อ่านความเห็นของท่านหนึ่งบอกว่า
“หลายปีที่ผ่านมา ผมสังเกตเห็นความผิดพลาดอย่างหนึ่ง
ในระบบความคิดและการนำเสนอของสื่อไทย โดยเฉพาะ
แนวสร้างแรงบันดาลใจ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือบทสัมภาษณ์
ตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จก็คือ มักชอบสร้างสตอรี่ดราม่า
ให้ค่ากับความ ‘สุดโต่ง’ มากเกินไป“
อ่านมาจาก http://storylog.co/story/55990ab560a1c1e968c6ab94
แต่ผมมองเห็นอีกมุมนะ และคิดว่าเป็นปกติของบทบาท
ของผู้พูด ผู้เขียน ที่ต้องสร้างแรงบันดาลใจแบบสุดโต่ง
.. เขาได้รับบทบาทมาอย่างนั้น
1. พวกเขาก็เป็นเพียง ผู้นำเสนอ ที่มีบทบาท มีเป้าหมายสร้างแรงบันดาลใจ
ไม่ได้รับมอบหมายมาให้รับผิดชอบต่อการพูด ไม่เหมือนพ่อแม่
สั่งสอนลูกอย่างไร ก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ได้มีอาชีพรับจ้างพูดหรือรับเขียน
ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องสร้างความประทับใจให้ฮือฮา
2. ตัวอย่าง ที่ยกมาอาจเป็นหนึ่งในสิบ ร้อน พัน หมื่น แสน ล้าน
ก็เป็นปกติที่ต้องหาเรื่องผิดปกติมาเล่า แต่ทำได้ง่ายดุจพลิกฝ่ามือ
ย้อนกับไปข้อ 1 เขาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อชะตากรรมผู้ฟัง
เหมือนพ่อแม่ที่สั่งสอนลูก จะให้คาดหวังอะไรจากผู้พูด
ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ได้มีบทบาท หรือหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อคำพูดของตน
3. ตัวอย่างของบทสัมภาษณ์ในบทความ
“.. ชีวิตมันสั้น อย่าไปกลัวอดตาย ทำตามความฝันเลย
อย่าไปคิดเรื่องหากิน หรือเงินทองมากนัก ..”
ส่วนใหญ่เขาก็แค่พูดหรือเขียนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
ให้รู้สึกว่าเขาพูดน่ะ ผิดปกติ เพราะพูดปกติก็คงไม่มีใครฟัง
แล้วผลจากการพูด การเขียน ก็คงได้รับสิ่งตอบแทนที่ดี ไม่ทางตรง หรือทางอ้อม
4. จะให้พูดปกติหรือครับ
– ตั้งใจเรียนนะลูก หนทางอีกยาวไกล พยายามให้มาก และมากกว่าที่ทำอยู่
– ชีวิตไม่มีอะไรง่าย อ่านหนังสือ แล้วจะสอบได้ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
– ชีวิตแบบ steve jobs น่ะ หนึ่งในล้าน อย่าคิดเอาอย่างเชียว เราคงไม่โชคดี
– ชีวิตแบบ นักกีฬา นักร้อง นักแสดง ที่สำเร็จน่ะ หนึ่งในล้าน อย่าหลงเชื่อเชียว เราคงไม่โชคดี
พูดแบบนี้ พ่อแม่พูดกรอกหูทุกฟัง เด็กที่ไหนจะไปฟัง