้รัฐจะจัดหา เพื่อให้สิทธิเด็กและประชาชนได้เรียนรู้ ตามความถนัด ตามท้องถิ่น ตามความเชื่อ ตามศักยภาพ ได้อย่างไร
  2. ระบุช่องทางที่รัฐ จะให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างไร
  3. ระบุช่องทางการตรวจสอบ จากภาคประชาชน เช่น งบการเงินของสถานศึกษา คะแนนโหวตของประชาชนในท้องถิ่น นำไปสู่งบของโรงเรียน
  4. ระบุหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต่อเด็ก
  5. ระบุสิทธิ เสรีภาพขอบเขตการแสดงออกของเด็ก และหน้าที่ในสถานศึกษา
  6. ระบุสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของครูในและนอกสถานศึกษา
  7. ระบุขอบเขตการลงโทษเด็กโดยครู
  8. ระบุขอบเขต และการคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการในสถานศึกษา
  9. ระบุกรอบและความเป็นอิสระของสถานศึกษาในการจัดการศึกษา
  10. ระบุภาระหน้าที่ของสถานศึกษาต่อชุมชน หรือภูมิภาค
  11. ระบุสิทธิในการศึกษาภาคพิเศษ เช่น ผู้พิการ ทางการ/สมอง นักบวช นักโทษจองจำ
  12. กำหนดหลักสูตรฯ ต้นแบบการสอน ประเมินผล โดยสถาบันส่งเสริมการสอนฯ
  13. กำหนดสัดส่วนเวลาที่ครูใช้ไปกับการสอน และการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  14. กำหนดหน่วยงานในการกำกับ ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา
  15. กำหนดภาระหน้าที่ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
  16. กำหนดบทลงโทษ หัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย แนวทาง หรือมติที่ออกไป
  17. แก้ไขกฎกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

https://www.thaiall.com/student/law.htm

#เล่าสู่กันฟัง 63-010 ออกหานักเรียนไปเรียนเป็นทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล วิทยาการคอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน โรงเรียนต่าง ๆ จะจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาเข้าไปจัดบูทแนะแนวการศึกษา ว่าแต่ละอาชีพ แต่ละสถาบัน มีหลักสูตรอะไรที่น่าสนใจ นักเรียนก็ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากบูทแนะแนว เอกสารประชาสัมพันธ์ และการซักถามจากวิทยากรที่ให้ความรู้ #tcas

การเลือกทางเดินชีวิตด้วยข้อมูลด้วยตนเอง

ย่อมดีกว่าคนอื่นเลือกให้ และไม่มีข้อมูล

พบว่า ม.เนชั่นร่วมกิจกรรม Career Shopping Day 2019 ณ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ 8 ม.ค.63 มีการจัดบูทนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อ ให้ความรู้อาชีพทันตแพทย์ ในฐาน Career Expo เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้รู้จักอาชีพนำไปเป็นแนวทางการศึกษาต่อ และชวนไปเรียนเป็นหมอฟัน หมอแล็บ พยาบาล ที่ม.เนชั่น โดย งานประชาสัมพันธ์ รับสมัคร วิเทศ และศิษย์เก่าสัมพันธ์

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2616190341791368&id=228245437252549

#เล่าสู่กันฟัง 63-002 กฎการเรียน ข้อ 1

ปัจจุบันสำหรับนักเรียนแล้ว จะมีข้อมูล สารสนเทศ กฎ กติกา ระบบ ระเบียบ เงื่อนไข โอกาส ภัยคุกคาม สิ่งล่อ สิ่งเร้า ทั้งจากในตนเอง ในกลุ่มเพื่อน ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน ในประเทศ หรือในโลก วิ่งเข้ามาหา มาชนตลอดเวลา แบบที่เรียกว่า Too fast to think แล้ว

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เคยโพสต์ไว้ใน AJWiriya
ทำให้ฉุกคิดได้ว่า น่านำมาตั้งเป็นกฎได้ 2 ข้อ ดังนี้

กฎข้อ 1
เรียนเพื่อทำงานได้
ไม่ใช่เรียนเพื่อของานใครทำ
เรียนเพื่อปัญญา
ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา

กฎข้อ 2
ถ้ามีกฎใดชวนคิดต่าง
ก็อย่าเสียเวลาให้มากนัก
ให้กลับไปมอง กฎข้อ 1

สรุปว่า #เรียนเพื่อทำงานได้
เป็นคาถาที่อยากฝากไว้เป็น #แรงบันดาลใจ
ฝั่งอยู่ในใจ และคิดถึงบ่อย ๆ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157186345671171&id=284423006170

ชวนดูหนังเรื่อง
#สยบฟ้าพิชิตปฐพี (ever night)
ที่เข้ากับคำว่า #เรียนไว้ใช้ ได้ดีจริง ๆ
http://thaiall.com/handbill/

ในทางการศึกษา มีอะไรก็ต้องบอกกันไว้ก่อน ว่าจะรับกี่คน มิเช่นนั้นจะไม่ผ่าน

นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

แต่ละปี จะมีข่าวการศึกษาที่ใหญ่หลายเรื่อง
อาทิ 31 ค.ค.2555 ก็มีมติยุบมหาวิทยาลัยอีสาน
กลางปี 2559 มีข่าว เปลี่ยนจาก admission เป็น entrance เริ่มปีการศึกษา 2561
แล้วสิ้นปี 2559 ข่าวนี้น่าจะใหญ่มาก คือ ไม่ให้ตั๋วบริหารการศึกษา
บอร์ดคุรุสภาไม่อนุมัติใบอนุญาตผู้บริหาร 4 มหาวิทยาลัย อีก 7 มหาวิทยาลัยให้ผ่านได้

ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

โดยที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้ 7 แห่ง ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
2. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)
3. มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)
4. มรภ.บุรีรัมย์
5. มรภ.สุราษฎร์ธานี
6. มรภ.เชียงราย
7. มรภ.ภูเก็ต

ส่วนอีก 4 แห่ง ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
3. วิทยาลัยทองสุข
4. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

เนื่องจากรับนักศึกษาเกินกว่าที่แจ้งให้ สกอ.
http://www.matichon.co.th/news/342244

ขอทำนาแทนทำข้อสอบ

https://www.facebook.com/tanpisitlive/posts/1196006627133158
https://www.facebook.com/tanpisitlive/posts/1196006627133158

นักเรียน .. “ขอทำนาแทนทำข้อสอบ” ผู้อ่านหลายท่านอาจรู้สึกแปลกใจ
แต่ถ้าผู้อ่านท่านใดได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา”
ก็คงจะรู้ว่าไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่อยากเป็น แพทย์ เภสัช ทันตะ วิศวะ
เด็กบางคนมีปู่ มีพ่อทำประมงในเขื่อนมาทั้งชีวิต ก็มีฝันจะทำประมงกับครอบครัวไปทั้งชีวิตเช่นกัน เด็ก(ที่บอกว่าทำนาแทน)คนนี้ก็ไม่ได้เห็นประโยชน์อะไรของการแก้สมการ ไม่เขียนแม้แต่บรรทัดแรกที่แสดงความพยายามแก้สมการ ก็คงเพราะเขาคิดว่าจะทำนาซึ่งคาดว่าเป็นอาชีพที่เขาคุ้นเคย มีคนไทยไม่น้อยประสบความสำเร็จจากอาชีพทำนา
.. เรียกว่า วัตถุประสงค์ไม่ตรงกัน หรือมีการเลี้ยงดูทางการศึกษาแตกต่างกัน
http://www.thaiall.com/student/

+ ไปอ่านเม้นท์ที่ผู้คนเค้าแลกเปลี่ยนกันเรื่องนี้ได้ครับ
https://www.facebook.com/kapookdotcom/posts/1166799276690246
+ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน และลูกลุงจบปริญญาทุกคน เกียรตินิยมด้วย
http://hilight.kapook.com/view/42576

ถามศิษย์มาเยอะล่ะ ถามครูบ้างว่า ทำไมครูเค้าออกข้อสอบข้อนี้

คำถามที่ 63 ของ สทศ.
คำถามที่ 63 ของ สทศ.

[เหตุ]
พบโพสต์ของ อ.วิริยะ แชร์ข้อสอบ สทศ.ข้อ 63
ประเด็นต้นเรื่องตามลิงค์ ผมไม่ขอพูดถึง
แต่ที่สนใจ และเกิดคำถามเกิดขึ้นในใจผมเอง
ว่า “ครูคิดว่า ข้อสอบแบบนี้ต้องการอะไรจากเด็ก”
ถามสั้น แต่พาดพิงไปถึงวัตถุประสงค์ กระบวนการ และสิ่งที่คาดหวัง
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.109418075746852.10885.109357035752956/1146402255381757/

[ก่อนหน้านี้]
มีบทสนทนา “นิทานศิษย์คอม

ศิษย์ .. ทำไมต้องให้เขียนศัพท์
ครู .. ถามทำไมล่ะ
ศิษย์ .. ไม่อยากเขียนครับ ไม่เห็นประโยชน์
ครู .. เรียนอังกฤษ เรียนคอม เรียนไอที ก็ต้องรู้ศัพท์คอม สิครับ
มีหนังสือ “คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
ใคร ๆ เค้าก็อ่านกัน มีศัพท์ท้ายเล่ม บทที่ 9 หน้า 206
มี 28 คำ ไปอ่านนะ น่าสนใจ ดาวน์โหลดได้ด้วย
http://www.ebooksdownloadfree.net/2015/09/cyber-security.html
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เค้าทำแจกทั่วประเทศ เป็นรูปเล่มที่ผมก็มีนะ ได้รับแจกมา
ศิษย์ .. –!
ครู .. ไปอ่านเถอะ ไม่รู้ศัพท์ แล้วจะคุยกันรู้เรื่องเหรอ
นี่ขนาดข้อสอบ TU Star ความรู้ ม.4 ม.5 เค้ายังถามเลยว่า “Zombie” คอมพิวเตอร์คืออะไร
ศิษย์ .. รู้สิ

zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล
zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7206/
+ https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717816878435770/
[สรุป]
ทุกปัญหามักมาจากการคิดต่าง (think different)
การคิดต่างมักต่างกันที่ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลที่คาดหวัง

– วิสัยทัศน์ = เราจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– กลยุทธ์ = พัฒนานักเรียน และครู
– เป้าหมาย = ระบบการศึกษาไทยจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– วัตถุประสงค์ = เพื่อยกระดับการศึกษาของเด็กนักเรียน
– กระบวนการ = ปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ PIZA สำหรับปีแรก
– ตัวบ่งชี้ (KPI) = คะแนนเฉลี่ยเด็กสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับปีแรก

? การศึกษาไทยเป็นแบบนี้รึเปล่า คือ มองเป็นเส้นเดียวกัน คิดและทำเป็นระบบที่มีกลไกเดียวกัน

[ปัญหาการศึกษาไทย]
อ.วิริยะ บรรยายในแนวที่ว่า
“หวังอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แล้วจะได้ผลเป็นอย่างที่หวังได้อย่างไร”
นี่คือปัญหาของระบบ objective -> process -> kpi
อย่างกรณี “ศิษย์คอม”
นั่นก็เป็นปัญหาที่ครู กับศิษย์ เห็นกระบวนการแตกต่างกัน
ที่ อ.วิริยะ พูดถึง “เด็กเรียนอย่างมีความสุข”
ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าติดตามอยู่เสมอ

[ข้อสอบเท่าทันโลก]
พบข้อสอบ TU Star ข้อหนึ่ง
พบว่าเด็กสมัยนี้หลายคนไม่ได้อ่านข่าวสารบ้านเมือง
คำถามถามครู
คือ “ครูคิดว่านักเรียนมัธยมปลาย ต้องติดตามข่าวสารในสื่อรึเปล่า
ข้อสอบถามว่า
โครงการ [ปลูกเลย] ที่โจอี้บอยไปเป็นจิตอาสาปลูกต้นไม้ เกิดขึ้นที่ไหน
คำตอบคือ “น่าน
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717808038436654/

[TU Star]
TU Star ปีแรก รอบแรก 1/59
Menu: Star 00
มีข้อสอบมาแบ่งปัน ดูแนวข้อสอบได้ที่
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/?tab=album&album_id=1717807878436670

[O-NET]
ข้อสอบ O-NET ป.3 และ ป.6
สทศ.เปิดให้ download
http://www.niets.or.th/examdownload/

[gat]
ข้อสอบ GAT
สทศ.เปิดให้ download แล้วมีการนำมาเผยแพร่ต่อมากมาย
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1471.0
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/30447-042944

เรื่องซึ้ง เกี่ยวกับการเลือกเดินรถของภาครัฐ สำหรับนักเรียนคนหนึ่ง

นักเรียนคนหนึ่ง
นักเรียนคนหนึ่ง

อ่านเรื่อง รถไฟบนเกาะฮอกไกโดแล้วซึ้ง
อ่านเรื่อง รถ BRT ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ แล้วน่าคิดตาม
อ่านเรื่อง ควบรวมโรงเรียนใน 4 รูปแบบ แล้วน่าคิดตาม

ความตรงต่อเวลา
เป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรักษา
เป็นอย่างดี


19 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “กทม.​ เตรียมปิดฉาก BRT สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์”
รายละเอียดส่วนหนึ่ง คือ “จากข้อมูลของกทม. BRT มีผู้โดยสารเฉลี่ย 23,000 คน/วัน
พลาดจากเป้าที่วางไว้ 30,000 คน/วัน ทำให้ขาดทุนถึง 1,000 ลบ.
เนื่องจาก กทม. ต้องควักเนื้อ งบประมาณอุดหนุนโครงการ ปีล่ะ 200 กว่าลบ.
เพื่อจ่ายค่าติดตั้งระบบ-เดินรถให้ BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นระยะเวลา 7 ปี
ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุด เม.ย.2560″ แต่เตรียมหาระบบอื่นทดแทน อยู่ระหว่างศึกษา
บทความโดย : Yuii ที่มาข่าว: ประชาชาติ
http://goo.gl/wvjuax

7 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “สพฐ. ยันไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก”
รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ สพฐ.
ไปดำเนินการว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้ดำเนินการใน 4 รูปแบบ
1. ควบรวมทั้งโรงเรียน
2. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียน
3. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียนบางช่วงชั้น
4. ควบรวมแบบคละชั้น
โดยเป้าหมายหลัก คือ ต้องให้โรงเรียนมีครูครบชั้น และมีนักเรียนที่เหมาะสมกับห้องเรียน
ซึ่งก็หมายความว่าทั้ง 2 โรงเรียน ต้องมาบริหารโรงเรียนร่วมกัน
โดยวิธีการควบรวม แต่ไม่ใช่การยุบเลิกโรงเรียน เว้นแต่โรงเรียนที่มีที่ตั้งสภาพทางภูมิศาสตร์
ที่เป็นข้อจำกัด คือ อยู่ห่างไกล พื้นที่สูง อยู่บนเกาะ เป็นต้น
http://www.kruwandee.com/news-id31815.html

อ่านเรื่องควบรวมโรงเรียนแล้ว คิดถึงภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Teacher’s Diary
https://www.youtube.com/watch?v=269Mit_Ip80

15 ม.ค.59
ซึ้ง! รถไฟญี่ปุ่นยอมเดินรถรับ-ส่งนักเรียนหญิงคนเดียวจนจบการศึกษา เป็นเวลา 3 ปี
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004840

14 ม.ค.59
การรถไฟญี่ปุ่นบนเกาะฮอกไกโดจะทำการยกเลิกรถไฟเที่ยวสถานี “คายุ ชิราตากิ”
https://www.facebook.com/prince.alessandro.92/posts/10153879626451057

31 มี.ค.59
ปิดตัวแล้ว สถานีรถไฟญี่ปุ่นรับ-ส่งนร.หญิงคนเดียวจนจบการศึกษา (ชมคลิป)
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000032991

12 ม.ค.59
Japan is keeping an entire train station open for just one passenger.
Kana Harada lives in Shirataki, a neighborhood with just 36 people.
She takes the train every day to the closest high school, 35 minutes away.
And She’s the only one who gets on.
“I got on and off this train for the last three years.”
“.. and this station’s presence has become something..”
“.. I have taken for granted.”
“I do feel sad to think it will disappear.”
Local residents build the station in 1955 to get kids to school.
When Harada graduates in March, the station will shut down.
“I remember getting on the train..”
“.. at an important time in my development.”
“I get very emotional about it.”
“I am glad we had this station here.”
Harada is proud to be the train’s last passenger.
[INSIDER]
https://www.youtube.com/watch?v=4BhiGKFtUA4

ธรรมาภิบาล เรื่องที่ต่างมุมก็ต่างมอง

ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน
ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน

ก็ สกอ.เห็นว่า หลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล
แต่ทุกมหาวิทยาลัยประเมินตนเองได้คะแนนธรรมาภิบาลผ่านเกือบทุกสถาบัน
(ที่ไม่ผ่านก็ยังไม่เห็น แต่อาจมี)

อ่านที่ ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ และ น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ แสดงทัศนะไว้ในสื่อ
เห็นว่าน่าสนใจจึงนำไปทำเว็บเพจแกะประเด็นทั้ง 10 ของธรรมาภิบาล
เตรียมเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง
ที่ http://www.thaiall.com/ethics/governance.htm

หลังเกิดเหตุ ดอกเตอร์ทำร้ายกันในสถาบันการศึกษา เมื่อเช้า 18 พ.ค.59 และยิงตัวตายเย็น 19 พ.ค.59 จนเป็นเหตุให้ดอกเตอร์เสียชีวิตรวม 3 คน ก็มีการหยิบประเด็นธรรมาภิบาลขึ้นมาพูดคุยในแวดวงการศึกษา เรื่อง หลักธรรมาภิบาล ซึ่งประเด็นนี้เป็นเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของคณะวิชา และสถาบันสำหรับทุกสถาบันการศึกษา มาตั้งแต่ปี 2553 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 7.1 เกณฑ์ที่ 6 หน้า 83 “ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ส่วนปี 2557 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4 หน้า 120 และ 142 ของคณะและสถาบันเหมือนกันว่า “บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน” ซึ่งคะแนนส่วนนี้ ทุกสถาบันการศึกษาได้คะแนนเต็มเกือบทุกสถาบัน

ต่อมา 24 พ.ค.59
พบใน posttoday.com ว่า รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) วิเคราะห์ว่า การเสียชีวิตของด็อกเตอร์ทั้ง 3 คน ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นความขัดแย้งส่วนตัว แต่ในฐานะผู้ทำงานช่วยเหลือบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมานานกว่า 10 ปี เขาเชื่อว่า ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596

ต่อมา 25 พ.ค.59
พบใน dailynews.co.th ว่า น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยถึงปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยว่า ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ดูได้จากข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหาร, ผู้บริหารกับบุคลากร หรือเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนไม่มีคุณภาพ แต่หากทุกคนในมหาวิทยาลัยยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน ปัญหาก็จะไม่เกิด ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ก็พยายามส่งเสริมให้ทุกมหาวิทยาลัยมีธรรมาภิบาล โดยมีทั้งหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย และบุคลากร แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องธรรมาภิบาลเป็นเรื่องบุคคล และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
http://www.dailynews.co.th/education/399997